|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ปอนด์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
26 ส.ค. 2006, 5:31 pm |
  |
จากที่ได้อ่านหนังสือธรรมคีตาของนภาจรี หน้า44-45 แล้วเกิดความประทับใจในเรื่องของธรรมะของผู้ครองเรือน แล้วมีข้อความที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนจึงต้องการที่จะเผยแพร่แก่เยาวชน เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
ฆราวาสธรรม 4
ฆราวาสธรรม 4 (ธรรมสำหรับฆราวาส, ธรรมสำหรับการครองเรือน, หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ - virtues for a good household life; virtues for lay people)
1. สัจจะ (ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง - truth and honesty)
2. ทมะ (การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา - taming and training oneself; adjustment)
3. ขันติ (ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย - tolerance; forbearance)
4. จาคะ (ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว - liberality; generosity)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) พิมพ์บริษัท สื่อตะวัน จำกัด กทม. พ.ศ.2545 (สํ.ส. 15/845/316; ขุ.สุ. 25/311/361
ธรรมะของผู้ครองเรือน
โปรดอย่าแบ่งแยก แนวทางผู้คนว่าเป็นทางโลก ทางธรรม เพราะธรรมะ คือธรรมชาติ คนทุกคนปฏิบัติธรรมอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรม อกุศลกรรม หรือ อพยากตกรรม ขอเพียงแน่ตระหนัก
ในธรรมะแห่งผู้ครองเรือน ที่ต้องมีสัจจะ, มีการข่มใจ อดทน และเสียสละ ท่านก็จะครองเรือนได้อย่างสงบสุข และความสงบสุขนี้ ก็จะเผื่อแผ่มาสู่ทุกคนในเรือนตนอันยังความเจริญให้สำเร็จ
(นภาจรี)
ชัย
จากที่ได้อ่านหนังสือธรรมคีตาของนภาจรี หน้า52-53 แล้วเกิดความประทับใจในเรื่องของธรรมะของการสอน แล้วมีข้อความที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนจึงต้องการที่จะเผยแพร่แก่เยาวชน เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
ลีลาการสอน หรือ พุทธลีลาในการสอน หรือ เทศนาวิธี 4
ลีลาการสอน หรือ พุทธลีลาในการสอน หรือ เทศนาวิธี 4 (การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง แม้ที่เป็นเพียงธรรมีกถา หรือการสนทนาทั่วไป ซึ่งมิใช่คราวที่มีความมุ่งหมายเฉพาะพิเศษ ก็จะดำเนินไปอย่างสำเร็จผลดีโดยมีองค์ประกอบที่เป็นคุณลักษณะ 4 ประการ - the Buddha's style or manner of teaching)
1. สันทัสสนา (ชี้แจงให้เห็นชัด คือ จะสอนอะไร ก็ชี้แจงจำแนกแยกแยะอธิบายและแสดงเหตุผลให้ชัดเจน จนผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง เห็นจริงเห็นจัง ดังจูงมือไปดูเห็นกับตา - elucidation and verification)
2. สมาทปนา (ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ คือ สิ่งใดควรปฏิบัติหรือหัดทำ ก็แนะนำหรือบรรยายให้ซาบซึ้งในคุณค่า มองเห็นความสำคัญที่จะต้องฝึกฝนบำเพ็ญ จนใจยอมรับ อยากลงมือทำ หรือนำไปปฏิบัติ - incitement to take upon oneself; inspiration towards the Goal)
3. สมุตเตชนา (เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า คือ ปลุกเร้าใจให้กระตือรือร้น เกิดความอุตสาหะ มีกำลังใจแข็งขัน มั่นใจที่จะทำให้สำเร็จจงได้ สู้งาน ไม่หวั่นระย่อไม่กลัวเหนื่อย ไม่กลัวยาก - urging; encouragement; animation; filling with enthusiasm)
4. สัมปหังสนา (ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง คือ บำรุงจิตให้แช่มชื่นเบิกบาน โดยชี้ให้เห็นผลดีหรือคุณประโยชน์ที่จะได้รับและทางที่จะก้าวหน้าบรรลุผลสำเร็จยิ่งขึ้นไป ทำให้ผู้ฟังมีความหวังและร่าเริงเบิกบานใจ - gladdening; exhilaration; filling with delight and joy)
อรรถกถาชี้แจงเพิ่มเติมว่า ข้อ 1 ปลดเปลื้องความเขลาหรือความมืดมัว ข้อ 2 ปลดเปลื้องความประมาท ข้อ 3 ปลดเปลื้องความอืดคร้าน ข้อ 4 สัมฤทธิ์ การปฏิบัติ จำ 4 ข้อนี้สั้นๆ ว่า ชี้ให้ชัด ชวนให้ปฏิบัติ เร้าให้กล้า ปลุกให้ร่าเริง หรือ แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) พิมพ์บริษัท สื่อตะวัน จำกัด กทม. พ.ศ.2545 (ที.สี. 9/198/161; ฯลฯ, ที.อ. 2/89; อุ.อ. 304,457,490
การสอน
สมณะ - ครู - อาจารย์ และผู้เทศนาธรรม พึงจดจำพุทธลีลาในการสอนไว้ปฏิบัติยามเป็นผู้สอน เป็นหัวใจของการถ่ายทอดความรู้ เพราะการสอน คือ ต้นแบบอันประเสริฐจึงต้องให้ผู้เรียน เกิดความรู สึกว่า สิ่งที่เรียนนั้น
1. แจ่มแจ้งเข้าใจ
2. เห็นในคุณค่า
3. จิตเกล้วกล้าพากเพียร
4. ยิ่งเรียนยิ่งเบิกบาย
(นภาจรี)  |
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |