Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แก่นสารของชีวิต : หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.พ.2006, 10:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราประชาชนทำตนให้เป็นแก่นสารเข้าถึงธรรม
เข้าถึงเนื้อแท้ เข้าถึงศีล สมาธิ ปัญญา ถึงกรรมฐาน
เป็นการชดเชยสังขารร่างกาย
ว่าตามปกติ ไม่มีแก่นสารอะไรเลย
เกิดมาแล้วก็แปรเปลี่ยนไปทุกอย่าง
จนกระทั่งผลสุดท้ายทนอยู่ไม่ไหว
ต้องแตกดับทำลายไป
ร่างกายอยู่ในสภาพไร้วิญญาณ
เลิกทำ เลิกพูด เลิกคิด เลิกทุกอย่าง
ปล่อยวางภาระให้คนอื่นเขาจัดการแทนต่อไป

นี่แหละความดี แก่นสารของชีวิตเป็นอย่างนี้
ท่านจะเอาอะไรที่แน่นอน ไม่มีอะไรที่แน่นอน
ท่านสะสมบุญเถอะ เจริญกุศลภาวนา
ท่านจะมีเนื้อหาสาระแก่นสารของชีวิตแน่นอน
ชีวิตท่านจะเป็นปกติดีตลอดรายการ
เช่น เดินจงกรม ต้องเดินให้มีสติ
ยืนให้มีสติ นั่งให้มีสติ ยืนหนอ ๕ ครั้ง
ยืนมีสติแล้ว เดินมีสติอยู่ที่ปลายเท้า
จะเหลียวซ้ายแลขวา จะคู้แขนเหยียดขา
มีสติสัมปชัญญะ สาระอยู่ตรงนั้น

ถ้าท่านขาดการกำหนดแล้ว
ท่านจะไม่ปรารถนาธรรม
จิตใจไม่เป็นกุศล จิตใจจะเป็นมลทิน
จิตใจจะเป็นบาปอกุศล
จิตใจไม่เป็นผลงานไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง
ดั่งทองคำธรรมชาติที่หล่อเหลา เนื้อหาสาระก็หายไป
เลยก็กลายเป็นไม้ฉำฉา ไม่มีเนื้อแก่นแต่ประการใด
มีแต่กระพี้ต้นไม้ล้มลุก เช่นต้นพริก ต้นมะเขือ
เดี๋ยวก็ล้มตายไป แต่ต้นไม้มีแก่นต้องใช้เวลาปลูกนาน
สร้างความดีก็ต้องใช้เวลานานเช่นเดียวกัน

ต้นไม้ที่เราปลูกจะมีแก่น
ก็ต่อเมื่อ ต้นไม้ถึงคราวเวลาเมื่อได้ที่ของมันก็มีแก่น
เหมือนอย่างคนเราสร้างความดีก็เป็นแก่นสารทั้งนั้น
ชีวิตเป็นแก่นสารก็คือมีแก่น มีรากแก้ว
มีความอดทน มีสัจจะ มีเมตตา มีสามัคคี มีวินัย
การเจริญกรรมฐานท่านเข้าใจอะไรหรือ
ต้องการจะเอาชีวิตเป็นแก่นสารไหม
ชีวิตมีแก่นสาร สำคัญที่การเจริญกุศล
บางคนขาดสติมาก แม้มีสตางค์เยอะ
หากขาดสติสตางค์ก็ไร้ความหมาย
ถ้ามีเงินมีทอง ต้องมีสติมีความคิดใช้เงินทอง
ให้เป็นประโยชน์ เป็นแก่นสาร
ใช้แล้วให้เกิดประโยชน์ แก่ตนเองและครอบครัว
ใช้แล้วให้มีประโยชน์แก่ส่วนรวม
ใช้ให้เป็นประโยชน์แก่สังคม
นี่แหละเรียกว่า สารธรรม

การปฏิบัติกรรมฐาน ทำให้เราคิดได้
คิดถูก คิดดี คิดอย่างมีปัญญา
จะทำอะไรก็มีหน้ามีตา มีหลักมีฐาน
มีความเป็นอยู่ของชีวิตที่แน่นอน
อาตมาก็ขอกล่าวเบื้องต้นว่า
การเจริญกรรมฐานทำให้มีเนื้อหาสาระ
ให้ไม้ฉำฉาหรือไม้ก้ามปู น่าดูในแก่น
ถึงหากมันจะไม่แข็งแรง แต่เอามาเลื่อยเข้า
เอามาต่อโต๊ะ ต่อเก้าอี้
มันก็เป็นแก่นดำ ๆ สวยเหมือนกัน
ต้นไม้ไร้แก่น เหมือนต้นไม้ไร้ใบ
มันก็เหมือนคนไร้ความดี
การเจริญกรรมฐานจึงเป็นบ่อกำเนิดของคนดี
มีปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหา
บางคนไม่เอาเนื้อหาสาระ แต่ประการใด
มีแต่กระพี้ มีแต่มอดกิน
ไม้เนื้ออ่อนมอดกิน มันอ่อนเกินไป
มันไม่แก่ มันไม่แน่น
ไม้อ่อนมากมันจะผุไว มอดมันจะกิน
ไม้แก่แข็งแรงมีแก่น
แก่นไม้ประดู่ ไม้แดงมันใช้เวลานานมาก

การเจริญกรรมฐานจึงต้องใช้เวลาสะสมไปเรื่อย ๆ
สะสมเนื้อหาสาระบนความดีเป็นแก่นของชีวิตแล้ว
ชีวิตท่านจะโปร่งใส ชีวิตท่านจะมีปัญญา
ชีวิตท่านจะแก้ปัญหา สมปรารถนาได้ทุกคน
นี่เราเรียกว่าแก่นสาร
แก่นสารตัวนี้แปลว่า แก่นของชีวิต

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 02 มี.ค.2006, 9:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับ...คุณลูกโป่ง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง