Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 .................โทษแห่งอทินนาทาน........( ปุโรหิตทดลองศีล) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ฟฟ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 เม.ย.2006, 1:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โทษแห่งอทินนาทาน



........" ผู้มีอำนาจวาสนา หากว่าไม่รักษาศีล ย่อมไม่อาจรักษาลาภยศของตนไว้ได้ " คำกล่าว
นี้จะเป็นจริงเพียงใด พบกับคำตอบได้ เมื่อปุโรหิตผู้ยิ่งใหญ่ได้ทดลองขโมยทรัพย์ของผู้อื่น


ปุโรหิตทดลองศีล


.......เมื่อครั้งพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ปุโรหิตผู้หนึ่งของพระองค์ ได้
เกิดความสงสัยว่าถ้าผิดศีลแล้วจะเป็นอย่างไร จึงได้ทดลองด้วยการขโมยเงินหลวงไปวันละ ๑ กหาปนะ

ในวันแรก และวันที่ ๒ นั้น ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ทั้งหลายยังมีความยำเกรงในตัว
ปุโรหิตอยู่ ด้วยเห็นว่าเป็นถึงราชครู แต่พอวันที่ ๓ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็หมดความยำเกรง ร้องประกาศ
ขึ้นว่า " ขโมย ขโมย " แล้วจับตัวปุโรหิตผู้นั้นไปถวายพระราชา

ในขณะที่เดินไปตามทางนั้น ปุโรหิตได้เห็นพวกหมองูแสดงการเล่นงูอยู่ งูนั้นเป็นงูพิษ แต่
ไม่กล้ากัดใคร เพราะถูกสะกดไว้ด้วยอำนาจมนต์ของหมองู แต่ถึงอย่างนั้นผู้คนทั้งหลาย ก็พากัน
ชื่นชมงูนั้นว่า " งูตัวนี้ดี เป็นงูมีศีล ไม่กัดใคร " ปุโรหิตจึงคิดอยู่ในใจว่า " แม้แต่งูซึ่งไม่กัดใคร
เพราะอำนาจของหมองู ยังได้รับคำชื่นชมว่าเป็นงูดี งูมีศีล หากมนุษย์เช่นเราเป็นผู้มีศีล คงจะดี
ยิ่งขึ้นไปอีก "

เมื่อเข้าเฝ้าพระราชา พระองค์ตรัสถามปุโรหิตว่า " เหตุใดท่านจึงทำเช่นนี้ "

ปุโรหิตกราบทูลว่า " ข้าพระองค์ทำไป เพื่อจะทดลองดูว่า เมื่อผิดศีลแล้วจะเป็นอย่างไร เมื่อ
ก่อนข้าพระองค์สงสัยว่า ที่องค์ราชานับถือข้าพระองค์ ที่ประชาชนยำเกรงข้าพระองค์นั้น เป็น
เพราะชาติตระกูล ศีลปวิทยา ความเป็นปุโรหิต หรือเพราะศีลกันแน่ มาบัดนี้.......ข้าพระองค์ได้
ทราบแล้วว่า เป็นเพราะศีลนั่นเอง

ข้าแต่มหาราชา ทรัพย์สมบัติซึ่งเป็นของบิดาของข้าพระองค์ก็ดี ทรัพย์สมบัติที่ข้าพระองค์หาได้
ด้วยตนเองก็ดี ทรัพย์สมบัติที่พระองค์ได้พระราชทานก็ดี ข้าพระองค์มีอยู่เป็นอันมาก แต่ที่ข้าพระองค์
ขโมยเงินเช่นนี้ ก็เพื่อจะทดลองผิดศีลดู และนี่เองจึงทำให้ข้าพระองค์ได้รู้ว่า ศีลนั้นสูงกว่าชาติ
ตระกูล สูงกว่าทรัพย์สมบัติใดๆ ทั้งสิ้น "

จากนั้นปุโรหิตได้ทูลขออนุญาตจากพระราชา ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ สมาทาน
ตั้งมั่นอยู่ในศีล และปฎิบัติกัมมัฏฐาน จนได้สำเร็จอภิญญาสมาบัติ เมื่อละจากโลกแล้วได้ไปเกิด
ในชั้นพรหมโลก


.......ปุโรหิตผู้ทรงปัญญาได้รู้ซึ้งแล้วว่า อำนาจ วาสนา หรือ ทรัพย์สมบัติใดๆ ก็ไม่มีความหมาย
ไม่อาจช่วยอะไรได้ ยามเมื่อเขาได้ชื่อว่าเป็นขโมย

ถ้าหากการลักทรัพย์ในครั้งนี้ มิใช่เป็นเพียงแค่การทดลอง หากแต่เป็นการกระทำด้วยความโลภ
เรื่องนี้คงต้องจบลงอย่างน่าอัปยศอดสูแน่นอน

ในที่สุด จุดจบอันร้ายแรงที่สุดนั้น ย่อมมิใช่อยู่ที่ความเสียหายในทรัพย์สินของทางราชการ หรือ
โทษทัณฑ์ทางกฎหมายที่ปุโรหิตจะต้องได้รับ หากแต่อยู่ที่ความพินาศย่อยยับในคุณสมบัติของ
ความเป็นมนุษย์ นี่คือผลเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดของการลักทรัพย์



จากหนังสือ.....



ศีล....เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม

พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก ป.ธ. ๙

ที่มา คุณ foox จากเว็บ พันทิพดอดคอม
 
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 เม.ย.2006, 12:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับ...
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง