Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ------พระพุทธเจ้า ทรงตำหนิลาภสักการะ---------- อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เฟ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 มี.ค.2006, 11:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าทรงตำหนิลาภสักการะ

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ! ลาภ ยศ สักการะ และชื่อเสียง เป็นของทารุณเผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การปฏิบัติธรรม และบรรลุธรรมอันเกษม ซึ่งไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า เปรียบเหมือนปลาบางตัว เห็นแก่เหยื่อกลืนเบ็ดที่พรานเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปในน้ำลึก มันกลืนเบ็ดของพรานอย่างนี้แล้ว ได้รับทุกข์ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงทำได้ตามความพอใจ ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! พรานเบ็ดเป็นชื่อของมารใจบาป เบ็ดและเหยื่อเป็นชื่อของลาภสักการะและชื่อเสียง ภิกษุบางรูปยินดีพอใจ ในลาภสักการะและชื่อเสียง ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมาร ได้รับทุกข์ถึงความพินาศ
เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจงละลาภสักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วจะครอบงำจิตของเราไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติอย่างนี้แล”

พฬิสสูตร ๑๖/๒๔๖

การที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิลาภ ยศ สักการะ และชื่อเสียง ไว้อย่างรุนแรงก็เพื่อให้สาวกเห็นความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ ที่ได้ทำลายคนดีมามากมายแล้วนั่นเอง
ทั้งนี้ก็เพราะว่า จิตใจของปุถุชนนั้นกลับกลอกง่าย หวั่นไหวง่าย ถ้าได้ใกล้ชิดสิ่งใดนานๆ แล้ว จติใจก็ย่อมจะเปลี่ยนแปรไปได้ กลายเป็นคนละคนกันเลยทีเดียว มีตัวอย่างให้เราได้ศึกษา ทั้งอดีตและปัจจุบันทุกยุคทุกสมัย
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโทษไว้ก่อน เพื่อให้เกิดการสังวรระวัง ไม่เกิดความประมาท เมื่อมีลาภ สักการะเกิดขึ้น ก็จะได้บริโภคใช้สอย ด้วยความไม่หลงลืม มีสติและปัญญา คอยหมั่นกำกับและพิจารณาอยู่เสมอ ทุกข์ โทษ และภัย อันแสนเผ็ดร้อน รุนแรง ก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้
เพราะการทำความดีนั้น ต้องใช้เวลานาน ใช้ความอดทนมาก ต้องเสียสละทั้งทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังใจที่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยว แม้กระนั้นเมื่อเผลอใจเพียงนิดเดียว ความดีที่ทำมาเป็นเวลานาน ก็อาจพังทลายลงได้ในพริบตา ความไม่ประมาทจึงเป็นวิถีทางที่ปลอดภัย ด้วยประการทั้งปวง

(จากหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์ ปี 2524 โดยท่านธรรมรักษา)

ที่มา คุณกานต์
 
นิด
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2006, 8:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก็ต้องดูว่า ตรัสกะใครมีสภาพแวดล้อมอย่างไรด้วย
สิ่งเหล่านี้มีได้ แต่อย่าหลงอย่าติดมัน
เหมือนเรามีเงิน เรามีไว้เพื่ออำนวยความสะดวก แต่อย่าไปมัวเมา เพราะเพราะพุทธเจ้าตรัสว่า ความจนเป็นทุกข์ในโลก
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง