Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทราบ ญาณ 200 คืออะไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ขอถาม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2006, 7:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ญาณที่เรียกว่าญาณ 200 ญาณนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? และเป็นญาณอะไรบ้าง
 
ภูเขาน้ำแข็ง
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 พ.ค. 2006
ตอบ: 46

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2006, 11:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตื่นเต้น ญาณ = ความรู้
- > เกิดจาก สภาวะ + ปัญญา = ญาณ

ญาณ 9 หรือ ญาณ 16 หรือ ฯลฯ มันเป้น กริยา ของ ญาณ คน เรยเรียก ญาณ 1 - 9 เพื่อ แทนกริยานั้น เพื่อให้เข้าใจง่าย

ญาณ 200 เราไม่เคยได้ยินนะ (คุณไปได้มาจากไหนหรอ )

ปล. ที่เคยได้ยินมา ญาณ 9 กับ ญาณ 16 อ่ะ

สาธุ
 

_________________
อย่าดับความอยากด้วยการสนอง จงดับโดยวางเฉย
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เล็ก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2006, 9:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมี
วัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ ญาณในธรรมอันเป็น
อันตราย ๘ ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณใน
โวทาน ๑๓ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ ญาณด้วยสามารถสมาธิ ๒๔ ญาณ
ด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒ นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพพิทาปฏิ-
*ปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุติสุข ๒๑ ฯ
 
ถามหน่อยเถอะ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2006, 10:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แล้ววัตถุ 16 คืออะไร
 
เล็ก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2006, 11:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วย
ความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความ
เป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความ
เป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่าง
เปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและ
กัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะ
และวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้ ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ
 
ถามอีก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ค.2006, 1:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อานาปานสติมีวัตถุ 16 เหตุใดจึงว่าสมถะวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอาการ 16 ตกลงสองอย่างนี้ต่างกันหรือตรงกัน
 
เล็ก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ค.2006, 11:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[346] อานาปานสติ 16 ฐาน

สติกำหนดลมหายใจ, การเจริญอานาปานสติ คือใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก แบบที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานไปด้วยครบทั้ง 4
จตุกกะที่ 1 : กายานุปัสสนา


1) เมื่อหายใจเข้ายาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
หรือเมื่อหายใจออกยาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว

2) เมื่อหายใจเข้าสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
หรือเมื่อหายใจออกสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น

3) เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจออก

4) เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจออก

จตุกกะที่ 2 : เวทนานุปัสสนา

5) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจออก

6) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจออก

7) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจออก

8) เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจออก

จตุกกะที่ 3 : จิตตานุปัสสนา

9) เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจออก

10) เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก

11) เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก

12) เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจออก

จตุกกะที่ 4 : ธัมมานุปัสสนา

13) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก

14) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก

15) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจออก

16) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจออก

ข้อควรทราบ :

ก) คำว่า หายใจเข้า และหายใจออก นั้นพึงทราบว่า เป็นคำที่มีการแปลต่างกัน คือ อรรถกถาแห่งพระวินัยแปล อสฺสาส ว่า “หายใจออก” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” ส่วนอรรถกถาแห่งพระสูตรแปลกลับตรงข้าม คือแปล อสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจออก” ในที่นี้ถือตามคำแปลของอรรถกถาแห่งพระสูตร ผู้ศึกษาทราบอย่างนี้แล้ว จะใช้แบบใดก็ได้ พึงเลือกตามปรารถนา

ข) “สำเหนียกว่า” เป็นคำแปลตามสำนวนเก่า หมายถึงคำบาลีว่า สิกฺขติ จะแปลแบบทับศัพท์เป็น “ศึกษาว่า” ก็ได้

ค) ธรรมหมวดนี้ เรียกตามบาลีแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิมัคค์ว่า โสฬสวัตถุกอานาปานสติ (เช่น ขุ.ปฏิ. 31/362/244: 387/260= Ps.I.162;173 คำบาลีเดิมเป็น โสฬสวตฺถุกา อานาปานสฺสติ บ้าง โสฬสวตฺถุโก อานาปานสฺสติสมาธิ บ้าง บางทีอรรถกถาก็เรียกยักเยื้องไปว่า โสฬสวตฺถุกา อานาปานสฺสติสมาธิภาวนา บ้าง โสฬสวตฺถุ อานาปานสฺสติกมฺมฏฺฐานํ บ้าง) แปลแบบรักษาศัพท์ว่า “อานาปานสติมีวัตถ 16” แต่ในที่นี้เลือกแปลตามคำอธิบายในคัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34) ว่า “อานาปานสติ 16 ฐาน” เพราะในภาษาไทย คำว่า ฐาน เป็นคำที่คุ้นและช่วยสื่อความหมายของคำว่า วัตถุ ในที่นี้ได้ดี แต่จะแปลว่า “อานาปานสติ 16 หลัก” หรือ “อานาปานสติ 16 หัวข้อ (หรือ 16 ข้อ)” ก็ได้ บางทีก็เรียกให้ฟังเป็นลำดับว่า “อานาปานสติ 16 ชั้น”

ง) 16 ฐาน หรือ 16 หลัก หรือ 16 หัวข้อ หรือ 16 ข้อ ข้อ หรือ 16 ชั้นนั้น ท่านจัดเป็น 4 จตุกกะ คือ เป็นหมวดสี่ 4 หมวด ดังนี้

1. กายานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งกายานุปัสสนา)

2. เวทนานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งเวทนานุปัสสนา)

3. จิตตานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งจิตตานุปัสสนา)

4. ธัมมานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งธัมมานุปัสสนา)
เป็นการระบุชัดว่า ส่วนไหนเป็นสติปัฏฐานข้อใด

จ) ว่าโดยไตรสิกขา ระหว่างปฏิบัตินั้น

- ความมีกายวาจาตั้งอยู่ในความสงบสำรวม โดยมีเจตนาอันปลอดจากการละเมิดหรือเบียดเบียน (กายิกวาจสิกอวีตีกกมะ) เป็น ศีล

- การมีสติกำหนด ด้วยจิตที่ตั้งมั่นมีอารมณ์อารมณ์หนึ่งเดียวตามที่กำหนด (จิตตัสเสกัคตา) เป็น สมาธิ

- ความมีสัมปชัญญะรู้ทั่วพร้อม มองเห็นตามสภาวะ เป็น ปัญญา

ฉ) ในการปฏิบัติ ศีลเป็นเพียงฐานที่รองรับอยู่ ส่วนธรรมที่ปฏิบัติซึ่งจะเจริญขึ้นไป คือ สมาธิ และปัญญา อันได้แก่ สมถะ ในข้อต่อไป

ช) ในการปฏิบัติทั้งหมดนี้ สามจตุกกะแรก มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา แต่จตุกกะที่ ๔ เป็น วิปัสสนา ล้วน

ฌ) โสฬสวัตถุกอานาปานสติ นี้ พระพุทธเจ้าตรัสแสดงบ่อย พบได้หลายแห่งในพระไตรปิฎก แต่ที่ประมวลเรื่องเกี่ยวข้องและข้อความแวดล้อมไว้ครบถ้วน ซึ่งรู้จักกันดีและเป็นที่อ้างอิงกันทั่วไป คือ อานาปานสติสูตร (ม.อุ. 14/282-291/190-202=M.III.78-82) นอกจากนั้นยังมีคำอธิบายโดยพิสดารในพระไตรปิฎก ปรากฏใน ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ. 31/362-422/244-299; = Ps.I.162-196) ส่วนในชั้นอรรถกถา ก็มีอธิบายหลายแห่ง โดยเฉพาะที่ค้นคว้าได้สะดวก คือ วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82= Vism.266-296)

คัดมาบางส่วนครับ

อ้างอิงจาก:

อานาปานสติมีวัตถุ 16
เหตุใดจึงว่าสมถะวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอาการ 16
ตกลงสองอย่างนี้ต่างกันหรือตรงกัน

ต่างกันครับ คำตอบแรกตอบไม่ตรงคำถามครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง