Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
พุทโธหาย (5)
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
I am
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 18 เม.ย.2006, 9:36 am
พุทโธหาย
(5)
คัดจากประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
โดยพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกหัดภาวนา
คนเราเมื่อความพอใจมีแล้ว สิ่งอื่น ๆ ก็ค่อยเป็นไปเอง เช่นคนพวกนี้แต่ก่อนเขาไม่เคยสนใจกับท่านเลยว่าท่านได้อยู่ได้นอนได้ขบฉันอย่างไรบ้าง แม้จะเป็นหรือจะตายเขาไม่สนใจทั้งนั้น พอเขาเกิดความเชื่อถือและเลื่อมใสแล้ว
ทุกสิ่งที่เคยขาดแคลนก็กลับกลายเป็นความสมบูรณ์ขึ้นมาเป็นลำดับ ทางจงกรม กุฏิที่พัก ที่ฉัน เขาพร้อมกันมาทำถวายท่านเองจนเรียบไปหมดโดยมิได้บอกกล่าวเลย
มิหนำเขายังมาตำหนิท่านเป็นเชิงชมเชยอยู่อย่างลึกลับด้วยว่า ทางจงกรมอย่างนั้นตุ๊เจ้าก็เดินได้ ดูแล้วมีแต่ต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์เต็มไปหมด ตุ๊เจ้ามิใช่หมูพอจะเดินบุกป่าฝ่าดงไปอย่างนั้น แต่ทำไมยังอุตส่าห์เดินบุกไปได้ เมื่อเฮาถามว่า นี่ทางอะไร ก็บอกว่าทางเดินหาพุทโธ พุทโธเราหาย เมื่อเฮาถามว่า นั่งหลับตาอยู่นิ่ง ๆ นั้น นั่งทำไม ก็บอกว่านั่งหาธรรมบ้าง นั่งหาพุทโธบ้าง พูดอย่างนั้นก็ได้
ตุ๊เจ้านี้แปลกกว่าคนทั้งหลาย ตุ๊เจ้าวิเศษเลิศโลกเท่าไรก็มิได้บอกว่าวิเศษ ตุ๊เจ้าคนนี้แปลกมาก เฮาชอบนิสัยตุ๊เจ้าตนนี้มาก ที่หลับที่นอนก็มีแต่ใบไม้ปูเต็มพื้นดินจนจะเหม็นเน่าอยู่แล้ว ท่านทนนอนมาตั้งหลายเดือนทำไมทนได้
เฮาดูที่นอนตุ๊เจ้าแล้วเหมือนที่นอนหมู เห็นแล้วเฮาสงสารตุ๊เจ้ามากจนเกือบร้องไห้ พวกเฮาเองก็โง่จริง ๆ โง่กันทั้งบ้าน ไม่รู้จักของดี มิหนำบางคนยังหาว่าตุ๊เจ้ามาอยู่เพื่อหลอกลวงชาวบ้านแล้วเขาก็พากันรังเกียจระแวง แต่เวลานี้พวกเขาพากันเชื่อถือและเลื่อมใสตุ๊เจ้ากันทั้งบ้านแล้ว เพราะเขาทราบเรื่องของตุ๊เจ้าจากเฮาก๊า ดังนี้
ท่านว่าคนพวกนี้ถ้าลงเขาได้เชื่อและเคารพนับถือแล้ว ต้องนับถือแบบถึงใจจริง ๆ และถึงไหนถึงกัน เป็นก็เป็นด้วยกันตายก็ตายด้วยกัน แม้ชีวิตก็ยอมสละได้ เราพูดอะไรเขาเชื่อฟังและเคารพนับถือมาก
การบริกรรมภาวนาหาพุทโธของเขา ท่านก็สอนให้เขยิบเวลาขึ้นไปตามความเคยชินและผู้ชำนาญเป็นลำดับ ปีนั้นท่านต้องจำพรรษากับพวกเขารวมแล้วเป็นเวลาปีกว่า ท่านไปอยู่กับพวกเขา ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายนปีหลังจึงได้จากเขาไป
ก่อนจะจากเขาไปได้ก็นับว่าทุลักทุเลด้วยความสงสารเขาเอาการอยู่ เนื่องจากเขาไม่ยอมให้ท่านหนีไปไหนเอาเลย เขาบอกท่านว่าแม้ท่านตายลงไปในที่นั้น เขาทั้งบ้านจะรับรองเผาศพท่าน แม้เขาเองก็มอบชีวิตไว้กับท่านด้วย เพราะความรักและเคารพเลื่อมใสท่านมาก ผลดีก็เห็นประจักษ์ตาประจักษ์ใจ
น่าชมเชยเขาที่มีความฉลาดระลึกในความผิดได้ พอเห็นพระที่ปฏิบัติดีน่าเลื่อมใสจริง ๆ แล้วก็กลับมาเห็นโทษความผิดของตนที่คิดไม่ดีแต่ก่อน แล้วพร้อมกันมาขอขมาโทษท่านให้อโหสิกรรมให้
ก่อนจากพวกเขาท่านได้พูดกับพระที่อยู่ด้วยว่า ที่นี่เขาหมดโทษแล้ว เราจะไปที่ไหนก็ได้ไม่ขัดข้องแล้ว แต่สำคัญตอนลาเขาออกจากที่นั้น ท่านว่าน่าสงสารสังเวชกับความรักความนับถือความเคารพเลื่อมใสและคำวิงวอนเขาจนบอกไม่ถูก พอพวกเขาทราบว่าท่านจะจากเขาไปเท่านั้น
เขาพากันออกมาทั้งบ้านมาร้องไห้วิงวอนกันอย่างชุลมุนวุ่นวายไปทั้งป่า เหมือนคนร้องไห้คิดถึงคนตายนั่นเอง ท่านก็พยายามแสดงเหตุผลที่จำต้องจากเขาไป และปลอบโยนพวกเขาไม่ให้เสียใจจนเลยขอบเขตแห่งธรรม คือความพอดี จนเขาเป็นที่ลงใจแล้วก็ออกจากที่พักอันแสนสำราญนั้น
สิ่งที่ไม่คาดฝันกลับเกิดขึ้นอีก คือทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างคนต่างวิ่งออกไปรุมล้อมท่านและเข้าแย่งเอาบริขาร กลด บาตร กาน้ำ กับผู้ตามส่งท่าน และฉุดชายสบงจีวรกอดแข้งกอดขาท่านดึงกลับมาที่พักอีกเหมือนเด็ก ๆ โดยไม่ยอมให้ท่านไป
ท่านต้องกลับมาแสดงเหตุผลและปลอบโยนใจให้สงบเย็นอีกพักหนึ่งแล้วค่อยพากันปล่อยให้ท่านไป พอท่านก้าวออกจากที่พักเดินไปได้ประมาณ ๔-๕ วาเท่านั้น ต่างก็ร้องไห้แล้วพากันตามฉุดเอาท่านกลับมาอีก ทำเอาท่านเสียเวลาไปหลายชั่วโมง ฟังเสียงร้องไห้ระเบ็งเซ็งแซ่ฉุกละหุกวุ่นวายไปทั่วทั้งป่า ซึ่งเป็นที่น่าสมเพชเวทนาเอานักหนา
คำว่า เสือเย็น ที่เกิดขึ้นในตอนแรก ๆ จึงหมดความหมายไปทั้งสองฝ่าย ที่ยังเหลืออยู่จึงมีแต่ความเคารพเลื่อมใสความอาลัยอาวรณ์ในท่านผู้ทรงคุณธรรมอันสูงส่งที่สุดจะอดกลั้นไว้ได้
ขณะที่ท่านจากไปจึงมีแต่เสียงร้องไห้ระทมทุกข์ของพวกชาวเขาที่พิไรรำพัน ทั้งเสียงร้องไห้และสั่งเสียว่า เมื่อตุ๊เจ้าไปแล้วให้รีบกลับคืนมาหาพวกเฮาอีก อย่าอยู่นาน พวกเฮาคิดถึงตุ๊เจ้าแทบอกจะแตกตายอยู่เดี๋ยวนี้แล้วก๊า จนไม่ทราบว่าเป็นเสียงเด็กหรือเสียงผู้ใหญ่ ที่ต่างคนต่างร้องไห้ไว้ทุกข์ในคราวท่านจากไปเวลานั้น
นับว่าท่านไปอยู่ในท่ามกลางแห่งความระแวงสงสัยไม่พอใจของเขาในครั้งแรก แต่จากไปในท่ามกลางแห่งความอาลัยเสียดายของเขาในภายหลัง จึงนับว่าท่านเที่ยวชะล้างสิ่งสกปรกรกรุงรัง ให้กลายเป็นของสะอาดปราศจากมลทินควรแก่ความเป็นของมีคุณค่าขึ้นได้ สมกับท่านบวชมาเป็นลูกศิษย์ของพระตถาคต ผู้ไม่ถือโกรธถือโทษกับผู้ใดจริง ๆ
ใครรังเกียจท่านก็พยายามอนุเคราะห์ด้วยความเมตตาสงสาร ไม่ยึดเอาความผิดพลาดของเขามาเป็นอารมณ์เครื่องขุ่นข้องหมองใจให้เป็นภัยแก่ตนและผู้อื่น มีใจที่เต็มเปี่ยมด้วยเมตตา อันเป็นที่เจริญศรัทธาของโลกผู้ร้อนด้วยกิเลสตัณหาวิ่งเข้ามาอาศัย ให้ได้รับความไว้วางใจและเย็นฉ่ำทั่วหน้ากัน นับว่าเป็นผู้อัศจรรย์ด้วยคุณธรรมอันหาที่เปรียบได้ยาก
ขณะนั่งฟังท่านเล่า ผู้ฟังเกิดความสังเวชสลดใจอดวาดภาพไปตามไม่ได้ ปรากฏในมโนภาพขณะนั้น เหมือนดูภาพยนตร์ที่แสดงเรื่องชุลมุนวุ่นวายของชาวบ้านป่าที่มีศรัทธาแรงกล้า สละเลือดเนื้อชีวิตดวงใจต่อท่านผู้วิเศษด้วยคุณธรรม ขอให้ท่านประพรมโสรจสรงด้วยพรหมวิหาร ประทานเมตตาแก่พวกเขาให้มีชีวิตชีวาเจริญวาสนาสืบต่อไป
ด้วยการวิงวอนและร้องไห้วิ่งกอดแข้งกอดขา ฉุดผ้าสังฆาฏิสบงจีวรบาตรบริขารท่านกลับมาสู่บรรณศาลาหลังเล็ก ๆ ของฤๅษีที่มุงด้วยเปลือกไม้ใบหญ้าอันแสนสำราญ ซึ่งเป็นที่น่าสงสารอย่างประทับใจ แต่เป็นสิ่งที่สุดวิสัยของโลก อนิจฺจํ จำมาต้องจำจาก เพราะการพลัดพรากแปรผันเป็นสายทางเดินแห่งคติธรรมดา
ไม่มีท่านผู้ใดสามารถปิดกั้นหรือทำลายได้ ดังนั้นท่านพระอาจารย์มั่น แม้จะทราบอัธยาศัยของชาวศรัทธาที่เกี่ยวพันหนักแน่นกับท่านอยู่อย่างเต็มใจก็จำต้องจากไป ในเมื่อกาลมาถึงแล้ว
เป็นที่ทราบกันว่า ท่านพระอาจารย์มั่นที่ชาวบ้านในเขาเคยให้นามท่านว่า เป็นเสือเย็น แต่ท่านเป็นวิสุทธิบุคคลอยู่ในข่ายแห่ง ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส ของโลก ท่านได้จากชาวเขาไปเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่โลกต่อไปตามอัธยาศัยไม่มีประมาณ
เรื่องทั้งนี้นับว่าเป็นคติแก่อนุชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี ซึ่งเวลานี้พุทธศาสนิกชนผู้รักความสงบ กำลังวิตกห่วงใยทั้งตนและพุทธศาสนาอันเป็นสมบัติล้นค่า และเป็นคู่เคียงแห่งชีวิตจิตใจตลอดมา
ที่อาจถูกเพ่งเล็งกล่าวหาอย่างลึกลับว่าเป็น เสือเย็น ทำนองที่ท่านพระอาจารย์มั่นถูกมา แล้วกำจัดทำลายอย่างเปิดเผยก็ได้ จากฝ่ายใดก็ตามที่มีความรู้ความเห็นเป็นปรปักษ์ต่อหลักพระศาสนาและคตินิสัยของพุทธศาสนิกชน ซึ่งเวลานี้ก็เริ่มไหวตัวบ้างพอให้รู้สึกว่าไม่ควรนอนใจ ถ้านอนหลับทับสิทธิ์จนเกินไปอาจเสียใจในภายหลัง
ท่านพระอาจารย์มั่นท่านดำเนินตามแบบสุคโต ไปอยู่ในป่าในเขาก็เป็นประโยชน์แก่ชาวป่าชาวเขา เทวบุตร เทวธิดา อินทร์ พรหม ภูตผี นาค ครุฑ ไม่ว่างงาน ท่านมีเมตตาสงสารอนุเคราะห์โลกอยู่ตลอดเวลา
ออกมาเมืองมนุษย์มนาก็โปรดมนุษย์มนา พระ เณร ชี คหบดีทวยข้าประชาชนคนทุกชั้นไม่เว้นแต่ละเวลา มีมนุษย์มนาไปมาหาสู่ศึกษาอบรมอรรถธรรมกับท่านเป็นประจำ นับว่าท่านทำประโยชน์มหาศาลแก่ส่วนรวม ซึ่งยากจะมีผู้ทำได้ละเอียดลออกว้างขวางเหมือนอย่างท่าน
เวลาพักอยู่ในภูเขา ตอนบ่าย ๆ เย็น ๆ พวกชาวป่าก็พลอยได้รับความแช่มชื่นเบิกบานจากธรรมที่ท่านแสดงโสรจสรง ตกตอนดึกก็แก้ปัญหาและแสดงธรรมแก่เทวดาที่มาจากชั้นและที่ต่าง ๆ ฟัง
เรื่องเช่นนี้นับว่าเป็นภาระอันหนักที่ท่านต้องทำซึ่งหาตัวแทนยาก ไม่เหมือนการสั่งสอนมนุษย์ มนาที่ใคร ๆ สั่งสอนก็พอรู้เรื่องกัน นอกจากจะฟังและปฏิบัติตามหรือไม่เท่านั้น การเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าทั้งเบื้องบนเบื้องล่างนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับท่านพระอาจารย์มั่น
ฉะนั้นประวัติของท่านจึงมักมีเรื่องเกี่ยวกับเทพสับปนกันไปเสมอตามประสบการณ์ในสถานที่และเวลาต่าง ๆ กัน จนกว่าจะจบประวัติท่าน เรื่องทำนองนี้ถึงจะสิ้นสุดลง
จบครับ แหะ.. แหะ..ทีแรกก็อยากจะลงเป็นวันละตอน
คิดอีกที่ลงหมดแล้วกันครับ..(คนหนุ่มใจร้อน)
สวัสดีนะครับทุกๆ ท่าน..
ต้นหญ้า
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 18 เม.ย.2006, 11:04 am
สาธุค่ะท่าน I am
มาพร้อมกับธรรมะดีๆอีกแล้วค่ะ
อ่านแล้วรู้สึกทึ่งในความอดทนของหลวงปู่ท่านค่ะ และวิธีสอนธรรมะของท่านต่อชาวเขา
สุดท้ายขี้แยอีกแล้ว น้ำตาคลอบรรยายไม่ถูกเลยค่ะ
สวัสดีค่ะทุกท่าน คุณบัวใต้ คุณลูกโป่ง คุณข้าน้อย
I am
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 18 เม.ย.2006, 11:12 am
ครับคุณต้นหญ้า...
เมตตาของพระพุทธองค์ พระสุปฏิปันโนพุทธสาวกนั้น
ท่านเรียกว่า
อัปมัญญา เมตตาอันไม่มีประมาณโดยแท้
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th