Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 โสด๊า..........โสดาบัน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เหตุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2006, 9:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คืออารมณ์พระโสดาบันตัดสักกายทิฏฐิเหมือนกัน แต่ตัดเพียงว่าขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้จะไม่คงอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย สักวันต้องตายจากไป พระโสดาบันยังหลงขันธ์ ๕ อยู่ แต่หลงยังไงก็ไม่ลืมความตาย (มรณัสสติ)

มิใช่ว่าพระโสดาบันจะตัดสักกายทิฏฐิได้เด็ดขาดถึงขั้นขันธ์ ๕ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา

หลวงพ่อท่านว่าอารมณ์ที่ตัดสักกายทิฏฐิได้เด็ดขาดอย่างนั้นเป็นอารมณ์พระอรหันต์แล้ว ไม่ใช่อารมณ์พระโสดาบัน

คือพระโสดาบันตัดสักกายทิฏฐิเหมือนกัน แต่ยังไม่ละเอียดถึงขั้นขันธ์ ๕ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา มิฉะนั้นท่านวิสาขาซึ่งเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ขวบ คงไม่มีลูกถึง 20 คนหรอกถ้าตัดได้ถึงขั้นขันธ์ ๕ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา

สรุปว่า หลวงพ่อฤาษีสอนว่า อารมณ์ตัดสักกายทิฏฐิต้องละเอียดเป็นขั้นๆ ไปตามลำดับ

๑๐. สีลสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย
[๓๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่พักผ่อนในเวลา
เย็น เข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีลควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน.

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์ คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ๑.

ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน.

ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้มีศีล กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

[๓๑๑] โก. ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นโสดาบันควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นโสดาบันกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล.

[๓๑๒] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสกทาคามีควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล.

[๓๑๓] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแลไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นอนาคามีกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคายโดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.

[๓๑๔] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำแล้วย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ และแม้ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ.

จบ สูตรที่ ๑๐.

***************************************

[๒๕๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น
อยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฐิได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้เห็น
จักษุแลโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์

จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิ
ได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุข-
เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู ... รู้เห็นจมูก... รู้เห็น

ลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็น
ธรรมารมณ์โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความ
เป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละ
สักกายทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ ดูกรภิกษุ
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสักกายทิฐิได้ ฯ

ที่มา พันทิพ
 
แมวขาวมณี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2006, 2:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในภูมิชั้นของพระโสดาบัน นั้นยังแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทอีกนะคะ

ถ้ามีเวลาจะนำมาลงค่ะ
ขอบคุณในธรรมทานนี้ค่ะ
และอนุโมทนา สา.....ธุ ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง