ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2006, 12:04 am |
  |
"....ปฐมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ
อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตเต ฆโน
ฆนา ปสาขา ชายนฺติ เกสา โลมา นขาปิ จ ...."
จากพระบาลีข้างบนนั้น พอจะถอดใจความได้ว่า…..
ในสัปดาห์แรก -- แห่งการเปฎิสนธินั้น เกิดขึ้นเป็นกลลรูป คือ เป็นหยดน้ำใสเหมือนน้ำมันงา..........
ในสัปดาห์ที่สอง -- หลังจากกลลรูป เกิดเป็นอัพพุทรูป มีลักษณะเป็นฟองสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ........
ในสัปดาห์ที่สาม หลังจากอัพพุทรูป เกิดเป็นเปสิรูป มีลักษณะเหมือนชิ้นเหลวๆ สีแดง.........
ในสัปดาห์ที่สี่ หลังจากเปสิรูป เกิดเป็นฆนรูป มีลักษณะเป็นก้อน มีสัณฐานเหมือนไข่ไก่.......
ในสัปดาห์ที่ ๕ เกิดปุ่มขึ้น ๕ แห่ง เพื่อเป็นมือและเท้าอย่างละ ๒ และเป็นศีรษะ ๑.
ต่อจากนั้น คือระหว่างสัปดาห์ที่ ๑๒ ถึงสัปดาห์ที่ ๔๒ ผม ขน เล็บ เหล่านี้เกิดขึ้น ฯลฯ.......
###ในสัปดาห์แรก……ภาษาบาลีเรียกว่า ”กลละ” ……มีประมาณเท่าหยาดน้ำมันงา ซึ่งตั้งอยู่ที่ปลายเส้นด้ายที่ทำด้วยเส้นขนสัตว์ ๓ เส้น ท่านกล่าวหมายความว่าหยาดแห่งน้ำมันงา เนยใส "ใสไม่ขุ่นมัว ฉันใดเขาเรียกกันว่า กลละมีสีคล้ายกัน ฉันนั้น".
……ทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า blastocyst ซึ่งตรงกับกลละในภาษาบาลี จะมีชั้นใสๆ ล้อมรอบ(ภาษาคนโบราณที่ว่าใสไม่ขุ่นมัว) ที่วิทยาการปัจจุบัน เรียกว่า zona pellucida (pellucid แปลว่า โปร่งใส) blastocyst จะเต็มวัยเมื่ออายุ5วันนับจากวันปฏิสนธิ หลังจากนั้นชั้นใสๆ ล้อมรอบที่เรียกว่า zona pellucida จะหลุดออก อนึ่ง blastocyst นี้มีขนาดที่เล็กมากๆ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนไม่มาก เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 มม. !!! ซึ่งตามนุษย์เปล่ามองไม่เห็นแน่ๆ …..ก็น่าแปลกใจมากที่คนโบราณท่านทราบลักษณะของกลละว่า ”ใสไม่ขุ่นมัว” ได้อย่างไร
###ในสัปดาห์ที่สอง…… เมื่อกลละนั้นล่วงไป ๗ วัน ก็มีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ จึงชื่อว่า “อัมพุทะ”. ชื่อว่า กลละ ก็หายไป. เมื่อชั้นใสๆ หลุดออกไป ความใสก็หายไป สีก็จะเปลี่ยนไปเป็นสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ….. ในตำราฝรั่งว่า ในวันที่ 5 ชั้นใสๆ จะหลุดไป และวันที่ 6-7 (เข้าสัปดาห์ที่สอง) blastocyst จะเข้าไปฝังในเยื่อบุผนังมดลูก…..นี่ก็น่าแปลกใจอีกว่าคนโบราณท่านทราบได้อย่างไรว่า zona pellucida หลุดออกไปแล้ว ความใสก็หายไป คือสีจะเปลี่ยนไปในสัปดาห์นี้
###ในสัปดาห์ที่สาม…..อัพพุทะจะมีสีเข้มขึ้น เกิดเป็น เปสิรูป มีลักษณะเหมือนชิ้นเหลวๆสีแดง ส่วนขนาดก็ต้องใหญ่ขึ้นเป็นธรรมดา
###ในสัปดาห์ที่สี่…..เปสิจะแปรสภาพเป็น ฆนะ ก้อนคล้าย”ไข่ไก่ “(ต้องดูรูปตัวอ่อนมนุษย์ในวันที่ 25-26 ของการเจริญเติบโตจากหนังสือเอมบริโอโลยี่ กำกับ)…. ตรงนี้ผมว่า ลักษณะคล้ายไปทางไข่ไก่ก็จริง แต่เหมือนไข่ไก่เอามาต่อส่วนด้านเรียวออกไปอีกหน่อย…. การใช้ภาษาของคนโบราณที่ผ่านมา 2000 กว่าปีแล้ว อาจจะไม่สมบูรณ์นักในการบรรยาย แต่บรรยายได้ขนาดนี้โดยไม่มีแว่นขยายก็มหัศจรรย์แล้ว!!!
###ในสัปดาห์ที่ห้า….เกิดปุ่มขึ้น ๕ แห่ง เพื่อเป็นมือและเท้าอย่างละ ๒ และเป็นศีรษะ ๑. ตรงนี้ ในตำราปัจจุบัน จะเริ่มเห็น upper limbuds (ส่วนที่จะเจริญไปเป็นแขน)ได้ลางๆ เมื่อวันที่ 26 (ปลายสัปดาห์ที่สี่) แต่จะยังไม่เห็น lower limb buds (ส่วนที่จะเจริญไปเป็นขา)…. lower limb buds จะเห็นในวันที่ 28 (สัปดาห์ที่สี่ ต่อกับสัปดาห์ที่ห้า)…. และจะเห็นเป็นห้าปุ่มอย่างชัดเจนในประมาณวันที่ 29-30 ซึ่งตรงกับต้นของสัปดาห์ที่ห้าในพระบาลีพอดี !!! ในตอนนี้ตัวอ่อนมนุษย์จะวัดความยาวได้ประมาณ 5 มม. ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้สำหรับคนโบราณที่จะมาผ่าศพแม่เพื่อมาดูตัวอ่อนในครรภ์…. เพราะเวลาผ่าลงไปถ้าไม่รู้ว่าจะหาดูอะไร และดูตรงไหน สิ่งขนาดมิติ 5 มม.นี้คงจะหาไม่เจอหรอก
ส่วนที่เหลือ หลังจากนั้นพระบาลีกล่าวไว้คร่าวๆ ตามข้างต้น…..
เมื่อกว่า 2000 ปีก่อน…..คนโบราณเขารู้สิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร….ถ้าไม่ใช่สิ่งเหนือวิสัยเช่น ”ทิพยจักษุ”……
(ผมใช้หนังสือ คัพพวิทยาของมนุษย์ ของ อ.สมบูรณ์ สรุงบุญมี เป็นหลักอ้างอิง) |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2006, 12:06 am |
  |
http://www.cddhamma.com/
ทำลิ้งค์ให้น่ะครับ วีซีดีลำดับที่141 เผื่อผู้สนใจ
คงต้องหาซีดีของจริงมาดู..... เพราะรูปที่ลงในเว็บมันเล็กมาก ดูวันที่ของการเจริญไม่ชัด |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2006, 12:08 am |
  |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2006, 12:10 am |
  |
จาก http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=0&Z=302
จุตูปปาตญาณ
[๑๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2006, 4:44 am |
  |
เอาล่ะครับ มาต่อกันน่ะครับ ในเรื่องของครรภ์และการเกิด
เคยได้ยินพระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า "การอยู่ในครรภ์ในปัจจุบัน"ไหมครับ.....
มีบางท่านที่เชื่อแบบปักใจว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสสอนเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพ-ชาติแบบเกิดเป็นคนเป็นสัตว์ไว้ ที่มีในพระสูตรต่างๆนั้นเพราะถูกพราหมณ์สัสตทิฏฐิแอบปลอมเข้ามาไว้ภายหลัง.....ถ้าใครเชื่อว่ามีการเวียนว่ายตายเกิดแบบเกิดเป็นคนเป็นสัตว์ล่ะก็ จะต้องถูกจัดเป็นพราหมณ์ทันที......
ท่านเหล่านี้จะกล่าวว่าประโยคนี้ "การอยู่ในครรภ์ในปัจจุบัน" นั้นบ่งชี้ว่า การเกิดในครรภ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสนี้เป็นภาวะทางจิตล้วนๆ ไม่ได้เกี่ยวกับการเกิดจริงๆของสัตว์หรอก โดยท่านเชื่อว่าชาติในปฏิจจสมุปบาทคือการเกิดขึ้นของตัวกู-ของกู(อหังการ-มมังการ) ...... หรือจะกล่าวง่ายๆก็คือ เป็นการกล่าวซ่อนความหมาย(ใช้สำนวนว่าภาษาธรรม) ไม่ใช่ตรัสเรื่องการเกิดเป็นคนเป็นสัตว์จริงๆ!!!
นำมาเปรียบเทียบกันน่ะครับ
ภยสูตร จาก
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=23&start_byte=399321
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัย เป็นชื่อของกาม คำว่า ทุกข์
เป็นชื่อของกาม คำว่า โรค เป็นชื่อของกาม คำว่า หัวฝี เป็นชื่อของกาม
คำว่า ลูกศร เป็นชื่อของกาม คำว่า ความข้อง เป็นชื่อของกาม คำว่า
เปือกตม เป็นชื่อของกาม คำว่า การอยู่ในครรภ์ เป็นชื่อของกาม ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไร คำว่า ภัย จึงเป็นชื่อของกาม
เพราะบุคคลผู้นี้ยินดีในกามราคะ พัวพันในฉันทราคะ ย่อมไม่พ้นไปจากภัยทั้งใน
ปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ฉะนั้น คำว่า ภัย จึงเป็นชื่อของกาม ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไรคำว่า ทุกข์ ฯลฯ โรค ฯลฯ หัวฝี
ฯลฯ ลูกศร ฯลฯ ความข้อง ฯลฯ เปือกตม จึงเป็นชื่อของกาม ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไรคำว่า การอยู่ในครรภ์ จึงเป็นชื่อ
ของกาม เพราะบุคคลนี้ยินดีในกามราคะ พัวพันในฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากการอยู่ในครรภ์ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ฉะนั้น คำว่า การอยู่ในครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม ฯ
ภัย ทุกข์ โรค หัวฝี ลูกศร ความข้อง เปือกตม และ
การอยู่ในครรภ์ นี้เรียกว่ากามที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว อันกาม
สุขครอบงำแล้ว ย่อมไปเพื่อเกิดในครรภ์อีก ก็เพราะ
ภิกษุมีความเพียร ยินดีด้วยสัมปชัญญะ ภิกษุเห็นปานนี้นั้น
ก้าวล่วงทางหมุนเวียนที่ข้ามได้ยากนี้ได้แล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่ ฯ
ภยสูตร จาก
http://larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=22&lstart=7359&lend=7379
ภยสูตร
[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัย นี้ เป็นชื่อของกาม
คำว่า ทุกข์ นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า โรค นี้เป็นชื่อของกาม คำว่า ฝี นี้
เป็นชื่อของกาม คำว่า เครื่องขัดข้อง นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า เปือกตม นี้
เป็นชื่อของกาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่า ภัย นี้ จึงเป็นชื่อของกาม
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกาม ถูกความกำหนัดเพราะความชอบพอ
เกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากภัยแม้ที่มีในปัจจุบัน ไม่พ้นจากภัยแม้ในสัมปรายภพ
ฉะนั้น คำว่าภัยนี้ จึงเป็นชื่อของกาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่าทุกข์ ... โรค ... ฝี ... เครื่องขัดข้อง ... เปือกตมนี้ จึงเป็นชื่อของกาม เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกามนี้ ถูกความกำหนัดเพราะความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากเปือกตม แม้ในปัจจุบัน ไม่พ้นจากเปือกตม แม้ในสัมปรายภพ ฉะนั้น คำว่า เปือกตม นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เราเรียก ภัย ทุกข์ โรค และสิ่งทั้ง ๒ คือ เครื่องขัดข้อง
เปือกตม ว่าเป็นกาม เป็นที่ข้องของปุถุชน เพราะเห็นภัย
ในการยึดถือ ซึ่งเป็นแดนเกิดของชาติและมรณะ ชนทั้งหลาย
จึงหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ดำเนินไปในนิพพาน อันเป็นที่
สิ้นชาติและมรณะ ชนเหล่านั้น ถึงแดนเกษม มีสุข ดับ
สนิทในปัจจุบัน ผ่านพ้นเวรและภัย ล่วงทุกข์ทั้งปวง ฯ
(มีต่ออีก) |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2006, 4:49 am |
  |
(ต่อจากข้างบน)
ผมขอเสนอดังนี้น่ะครับ ในประเด็นนี้
1.จาก"ภยสูตร"นี้ พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสเปรียบเปรยแสดงให้เห็นภัยของกาม ด้วยสิ่งของพื้นๆใกล้ตัวที่คนเราในสมัยนั้นเข้าใจง่ายๆ(ในลักษณะอุปมา-อุปมัย)ว่า
กามนี้มีภัยประดุจ ทุกข์ โรค หัวฝี ลูกศร ความข้อง เปลือกตม การอยู่ในครรภ์.....นั่นแสดงว่า คนในสมัยนั้นเขาเห็นกันชัดเจนอยู่แล้วว่า การอยู่ในครรภ์เป็นทุกข์โทษ(ต่างกับคนสมัยนี้ที่มักจะไม่ค่อยคิดในจุดนี้).... คล้ายๆกันกับที่เห็นชัดว่า ทุกข์ โรค หัวฝี ลูกศร ความข้อง เปลือกตม เป็นทุกข์โทษนั้นเอง...... พระพุทธองค์จึงยก"การอยู่ในครรภ์"มาอุปมาให้เห็นภัยของกาม ด้วยว่าการอยู่ในครรภ์นั้นเป็นของพื้นๆที่คนในสมัยนั้นเข้าใจง่ายอยู่แล้วว่าเป็นทุกข์โทษ
2.ลองเปรียบเทียบระหว่างประโยคที่ตรัสว่า
".......ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ......"
กับ
"......แม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ....."
ตรงนี้จะเห็นชัดว่า "ทั้งในภายหน้า" ตรงกับ "แม้ในสัมปรายภพ" หรือในภพ-ชาติหน้า........ ดังนั้น คำว่า"ในปัจจุบัน" ก็ควรจะหมายถึง "ในภพ-ชาติปัจจุบัน"นั่นเอง........
พูดให้ฟังง่ายๆ ประโยคที่ตรัสว่า".....ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากการอยู่ในครรภ์ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า....." ก็คือ กามนั้นแหละที่เป็นตัวพาให้สัตว์ต้องมานอนในครรภ์ทั้งในภพ-ชาตินี้(ในตอนเริ่มแรกของชีวิตที่อยู่ในครรภ์แม่) และ ภพ-ชาติหน้า(คือต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอีกหลังจากแต่ตายเพราะกายแตกไปแล้ว)....... จะไปเล่นแปลว่า "การอยู่ในครรภ์ในปัจจุบัน" หมายถึงตอนนี้(ที่ผมกำลังพิมพ์อยู่นี้)เราต้องนอนในครรภ์จริงๆไม่ได้..... หรือจะไปมองในแง่มุมที่ว่า"การอยู่ในครรภ์ในปัจจุบัน"นั้น พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสแฝงความหมายที่ลี้ลับต้องแปลแบบพิศดารก็ไม่ได้อีก ....เพราะพระองค์ท่านทรงตรัสในลักษณะอุปมา-อุปมัย ให้เห็นง่ายๆ ด้วยสิ่งของหรือเรื่องพื้นๆของคนในสมัยนั้นทั้งนั้น(ทุกข์ โรค หัวฝี ลูกศร ความข้อง เปลือกตม การอยู่ในครรภ์)......
ลองพิจารณาดีๆน่ะครับ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2006, 5:07 am |
  |
ขอนำพระสูตรที่ตรัสเกี่ยวกับการเกิดของสัตว์(เกิดจริงๆ....ไม่ใช่สำนวนโวหาร)มาลงเพิ่มน่ะครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
[๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่ง ปัจจัย ๓ ประการ ความเกิดแห่งทารกก็มี
ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน
ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือน หรือสิบเดือน มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนักนั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตนด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก
ปัญหา ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ ๔ มีความสัมพัน์กันอย่างไรหรือไม่ ?
พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ ๖ ปถวี อาโป เตโช วาโย อากาศ วิญญาณ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์ เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ ถึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เราบัญญัติว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่
ๆลๆ"
ติตถสูตร ติ. อํ. (๕๐๑)
ตบ. ๒๐ : ๒๒๗-๒๒๘ ตท. ๒๐ : ๒๐๐-๒๐๑
ตอ. G.S. I : ๑๖๐-๑๖๑
http://www.84000.org/true/180.html
และจาก
"........ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลงในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไปนามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูปก็คือวิญญาณนั่นเอง ฯ
ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏต่อไปได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณก็คือนามรูปนั่นเอง ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูปจึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุปบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความเป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ ฯ......."
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=มหานิทานสูตร&book=9&bookZ=33 |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2006, 5:22 am |
  |
มาต่ออีกน่ะครับ ว่า ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง"การหยั่งลงแห่งครรภ์"อย่างไร
ปาฐกถาธรรม จัดโดย ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช
ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2536
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
การหยั่งลงแห่งครรภ์ หมายความว่ามีการเกิดขึ้นของสัตว์ ที่เกิดในท้องมารดา ดูพุทธพจน์ต่อไปว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด มารดาบิดาร่วมกัน 1 มารดาอยู่ในฤดู (ช่วงเวลาไข่สุก) 1 และคันธัพพะเข้าไปตั้งอยู่แล้ว 1 เพราะประชุมองค์ประกอบ 3 ประการอย่างนี้ ก็มีการก้าวลงแห่งครรภ์" (ม.มู.12/452/287)
นี่ก็หมายความว่า องค์ประกอบฝ่ายมารดากับบิดาประจวบกัน 1 และมารดาก็อยู่ในระยะที่มีไข่สุก 1 อีกทั้งคันธัพพะก็เข้าไปตั้งอยู่ 1 นี่ เป็นจุดเริ่มต้นกำเนิดชีวิต
ทีนี้ก็มีข้อสงสัยว่า คันธัพพะคืออะไร
คันธัพพะนี่ตามปกติที่เป็นศัพท์ทั่วไปก็แปลว่า คนธรรพ์ คนธรรพ์นี่ก็อยู่ในจำพวกเทวดาอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป ดังที่รู้จักกันในวงวรรณคดี เป็นพวกเทพบุตร ประเภทนักดตรี ตามหลักท่านจัดเป็นเทวดาชั้นต่ำ เป็นบริวารของท้าวธตรฐ ซึ่งเป็นโลกบาลประจำทิศตะวันออก ในสวรรค์ชั้นต้น ที่เรียกว่า จาตุมหาราชิกาหรือท้าวโลกบาล 4 แต่เราอย่าไปหลงกับศัพท์นั้น เพราะศัพท์ต่างๆ มีความหมายได้หลายนัย ไม่ใช่ว่าศัพท์เดียว จะมีความหมายได้อย่างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในภาษาทั้งหลาย อย่างในภาษาไทยของเรานี้ คำว่า ชาย อาจหมายถึงคนผู้ชายก็ได้ หมายถึงริม เช่น ชายผ้าก็ได้ หมายถึงคล้อยไป เช่น ตะวันชายบ่ายคล้อยก็มี
สำหรับคันธัพพะที่ท่านก็อธิบายต่อไป แต่คำอธิบายนี้ไม่ได้อยู่ในพระไตรปิฎก ให้แต่ตัวศัพท์ไว้ คำอธิบายมาในอรรถกถา ท่านบอกว่า "คันธัพพะ คือ สัตว์ที่เข้าไปที่นั้น" ท่านใช้คำสั้นนิดเดียวว่า ตตฺรูปคสตฺโต สัตว์ผู้เข้าไปที่นั้น และอธิบายต่อไปอีก เป็นคำอธิบายของอรรถกถา และทั้งฎีกาด้วย มีสาระสำคัญว่า คันธัพพะ ก็คือ สัตว์ผู้ไปเกิด ซึ่งตอนนั้นถือได้ว่าอยู่ในภพก่อน วิญญาณ หรือจิตสุดท้าย จะมุ่งหน้ามาสู่กำเนิดโดยมี คตินิมิต เป็นตัวนำ (1 ม.อ.2/408/218; วินย.ฎีกา 2/10/20)
อธิบายว่าเวลาคนจะตาย ท่านบอกว่า จะมีกรรมนิมิต อันได้แก่ภาพของกรรม คือประสบการณ์ต่างๆ ที่ตนได้กระทำไว้ในอดีตของชีวิตมาฉายให้เห็น พอกรรมนิมิต คือภาพตัวแทนของสิ่งที่ตนได้กระทำมา ผ่านไปแล้ว ก็มีคตินิมิต คือภาพของภพที่ตนจะไปเกิดปรากฏให้เห็น คตินิมิตที่ปรากฏนี้ก็เป็นไปตามกรรม ที่เป็นตัวนำให้ไปเกิด กรรมนั้นแสดงออกโดยมีคตินิมิตเป็นเครื่องหมาย แล้วกรรมก็เป็นตัวชักพาไป วิญญาณเก่าดับไป วิญญาณใหม่เกิดขึ้นสืบต่อกรรมที่สะสมไว้และวิญญาณนั้นชื่อว่าเป็น คันธัพพะ
ฉะนั้น คำว่า คันธัพพะ ตามมติของอรรถกถาก็หมายถึง ตัวสัตว์ผู้ไปเกิด เป็นศัพท์ที่เรียกคลุมๆ เพราะถ้าจะเรียกเป็นจิตเป็นวิญญาณ ก็จะเป็นการพูดศัพท์ลึกแบบอภิธรรมมากไป จึงพูดเป็นตัวสัตว์หยาบๆ ไปเลย หมายถึงผู้ที่จะไปเกิด ท่านแสดงไว้ในความหมายว่าอย่างนั้น พระอาจารย์ที่อธิบายท่านเรียกว่า อุปฺปชฺชนกสตฺโต
เป็นอันว่า มติของคัมภีร์ทั้งหลายแสดงไว้ชัดแล้ว ว่าท่านมุ่งเอาแค่ไหน คันธัพพะ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเกิดของคนก็หมายถึงคนที่จะมาเกิด หรือสัตว์ที่มาเกิดในกรณีนั้น
====================================
อยากให้เพื่อนๆ สังเกตุตรงที่ ท่านเจ้าคุณท่านกล่าวว่า "วิญญาณเก่าดับไป วิญญาณใหม่เกิดขึ้นสืบต่อกรรมที่สะสมไว้"ให้ดีๆน่ะครับ....... ตรงนี้ไงครับ ที่การเวียนว่ายตายเกิดในหลักการของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่สัสตทิฏฐิ...... เพราะไม่ใช่ว่ามีวิญญาณที่เป็นดวงอมตะอันมั่นคงดุจเสาพะเนียด คอยไปยืนโรงเกิดตามภพต่างๆแบบแนวคิดสัสตทิฏฐิ(เช่นของ สาติภิกษุ)น่ะครับ..... วิญญาณตามหลักพระพุทธศาสนานั้นมีการเกิดดับ(แต่สืบต่อ)ตลอดเวลา ไม่ใช่อาตมันอันเที่ยงแท้ที่ไม่มีการเกิด-ดับแต่อย่างใดๆ......
เมื่อเหตุ(ปัจจัย)ของการเกิด ซึ่งก็คือ ตัณหาและอุปาทานดับสนิทลงเมื่อใด การเวียนว่ายตายเกิดจึงยุติลงได้ เมื่อพระอรหันต์ท่านดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ |
|
|
|
  |
 |
อั๋น
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
02 ส.ค. 2006, 6:42 pm |
  |
เมื่อมีการเกิดก็ต้องมีการเพิ่มปัญหา คือต้องมีสิ่งมายึดเหนี่ยวหัวใจไม่ให้ได้ไปตามที่ใจปรารถนา
เหมือนมีบ่วงมาคล้องคอตัวเอง "อย่าเลยไม่ต้องสนใจในเรื่องคู่ครอง เพราะถ้าเราไปยึดติด เราก็จะไม่สามารถที่จะไปไหนได้ เราจะต้องมาวงเวียนในวัฏวงวัฏสงสารอีกไม่รู้จบ" คิดใหม่ |
|
|
|
|
 |
|