Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิทยาศาสตร์และศาสนาในวิถีนักวิทย์อาวุโส “ระวี ภาวิไล” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 12 เม.ย.2006, 4:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



อ.ระวี.jpg


อดีตที่ผ่านมาหากมีปรากฏการณ์บนฟากฟ้า
เช่น การปรากฏของดาวหาง สุริยุปราคา จันทรุปราคา หรือเหตุการณ์ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ นักวิทยาศาสตร์ที่เหล่าสื่อมวลชนมักจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ คือ “ศ.ดร.ระวี ภาวิไล” ราชบัณฑิตสาขาดาราศาสตร์ แต่ระยะหลังไม่เพียงแค่แวดวงวิทยาศาสตร์หากชื่อของนักวิทยาศาสตร์อาวุโสยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับศาสนา จนเรียกได้ว่าท่านเป็นปราชญ์ด้านนี้อีกท่านหนึ่งทีเดียว

ก่อนหน้าที่ ศ.ดร.ระวี จะหันมาศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจังนั้น ท่านได้สอนหนังสือในภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเริ่มรับราชการเป็นอาจารย์เมื่ออายุเพียง 19 ปีเท่านั้น ส่วนผลงานที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปเป็นงานทางด้านดาราศาสตร์ที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการศึกษาธรรมชาติของดวงอาทิตย์

ปัจจุบัน ศ.ดร.ระวี ในวัย 80 ได้พาตัวเองเข้าสู่ทางธรรมะอย่างเต็มตัว ขณะที่โลกของวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ท่านติดตามอยู่ห่างๆ แต่ท่านก็ยังได้รับเชิญให้ไขข้อสงสัยในปรากฏการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับสังคมอยู่ๆ เสมอ อย่างล่าสุดกรณีการส่งจรวดขึ้นไปยิงดาวหางเทมเปิล-1 ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐหรือนาซาเมื่อปีที่ผ่านมา ท่านก็ให้ความเห็นว่าเป็นเพียงการสร้างภาพของ “พี่เบิ้ม” เท่านั้น ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เราต้องใส่ใจนัก

...วันนี้ “ผู้จัดการวิทยาศาสตร์” จะนำท่านเรียนรู้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนาในวิถีของ ศ.ดร.ระวี...

ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ - เหตุใดถึงหันมาสนใจธรรมะ หลังจากที่ศึกษาวิทยาศาสตร์มาก่อน

ศ.ดร.ระวี - อันที่จริงตลอดมาผมมีความสงสัยอยากรู้อยากเข้าใจเรื่องของชีวิต เรื่องของโลก ผมก็หาความรู้มาในทางต่างๆ วิทยาศาสตร์ก็เป็นความรู้ที่ว่าด้วยเรื่องโลกและชีวิต เมื่อผมสนใจอยากรู้ผมก็ศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ต่อมาเมื่อผมได้เรียนรู้ความเป็นมาเรื่องพระพุทธศาสนา ผมก็สนใจแล้วก็ศึกษาหาความรู้ทางศาสนา ผมมองเห็นว่าทั้งพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ให้ความรู้ด้วยกัน

วิธีการหาความรู้ในขั้นต้นก็คือการเรียนรู้ในสิ่งที่มีคำกล่าวคำสอนอยู่ในตำราหรือคัมภีร์ เราเริ่มต้นอย่างนั้นกันทั้งนั้น ความรู้เหล่านั้น ผู้เขียนตำราหรือคัมภีร์ก็ได้เอาประสบการณ์ของเขามาเขียน เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว สิ่งที่ผมได้อ่านในตำราหรือคัมภีร์ ทั้ง 2 ทางคือศาสนาและวิทยาศาสตร์ ก็นำเอามาตรวจสอบโดยหาประสบการณ์ของผมเองด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าประสบการณ์ของผมที่หาเองนั้นตรงกับตำราที่กล่าวไว้หรือเปล่า สิ่งที่ได้พูดไปเป็นเพียงการกล่าวกว้างๆ ว่าเราเรียนรู้จากที่คนอื่นเขาเรียนไว้ เขียนไว้ แล้วดูว่าเขามีวิธีหาความรู้อย่างไร แล้วเราก็ทำอย่างที่เขาทำบ้าง เราก็จะได้ความรู้โดยตรง

ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ - วิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนามีความเหมือนหรือคล้ายกันอย่างไร

ศ.ดร.ระวี - มันมีความสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ทั้งพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ก็หาความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโลกและชีวิต หมายความว่ามนุษย์เรามีความปรารถนาที่จะรู้จักให้ลึกซึ้งถึงเรื่องที่เกี่ยวกับโลกที่มาปรากฏต่อเราต่อมนุษย์เรา ต้องการจะมีความรู้ หาความรู้ พุทธศาสนาอาจจะทบทวนดูจากเรื่องพุทธประวัติได้ว่าพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้นั้นได้เห็นว่าชีวิตมีปัญหาคือความทุกข์ แล้วก็แสวงหาวิธีการที่จะดับทุกข์ เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นก็หมายความว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ เราใช้คำตรัสรู้นั้นก็หมายความว่าเกิดความรู้ที่มีความสำคัญนำความรู้นั้นไปใช้แก้ปัญหาของมนุษย์ได้ จะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์กับศาสนาต่างก็เป็นเรื่องของความรู้ของมนุษย์ ตรงนี้คือสิ่งที่สอดคล้องกัน


ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ - ความรู้ของพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ต่างกันอย่างไร

ศ.ดร.ระวี - ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นที่เพิ่มพูนมากขึ้นๆ ความรู้ที่มนุษย์หามาและถ่ายทอดทั้งโดยตำราก็ดี โดยวิธีการต่างๆ ก็ดี ก็เป็นความรู้ที่ปรับปรุงตัวตลอดเวลา ความรู้บางอย่างแค่นี้ในวันนี้ ในวันต่อๆ ไป ปีต่อๆ ไป ความรู้ก็เพิ่มขึ้น ความรู้ที่ไม่ยังสมบูรณ์ก็สมบูรณ์ยิ่งขึ้นๆ เป็นการขยายตัวตลอดมาตั้งแต่เริ่มมีการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อะไรที่ยังไม่ถูกต้องก็ถูกแก้ไข ซึ่งจะเป็นอย่างนี้เรื่อยไป จะความรู้ที่ละเอียดขึ้น กว้างขึ้น ไม่มีวันจบ แต่ความรู้ทางพุทธศาสนามีการบรรลุถึงขั้นสูงสุด เกิดความรู้ที่เข้าใจวิถีทางชีวิตอย่างสมบูรณ์ได้

ความรู้ทางศาสนาจะช่วยให้เราปรับตัวในวิถีทางที่เหมาะที่สุดเพราะทำให้มีปัญหาน้อยที่สุด ขึ้นอยู่กับว่าเราพัฒนาจิตใจของเรามากขึ้นๆ เราก็จะมีความสามารถแก้ปัญหาในเรื่องความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ส่วนตัวมากยิ่งขึ้น ความรู้ทางศาสนาเป็นความรู้ที่ปรับทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้ปัญหานั้นลดลงได้ มีคำกล่าวว่าพระพุทธเจ้านั้น เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วทรงรู้ทุกสิ่ง หมายความว่าถึงยอดสุดในเรื่องชีวิตแล้ว แล้วพระองค์ก็เที่ยวประกาศ ทรงมีความรู้เพียงพอที่จะให้ทุกข์สิ้นไปได้ ถ้าทำตามวิธีปฏิบัติของพระองค์ถึงขั้นที่จะทำให้ทุกข์สิ้นไปได้ หรือว่าถ้าปรารถนาจะหาความรู้ต่อไปก็ยังทำได้ ก็หมายความว่าอยากจะรู้มากมายอย่างที่พระองค์ทรงรู้เช่นกัน

ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ - การศึกษาวิทยาศาสตร์ทำให้มีแนวโน้มที่จะหันมาศึกษาพุทธศาสนาด้วยหรือไม่

ศ.ดร.ระวี - อย่างน้อยในสิ่งแวดล้อมที่ผมมาอยู่มันก็มีโอกาสรับรู้คำสอนทั้ง 2 ทาง อย่างที่กล่าวไว้ผมสนใจหาความรู้ ดังนั้นมีช่องทางไหนผมก็ทำเท่าที่จะทำได้ ชีวิตสำหรับผมคือการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจ ทางไหนเปิดก็เอาทางนั้น ผมมีความสุขในการหาความรู้ วิธีไหนก็ได้ แล้วแต่ว่าความรู้ที่ยังไม่รู้จะเข้ามาทางไหน ทางหนังสือก็อ่านหนังสือ ถ้าให้ทำการสังเกตการณ์ ทำการทดลองก็ทดลอง

ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ - ความรู้ทั้ง 2 ทางมีความขัดแย้งกันบ้างหรือไม่

ศ.ดร.ระวี - เป็นธรรมดาบางเรื่องก็มีความขัดแย้ง บางเรื่องก็สอดคล้องกัน ยกตัวอย่างความรู้เรื่องโลก เอาง่ายๆ คือโลกที่เราอยู่ ที่มนุษย์เกิดมา คุณอาจจะไปอ่านพบในคัมภีร์กล่าวว่า โลกที่เราอยู่เป็นแผ่นแบน อาศัยความรู้ที่จำกัดในยุคที่ศาสนาเกิดขึ้น ในปัจจุบันเราได้เรียนรู้ว่าโลกที่เราอาศัยอยู่เป็นก้อนกลม เมื่อเอาคำสอนของศาสนาที่ว่าโลกแบนมาเทียบกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่าโลกกลม จะเห็นว่าคัมภีร์ศาสนาในเรื่องของโลกด้านนี้ไม่ถูก

เดี๋ยวนี้เรามีข้อพิสูจน์ตั้งมากมายว่าโลกกลม เรายืนอยู่บนพื้นที่โลกกลมไม่ใช่แบน ข้อนี้ต้องระวัง อย่าไปคิดเอาว่าผู้ประกาศศาสนาคือพระพุทธเจ้านั้นไม่รู้ เพราะว่าอย่างที่กล่าวไปแล้ว พระองค์ทรงหาความหลุดพ้นของมนุษย์แล้ว แล้วพระองค์ก็ทรงสอน สาระสำคัญคือเรื่องของ “ทุกข์” และความ “สิ้นทุกข์” สำหรับเรื่องธรรมชาติแวดล้อมของมนุษย์จะเป็นอย่างไร ไม่สำคัญ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ

สำหรับผู้ที่เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จะไม่ถือเอาแนวคิดที่ว่าโลกแบนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นความรู้ในยุคของพระองค์ พระองค์คงจะรู้อะไรอย่างจริงๆ ในเรื่องนี้เราไม่ทราบ แต่ผมวินิจฉัยว่าสมมติพระองค์รู้ว่าจริงๆ โลกไม่ได้แบน แต่ท่านไม่เสียเวลามาแก้ความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ เพราะว่าโลกจะแบนหรือกลมไม่ใช่ประเด็นสำคัญ มนุษย์เป็นทุกข์ไม่ใช่เพราะเชื่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่เชื่อสิ่งเหล่านี้ มนุษย์เป็นทุกข์เพราะเหตุผลอื่น ถ้าจะไปพูดเรื่องโลกกลมโลกแบนมันเสียเวลา ท่านพูดประเด็นสำคัญคือทุกข์และการดับทุกข์

ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ - อาจารย์ได้อะไรจากการศึกษาธรรมะ

ศ.ดร.ระวี - ผมได้ความเข้าใจในวิถีความคิดของตัวเอง รู้จักตัวเองมากขึ้น เมื่อได้ศึกษาคัมภีร์ แล้วเอาวิธีการตามคัมภีร์มาเลือกใช้มองดูวิถีทางของชีวิตก็มีความชัดเจนมากขึ้นมาเรื่อยๆ เมื่อมีความชัดเจน เข้าใจชีวิตของตัวเอง ไม่ใช่แต่เพียงร่างกายแต่เข้าใจตัวความคิดของตัวเอง เมื่อเข้าใจวิถีความคิดของตัวเองในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเราเผชิญกันทุกคน เราจะพิจารณาอย่างไร เกิดความรู้ความเข้าใจชีวิตในทุกขณะ แล้วความทุกข์ก็ลดลงเรื่อยๆ

ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ - ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในทุกวันนี้ทำให้เราห่างไกลจากความเข้าใจพุทธศาสนาหรือห่างไกลจากความเข้าใจตัวเองหรือไม่

ศ.ดร.ระวี - ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็มีความสำคัญในแง่ว่าเรานำความรู้นั้นมาใช้ประยุกต์เพื่อความสะดวกสบายให้กับชีวิตของเรา ตัววิทยาศาสตร์แท้ๆ นี้เป็นเรื่องความรู้ของธรรมชาติทางวัตถุ สารวัตถุที่มีอยู่รอบตัวมนุษย์ การนำเอาความรู้นั้นมาใช้เพื่อความสะดวกสบายของมนุษย์นั้นเราเรียกว่าความรู้ที่นำมาใช้นั้นว่า “เทคโนโลยี” หรือ “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” แต่พุทธศาสนานั้นเมื่อเรียนรู้มากขึ้น ความรู้นั้นก็เอาประยุกต์ใช้เพื่อการมีชีวิตอย่างมีความทุกข์น้อยลง ที่มีความทุกข์น้อยลงเพราะทำให้เข้าใจความเป็นไปของชีวิตลึกซึ้งยิ่งขึ้นและก็จะรู้เท่ารู้ทันชีวิต ทำให้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชีวิตเราได้

ดังนั้นเมื่อเราศึกษาพุทธศาสนาไปมากๆ แล้วรู้ว่าทุกขณะชีวิตมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น แล้วเราจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร ถ้าเป็นปัญหาเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของวัตถุที่มารบกวน ขัดขวางความสะดวกสบาย เราก็ใช้วิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาเท่าที่จะทำได้ ถ้าเรามีความรู้ทางเรื่องความรู้สึกนึกคิดของเราเอง เราก็สามารถปรับความรู้สึกนึกคิดของเราเองให้เผชิญกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติแวดล้อม เมื่อใช้วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีแก้ปัญหาไม่ได้ เราก็ต้องรู้จักทำใจให้ยอมรับในความเป็นไป

ขำ ขำ ขำ

บทความโดย: ผู้จัดการออนไลน์

คัดลอกจาก: คุณ Little-Li
http://www.dharma-online.com/

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง