ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ผู้ใคร่ในธรรม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 มิ.ย.2006, 8:45 pm |
  |
อยากให้ผู้นำศาสนาพุทธเข้าไปแก้ปัญหาทางด้านจิตใจ อย่างกรณีของครูจูหลินและบ้านลับแลที่เกิดปัญหาจากภัยธรรมชาติ น่าจะนำหลักคำสอนของพระพุทธองค์ไปสั่งสอนชาวบ้านให้เข้าใจ จะได้บรรเทาความทุกข์ใจจากเหตุการณ์ร้ายที่เข้ามาในชีวิต |
|
|
|
|
 |
1
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 มิ.ย.2006, 9:24 am |
  |
สาธุในความคิดเห็นอันชอบครับ
องค์พระบรมศาสดาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า
“ภิกษุ ธุระในพระพุทธศาสนานี้ มีอยู่๒อย่างเท่านั้น คือ
คันธุระ ๑
วิปัสสนาธุระ ๑
การศึกษาเล่าเรียนนิกายหนึ่งสองนิกายหรือจบพระไตรปิฎกพุทธวจนะทั้งสิ้น แล้วทรงจำไว้ได้ แสดงได้ ตามสมควรแก่สติปัญญาของตน ธุระดังกล่าวนี้ เรียกว่า คันธุระ
ส่วนการที่ภิกษุผู้มีความประพฤติเบาพร้อม ยินดียิ่งในเสนาสนะอันสงัดเพียรพยายามกำหนดรู้ความสิ้นไปและเสื่อมไปในรูปนาม ขันธ์ ๕ อยู่เนืองๆ ยังวิปัสสนาปัญญาให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจการทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง แล้วบรรลุอริยผลตั้งแต่เบื้องต่ำ คือโสดาปัตติผล จนถึงเบื้องสูงคือ อรหัตตผลธุระดังกล่าวนี้ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ”(ขุ.ธ.อ.๑/๕)
“ในธุระสองอย่างนั้นมีความสำคัญด้วยกันทั้งสองฝ่ายเพราะต่างฝ่ายต่างอาศัยซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ปริยัติได้แก่ การศึกษาพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม อันก่อให้เกิดสมุตนยปัญญา และจินตามยปัญญา ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดการปฏิบัติ ได้แก่การปฏิบัติตามที่ได้ศึกษาเรียนรู้ และก่อให้เกิดภาวนามยปัญญา คือสมถภาวนาวิปัสสนาภาวนา และปฏิบัติเป็นปัจจัยให้เกิด ปฏิเวธ คือผลของการปฏิบัติธรรม ซึ่งได้แก่ มรรค ผล นิพพาน ถ้าธุระทั้งสองนี้ ยังเจริญรุ่งเรืองอยู่ตราบใด พระพุทธศาสนาก็จักเจริญรุ่งเรืองอยู่ตราบนั้น”
ด้วยเหตุนี้จึงขอคุณานุภาพแห่งองค์พระรัตนตรัยดลบันดาลให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายวิปัสสนา และฝ่ายคันธุระมีศีลาธิคุณอันมั่นคงบริสุทธิ์ทั้ง ๒๒๗ ประการและมีความสามัคคีปรองดองพร้อมเพรียงกันทำนุบำรุง สืบทอดและเผยแพร่บวรพระพุทธศาสนาในหลักธรรมคำสั่งสอนของของพระบรมศาสดาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปยังพุทธบริษัทให้เป็นบุคลมีธรรมโดยสัมมาทิฐิไปทั่วทุกสารทิศเพื่อความเจริญยิ่งในพระธรรมของพระพุทธองค์และความเจริญรุ่งเรืองยิ่งในบวรพระพุทธศาสนาสืบไปชั่วกาลนานเทอญ
|
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
|