Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 "พุทธโอวาท" ก่อนปรินิพพาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ฟฟ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2006, 4:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

--------------------------------------------------------------------------------
พุทธโอวาทสุดท้ายก่อนปรินิพพาน

พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน......

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานแก่พระอานนท์ผู้เป็นพระอุปัฏฐากและพระภิกษุคราที่ทรงปรงพระชนมายุสังขารออกเดินทางด้วยพระบาทเปล่าจากปาวาลเจดีย์ไปยังกรุงกุสินาราสถานที่ปรินิพพานตลอดพระชนมชีพ พระพุทธเจ้าหาได้ทรงท้อแท้หรือเหน็ดเหนื่อยต่อการเผยแพร่ธรรมไม่ยังทรงประกาศพระธรรมอันประเสริฐที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองแก่พุทธบริษัท 4ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้คราเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงปาวาลเจดีย์ ได้ประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่มีเงาครึ้มต้นหนึ่งโดยมีพระอานนท์หมอบลงที่พระบาทมูลแล้วทูลว่า


“ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์อาศัยความกรุณาแก่ข้าและหมู่สัตว์จงดำรงพระชนมชีพต่อไปอีกเถิดอย่าเพิ่งด่วนปรินิพพานเลย”


กราบทูลเท่านี้แล้วพระอานนท์ก็ไม่ทูลอะไรต่อไปอีกเพราะโศกาดูรท่วมท้นหทัย


“อานนท์เอ๋ย ” พระศาสดาตรัสพร้อมทอดทัศนาการไปเบื้องหน้าอย่างสุดไกลลีลาอันเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตรและพระพักตร์


“เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจตถาคตจะต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ อีกสามเดือนข้างหน้านี้ อานนท์เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมาไม่น้อยกว่า 16 ครั้งแล้วว่าคนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดีถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปป์หรือมากกว่านั้นก็พออยู่ได้ แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ได้ทูลอะไรเราเลยเราตั้งใจไว้ว่าในคราวก่อนๆนั้นถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไปเราจะห้ามเสียสองครั้งพอเธอทูลครั้งที่สามเราจะรับอาราธนาของเธอแต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เรามิอาจกลับใจได้อีก”


“อานนท์เอ๋ย บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้วเรื่องที่จะดึงกลับมาอีกครั้งหนึ่งนั้นไม่ใช่วิสัยแห่งตถาคต....บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอ๋ย ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดสิ่งทั้งหลายมีความแตกดับไปสลายไปเป็นธรรมดาจะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปเคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวทุกขณะ ”


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ประหนึ่งแผ่นดินเป็นสิ่งที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลาย เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบายมีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาดเช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน ”


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้นเป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนังมีประตูหน้าต่างปิดเปิดเรียบร้อย มีหลังคาป้องกันลม แดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียกแดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลม แดดและฝนกล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่าสมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะให้เบาบางและหมดสิ้นไป ”


“อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีลสมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกด้วยศีล สมาธิและปัญญาย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ”


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์ 8 ประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลายบท 4 คืออริยสัจประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดี ประเสริฐที่สุดบรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์ 8นี่แลเป็นไปเพื่อทัศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์ 8 นี้อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไปตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติดังนี้พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร ”


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฐิ คือความยึดมั่นเรื่องของตนเสีย ด้วยประการฉะนี้เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวลไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม ”


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ด้วยตัวเรานี้เองตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลยมนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตามแต่ก็ตามไม่เคยทันการแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้นเป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อยเหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียวมนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือดวงจิตที่ผ่องแผ่ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรนเรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้วในหมู่ชนที่เพ่งแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง”


“ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบายแต่สถานที่เหล่านั้นมักบรรจุไปด้วยคนที่มีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมากภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบที่อยู่โคนไม้ได้อย่างไร”


“ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย ”


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละละวางได้ จึงแย่งลาภและยศกันอยู่เสมอเหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วยหรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนักถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง มีความเห็นอกเห็นใจกันมีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและดำเนินชีวิตโลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิดหน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอ คือ ลดความโลภความโกรธและความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใดความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น”


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ยิ่งเจริญก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจดูแล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์ยังสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่น ฝูงวิหกนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกันแต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่จะที่ต้องแบกไว้ คือ เรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือเรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกินนักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียวแต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโภคกามก็ดูเหมือนจะบริโภคแตกต่างกันอยู่ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ด้วยโลกียวิสัย บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบจะต้องกินให้มีเกียรติกินให้สมเกียรติ มิได้กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะความจริงร่างกายคนเราไม่ได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิวก็ต้องการอาหารบำบัดความหิวเท่านั้นแต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วงคนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้แต่จำเป็นต้องทำ เหมือนโคหรือควายซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถแต่จำใจต้องลากมันไป อนิจจา ”


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆเราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือ บุตรภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่แลตรึงมัดรัดผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆคือ บุตร ภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะเป็นเหยื่อของโลกเมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ”


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์ไม่สามารถหอมหวนทวนลมได้แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตบุรุษนั้นแล สามารถจะหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลมคนดีย่อมมีเกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทุกทิศ กลิ่นจันทน์แดง กลิ่นอุบล กลิ่นดอกมะลิจัดว่าเป็นดอกไม้กลิ่นหอม แต่ยังสู้กลิ่นศีลไม่ได้ กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งมวลถ้าภิกษุหวังจะให้เป็นที่รักที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีแล้วพึงเป็นผู้ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยศีลเถิด ”


“สัตว์โลกเมื่อเกิดมาย่อมนำความทุกข์ติดตัวมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออกความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว”


“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมันพวกเธอจงเอาสติเป็นขอเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้นคือผู้ที่สามารถเอาชนะตนของตนเองไว้ในอำนาจได้สามารถเอาชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิดอย่าเป็นผู้แพ้เลย”


คัดลอกจาก: คุณน้ำใส
http://dhammathai.org/webboard/view.php?No=3250
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง