Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรียนภาษาอังกฤษผ่านพระพุทธศาสนา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
PhramahaSurasak Suramedhi
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2006, 4:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียนภาษาอังกฤษผ่านพระพุทธศาสนา
Learning English through Buddhism


โดย พระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี (ชะมารัมย์)
นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
3 rd Year Student of Dhammakaya Open University California, USA



สวัสดีครับทุกท่าน หลายท่านรู้สึกแปลกใจว่า เอ๊ะ? ทำไม่เคยเห็นหัวข้อเรื่องดังกล่าวนี้มาก่อนเลย ทำไม? บอกให้ก็ได้ ก็เพราะเพิ่งเขียนยังไง เอาละทีนี้ก็มาว่าเรื่องของเรากัน เดี๋ยวหาว่าพูดนอกเรื่อง ไปเรื่อยเปื่อยจนหาที่จบไม่ได้ เชื่อเลยว่าหลายท่านฟังดูหัวข้อเรื่องนี้แล้ว รู้สึกแปลกๆ รู้สึกว่ามันยากเหลือเกิน เพราะมันมี Key word 2 ตัว ที่ทำให้รู้สึกว่ามันยาก Key word ตัวแรกคือ ภาษาอังกฤษ ( English) กับ Key word ตัวที่สอง คือ พระพุทธศาสนา (Buddhism) ซึ่งภาษาอังกฤษมันมาตามลำพังมันก็ยากอยู่แล้ว แทบจะไม่เข้า หรือไม่รู้เรื่องเลย แต่นี้มาคู่กับพระพุทธศาสนา ยิ่งไปกันใหญ่ เข้ากับสำนวนไทยที่ว่า เข็ญครกขึ้นภูเขา มีแต่จะเสียแรงและเหนื่อยเปล่าๆ ดูเหมือนจะไม่ได้อะไรเลย เชื่อเลยว่า หลายท่านคงคิดเช่นนี้เป็นแน่ แต่ แต่... อย่าลืมนะว่าเราเป็นชาวพุทธ เราเกิดบนแผ่นดินไทย เราอยู่เมืองไทย เรามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อย่างไรก็ตามหลายท่านก็คงเรียนรู้และเข้าใจพระพุทธศาสนากันดีอยู่แล้ว แต่นั้นจะเพียงพอสำหรับเราหรือ เพราะในปัจจุบันได้มีฝรั่งผมทอง (จะทอง จะดำอะไรก็แล้วแต่) ได้เกิดความประทับใจในพระพุทธศาสนา (จะด้วยเหตุอะไรก็ตาม) หลายท่านก็คงทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าศาสนาของเขาเป็นเช่นไร ฝรั่งหลายคนเลิกนับถือศาสนาของตนเองแล้วเปลี่ยนศาสนาหันมาเรียนรู้และนับถือ พระพุทธศาสนาตามลำดับ ซึ่งในปัจจุบันก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้เราในฐานะที่เป็นชาวพุทธ (อย่าปฏิเสธนะครับ) จึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นก็ศึกษาภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย เพื่อจะทำให้สามารถอธิบายพระพุทธศาสนาให้ฝรั่งเข้าใจได้อย่างถูกต้องได้ (และไม่แน่นะครับ เราอาจจะทำให้เขาได้ดวงตาเห็นธรรมเลยก็ว่าได้ ใครจะไปรู้) ฉะนั้นจึงต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้มากๆ ให้เข้าใจให้ลึกซึ้งถึงรากแก่นของภาษา บวกกับบางท่านมีความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็จะทำให้ง่ายมากขึ้น สามารถที่จะอธิบายหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาให้ฝรั่งเข้าใจได้โดยง่าย
นี้และครับคือจุดประสงค์ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องดังกล่าวนี้ นอกเหนือจากจะได้รู้และเข้าใจพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ยังทำให้เราเรียนรู้หลักภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย เหมือนกับสำนวนไทยที่ว่า ยิ่งนกนัดเดียวได้นกหลายตัว อ้าว! ไม่ใช่ ได้นกสองตัวต่างหาก
เอาละคิดว่าหลายท่าน คงตั้งหน้าและก็ตั้งตารอคอยกัน(นาน) แล้ว ผมก็จะนำท่านไปเรียนรู้บทความหนึ่ง ซึ่งไม่ยาวนัก และก็ง่ายด้วย (สำหรับบางท่านนะ) ลองอ่านและทำความเข้าใจดูสิครับ (อย่าพึ่งท้อ)
Buddhism

Buddhism, one of the great world religions, has been in the world for more than 2,500 years. It was been practiced by millions of people in various parts all over the world. It was founded by the Buddha, who was neither a God nor a Prophet, or received any divine messages.
The term Buddhism, which is known as Buddhasasana in Thai, literally means the Buddha’s teachings. All of his teachings are natural truths, which were not created or invented by himself. Whether he was born or has discovered them or not, they always exist by themselves in nature.
At the present time, Buddhism is divided into two schools, namely; Mahayana School (New form) and Hinayana or Theravada School(Old form). The Mahayana School, which is called the Great Vehicle, is mostly practiced in Tibet, China, Japan, Mongolia, Korea, Vietnam, and some countries in Europe. The other is Hinayana or Theravada School, which is called the smaller vehicle, is mostly practiced in Thailand, Cambodia, Loas, Nepal, Burma, etc..

Source: A Glimpse of Thai Buddhism by Samanera Surasak Chamaram, 2004. Page 1-2.

ก่อนที่จะมาว่ากันทีละประโยค อยากให้ท่านอ่านบทความข้างบนนี้อีกสักรอบเสียก่อน (อย่าพิ่งท้อนะครับ) แล้วพยายามแปลเอาความ ไม่จำเป็นต้องแปลให้ถูกต้องตามความหมายของศัพท์ แปลตามความเข้าใจของเราให้เวลาแปล 10 นาที เริ่ม......
เมื่อแปลเสร็จแล้วให้เก็บเอาไว้ในใจ (ห้ามพูดออกมา) ทีนี้ก็มาดูสิว่าจะตรงกันกับที่ผมแปลไว้หรือเปล่า(คิดว่าหลายท่านคงจะเดาใจผมถูก) บางท่านก็อาจจะแปลถอดความมาเป็นภาษาไทยได้ดีกว่าผมเสียอีก (น่าอนุโมทนาสาธุ)

สัญลักษณ์ที่ควรรู้ก่อนการแปล

S1 หมายถึงประโยค ที่ 1 S2 หมายถึงประโยค ที่ 2 S3 หมายถึงประโยค ที่ 3
M1 หมายถึงคำแปลของประโยค ที่ 1 M2 หมายถึงคำแปลของประโยค ที่ 2 M3 หมายถึงคำแปลของประโยค ที่ 3

ทีนี้เราก็มาว่ากันทีละประโยคดีกว่า เริ่ม.....

Buddhism (พระพุทธศาสนา)
Paragraph 1

S1 = Buddhism, one of the great world religions, has been in the world for more than 2,500 years.
M1=พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาศาสนาโลกที่ยิ่งใหญ่ได้ถือกำเนิดอยู่บนโลกนี้มาเป็นเวลามากกว่า 2,500 ปีแล้ว
S2 = It was been practiced by millions of people in various parts all over the world.
M2 = ซึ่งมีผู้คนนับถือจำนวนกว่าล้านคนทั่วภูมิภาคต่างๆของโลก
S3 = It was founded by the Buddha, who was neither a God nor a Prophet, or received any divine messages.
M3 = โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงค้นพบ ซึ่งพระองค์ไม่ได้เป็นทั้งพระเจ้าหรือศาสดาผู้พยากรณ์ หรือแม้แต่ทรงรับเทวบัญชาใดๆเลย
Paragraph 2

S1 = The term Buddhism, which is known as Buddhasasana in Thai, literally means the Buddha’s teachings.
M2 = คำว่า Buddhism ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในภาษาไทยว่า พระพุทธศาสนา ตามรูปศัพท์แล้วหมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า
S2 = All of his teachings are natural truths, which were not created or invented by himself.
M2 = คำสอนของพระองค์ทั้งหมดนั้น เป็นสัจธรรม ซึ่งพระองค์ไม่ได้ทรงสร้างขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้นมาเอง
S3 = Whether he was born or has discovered them or not, they always exist by themselves in nature.
M3 = สัจธรรมเกิดขึ้นตามลำพังมันเองตามธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จอุบัติขึ้นหรือได้ค้นพบมันหรือไม่ก็ตาม.

Paragraph 3

S1 = At the present time, Buddhism is divided into two schools, namely; Mahayana School (New form) and Hinayana or Theravada School(Old form).
M1 = ในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาแยกออกเป็นสองนิกายใหญ่ ๆ คือ นิกายมหายาน(รูปแบบใหม่) และนิกายหินยานหรือเถรวาท (รูปแบบเก่า)
S2 = The Mahayana School, which is called the Great Vehicle, is mostly practiced in Tibet, China, Japan, Mongolia, Korea, Vietnam, and some countries in Europe.
M2 = นิกายมหายาน ซึ่งถูกเรียกว่า ยานใหญ่ นั้น ส่วนใหญ่แล้วมีผู้คนนับถืออยู่ในแถบ ประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม และบางประเทศในทวีปยุโรป
S3 = The other is Hinayana or Theravada School, which is called the smaller vehicle, is mostly practiced in Thailand, Cambodia, Loas, Nepal, Burma, etc..
M3 = ส่วนอีกนิกายคือ นิกายหินยานหรือเถรวาท ซึ่งถูกเรียกว่า ยานน้อย นั้น ส่วนใหญ่แล้วมีผู้คนนับถืออยู่แถบประเทศ ไทย กัมพูชา ลาว เนปาล พม่า ฯลฯ

พอแปลเสร็จเห็นไหมครับ? ว่ามันง่ายขึ้นตั้งเยอะ ที่เราว่ายากก็เพราะว่าเรามัวแต่ไปกังวล พอเห็นประโยคยาวๆหรือบทความยาวเป็นหน้าๆ ก็เลยทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง หมดกำลังใจ คิดว่าตัวเองแปลไม่ได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ รีบเปลี่ยนทัศนคติมุมมองเสียใหม่โดยด่วน จากทีแปลแบบมัวๆ แปลโดยที่ไม่รู้ว่าอะไรคือประโยค ประโยคมันสิ้นสุดตรงไหน และในย่อหน้าหนึ่งๆนั้นมีกี่ประโยค อะไรทำนองนี้ ลองเปลี่ยนมาเป็น แปลที่ละประโยค นับดูว่าประโยคมีกี่ประโยค ( สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าประโยคมันสิ้นสุดตรงไหนก็ดูเครื่องหมาย . ( full stop) ถ้ามันสิ้นสุดตรงไหนนั้นและคือจบประโยค คือเป็นประโยคนั่นเอง) ต่อไปก็ค่อยลงมือแปลและที่สำคัญอย่าพยายามใช้ Dictionary ถ้าไม่จำเป็น เพราะจะทำให้เรายึดตามรูปแบบหรือความหมายของศัพท์จนเกินไป สำนวนในการแปลจะไม่เป็นธรรมชาติ กล่าวง่ายๆคือ มันไม่เป็นตัวของเราเอง เวลาติ ศัพท์ คือไม่รู้ความหมายของศัพท์ ให้พยายามหาคำศัพท์ ที่อยู่แวดล้อมในประโยคเดียวกัน เพราะคำที่อยู่แวดล้อมอาจเป็น Key word ที่สำคัญที่จะทำให้เรารู้ความหมายของศัพท์ที่เราแปลไม่ได้เลยก็ว่าได้
ยกตัวอย่างเช่น
Buddhism, one of the great world religions, has been in the world for more than 2,500 years.
สมมติว่าเราไม่รู้ความหมายของ religions แต่ที่เหลือเราทราบความหมายหมด ก็ให้ดูคำศัพท์ที่อยู่แวดล้อม ที่มันน่าจะมีความหมายใกล้เคียงกัน ในที่นี้ก็ไปดูที่ Buddhism พอดู Buddhism เราก็รู้ว่า Buddhism แปลว่า ศาสนาพุทธ หรือพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น เมื่อพิจารณาดู religions แล้วในประโยคมันทำหน้าที่เป็นคำขยายของ Buddhism ฉะนั้น religions ก็น่าจะแปลว่า ศาสนา เป็นต้น
ซึ่งวิธีนี้อาจจะดูยืดยาว เรื่องมาก แต่ถ้าทำได้จะมีประโยชน์อย่างมาก (แต่ถ้าไม่ถนัดก็ไม่เป็นไร) ยังมีวิธีการอื่นอีกมากให้เราได้เลือก ถ้ายังไงก็ลองอ่านหนังสือเยอะๆ แปลให้มากๆ หัดเขียนบ่อยๆ ฝึกพูดบ่อยๆ ไม่เก่งก็ให้มันรู้ไป (จริงไม่ครับ) ให้เรานึกถึงสำนวนที่ว่า อดเปรี้ยวไว้กินหวาน อยู่เสมอๆ ก็จะทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้น อย่างน้อยสิ่งที่เราทำไปมันก็ไม่เสียแรงเปล่า เอาละ พอแค่นี้ก่อน คืนพูดมากกว่านี้ เดี่ยวหาที่ลงไม่ได้ Bye – Bye สวัสดี.............
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง