Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลักปฏิบัติธรรมที่บ้าน (บวชใจ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ดหฟ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 มี.ค.2006, 6:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลักปฏิบัติในการบวชอยู่ที่บ้าน (บวชใจ)

หลักปฏิบัติในการบวชอยู่ที่บ้าน

การบวชอยู่ที่บ้านนั้น ก็ต้องอาศัยหลักธรรมะ ที่เป็นเนื้อแท้
หรือเป็นตัวแท้ของพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เป็นหลักชัดเจนตายตัว
ในที่นี้ จะเลือกเอามาสักหมวดหนึ่ง สำหรับยึดเป็นหลักปฏิบัติ
คือหมวดธรรมที่มีชื่อว่า อินทรีย์ทั้ง 5 คือ
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
5 อย่างนี้ แต่ละอย่างเรียกว่า อินทรีย์ คำว่าอินทรีย์ แปลว่า สำคัญ
ตัวการสำคัญ หลักสำคัญ หัวข้อสำคัญ

ธรรมะทั้ง 5 ข้อนี้ จะมีอยู่ในการปฏิบัติทั่วไป จะทำสมาธิหรือ
เจริญภาวนาอย่างไร ก็ต้องทำให้มีอินทรีย์ครบทั้ง 5

1. มีสัทธา-เชื่อในธรรม เป็นเครื่องดับทุกข์
ข้อแรก คือ สัทธา แปลว่า ความเชื่อ บวชอยู่ที่บ้าน ก็มีความเชื่อ
ในธรรมะนั้นๆถึงที่สุด เชื่อในอะไร ? ถ้าถามว่า เชื่อในอะไร ก็คือ
เชื่อในธรรมที่เป็นเครื่องดับทุกข์ ที่รู้กันทั่วไป ก็เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา
หรือ อริยอัฏฐังคิกมรรค มีองค์ 8 นี้ เป็นธรรมที่ดับทุกข์
เราได้ศึกษาแล้ว เห็นแล้ว มีความเชื่อ ว่าธรรมเหล่านี้ดับทุกข์ได้จริง
หรือว่าธรรมเหล่านี้เป็นที่พึ่งได้จริง เชื่อลงไปเสียทีหนึ่งก่อน
แล้วก็เชื่ออีกทีหนึ่ง คือเชื่อตัวเอง ว่าตัวเองนี่สามารถที่จะปฏิบัติธรรมเหล่านั้น
ในเนื้อในตัวของตนมีความถูกต้องเหมาะสม ที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมะเหล่านั้น
รวมกันเป็น 2 เชื่อ : เชื่อในสิ่งที่จะประพฤติปฏิบัติว่าดับทุกข์ได้
แล้วก็เชื่อมั่นว่า ตัวเองมีคุณธรรมที่จะดับทุกข์เหล่านั้นได้อย่างเพียงพอ
นี่ มีศรัทธาอย่างนี้ แล้วก็อยู่ที่บ้าน บวชอยู่ที่บ้าน มันก็จะเกิดกำลังเกิดอำนาจ
ในการที่จะปฏิบัติธรรมเหล่านั้นอย่างเสมอต้นเสมอปลาย มีศรัทธา
เชื่อมั่นในสิ่งที่ตนถือเอาเป็นที่พึ่ง คือการปฏิบัติหรือหลักธรรมคำสอน
แล้วก็เชื่อมั่นว่าตัวเองทำได้ เราทำได้ ไม่เหลือวิสัย เราทำได้
แล้วก็ปล่อยให้ทำไปด้วยความศรัทธา

2.มีวิริยะ คือความกล้าหาญ ความพากเพียร ความบากบั่น
สนุกสนานในการทำพอใจในการทำ เป็นสุขเสียเมื่อกำลังทำ
ไม่ต้องรอต่อผลงานได้มา กำลังทำอยู่มันก็พอใจและเป็นสุข
อิ่มอยู่ด้วยความสุข ได้ความสุขโดยไม่ต้องเสียเงิน

3.มีสติ เฝ้าระวังรักษาป้องกัน ไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น
ในความคิดความนึกหรือในการกระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อมีผัสสะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจเอง

4.มีสมาธิ คือ จิตแน่วแน่ต่อพระนิพพานเป็นอารมณ์ อยู่ตลอดเวลา
ตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก มีจุดมุ่งมั่นต่อพระนิพพาน
เรียกว่า มีเอกัคคตา จิตมุ่งพระนิพพานอยู่ตลอดเวลา
แล้วก็ทำทุกอย่างที่รักษาจิตชนิดนั้นไว้ ก็คือแบบสมาธิวิธีต่างๆ
มันจะต่างกันอย่างไร มันก็อยู่ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ทั้งนั้น
คือมีความหลุดพ้นจากความทุกข์เป็นอารมณ์ด้วยกันทั้งนั้น

5.มีปัญญา มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา คือความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน
ในสิ่งที่ต้องกระทำหรือควรกระทำ อย่าให้ความอยาก เช่น กิเลสตัณหา
เพื่อตัวฉัน-ของฉัน เข้ามาแทรกแซง นั้นมันจะทำให้เสียหมด นี่เรียกว่า
ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง ยกผลงานให้ความว่างทุกอย่างสิ้น
กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที
ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องหรือจบชีวิต จนถึงขั้นสุดท้าย ไม่มีตัวฉัน-ไม่มีของฉัน
มันจะทำให้ไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหาอะไร มีจิตที่บริสุทธิ์ อยู่ด้วยปัญญา
และความสุขสงบ ใครเห็นด้วยก็ลองดู

บวชอยู่ที่บ้าน ที่ชะเง้อหาบวชที่วัด บวชในป่านั้น บางทีจะเป็นความเขลา
ลำบากมากกว่าคนที่บวชอยู่ที่บ้านก็ได้ ระวังให้ดีด้วย ถ้ามีความตั้งใจจริง
ระมัดระวังจริง บวชอยู่ที่บ้าน จะได้ผลมากกว่าบวชอยู่ที่วัดหรือในป่า
ก็ยังเป็นไปได้ เพราะว่าการบวชอยู่ที่วัดหรือในป่า มันยังเหลวไหลอยู่ทั่วๆไป
มันยังไม่สำเร็จประโยชน์เต็มตามความหมายที่ควรจะได้เลย

สรุปก็คือ บวชอยู่ที่บ้าน : เว้นจากสิ่งที่ควรเว้นโดยประการทั้งปวง
อยู่ที่บ้าน แล้วก็ประพฤติหน้าที่ที่ควรประพฤติปฏิบัติอย่างดีที่สุด
อย่างเต็มกำลัง เต็มสติปัญญาสามารถอย่างดีที่สุด ในหน้าที่ของตนๆ
แล้วก็เป็นสุขอยู่กับการทำหน้าที่ ไม่มีกิเลสตัณหาที่จะหวังผลอย่างนั้นอย่างนี้
มาสนองกิเลส ไม่ได้หมายความว่า ให้สึกไปอยู่ที่บ้านกันเสียให้หมด
แต่หมายความว่า แม้อยู่ที่บ้านก็อย่าน้อยใจ อย่าเสียใจ แม้อยู่ที่บ้าน
ก็สามารถที่จะทำได้ดีที่สุด ที่บ้านนั้นเอง เพราะคนที่อยู่บ้านมันยังมีมากกว่า
คนที่อยู่ที่วัด คนเหล่านั้นไม่ควรจะเสียประโยชน์อะไร ควรจะได้ประโยชน์
ทุกอย่างทุกประการ เท่าที่พุทธบริษัทในพระพุทธศาสนาจะพึงได้

FROM : ธรรมะจากสวนโมกข์
 
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 16 มี.ค.2006, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2006, 7:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

สาธุด้วยครับ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง