Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมบรรยาย ตอนที่ 1 หน้าที่ของชีวิต อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
kit_allwhat
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2006
ตอบ: 25

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2006, 11:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ธรรมบรรยาย ตอนที่ 1 หน้าที่ของชีวิต
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา



นมตฺถุรตนตฺตยสฺส ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยขอความผาสุกความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

อันดับต่อไป พึงตั้งใจฟังธรรม ให้ตั้งอกตั้งใจฟังให้เกิดฉันทะความพอใจในการฟังธรรม จะได้ไม่ท้อถอยจะได้ ไม่ง่วงการงานอันใดก็ตาม ถ้าเรามีฉันทะ เราก็จะเกิดความพอใจ ทำการงานนั้นด้วยความสุข ไม่ท้อถอยงานการปฏิบัติก็ดี งานอื่นๆ หรือแม้แต่การฟังธรรมนี้ก็ดีถ้าเราสร้างฉันทะให้เกิดขึ้น ทำความพอใจให้เกิดขึ้น เราก็จะเพลิดเพลินกับการงานนั้นๆ การฟังธรรมนี้ก็จะเป็นประโยชน์ เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจของเราให้ยิ่งขึ้นวันนี้ก็จะได้มาพูดเกี่ยวกับเรื่องของ ปรมัตถธรรม เพราะเป็นส่วนสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติวิปัสสนา

ถ้าการเจริญวิปัสสนาไม่รู้ไม่เข้าใจเรื่องปรมัตถธรรมแล้วการปฏิบัติมันก็จะทำไม่ถูก จำเป็นที่เราจะต้องเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรมหรือถ้าย่อลงมาแล้วก็คือรูปนาม ปรมัตถธรรมนี้แยกออกเป็นสองอย่าง ก็คือ รูปธรรมกับนามธรรมถ้าเราไม่เข้าใจเรื่องรูปนามแล้ว เราจะปฏิบัติได้อย่างไรเพราะ วิปัสสนานั้น สติต้องระลึกที่รูปที่นามถ้าไม่รู้จักรูปนามก็ระลึกไม่ถูก มันก็เฉไฉไปอย่างอื่น เจริญ สติไปๆ เพ่งไปอย่างอื่นหมดคือไม่ได้กำหนดตรงต่อปรมัตถ์ มันก็ไปสู่บัญญัติ

อารมณ์มันมีอยู่สองพวก คือ อารมณ์ ที่เป็นบัญญัติพวกหนึ่งกับอารมณ์ที่เป็น ปรมัตถ์พวกหนึ่ง ในอารมณ์ทั้งหลาย ทั้งหมดแยกออกมาแล้วก็มี อารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ กับ อารมณ์ที่เป็นบัญญัติ

ฉะนั้น ถ้าสติไม่ระลึกที่ปรมัตถ์ มันก็ไประลึกที่บัญญัติๆ มันไม่ใช่ของจริงมันเป็นของปลอม มันเป็นสมมุติ มันไม่มีสภาวะที่จะยื่นให้เกิดปัญญาได้เพราะว่ามันไม่ใช่ของจริง มันไม่มีความเกิดดับ ให้ดู มันจึงแสดงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาให้เห็นไม่ได้ที่จะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะต้องกำหนดที่รูปนามหรือกำหนดที่ ปรมัตถ์ เพราะปรมัตถธรรมมีเกิดมีดับอยู่ตลอดเวลาการที่มันต้องเกิด ต้องดับอยู่อย่างนั้นน่ะ มันก็แสดงความไม่เที่ยงให้ดูแสดงความเปลี่ยนแปลง ให้เห็น เรียกว่า อนิจจลักษณะ แสดง ทุกขลักษณะ ความเกิดดับ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ให้เห็นแสดงอนัตตลักษณะ คือสภาพไม่ใช่ตัวตน สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ ให้เห็น ให้รู้ปรมัตถธรรมว่ามันมีความจริงอยู่อย่างนี้

ฉะนั้นการปฏิบัติสติก็ต้องระลึกให้ตรงต่อปรมัตถธรรม หรือตรงต่อรูปต่อนามถ้ากำหนดไม่ตรงมันก็ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเมื่อไม่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว มันจะปล่อยวางไม่ได้ มันจะถอนความยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ก็หลงอยู่อย่างนั้น ยึดอยู่อย่างนั้น หลงว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นของเราหลงชอบหลงชังอยู่อย่างนั้น มันถอนไม่ได้

การที่จะถอนกิเลสทั้งหลายออกจากใจได้ จะต้องมีปัญญาเกิดขึ้นเพราะ ปัญญานี่เป็นตัวที่จะตัดกิเลส เป็นตัวที่จะทำลายกิเลส ฉะนั้นปัญญาจะเกิดขึ้นมาก็ต้องระลึกตรงต่อปรมัตถ์ จึงจะเกิดปัญญาที่เรียกว่า วิปัสสนาวิปัสสนา ก็คือ ปัญญานั่นเอง ได้แก่ความเห็นแจ้ง เห็นจริง เห็นตามความเป็นจริง เห็นวิเศษก็คือเห็นรูป เห็นนามเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่าเห็นแจ้ง เห็นตามความเป็นจริงอันนี้ถ้าหากว่า ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจเรื่องรูปเรื่องนาม ไม่เข้าใจปรมัตถ์เจริญสติไป สิบปี ยี่สิบปี หรือตลอดชีวิต ก็ไม่เป็นวิปัสสนาปฏิบัติเท่าไหร่ๆ มันก็เกิดปัญญาไม่ได้ เพราะว่าระลึกไม่ตรง

มันก็ได้แต่เรื่องของสมถะคือได้สมาธิเท่านั้น ได้ความสงบ ทำไปแล้วก็ได้ความสงบ ได้ความสุข ได้ความอิ่มเอิบจากสมาธิหรือได้ฤทธิ์ ได้เดช ได้อิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ เหล่านั้น แต่ว่าไม่ได้เกิดปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริงก็ถอนกิเลสไม่ได้ ตัดกิเลสโดยเด็ดขาดไม่ได้ อย่างดีก็แค่ข่มกิเลสเข้าไว้เรียกว่า วิกขัมภนปหานตราบใดที่ยังมีสมาธิอยู่ก็รู้สึกว่า จิตใจปลอดโปร่ง ไม่มีโลภ โกรธ หลง แต่นั่นไม่ได้หมายถึงว่าตัดกิเลสขาด เป็นเพียงแต่ว่ากิเลสมันถูกข่มเข้าไว้ เพราะมีสมาธิแต่ถ้าหากว่าสมาธิคลายลง ได้รับอารมณ์ก็จะเกิดกิเลสขึ้นมาอีกทำบาปทำกรรม ก็มีวิบากกรรมต่อไป ไม่จบไม่สิ้น ไม่พ้นทุกข์ ถ้ามีกิเลสก็ทำกรรมถ้าทำกรรม ก็มีวิบาก มีทุกข์ต่อไปไม่จบสิ้น

ฉะนั้น วิปัสสนาเท่านั้น ที่จะเข้าถึงความดับทุกข์ได้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ตัดกิเลส เมื่อกิเลสหมดก็สิ้นกรรม อยู่เหนือบุญและบาปทำอะไรก็ไม่เป็นบุญ ทำอะไรก็ไม่เป็นบาป เรียกว่าเป็นกิริยา นั่นถึงจะพ้นทุกข์

ฉะนั้น เจริญวิปัสสนาสติต้องระลึกตรงต่อปรมัตถ์ ปรมัตถธรรมนี้มีอยู่ ๔ อย่างคือ ๑ . จิตปรมัตถ์ ๒ . เจตสิกปรมัตถ์ ๓. รูปปรมัตถ์ ๔. นิพพานปรมัตถ์ จิต เจตสิก รูป นิพพาน รวมเป็น ๔ อย่าง คำว่าปรมัตถ์ คืออะไร ถ้าพูดตามภาษาเข้าใจกันง่ายๆ ก็คือสภาพที่เป็นจริงคือมันเป็นธรรมชาติที่เป็นอยู่จริงๆ เป็นสภาวะ เป็นสิ่งที่มี ที่เป็นอยู่จริงๆ เรียกว่าปรมัตถ์ ถ้าว่าแปลโดยหลักฐาน ก็จะแปลว่า เป็นธรรมอันประเสริฐ ปรมัตถ์คือธรรมอันประเสริฐหมายถึงไม่มีการผิดแปลก ผันแปร แต่อย่างใด คือมีลักษณะอย่างไรก็คงลักษณะอยู่อย่างนั้นแล้วก็เป็นแกนเป็นประธานของบัญญัติทั้งหลาย พูดตามความเข้าใจง่ายๆ ก็คือธรรมชาติที่เป็นจริง ที่มีอยู่ เป็นอยู่จริงๆ ส่วนสิ่งที่ไม่ได้เป็นจริง ไม่มีความเป็นจริงเรียกว่าบัญญัติ คือ สมมุตินั่นเอง

ทีนี้จิตนั้นเป็นอย่างไร จิต ถ้าว่าโดยลักษณะแล้วมีอย่างเดียวเรียกว่า รู้อารมณ์ คำว่า รู้อารมณ์ก็คือ รับอารมณ์อยู่เสมอ อารมฺมณ วิชฺชานน ลกฺขณํ รู้อารมณ์ รับอารมณ์เสมอ เรียกว่า จิต และจิตมันก็ ว่าโดยประเภท ว่าโดยชนิดต่างๆ มีมากมายนะแต่ถ้าว่าโดยลักษณะแล้วมันก็มีอย่างเดียวเหมือนกันคือรับรู้อารมณ์เวลาจิตเกิดขึ้นมาทุกครั้งก็จะรับอารมณ์

ฉะนั้น อารมณ์นั้นก็คือ สิ่งที่ถูกรู้ของจิต จิตนี้จะเป็นธรรมชาติที่เข้าไปรู้อารมณ์จิตเกิดขึ้นมาก็ต้องมีอารมณ์ทุกครั้ง ไม่เคยว่างจากอารมณ์จิตเกิดปุ๊บก็รับอารมณ์ เกิดขึ้นมาก็รับอารมณ์ เกิดขึ้นมาก็รับรู้อารมณ์

ส่วน เจตสิกปรมัตถ์ นั้น คือธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเจตสิกมันก็จะประกอบกับจิตผสมกันอยู่ เวลาจิตเกิด เจตสิกมันก็เกิดร่วมด้วยจิตดับ เจตสิก ก็ดับ จิตอาศัยวัตถุอันใดเกิด มันก็อาศัยวัตถุอันนั้นเกิดจิตรับอารมณ์อันใด เจตสิกก็รับอารมณ์อันนั้นด้วยฉะนั้น เจตสิกมันก็ทำหน้าที่ไปร่วมกับจิต จัดเป็นนามธรรมเหมือนกันจิตก็เป็นนาม เจตสิกก็เป็นนาม คือรู้อารมณ์ได้ รับรู้อารมณ์ได้เจตสิกก็มีหลายชนิด แล้วแต่ว่ามันจะสลับสับเปลี่ยนเข้าไปประกอบ กับจิตในจิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นมา ก็จะมีเจตสิกหลายชนิดเข้าไปผสมอยู่ ทำงานต่างๆ ร่วมกันแล้วเจตสิกนี้มัน มีทั้งที่เป็นฝ่ายบาป เรียกว่า อกุศลเจตสิก เป็นสิ่งที่ไม่ดีให้โทษแล้วก็ เจตสิกที่เป็นฝ่ายกุศล ก็มีเป็นฝ่ายดีงาม แล้วก็มี เจตสิกที่กลางๆ เข้าทั้งสองฝ่ายเกิดสนับสนุนฝ่ายอกุศลก็มี เกิดสนับสนุนฝ่ายกุศลก็มี เข้าไปผสมกับจิด ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม

การเจริญวิปัสสนานั้นจะต้องเข้าไปกำหนดรู้ รู้สภาพธรรมเหล่านี้ที่กำลังปรากฎแล้วก็ดับลง จิตเจตสิกเกิดขึ้นแล้วก็ดับลง เกิดขึ้นแล้วก็ดับลงอย่างรวดเร็วพระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตเกิดดับไปนี่ชั่วลัดนิ้วมือหนึ่งแสนฌกฏิขณะ เร็วมาก เกิดดับ แล้วก็เกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับ แล้วก็มีดวงใหม่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป ต่อๆ กันไป เรียกว่า สันตติเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก มันเป็นอย่างนั้น เกิดดับอย่างนี้ ตลอดเวลา ฉะนั้น ถ้าไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ไม่มีการฝึกสติ ฝึกสมาธิอย่างคมกล้ามันจะไม่เห็นเลย ไม่เห็นความขาดตอน ความเกิดดับของจิด เพราะมันเร็วมากมันจึงเห็นถี่ เหมือนเห็นพร้อมกันไปหมดไปหมด ก็เลยทำให้ยึดถือเป็นตัวเราขึ้นมาเป็นตัวตนขึ้นมา ถ้าหากว่า วิปัสสนามันเกิดขึ้น เข้าไปเห็นจิตเกิดดับ มันจะรู้สึก แล้วมันจะเริ่มเข้าใจ เริ่มเห็นว่า มันไม่ใช่ตัวตน มันเกิด มันดับ มันสักแต่ว่าเป็นธรรมชาติเราจะต้องเห็นก่อน จึงจะถอนความยึดถือได้ ถ้าไม่เห็น มันก็ยึดถือเป็นเราอยู่นั่นแหละเห็นเป็นตัวเรา เพราะมันเห็นเป็นของเที่ยงอยู่อย่างนี้ พอมันเห็นเป็นของเที่ยง มันก็ว่าเป็นตัวตนขึ้นมา

ฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเจริญสติเข้าไปให้ตรงต่อสภาพของจิต ของเจตสิกที่กำลังปรากฏ เราฟังอย่างนี้ ก็เพื่อที่จะให้เป็นความรู้ เพื่อสรุปเข้าไปปฏิบัติ แต่เวลาปฏิบัติจริงๆ เราไม่ได้มาคิดนึกอะไรอย่างนี้หรอกนะ เวลาปฏิบัติจริงๆ ก็คอยเจริญสติระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏแต่ไม่ต้องคิดไม่ต้องนึก ว่ามันเป็นอะไรอย่างไร เพียงแต่รับรู้ รับทราบเรื่อยไป แต่ว่าในเชิงการศึกษาต้องทำความ เข้าใจก่อน หรือปฏิบัติใหม่ๆ ก็อาจไป ทำความรู้สึกให้ได้ก่อนว่าเออ...ที่เราฟัง มาดูซิว่ามันมีจริงมั้ย จิตอย่างนี้ เจตสิก อย่างนี้มันมีจริงมั้ย ค่อยๆ ศึกษาไปในขณะที่ศึกษาพิจารณาใหม่ๆ มันก็อาจจะ มีการคิดนึก เทียบเคียงเข้าไปหาปริยัติพอมันรู้จักมากๆ ขึ้น ต่อไปมันก็ไม่ต้องไปคิดนึกอะไร รับรู้ๆๆ ไปเรื่อยๆ สาธุ


(มีต่อ)
 

_________________
ดีชั่วรู้หมด......แต่ใจคนเรามันอดไม่ได้

แก้ไขล่าสุดโดย kit_allwhat เมื่อ 21 ส.ค. 2006, 12:40 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
kit_allwhat
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2006
ตอบ: 25

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2006, 11:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทีนี้จิตนี้มันทำหน้าที่อยู่ ๑๔ อย่าง ด้วยกัน คำว่า หน้าที่ ภาษาธรรมเรียกว่า กิจ กิจแปลว่าหน้าที่

จิตมันจะทำหน้าที่อยู่ ๑๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิสนธิกิจ คำว่า ปฏิสนธิกิจ นี้ก็คือ ทำหน้าที่สืบต่อภพใหม่หมายถึงจิตที่มันเกิดขึ้นดวงแรกใน ขณะที่มาปรากฏในภพใหม่ อย่างเช่นเป็นมนุษย์นี่ จิตดวงแรกที่มาเกิดขึ้นในครรภ์มารดาเราเรียกว่า ปฏิสนธิจิต ทำหน้าที่สืบต่อภพใหม่ คือจิตที่มันดับไปชาติที่แล้วนี่ มันไม่ได้หมดไป มันส่งต่อให้ปฏิสนธิขึ้นมาใหม่ ในภพใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิกิจ สืบต่อภพใหม่ อันนี้ก็ประดับความรู้ไว้เวลาปฏิบัติจริงๆ มันไม่เห็นหรอก ไม่ใช่ระดับพระพุทธเจ้า

๒. ภวังคกิจ ก็คือ ทำหน้าที่รักษาภพภวังคจิต ทำหน้าที่รักษาภพ หลังจากที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นครั้งแรก ซึ่งมีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไปอย่างรวดเร็วเรียกว่า อุปาทะเกิดขึ้น ฐีติตั้งอยู่ ภังคะดับไปจิตดวงที่สองก็จะเป็นภวังค์ทันทีเพื่อรักษาภพ คือไม่ให้หลุดจากภพนั้นไปคือยังไม่ตายจากภพนั้น ก็ยังสืบต่อ ในชีวิตของสัตว์ทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่นี้มันก็จะมีภวังค์เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ส่วนปฏิสนธิจิตนั้นดับไปแล้ว ต่อมาก็จะมีจิตต่างๆ เกิดขึ้นๆ มา รับรู้อารมณ์ เรียกว่า เป็น วิถีจิต พอจบขบวนก็จะลงเป็นภวังค์รักษาภพ คือ ไม่ให้มันสิ้นไปจากภพนี้ รักษาภพนี้ไว้ทีนี้ถ้ามันเกิดภวังค์มากๆ ก็คือหลับไปที่หลับสนิทนี่เป็นภวังค์ ภวังค์มันเกิดต่อเนื่องจิตไม่เกิดขึ้นมารับรู้อะไร แต่มันก็ยังมีจิตประเภทนี้รักษาเอาไว้ รักษาภพไว้คือให้ชีวิตนี้อยู่ในภพนี้ต่อไป ไม่ให้หลุดจากภพนี้ พอมีอารมณ์มากระทบเช่น มีเสียง มีกลิ่น มีภาพมา จิตมันก็จะขึ้นจากภวังค์ ขึ้นมารับอารมณ์พอจบขบวนมันก็ไปเป็นภวังค์อีก ฉะนั้น ให้เข้าใจคำว่าภวังค์ไว้ ภวังค์นี้มันไม่รู้เรื่องอะไรหรอก เหมือนหลับนี้ไม่รู้เรื่อง ทีนี้บางท่านมักจะเอาคำว่าภวังค์ไปใช้กับสมาธิ ทำสมาธิไป พอจิตมันเข้าไปสู่สมาธิก็บอกว่าไปลงภวังค์ ความจริงไม่ใช่ ถ้าลงภวังค์ ก็คือหลับขณะที่เป็นสมาธิ จิตไม่ได้หลับ จิตที่เข้าไปสู่สมาธิถึงขั้น อัปปนาสมาธิมันก็ไม่รับรู้อะไรเหมือนกัน เงียบไป นิ่ง จิตจะอยู่ในอารมณ์เดียวในทางมโนทวาร

ถ้าเรานั่งสมาธิอยู่นี่ตัวมันก็จะตรงอยู่อย่างนั้นอย่างนั้นไม่ใช่ภวังค์มันเป็นอัปปนาสมาธิ จิตเป็น "มหัคคตจิต" จิตที่เข้าถึงฌาน มันดับความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่ถ้ายังรับรู้อยู่ แต่ไม่รำคาญ อย่างนั้น ยังไม่ถึงอัปปนาสมาธิ ยังไม่ได้ฌานฉะนั้นให้เข้าใจว่าภวังค์นั้นไม่ใช่สมาธิ ภวังค์ก็คือหลับ อย่างเช่นเรานั่งสมาธิกำหนดไปๆ บางทีจิตมันลงภวังค์ พอลงภวังค์ปุ๊บ ตัวเราจะอยู่ไม่ได้แล้ว ตัวมันจะสัปหงก มันเป็นภวังค์ เป็นมากๆ ตัวจะสัปหงกไป ถ้าหลับ ตัวจะทรงตัวอยู่ไม่ได้ทีนี้พอจิตลงภวังค์ ตัวมันก็จะสัปหงกไป พอตัวมันเคลื่อนไหวเราก็รู้สึก จิตมันก็รู้สึกตัวมันก็ขึ้นมารับรู้ใหม่ ก็เรียกว่าตื่นขึ้นมา ฉะนั้นเดี๋ยวมันก็เป็นภวังค์ เดี๋ยวมันก็ขึ้นมารับรู้อารมณ์อย่างนี้เราสามารถจะกำหนดได้ กำหนดจิตประเภทเหล่านี้ได้พระพุทธเจ้าจึงแสดงในเรื่อง การเจริญสติปัฏฐานในข้อสัมปชัญญะ ไว้ ว่าพึงทำความรู้สึกตัวในขณะหลับ ในขณะตื่น ในขณะพูด ในขณะนิ่ง หลับก็ทำความรู้สึกรู้ ตื่นก็ให้รู้เราฟังใหม่ๆ เราก็อาจจะคิดว่า เวลาหลับจะทำให้รู้สึกตัวได้อย่างไร ความจริงรู้ได้นะถ้าเจริญสติให้ดี กำหนด จิตอยู่เสมอ ดูจิตใจอยู่ เวลาจิตมันหลับไป พอมันรู้สึกมามันจะเห็นลักษณะความหลับและมันก็จะเห็นลักษณะความตื่น มันเชื่อมต่อกันนะมันเป็นช่วงต่อกันระหว่างหลับกับตื่น พอตื่นปุ๊บมันก็ไปรู้ความหลับหรือแม้แต่ถ้าเราจะนอนอยู่แล้วหลับไป แล้วมันกรนนี่ พอเรามีสติตื่นขึ้นมาเราจะไปรู้สึกจับที่เรากรนได้ ปกติคนธรรมดาจะไม่รู้สึกตัวว่าเรานอนกรนเพราะว่าพอตื่นมา มันก็ไม่กรนแล้ว แต่ถ้าหากว่าเราเจริญสติ ติดต่อกันอยู่เสมอมันจะไปจับได้ เรียกว่าชำนาญ เรื่องการเจริญสติอยู่

๓. อาวัชชนะกิจ นี้ ทำหน้าที่รับ อารมณ์ใหม่ในขณะที่จิตเป็นภวังค์ เช่น หลับๆ อยู่นี่ เกิดมีอารมณ์อันใดผ่านเข้ามาจิตมันหลุดจากภวังค์ขึ้นมารับอารมณ์ จิตดวงแรกที่ขึ้นมารับอารมณ์นี่ เขาเรียกว่าอาวัชชนะกิจคือทำหน้าที่เหมือนกับเปิดม่านเปิดประตูรับฒิพฬ แต่ยังไม่รู้อะไรแล้วก็ดับลง อันนี้ก็เป็นจิตอีกหน้าที่ หนึ่งเรียกว่า อาวัชชนะกิจทำหน้าที่รับอารมณ์ใหม่ ส่วนภวังคจิตนั้น ถ้าว่าโดยอารมณ์ แล้ว มันจะไปรับอารมณ์ในอดีตพระพุทธเจ้าแสดงไว้ว่า ภวังคจิต จะไปรับอารมณ์เมื่อชาติที่แล้ว คือชาติที่แล้วก่อนจะตาย ใกล้จะตายนี่ ใน มรณาสันกาลสัตว์ทุกชนิดที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เวลาใกล้จะตายมันจะเกิดนิมิตขึ้นเกิดกรรมนิมิต คตินิมิต ปรากฏในขณะใกล้จะตาย แล้วพอตายปุ๊บก็ไปสู่ภพตามนิมิต อย่างมาเกิดเป็นมนุษย์ ถ้าเป็น กรรมนิมิตมันก็เห็นตัวเองกำลังทำบุญสุนทาน ตัวเองมีศีลมีธรรม ที่เคย ทำมาแล้วเรียกว่า กรรมนิมิต พอดับลง ก็มาปฏิสนธิเกิดขึ้นในครรภ์มารดาในภพใหม่ฉะนั้นเมื่อเวลาจิตลงภวังค์ ตัวภวังคจิตก็จะน้อมไปเอาอารมณ์นั้นอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้จะตายเมื่อภพที่แล้วน้อมมาเป็นอารมณ์แต่เราจะไม่รู้เรื่องอะไร ไม่ใช่ความฝัน เป็นการเกิดจิตในภพใหม่ รับอารมณ์ในภพใหม่

๔. ทัสสนะกิจ ทำหน้าที่เห็นจิตที่ทำหน้าที่เห็นนี่ จะมาเกิดที่ประสาทตา ทำหน้าที่เห็น ฉะนั้นเห็นนั่นนะก็คือจิตประเภทหนึ่ง ถ้าเจริญวิปัสสนาก็ต้องกำหนดรู้เวลาเห็น คือกำหนดสภาพเห็นเคยกำหนดบ้างไหม สภาพเห็น ใส่ใจสังเกต ระลึกรู้ เวลาลืมตาขึ้นมา มันก็ต้องมีการเห็นเมื่อมีแสงสว่าง มีสี มีรูป ผ่านเข้ามาที่ตา เกิดการเห็น เห็นก็ไปรับรูปารมณ์รูปนั้นเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เห็นนี่เป็นผู้รู้ถ้าเราเจริญวิปัสสนา ก็ระลึก แต่ การระลึกทางตา ควรระลึกที่การเห็นถ้าเราไประลึกที่ รูปารมณ์ ส่วนมากมันจะเลยไปสู่สมมุติ ไปเป็นรูปร่างสัณฐานเป็นความหมาย เป็นคน เป็นสัตว์อย่างนี้ ไม่ใช่ปรมัตถ์ (อารมณ์ที่มาปรากฏทางตาที่เป็นปรมัตถ์ ก็แค่ "สี" ต่างๆ เรียกว่า "รูปารมณ์") ฉะนั้นควรกำหนดสภาพเห็น ใส่ใจ สภาพเห็น ขณะหนึ่ง ก็จะพบว่า อ้อ... ลักษณะของจิตที่ทำหน้าที่เห็นเป็นลักษณะ อย่างนี้ แล้วก็ 'ดับ' ลง

๕. สวนะกิจ จิตที่ทำหน้าที่ได้ยิน จะเกิดที่ประสาทหู คือการได้ยินมีเสียงมาแล้ว ก็เกิด การได้ยิน การได้ยินคือจิตชนิดหนึ่ง คนละอย่างกันจิตที่เกิดขึ้นที่ตาก็ดวงหนึ่ง จิตที่เกิดที่หูก็อีกดวงหนึ่ง แล้วก็เกิดไม่พร้อมกันจิตไม่ได้มีการเกิดขึ้นพร้อมกันสองดวง ต้องเกิดทีละดวง แต่เนื่องจากมันมีความไวเย็นก็เย็น รู้สึกที่กายก็มี นั่นเพราะความไวของจิต ที่มันเกิดดับอย่างรวดเร็วแต่ถ้าเราได้เจริญสติเก่งขึ้น เราก็จะพบว่ามันมีความเกิดดับไม่พร้อมกันอันนี้เกิดขึ้นหมดไป อันใหม่จึงเกิดขึ้น เห็นดับไปแล้วจึงเกิดคิดนึก หรือคิดนึกดับไปแล้ว จึงเกิดได้ยินอย่างนี้ มันไม่ได้พร้อมกัน แต่มันไวมากฉะนั้น การเจริญวิปัสสนาก็ต้องระลึก สังเกตเวลาได้ยิน ก็ระลึกสภาพได้ยินได้ยินอะไร ได้ยินเสียง เสียงเป็นรูป ได้ยินเป็นนาม ระลึกรู้เฉยๆ ไม่ต้องไปคิดนึกอะไรระลึกใส่ใจสังเกตดูซิว่า สภาพได้ยินปรากฏเป็นอย่างไร แล้วดับลง ดับไปแล้วก็แล้วไปก็ไประลึกรู้สภาพธรรมอันใหม่ที่เกิดต่อ จะไปจ่ออยู่ที่เดียว แล้วจะให้รู้แค่ได้ยินนั้น เป็นไปไม่ได้

๖. ฆายนะกิจ เกิดขึ้นทำหน้าที่รู้กลิ่น จิตที่ทำหน้าที่รู้กลิ่นจะเกิดที่ประสาท จมูก ไปรับรู้กลิ่น กลิ่นนั้นเป็นรูปมากระทบตัวรู้กลิ่นเป็นนาม เป็นจิต เจริญวิปัสสนาก็ทำหน้าที่ระลึก ระลึกสภาพกลิ่น รู้กลิ่น ถ้าจะรู้จักจิต ก็อย่างที่ กล่าวคือ เห็นได้ ได้ยิน รู้กลิ่น

๗. สายนะกิจ รู้รส เกิดที่ลิ้น ประสาทลิ้น ไปรู้รส ที่รู้รสก็คือ จิต รู้เฉยๆ มันยังไม่บอกว่าเป็นอะไร อย่างใดเฉพาะจิตที่เกิดที่ลิ้น มันยังไม่รู้อะไรเป็นอะไร ที่มันจะรู้มันจะต้องเป็นจิตเกิดสืบต่อกันมาเป็นขบวนที่มันมาเกิดทางมโนทวารคือทางใจ ถึงจะรู้ได้ฉะนั้น หากระลึกรู้รสขึ้นมา ก็ระลึกตรงนั้น ตรงที่รู้สึกรู้รสขึ้นมา ได้ยินก็ระลึกตรงที่ได้ยินเห็นก็ระลึกตรงที่เห็นรู้กลิ่นขึ้นมา ก็ระลึกตรงที่รู้กลิ่น รู้กลิ่นมันจะเกิดที่จมูก รู้รสจะเกิดขึ้นที่ลิ้นได้ยินจะเกิดที่หู เห็นจะเกิดที่ตา นี้คือ ปรมัตถธรรม ในเรื่องของจิตว่าโดยหน้าที่

๘. ผุสสนะกิจ ทำหน้าที่รู้โผฏฐัพพารมณ์ กิจอันนี้จะเกิดที่ประสาทกายตรงไหนมีประสาทกาย มันก็เกิดได้ ที่มือ ที่เท้า ที่แขนขา อวัยวะ ในท้อง ในศีรษะทุกส่วนของกายมันจะมีประสาทอยู่ จิต ก็จะไปเกิด แล้วก็ไปรับโผฏฐัพพารมณ์คือไปรับความเย็น ไปรับความร้อน ไปรับความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึงเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เขาเรียกว่า โผฏฐัพพารมณ์ เป็นรูปที่มากระทบทางกายพอมากระทบมันก็เกิด จิตไปรับรู้ ไปรู้สึกขึ้น การเจริญวิปัสสนาก็ระลึก ทำหน้าที่ระลึก ตรงที่มันรู้สึก เช่น เย็นมากระทบที่แขนมันรู้สึกเย็น ก็ระลึกตรงที่มันรู้สึกเย็น แค่นั้นผ่านไป พอมากระทบอีก ก็รู้อีก หรือมันตึงขึ้นมาตรงขา ก็ระลึกตรงที่รู้สึกตึง มันแข็งตรงไหน ก็ระลึกตรงนั้นเย็นบ้าง ร้อนบ้าง อ่อนบ้าง แข็งบ้าง หย่อนบ้าง ตึงบ้าง

โดยเฉพาะ ทางกายมันปรากฏชัดเหมาะกับการเจริญสติ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่การกำหนดทางตา ทางหู กำหนดยากกว่าทางกาย ฉะนั้นฝึกใหม่ๆ ก็เริ่มระลึกทางกายไปก่อน ระลึกรู้ความรู้สึกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ที่ปรากฏเพราะอันนี้มันเป็นรูปหยาบและปรากฏชัดรูปที่มาปรากฏทางกายนี่มันหยาบมันเป็นมหาภูตรูปเป็นรูปใหญ่เพราะฉะนั้นกำหนดได้ง่ายขึ้น ตรงที่มันรู้สึก พอกระทบมันก็รู้สึกความรู้สึกเย็น รู้สึกร้อน รู้สึกอ่อน รู้สึกแข็ง รู้สึกหย่อน รู้สึกตึง นี่เรียกว่าจิตที่เกิดที่กายทำหน้าที่ ผุสสนะกิจ ส่วนอารมณ์ของจิตทางกาย ก็คือเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบ เป็นรูป ให้ทำสติระลึกไปเรื่อยๆ เป็นปรมัตถ์

๙. สัมปฏิจฉนะกิจ ทำหน้าที่รับอารมณ์มาทางใจ จิตดวงนี้จะเกิดที่หทัยวัตถุ เกิดที่รูปหัวใจ เวลาเห็นแล้ว ผ่านไปแล้วจิตดวงนี้ก็จะรับภาพผ่านมาทางใจ หรือเวลาได้ยิน ผ่านไปแล้วจิตดวงนี้ก็จะเกิดขึ้นรับมาทางใจ หรือเวลารู้กลิ่น หรือรู้รส รู้สัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง จิตดวงนี้ก็จะเกิด รับอารมณ์นั้นผ่านมาทางใจแต่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร เพียงเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป

๑๐. สันตีรณะกิจ ทำหน้าที่ไต่สวนอารมณ์เกิดต่อจากจิตดวงที่รับอารมณ์มาทางใจ เพื่อทำหน้าที่ "ไต่สวนอารมณ์" มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปเช่นกัน

๑๑. โวฏฐัพพนะกิจ ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์

๑๒. ชวนะกิจ คือ จิตที่เกิดขึ้นมาเสพอารมณ์ ตรงนี้แหละที่มันจะเป็นบาปหรือเป็นบุญ ตรงที่มันเข้าไปเสพอารมณ์ถ้ามันตัดสินไม่ดี มันก็เข้าไปเสพอารมณ์ในทางไม่ดี ไปเสพด้วยความโลภไปเสพด้วยความโกรธ ไปเสพด้วยความหลง ไปเสพด้วยความอิจฉาริษยาไปเสพด้วยความฟุ้งซ่าน ไปเสพด้วยความท้อถอย ไปเสพด้วยความตระหนี่บ้างรำคาญใจบ้าง ตรงนี้ จะเริ่มเป็นกรรมตรงชวนะกิจ มันไปเสพอารมณ์นั้นด้วยความพอใจไม่พอใจโลภ โกรธ หลง เป็นต้น เป็นกรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ก็คือ จิต เรียกว่า ชวนะกิจเมื่อเข้าไปเสพอารมณ์มันก็เป็นกรรม แล้วแต่ว่า มันจะเป็นกรรมหนักหรือกรรมเบาแค่ไหนอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของชวนะที่เข้าไปเสพอารมณ์ ที่จะรุนแรงส่งผลไปถึงการกระทำทางกาย ทางวาจา มันจะเกิดขึ้นมาเจ็ดครั้งในวิถีหนึ่งๆเสพเจ็ดครั้งแล้วก็จึงจะไปลงภวังค์ต่อจากนั้นก็จะมีจิตอีกชนิดหนึ่งเกิดขึ้น ทำหน้าที่ต่อไปคือ

๑๓. ตทารัมมณะกิจ รับอารมณ์ต่อจากชวนะ หลังจากเสพแล้ว ก่อนมันจะลงภวังค์ ก็รับสองขณะ แล้วจากนั้นจึงเป็นภวังค์อย่างเก่า เป็นภวังค์ๆ พอมีอารมณ์ อะไรผ่านมา ก็ขึ้นใหม่อีกขึ้นรับๆ พอจบขบวน เสพแล้วก็ลงภวังค์ หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดเวลาตลอดปีตลอดชาติ อยู่อย่างนี้วันยังค่ำ หมุนเวียนไปเป็นภวังค์ไว้ ไม่ให้หลุดจากภพนี้จนกระทั่งถึงเวลาที่มันจะหลุดจากภพนี้ จึงจะเกิดจิตดวงต่อไป คือ

๑๔. จุติกิจ จิตที่เกิดขึ้นทำหน้าที่ สิ้นจากภพเก่า คือ ตาย นั่นเอง พอจิตดวงนี้เกิดขึ้นมาแล้ว ก็เปลี่ยน ไปเลย ไม่เกิดต่อในร่างนี้ในชีวิตนี้แล้ว มันหลุด แล้วก็ไปเกิดปฏิสนธิในร่างใหม่ ในชีวิตใหม่ คนละดวงไป

รวมแล้วก็จะมี ๑๔ กิจ ที่กล่าวมานี้ ๑๔ หน้าที่ ตั้งแต่

ปฏิสนธิกิจทำหน้าที่ สืบต่อภพใหม่ กิจที่สองก็เรียก

ภวังคกิจ ทำหน้าที่รักษาภพ อันที่สามเรียกว่า

อาวัชชนะกิจ ทำหน้าที่รับอารมณ์ใหม่ อันที่สี่ท่านเรียกว่า

ทัสสนะกิจ ทำหน้าที่ เห็น กิจที่ห้า ก็เรียกว่า

สวนะกิจ ทำหน้าที่ได้ยิน กิจที่หกก็เรียกว่า

ฆายนะกิจ ทำหน้าที่รู้กลิ่น กิจที่เจ็ด เรียกว่า

สายนะกิจ รู้รส แปดก็ ผุสสนะกิจ รู้โผฏฐัพพารมณ์ แล้ว ก็เก้าก็คือ

สัมปฏิจฉนะกิจ รับอารมณ์ มาทางใจ อันที่สิบก็คือ

สันตีรณะกิจ ไต่สวนอารมณ์ สิบเอ็ดก็ โวฏฐัพพนะกิจ ตัดสินอารมณ์ สิบสองก็

ชวนะกิจ เสพอารมณ์ สิบสามก็ ตทารัมมณะกิจ รับอารมณ์ต่อจากชวนะ แล้วสิบสี่ก็

จุติกิจ ทำหน้าที่สิ้นจากภพเก่าก็คือตายนั่นเอง สาธุ
 

_________________
ดีชั่วรู้หมด......แต่ใจคนเรามันอดไม่ได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
oxi_oxigen
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2007, 9:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณมากเลยค่ะ ขำ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง