Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สังคหวัตถุ 4 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ช้าง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2006, 5:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากที่ได้อ่านหนังสือธรรมคีตาของนภาจรี หน้า56-57 แล้วเกิดความประทับใจในเรื่องของธรรมะของการสงเคราะห์ แล้วมีข้อความที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนจึงต้องการที่จะเผยแพร่แก่เยาวชน เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4 (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์ - bases of sympathy; acts of doing favors; principles of service; virtues making for group integration and leadership)
1. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน - giving; generosity; charity)
2. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม - kindly speech; convincing speech)
3. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม - useful conduct; rendering services; life of service; doing good)
4. สมานัตตตา* (ความมีตนเสมอ** คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี - even and equal treatment; equality consisting in impartiality, participation and behaving oneself properly in all circumstances)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) พิมพ์บริษัท สื่อตะวัน จำกัด กทม. พ.ศ.2545 (ที.ปา. 11/140/167; 267/244; องฺ.จตุกฺก. 21/32/42; 256/335; องฺ.อฏฺฐก. 23/114/222; องฺ.นวก. 23/209/377.
การสงเคราะห์
พุทธองค์ทรงตรัสว่า
ททัง มิตตานิ คันถติ ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
ทท มาโร ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป้นที่รัก
มนา ปทายี ลภเต มนาปัง ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจย่อมได้สิ่งที่ชอบใจที่ใจ
การให้ ทำให้สังคมชาวพุทธสงบสุขร่มเย็น การทำบุญใส่บาตร พระภิกษุสามเณร เป็นการให้ ที่เปี่ยมด้วยความสะอาดแห่งใจ เพราะอาจให้ แม้ไม่รู้จักกัน ไม่เจาะจง ผู้รับและให้แต่สิ่งของที่ดี แม้เป้าหมายของผู้ให้จะหวังในเนื้อนาบุญ แต่บุญที่เกิดก็คือ กิเลสที่ลดลงมิใช่หรือ
(นภาจรี)

เปล
จากที่ได้อ่านหนังสือธรรมคีตาของนภาจรี หน้า64-65 แล้วเกิดความประทับใจในเรื่องของธรรมะของกฎแห่งธรรมชาติ แล้วมีข้อความที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนจึงต้องการที่จะเผยแพร่แก่เยาวชน เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
นิยาม 5
นิยาม 5 (กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ — orderliness of nature; the five aspects of natural law)
1. อุตุนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ — physical inorganic order; physical laws)
2. พีชนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ มีพันธุกรรมเป็นต้น — physical organic order; biological laws)
3. จิตตนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต — psychic law)
4. กรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ — order of act and result; the law of Karma; moral laws)
5. ธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย — order of the norm; the general law of cause and effect; causality and conditionality)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) พิมพ์บริษัท สื่อตะวัน จำกัด กทม. พ.ศ.2545 (ที.อ. 2/34;สงฺคณี.อ. 408.
กฎแห่งธรรมชาติ
กฎ 5 ประการที่เป็นธรรมชาติ อันเป็นระเบียบและกฎเกณฑ์แห่งจักวาล อันยากที่จะเปลี่ยนแปร ด้วยศาสตร์แห่งมนุษย์ มนุษย์ควรตระหนัก และเข้าใจในธรรมชาติเหล่านี้ เพื่อปฏิบัติตนให้สอดคล้องและมีความสุขกับกฎแห่งธรรมชาตินี้ อันได้แก่
- อุณหภูมิความร้อน-หนาว ฤดูกาล
- พันธุกรรม และการสืบพันธุ์ แห่งสัตว์โลก
- การทำงานของจิตอย่างลึกซึ้ง
- ผลของการกระทำ ที่เป็นกฎแห่งกรรม
- เหตุปัจจัยที่เป็นเหตุ เป็นผลแก่กันแห่งสรรพสิ่ง
(นภาจรี)
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง