Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ต้องการพุทธศาสนสุภาษิตเกี่ยวกับความสามัคคีครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อธิชาตินันท์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 19 พ.ค. 2006
ตอบ: 24
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2006, 6:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนนี้กำลังทำรายงานส่งอาจารย์
รบกวนพี่ๆ หรือเพื่อนๆ ช่วยหาให้ด้วย
ขอบคุณครับ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2006, 7:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงหลักธรรมที่ทำให้สังคมชุมชมอยู่ร่วมกันด้วยความรักสามัคคีอยู่เย็นเป็นสุข คือ "สารณียธรรม ๖" ได้แก่ เมตตาต่อกันทางใจ ๑ เมตตาต่อกันทางวาจา เมตตาต่อกันทางกาย ๑ สาธารณโภคี (เอื้อเฟื้อต่อกันและกัน มีสิ่งของก็แบ่งกันกินกันใช้) ๑ ศีลสามัญญาตา (อยู่ในระเบียบ กฏ กติกา อยู่ในศีล ในธรรม) ๑ ทิฐิสามัญญตา (ปรับความเห็นของแต่ละคนให้เข้าหากัน อย่างถูกต้องเที่ยงตรง) ๑

หลักธรรมดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้หยิบยกมาไว้ในพระราชกระแสในวันที่เสด็จออกมหาสมาคมเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ (ได้ทรงรวมข้อ ๑, ๒ และ ๓ เป็นข้อเดียวกัน)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชาวพุทธ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2006, 2:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-สามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข
-จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน
-ความเพียรของหมู่ชนผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข
-สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว
-ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ
-พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรญเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
-ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี
-ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม
-ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงละเมิด 1 ผู้ใดย่อมรับรู้โทษ ที่เขามาสารภาพ 1 คนทั้งสองนี้ย่อมพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น มิตรภาพของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย
-ถ้าแม้สัตบุรุษวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเหมือนภาชนะดิน เขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง