Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ประวัติศาสตร์สำคัญไฉน ทำไมต้องเรียน? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
PhramahaSurasak Suramedhi
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2006, 5:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประวัติศาสตร์สำคัญไฉน ทำไมต้องเรียน?
.............................

โดย พระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี (ชะมารัมย์)
นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
3 rd Year Student of Dhammakaya Open University, California, USA
........................................................................
บทนำ

เคยสงสัยไหมว่า.....

.....มนุษย์เมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว มีการตั้งถิ่นฐานและความเป็นอยู่อย่างไร
.....เรื่องราวของกรีกสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นอย่างไร มี
อาณาเขตกว้างขวางมากน้อยเพียงใด
.....ปิรามิดถูกสร้างขึ้นในสมัยใด ทำไมต้องสร้างขึ้นด้วย และสร้างขึ้นที่
ไหน
.....บรรพบุรุษของคนไทยมีการอพยพย้ายถิ่นฐานมากจากที่ใด
.....หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่สองให้แก่พม่าแล้วสภาพบ้านเมือง
เป็นอย่างไร
.....พระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไร เจริญรุ่งเรืองหรือเสื่อมถอย
ลง
ฯลฯ
จากตัวอย่างคำถามเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ออกมาจากความคิดของเรา เมื่อเรามีความสงสัยเกิดขึ้น ทำให้เราพยายามคิด เสาะแสวงหาคำตอบให้แก่คำถามเหล่านี้ หากเป็นเช่นนี้แล้วละก็ เราจะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งใดเล่า เนื่องจากข้อมูลที่มีปรากฏอยู่ในศาสตร์และวิชาการในยุคสมัยปัจจุบันนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ ข้อมูลเกี่ยวข้องกับเรื่อง วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ เราจะต้องมีการกลั่นกรอง พิจารณาใคร่ครวญ ให้ดีเสียก่อนว่าข้อมูลเรื่องนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับศาสตร์หรือวิชาการแขนงใด หากทำเช่นนี้ ก็จะทำให้เราทราบและสามารถนำความรู้จากศาสตร์หรือวิชาการแขนงนั้นมาตอบข้อสงสัยของเราได้ และก็จะทำให้เราได้รับคำตอบที่ถูกต้องในที่สุด

ดังนั้น เมื่อเราพิจารณาจากตัวอย่างคำถามข้างต้นแล้ว ก็จะพบว่าคำถามดังกล่าว ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วในอดีตทั้งสิ้น กล่าวคือเป็นเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นและก็สิ้นสุดลงไปนานแล้ว บางเหตุการณ์ก็เกิดขึ้นหลายพันปีผ่านมาแล้ว บางเหตุการณ์ก็เกิดเมื่อไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง และเมื่อเราคิดถึงหรือเกิดการจินตนาการถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ก็จะทำให้เราคิดหาคำตอบ และเมื่อทราบว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้ว ก็จะทำให้เราเกิดความคิดย้อนหลังไปตามระยะเวลาของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อมาถึงตรงจุดนี้ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าศาสตร์หรือวิชาการที่เรากำลังเสาะแสวงหานี้คืออะไร มีประโยชน์และความสำคัญต่อเราอย่างไร ช่วยคลายความสงสัยที่เกิดขึ้นกับตัวอย่างคำถามข้างต้นมากน้อยเพียงใด หากว่าไม่มีศาสตร์นี้แล้วอะไรจะเกิดขึ้น …….



ความหมายของประวัติศาสตร์
เมื่อใดก็ตามที่เราคิดถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วในอดีต เราจะเรียกเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นๆ ว่า ประวัติศาสตร์
หากจะแยกตามรูปศัพท์แล้ว คำว่า ประวัติศาสตร์ มาจากคำว่า ประวัติ ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไปเป็นมา กับคำว่า ศาสตร์ หมายถึง ความรู้หรือ วิชาที่ว่าด้วยความรู้ เมื่อรวมกันเข้า ก็จะมีความหมายว่า ประวัติศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นไปเป็นมา ซึ่งก็ตรงกับภาษาอังกฤษว่า History ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Histeriai เป็นศัพท์ที่ เฮโรโดตัส (Herodotus) ซึ่งเป็นชาวกรีกได้ใช้ในงานเขียนของเขาชื่อว่า สงครามเพโรเซียน เป็นครั้งแรก และต่อมาเขาก็ได้รับการยอมรับว่า เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ก็ได้ให้คำนิยามความหมายของประวัติศาสตร์ไว้ว่า “ประวัติศาสตร์ คือ วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน ”
นอกจากนั้นแล้วก็ได้มีผู้รู้ได้ให้คำจำกัดความคำว่า ประวัติศาสตร์ ไว้นัยด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ก็จะมุ่งเน้นที่จะศึกษาเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์ จะว่าด้วยเรื่องอะไรก็ตาม โดยคำนึงถึงมิติของเวลาเป็นสำคัญ หากว่าเกิดขึ้นผ่านมาแล้ว ก็ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น ในที่นี้จะไม่พูดรายละเอียดอะไรมากนัก จะกล่าวเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจเท่านั้น

การศึกษาประวัติศาสตร์
ตามที่กล่าวมาแล้วว่า ประวัติศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์เป็นวิชาอดีตก็ว่าได้ แต่การที่เราจะศึกษาประวัติศาสตร์นั้น เราจำเป็นต้องมีวิธีการ หรือหลักการ กฎเกณฑ์หลายๆอย่างมาประกอบการศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง และข้อมูลที่นำมาอ้างอิงนั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริง และสามารถพิสูจน์ได้ มิใช่เป็นเพียงการจินตนาการนึกคิดเอาตามความรู้สึกของเราเอง เสมือนกับนิยายที่เราจะนึกวาดฝันจินตนาการเอาอย่างไรก็ได้ และ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการอ้างอิงนั้น ท่านเรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในการศึกษาประวัติศาสตร์ .............

ประโยชน์และความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์
เราทุกคนไม่มีคนไหนเลยที่ไม่อยากรู้เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดในอดีต ไม่ว่าจะเป็นอดีตของตนเอง อดีตของบรรพบุรุษ อดีตของถิ่นอาศัยของเรา เป็นต้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เราปรารถนา ใคร่รู้แทบทั้งสิ้น เพราะอดีตสามารถบ่งบอกสถานะภาพหรือความเป็นอยู่ของเราในปัจจุบันได้ บางคนเป็นมหาเศรษฐี ก็พยายามมองอดีตของตนเองว่า ตนเองได้ทำมาหากินอย่างไร จึงได้กลายมาเป็นมหาเศรษฐีได้ เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์โดยละเอียดอย่างถ่องแท้ ก็จะทำให้เป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องราวที่ผ่านมาในอดีตเป็นอย่างดี กว่าคนที่ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์เสียอีก ตามที่กล่าวแล้ว..........
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง