Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมะหลวงพ่อชา สมาธิภาวนา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
dd
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2006, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข
ความจริงสุขนั้นก็คือ ทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง
ส่วนทุกข์ก็คือ ทุกข์อย่างหยาบ
พูดอย่างง่ายๆ สุขและทุกข์นี้ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง
ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข
เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ
ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา
ไปจับหางมันก็ดูเหมือนเป็นสุข
แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน
เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน
คือ ตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง
ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่สบาย ไม่สงบ
ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว เช่น ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ
ได้มาแล้วก็ดีใจก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริงๆ
เพราะยังมีความเคลือบแคลงใจ ว่ามันจะสูญเสียไป
กลัวมันจะหายไป ความกลัวนี่แหละเป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ
บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริงๆ ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก
นี่หมายความว่า ถึงจะสุขก็จริงแต่ก็มีทุกข์ดองอยู่ในนั้นด้วย
แต่เราไม่รู้จัก เหมือนกันกับว่าเราจับงู
ถึงแม้ว่าเราจับหางมันก็จริง ถ้าจับไม่วางมันก็หันกลับมากัดได้
ฉะนั้น หัวงูก็ดี หางงูก็ดี บาปก็ดี บุญก็ดี
อันนี้อยู่ในวงวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
ดังนั้น ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว ก็ไม่ใช่หนทาง

* ดูไม้ท่อนนี้ซิ .. สั้นหรือยาว
สมมติว่า คุณอยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้ .. ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น
แต่ถ้าคุณอยากได้ไม้สั้นกว่านี้ .. ไม้ท่อนนี้มันก็ยาว
หมายความว่า "ตัณหา" ของคุณต่างหาก
ที่ทำให้มีสั้น มียาว มีชั่ว มีทุกข์ มีสุข ขึ้นมา

* ลงท้ายแล้ว แนวทางการทำสมาธิภาวนาทุกแบบ
ต้องเป็นไปเพื่อการปล่อยวาง
ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่น .. แม้ในตัวอาจารย์
แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น
ก็เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง

* ถ้าเราเอาชนะตัวเอง
มันก็จะชนะทั้งตัวเอง ชนะทั้งคนอื่น ชนะทั้งอารมณ์
ชนะทั้งรูป ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทั้งโผฏฐัพพะ
เป็นอันว่า ชนะหมด

* อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็นศีล
การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ
การพิจารณากำหนดลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัวตน
แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่าปัญญา

* นั่ง มันสงบก็ดูความสงบไป ที่มันไม่สงบก็ดูความไม่สงบไป
ที่มันสงบนั้นก็เป็นเรื่องของจิต มันเป็นอย่างนั้นไม่ได้เป็นอย่างอื่น
มันสงบแล้วก็สงบไป ถ้าไม่สงบก็ไม่สงบไป
เราจะไปทุกข์เพราะมันไม่สงบไม่ได้ เราจะดีใจเพราะจิตสงบมันก็ไม่ถูก

* การฝึกจิตหรือการภาวนานี้ ถ้าจิตสงบแล้ว
เราจะออกจากเพื่อน ไม่อยากคลุกคลี เพื่อนมาหาก็รำคาญ
คนที่จิตยังไม่สงบจะชอบอยู่กันหลายคน พูดมากวุ่นวาย
บางองค์จิตไม่อยู่นึกถึงองค์นั้นก็ไปหา นึกถึงเรื่องนั้นก็ชวนคุย
เป็นไปตามคำสั่งตามอาการของกิเลสตัณหา ..
ผู้ประพฤติปฏิบัติจริงอยู่กันร้อยสองร้อยก็ไม่มีเสียงคุย

* มรรคผลนิพพานมีอยู่ .. แต่สิ่งเหล่านั้นเกิดจากการปฏิบัติ
เกิดจากการทรมาน กล้าหาญ กล้าฝึก กล้าหัด กล้าคิด กล้าแปลง กล้าทำ
การทำนั้นทำอย่างไร
ท่านให้ฝืนใจตัวเอง ใจเราคิดไปทางนี้ท่านให้ไปทางโน้น
ใจเราคิดไปทางโน้นท่านให้ไปทางนี้ ทำไมท่านจึงให้ฝืนใจ
เพราะใจถูกกิเลสเข้าพอกเต็มที่แล้ว มันยังไม่ได้ฝึกหัดดัดแปลง
ยังไม่เป็นศีลเป็นธรรม ใจมันยังไม่แจ้งจะไปเชื่อมันได้อย่างไร

* กินน้อยนอนน้อยพูดน้อยคือนักปฏิบัติ กินมากนอนมากพูดมากคือคนโง่

* ถ้าเป็นของที่ซื้อมา สั่งมา หรือขอเขามา
จะดีอย่างไรก็เห็นเป็นของไม่ดีไปหมด
แต่ถ้าเป็นของที่ได้มาเองแม้ไม่ค่อยดี แตกหัก
พอซ่อมแซมใช้ได้ก็ดูเป็นของดียิ่งนัก

* ฝึกให้ได้ว่าถึงเวลาวางก็ให้มันวาง
ให้มันเป็นคนละอย่าง คนละอย่าง คนละอันกัน
ทำก็ได้วางก็ได้ ให้มันขาดกันไปเลย
ฝึกไปก็ค่อยเบาไป ง่ายขึ้น ทำอะไรก็หัดตัวเองอย่างนั้น ทำก็ได้วางก็ได้
เลยได้รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์และทีนี้ เหตุที่ทุกข์เกิดก็รู้จักแล้ว
ธรรมเกิดเพราะเหตุรู้จักแล้ว เห็นแล้ว เกิดอย่างนี้นี่เอง
จากนั้นมาไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีแต่ความสนุกเบิกบาน

* เราปฏิบัติอย่าให้หูหางมันเกิดขึ้น เป็นอะไรแล้วก็ให้มันแล้วกันไป
เป็นพระโสดาบันแล้วก็ให้มันแล้วไป เป็นพระอรหันต์แล้วก็ให้มันแล้วไป
อยู่ง่ายๆ ทำประโยชน์ไปเรื่อยๆ อยู่ที่ไหนก็อยู่ไปได้เป็นปกติ
ไม่ต้องไปโอ้อวดว่าเราได้ เราเป็นอะไรๆ ทั้งนั้น

* ผู้ถึงสันติธรรมย่อมมีจิตอยู่อย่างนอกเหตุเหนือผล
นอกสุขเหนือทุกข์ นอกดีเหนือชั่ว นอกเกิดเหนือตาย ..
มันก็ทำความเกิดนั้นไม่ให้เป็นทุกข์ คือมันเกิดดับ
ให้มีสติประจำกาลที่ได้ทำและคำที่พูดอยู่เสมอ นี่เรียกว่าปฏิปทาของจิต

ธรรมะหลวงพ่อชา
www.khonnaruk.com
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง