Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
การพูดโกหกเราก้อรู้ว่าไม่ดี แต่บางครั้งจําเป็น ต้องทําทั้ง..
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
mew
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2006, 2:00 am
การพูดโกหกเราก้อรู้ว่าไม่ดี แต่บางครั้งจําเป็น ต้องทําทั้งที่ฝืนใจ รู้อยู่แก่ใจและติดอยู่ที่ใจตลอด อยากทราบวิธีแก้ค่ะ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2006, 5:31 am
แก้ไม่ให้พูดโกหกเหรอ ทำไงดีขอคิดดูก่อนนะ
ภูเขาไฟ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2006, 10:06 am
ก้อให้หลีกเลี่ยนใน สถานกานที่เราต้องโกหก แต่ถ้าเลี่ยนไม่ได้ ก้อ พูดไปตามตรง
เช่น เราไม่อยากบอกเขา เราก้อบอกไป ว่า เรายังไม่พร้อมที่จะพูด ประมาณนี้ละ
เป้นวิธีที่เราใช้อ่านะ
คงพอช่วยได้นะ
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2006, 8:50 pm
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๑ : มุสาวาท ๗ อย่าง
โ ด ย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์
ตอนนี้ เรากำลังพูดถึงศีลข้อที่ ๔ เกี่ยวกับเรื่องการมุสา บางท่านอาจคิดว่า การมุสา ก็คือการ
พูดโกหก แต่ในทางตำราแล้ว อาการของมุสา ท่านยังได้แยกย่อยไปถึง ๗ อย่างด้วยกัน ซึ่งถ้า
ใครไปกระทำเข้า ก็เข้าข่ายผิดศีลข้อที่ ๔ ฉะนั้น ฟังไว้ เพื่อเป็น การประดับความรู้ ก็จะเป็น
ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย ในทางคัมภีร์พุทธศาสนา
ท่านแสดงอาการที่เข้าข่ายมุสาไว้ ๗ อย่าง ดังต่อไปนี้
๑. ปด ได้แก่การโกหกชัดๆ ไม่รู้บอกว่ารู้ ไม่เห็นบอกว่าเห็น ไม่มีบอกว่ามี หรือรู้บอกว่า ไม่รู้
เห็นบอกว่าไม่เห็น มีบอกว่าไม่มี อย่างนี้เรียกว่าปด
๒. ทนสาบาน คือทนสาบานตัว เพื่อให้คนอื่นหลงเชื่อ การสาบานนั้น อาจมีการสาปแช่งด้วย
หรือไม่ก็ตาม ท้ายที่สุด คนที่อยู่ด้วยกันมากๆ เช่นนักเรียนทั้งชั้น เมื่อมีผู้หนึ่งทำความผิด แต่
จับตัวไม่ได้ ครูจึงเรียกประชุม แล้วก็ถามในที่ประชุม และสั่งว่า ใครเป็นผู้ทำผิดให้ยืนขึ้น
นักเรียนคนที่ทำผิดไม่ยอมยืน นั่นเฉยอยู่ เหมือนกับคนที่เขาไม่ผิด ทำอย่างนี้ก็เป็นการมุสา
ด้วยการทนสาบาน เรียกว่า "ทวนสาบาน" ก็ได้
๓. ทำเล่ห์กะเท่ ได้แก่การอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์เกินเหตุเกินความจริง เช่นอวดรู้วิชา คงกระ
พัน ว่าฟันไม่เข้ายิงไม่ออก อวดวิชาเสน่ห์ยาแฝด ว่าทำให้คนรักคนหลง อวดความ แม่นยำ
ทำนายโชคชะตา อวดวิเศษให้หวยเบอร์ ผู้อวดนั้น มักจะพร่ำแสดงเกินความจริง ใจของตน
ซึ่งเป็นการทำเล่ห์กะเท่คนใจบาปบางคน หมดทางหากิน จึงโกนผม นุ่งห่ม ผ้าเหลือง แสดง
ว่าตัว เป็นพระ เพื่อให้ชาวบ้านเขาเลี้ยงดู การกระทำดังตัวอย่าง ที่ยกมานี้ เรียกว่าทำเล่ห์
๔. มารยา ได้แก่แสดงอาการหลอกคนอื่น เช่นเจ็บน้อยทำเป็นเจ็บมาก ข้าราชการบางคน ต้อง
การจะลาพักงาน แต่ถ้าลาตรงๆ เกรงผู้บังคับบัญชาจะไม่เห็นใจ จึงแกล้ง ทำหน้าตา ท่าทาง
ว่ามีทุกข์ เอามือกุมขมับ แสดงว่าปวดศีรษะ กุมท้อง แสดงว่า ปวดท้อง เด็กบางคน อยากเก
โรงเรียน เอามือล้วงคอโอ้กอ้าก แสดงว่าคลื่นไส้ ให้พ่อแม่ได้ยิน จะได้ผ่อนผัน
๕. ทำเลศ คือใจอยากจะพูดเท็จ แต่ทำเป็นเล่นสำนวน พูดคลุมเครือให้ผู้ฟังคิดผิดเอาเอง
เช่นคนอยู่อยุธยา เดินทางเข้ามาในกรุงเทพ
เพื่อนที่กรุงเทพถามว่า "ทางอยุธยาฝนตกไหม ?"
"คุณนี่ถามได้ แดดออกเปรี้ยงอย่างนี้ ยังถามหาฝนอีก" พูดอย่างนี้ เรียกว่า ทำเลศ
๖. เสริมความ ได้แก่เรื่องจริงมี แต่มีน้อย คนพูดอยากจะให้คนฟังเห็นเป็นเรื่องใหญ่ จึงพูด
ประกอบกิริยาท่าทาง ให้เห็นเป็นเรื่องใหญ่โต เช่นเห็นไฟไหม้เศษกระดาษนิดเดียว ก็ตะโกน
ลั่นว่า "ไฟไหม้ๆ" คนอื่นได้ยินเสียงตะโกนเข้า เขาก็เข้าใจว่า เกิดไฟไหม้บ้านเรือน อย่างนี้
เรียกว่าเสริมความ ไม่พ้นศีลขาด แม้ว่ามูลเดิมจะมีอยู่จริงก็ตาม คนโฆษณาขายสินค้า ที่มัก
พรรณนาสรรพคุณเกินความจริง ยาขนานเดียวแก้โรค ได้สารพัดทุกสิ่ง อย่างนี้ก็นับ เข้าใน
กิริยา เสริมความ
๗. อำความ ตรงกันข้ามกับเสริมมความ เสริมความ ทำเรื่องเล็กให้ใหญ่ ส่วนอำความ คือทำ
เรื่องใหญ่ให้เล็ก ยกตัวอย่าง ข้าราชการที่ไปปกครองท้องถิ่นห่างไกล จะต้องปกครอง
ประชาชนให้สงบสุข ครั้นมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น เช่นมีโจรร้ายปล้นสะดม จำต้องรายงาน
ต่อผู้ใหญ่ ถ้าจะรายงานตามเป็นจริง ก็กลัวจะถูกเพ่งเล็ง ว่าเป็น ความบกพร่องต่อหน้าที่จึง
ทำข้อความในรายงานให้เบาลง ให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่อง เพียงเล็กน้อย แทนที่จะเห็นว่า เป็น
การปล้นสะดม ก็เข้าใจเพียงเป็นการชิงทรัพย์ ดังนี้เป็นต้น
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๒ : หลักวินิจฉัยมุสาวาท
โ ด ย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์
ตอนนี้ จะเป็นหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ว่าด้วยเรื่องการตัดสิน ว่าอย่างไร จึงจะเข้าข่ายที่จะ
ทำให้ศีลข้อมุสาขาด ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านให้หลักตัดสินไว้ ๔ ข้อคือ
๑. เรื่องไม่จริง
๒. จิตคิดจะพูดให้ผิด
๓. พยายามพูดออกไป
๔. คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น
หมายความว่า ศีลข้อที่ ๔ นี้จะขาด ต่อเมื่อการพูด หรือการทำเท็จ ครบองค์ทั้ง ๔ ดังต่อไปนี้
องค์ที่ ๑ ที่ว่าเรื่องไม่จริง คือเรื่องที่พูดนั้นไม่มีจริง ไม่เป็นจริง เช่นฝนไม่ตกเลย แต่เราบอก
ว่าฝนตก อย่างนี้เรียกว่าเรื่องไม่มีจริง หรือฝนตก แต่เราพูดว่าฝนไม่ตก อย่างนี้ก็ เรียกว่า เรื่อง
ไม่มีจริง เพราะเรื่องฝนไม่ตก ไม่มีจริง เรื่องที่จริงนั้นก็คือเรื่องฝนตก
องค์ที่ ๒ จิตคิดจะพูดให้ผิด คือมีเจตนาจะพูดบิดเบือนความจริงเสีย ถ้าพูดโดยไม่ เจตนาจะ
พูดให้ผิด ศีลไม่ขาด
องค์ที่ ๓ พยายามพูดออกไป คือได้กระทำการเท็จด้วยเจตนานั้น ไม่ใช่เพียงแต่คิดเฉยๆ
องค์ที่ ๔ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง คำว่า "ผู้อื่น"ในที่นี้
หมายถึง คนที่เราต้องการจะโกหก ถ้าผู้อื่นเข้าใจคำที่เราพูดนั้น เป็นศีลขาด ส่วนที่ว่า เขาจะ
เชื่อหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นสำคัญ ถ้าพูดไปแล้ว เขาไม่เข้าใจ เช่น เราโกหกเป็นภาษาไทย ให้
ฝรั่งฟังเขาไม่รู้ภาษา ศีลไม่ขาด
http://www.dhammathai.org/store/sila/index.php
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2006, 8:54 pm
สิ่ ง ที่ ท ำ แ ล้ ว เ ป็ น บ า ป
คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่
๑. ฆ่าสัตว์ เช่น ฆ่าคน ยิงนกตกปลา รวมถึงทรมานสัตว์
๒. ลักทรัพย์ เช่น ลักขโมย ปล้น ฉ้อโกง หลอกลวง คอร์รัปชั่น
๓. ประพฤติผิดในกาม เช่น เป็นชู้ ฉุดคร่า อนาจาร
๔. พูดเท็จ เช่น พูดโกหก พูดเสริมความ ทำหลักฐานเท็จ
๕. พูดส่อเสียด เช่น พูดยุยงให้เขาแตกกัน ใส่ร้ายป้ายสี
๖. พูดคำหยาบ เช่น ด่า ประชด แช่งชักหักกระดูก ว่ากระทบ
๗. พูดเพ้อเจ้อ เช่น พูดพล่าม พูดเหลวไหล พูดโอ้อวด
๘. คิดโลภมาก เช่น อยากได้ในทางทุจริต เพ่งเล็งทรัพย์คนอื่น
๙. คิดพยาบาท เช่น คิดอาฆาต คิดแก้แค้น คิดปองร้าย
๑๐. มีความเห็นผิด เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณ เห็นว่าตายแล้วสูญ เห็นว่ากฎแห่งกรรมไม่มี
วิ ธี ง ด เ ว้ น จ า ก บ า ป ใ ห้ ส ำ เ ร็ จ
คนเราประกอบขึ้นด้วยกายและใจ โดยใจจะเป็นผู้คอยควบคุมกายให้ทำหรือไม่ให้ทำสิ่งต่างๆ ตามที่ใจต้องการ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
ทุกอย่างมีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าใครมีใจชั่วเสียแล้ว การพูดการกระทำของเขา ก็ย่อมชั่วตามไปด้วย เพราะการพูดชั่วทำชั่วนั้น ความทุกข์ก็ย่อมตามสนองเขา เหมือนวงล้อเกวียน ที่หมุนเวียนตามบดขยี้รอยเท้าโค ที่ลากมันไป
แต่ถ้ามีใจบริสุทธิ์ การพูด การกระทำ ก็ย่อมบริสุทธิ์ตามไปด้วย เพราะการพูด การกระทำ ที่บริสุทธิ์ดีงามนั้น ความสุขก็ย่อมตามสนองเขาเหมือนเงาที่ไม่พรากไปจากร่างฉะนั้น ขุ. ธ. ๒๕/๑๑/๑๕
ดังนั้นผู้ที่ปรารถนาหาความสุขความก้าวหน้าทั้งหลาย จึงต้องฝึกใจตนเองให้งดเว้นบาป ซึ่งทำได้โดย ต้องฝึกให้ใจมีหิริโอตตัปปะเสียก่อน
หิ ริ โ อ ต ตั ป ป ะ คื อ อ ะ ไ ร ?
หิริ คือความละอายบาป ถึงไม่มีใครรู้แต่นึกแล้วกินแหนงแคลงใจ ไม่สบายใจ เป็นความรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากทำบาป เห็นบาปเป็นของสกปรก จะทำให้ใจของเราเศร้าหมอง จึงไม่ยอมทำบาป
โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวผลของบาป เป็นความรู้สึกกลัว กลัวว่าเมื่อทำไปแล้ว บาปจะส่งผล เป็นความทุกข์ทรมานแก่เรา จึงไม่ยอมทำบาป
สมมุติว่าเราเห็นเหล็กชิ้นหนึ่งเปื้อนอุจจาระอยู่ เราไม่อยากจับต้อง รังเกียจว่าอุจจาระจะมาเปื้อนมือเรา ความรู้สึกนี้เปรียบได้กับ หิริ คือความละอายต่อบาป
สมมุติว่าเราเห็นเหล็กท่อนหนึ่งเผาไฟอยู่จนร้อนแดง เรามีความรู้สึกกลัวไม่กล้าจับต้อง เพราะเกรงว่า ความร้อนจะลวกเผาไหม้มือเรา ความรู้สึกนี้เปรียบได้กับ โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวต่อผลของบาป
สัตบุรุษ ผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมขาว ท่านเรียกว่า ผู้มีธรรมของเทวดาในโลก ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๖/๓
อ่านต่อ...
http://www.ibscenter.net/mongkol/topic.asp?qId=35
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th