Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สับสนค่ะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
จากเว็บอื่น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2006, 6:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-การสนใจธรรมะของแต่ละคนน่าจะมีเหตุที่มาต่าง ๆ กัน แต่รวม ๆ แล้วมีที่มา 2 ส่วน คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ (ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ)



-ผู้ที่เป็นทุกข์ทางกาย เช่นเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทรมานมาก ๆ หรือเป็นโรคชรา เป็นต้น จึงแสวงหาตนเอง หาที่พึ่ง ฯลฯ คิดเท่าไหร่ ๆ ก็หาข้อยุติไม่ได้ จึงเริ่มสนใจธรรมะโดยหาหนังสือมาอ่านบ้าง บำเพ็ญเพียรทางจิตบ้าง .....



-ผู้ที่เป็นทุกข์โทมนัสทางจิตใจ เช่นพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักบ้าง ปรารถนาสิ่งใด ๆ แล้วไม่เคยสมหวังบ้าง ฯลฯ จึงแสวงหาธรรมะ โดยการอ่านหนังสือเอาเองบ้าง บำเพ็ญเพียรทางจิตบ้าง....



-แต่ประเด็นของคุณคือรู้สึกสับสนในชีวิต ยิ่งอ่านหนังสือจากการเขียนของแต่ละคนแต่อาจารย์แล้วยิ่งงงไปกันใหญ่ อาจารย์นี้ว่าอย่างนี้ อาจารย์นั้นว่าอย่างนั้น ต่างพูดต่างอธิบาย...

-บางคนบางกลุ่มอ่านกันมาคนละเล่มคนละอาจารย์ มานั่งถกนั่งเถียงกันก็มี ฯลฯ มือใหม่อย่างคุณจึงรู้สึกสับสน น่าจะบอกด้วยว่า อ่านหนังสือธรรมะซึ่งเขียนโดยผู้ใด.....



-ผมแนะนำให้คุณอ่านหนังสือพุทธธรรม ซึ่งเขียนอธิบายธรรมะโดยพระเทพเวทีพระราชทินนามในขณะนั้น (ประยุทธ์ ปยุตโต) มีจำหน่ายที่มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ท่านอธิบายแยกแยะทั้งคดีโลกและคดีธรรม (โลกียธรรมและ โลกุตตรธรรม) ไว้อย่างชัดเจน จะได้ขจัดความขัดแย้งในใจคุณในการใช้ชีวิตประจำวันในสังคมให้หมดสิ้นไป

(บางทีรู้สึกว่าสิ่งที่ทำในทางโลกมันไปไม่ได้กับทางธรรมหรือสิ่งที่เราจะปฎิบัตินะค่ะ...)

มีตัวอย่างมาด้วยก็ดีสิครับ ว่าอะไรที่รู้สึกว่าไปกันไม่ได้ในทางปฏิบัติ.



-คุณมองย้อนกลับไปสมัยพุทธกาลครับ พุทธสาวกทั้งหลายที่เป็นฆราวาสก็มี เช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น มีลูกมีหลานมีครอบครัว ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเหมือนกับเรา ก็มีความสุขสบายดี สร้างวัดวาอาราม ทำนุบำรุงพระศาสนา เป็นต้น





 
จากเว็บอื่น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2006, 6:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(โพสผิดฮะ นี่คือปัญหาที่นำจากเว็บอื่น)





อยากจะถามพี่ๆนะค่ะว่าเริ่มมาสนใจธรรมะได้ไงแล้วเริ่มศึกษายังไงค่ะคือตอนนี้รู้สึกสับสนในชีวิตไงไม่รู้นี้จะเขียนกระทู้ยังสับสนเลยว่าจะเขียนว่าไรอ่ะ...555...คือสับสนระหว่างทางโลกกะทางธรรมนะค่ะว่ามันจะไปด้วยกันได้ไงแล้วมือใหม่เนี่ยเริ่มไงดีค่ะ...คืออ่านหนังสือแต่ละเล่มก็จะไม่เหมือนกัน...มันงงนะค่ะว่าจะทำตัวไงเนี่ย..555....บางทีรู้สึกว่าสิ่งที่ทำในทางโลกมันไปไม่ได้กับทางธรรมหรือสิ่งที่เราจะปฎิบัตินะค่ะ....

............................
 
copyma
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2006, 7:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การมีชีวิตแบบฆราวาส ก็พยายามศึกษาและปฏิบัติ กายและจิต ในอันที่จะเดินออกจากความทุกข์ ในวัฏฏสงสารไปด้วย นี่ก็เป็นไปได้ เพราะที่จริงธรรมะนั้นมีอยู่ในทุกสิ่ง มีอยู่ในทุกอย่างมีอยู่ในทุกการเคลื่อนไหว ทุกการกระทำและทุกความคิด หากทราบวิธีที่จะนำธรรม มาใช้ ซึ่งก็คือการฝึกมีสติ รู้ตัวทั่วพร้อมในทุก ขณะจิต ในชีวิตประจำวัน ดังที่ครูบาอาจารย์เคยบอกไว้ว่าที่แท้จริง โลก ก็คือเรา คือ กายที่ยาววาหนาคืบกว้างศอกและจิต ของเราแต่ละคนนี้เอง อันนี้ หากได้ลองมาฝึกฝนกายและใจตามแนวสติปัฏฐานดู ก็จะสามารถ เข้าใจแจ่มแจ้งได้ด้วยตนเองว่าทำไมครูบาอาจารย์จึงบอกกล่าวไว้เช่นนี้ ธรรมก็อยู่ที่กายนี้ใจนี้ของเราแต่ละคนเอง ไม่ได้ไปอยู่ภายนอกที่ไหน ดังนั้น ครูบาอาจารย์จึงบอกว่า เมื่อเราปฏิบัติธรรม (คือมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม) กายเราก็เป็นวัด จิตเราก็เป็นวัด อยู่ที่ไหนก็เป็นวัด อยู่ที่บ้าน บ้านก็กลาย เป็นวัด
 
copyma
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2006, 7:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาการทางโลกนั้น สิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และสืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแล้ว ยังหมายถึงพืชอีกด้วย แต่ในพระอภิธรรมนั้น ให้คำจำกัดความของชีวิตไว้ว่า ชีวิต คือความเป็นอยู่ของร่างกาย จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นำเกิด และตามรักษาดำรงชีวิตและกระทำการต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิต และเจตสิกเป็นผู้กำกับ
 
เขม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2006, 7:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-การสนใจธรรมะของแต่ละคนน่าจะมีเหตุที่มาต่าง ๆ กัน แต่รวม ๆ แล้วมีที่มา 2 ส่วน คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ (ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ)



-ผู้ที่เป็นทุกข์ทางกาย เช่นเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทรมานมาก ๆ หรือเป็นโรคชรา เป็นต้น จึงแสวงหาตนเอง หาที่พึ่ง ฯลฯ คิดเท่าไหร่ ๆ ก็หาข้อยุติไม่ได้ จึงเริ่มสนใจธรรมะโดยหาหนังสือมาอ่านบ้าง บำเพ็ญเพียรทางจิตบ้าง .....



-ผู้ที่เป็นทุกข์โทมนัสทางจิตใจ เช่นพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักบ้าง ปรารถนาสิ่งใด ๆ แล้วไม่เคยสมหวังบ้าง ฯลฯ จึงแสวงหาธรรมะ โดยการอ่านหนังสือเอาเองบ้าง บำเพ็ญเพียรทางจิตบ้าง....



-แต่ประเด็นของคุณคือรู้สึกสับสนในชีวิต ยิ่งอ่านหนังสือจากการเขียนของแต่ละคนแต่อาจารย์แล้วยิ่งงงไปกันใหญ่ อาจารย์นี้ว่าอย่างนี้ อาจารย์นั้นว่าอย่างนั้น ต่างพูดต่างอธิบาย...

-บางคนบางกลุ่มอ่านกันมาคนละเล่มคนละอาจารย์ มานั่งถกนั่งเถียงกันก็มี ฯลฯ มือใหม่อย่างคุณจึงรู้สึกสับสน น่าจะบอกด้วยว่า อ่านหนังสือธรรมะซึ่งเขียนโดยผู้ใด.....



-ผมแนะนำให้คุณอ่านหนังสือพุทธธรรม ซึ่งเขียนอธิบายธรรมะโดยพระเทพเวทีพระราชทินนามในขณะนั้น (ประยุทธ์ ปยุตโต) มีจำหน่ายที่มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ท่านอธิบายแยกแยะทั้งคดีโลกและคดีธรรม (โลกียธรรมและ โลกุตตรธรรม) ไว้อย่างชัดเจน จะได้ขจัดความขัดแย้งในใจคุณในการใช้ชีวิตประจำวันในสังคมให้หมดสิ้นไป

(บางทีรู้สึกว่าสิ่งที่ทำในทางโลกมันไปไม่ได้กับทางธรรมหรือสิ่งที่เราจะปฎิบัตินะค่ะ...)

มีตัวอย่างมาด้วยก็ดีสิครับ ว่าอะไรที่รู้สึกว่าไปกันไม่ได้ในทางปฏิบัติ.



-คุณมองย้อนกลับไปสมัยพุทธกาลครับ พุทธสาวกทั้งหลายที่เป็นฆราวาสก็มี เช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น มีลูกมีหลานมีครอบครัว ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเหมือนกับเรา ก็มีความสุขสบายดี สร้างวัดวาอาราม ทำนุบำรุงพระศาสนา เป็นต้น











 
copyma
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2006, 7:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชีวิตคิออะไร
http://www.buddhism-online.org/Section02A_01.htm

................................



ขันธ์ 5 สัมพันธ์กับชีวิตอย่างไร
http://www.buddhism-online.org/Section02A_02.htm



................................

 
copyma
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2006, 8:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในจำนวนคนเป็นล้านๆ มีกี่คนที่รักษาใจไว้มิให้ตกไปในบาปอกุศล แม้คนที่ศึกษาธรรมมาอย่างดี รู้โทษของอกุศลแล้ว ก็ยังยากที่จะทำใจให้เป็นกุศลได้ตลอดเวลา เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จิตหรือใจก็เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร เราจึงไม่อาจบังคับจิตของเราให้เป็นกุศลตลอดไปได้ กุศลและอกุศลเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและความคุ้นเคย กล่าวคือ ถ้าจิตคุ้นเคยอยู่กับบุญกุศล บุญกุศลก็เกิดได้ง่าย แต่ถ้าจิตคุ้นเคยกับอกุศล อกุศลก็เกิดได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ควรพยายามสั่งสมกุศลให้มาเพื่อให้จิตคุ้นเคยกับกุศล โดยเฉพาะกุศลขั้นภาวนาเพราะกุศลขั้นภาวนาเท่านั้น ที่ช่วยรักษาจิตมิให้ตกไปในบาปอกุศลได้ การตามรู้สภาพของจิตตามความเป็นจริงนี้ จะช่วยให้เรารู้ว่าขณะนี้จิตเป็นกุศล หรือจิตเป็นอกุศล เมื่อรู้ว่าเป็นกุศลก็พยายามรักษาไว้และเจริญให้มากขึ้น แต่ถ้ารู้ว่าจิตเป็นอกุศลก็พยายามละและระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีก....................



ถ้าเราหมั่นฝึกจิตของเราให้ไม่ละเลยต่อกุศล แม้เล็กน้อยอย่างนี้บ่อยๆ จิตใจของเราจะคุ้นเคย

กับกุศล จนกุศลสามารถเกิดได้บ่อยและง่ายขึ้น อกุศลหาโอกาสแทรกได้ยาก ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรปล่อยให้กุศลเล็กน้อยผ่านไป อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าบุญมีประมาณน้อย จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆ ฉันใด นักปราชญ์สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ฉันนั้น"


http://84000.org/tipitaka/book/bookpn03.html
 
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2006, 8:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"คือสับสนระหว่างทางโลกกะทางธรรมนะค่ะว่ามันจะไปด้วยกันได้ไงแล้วมือใหม่เนี่ยเริ่มไงดีค่ะ...คืออ่านหนังสือแต่ละเล่มก็จะไม่เหมือนกัน"



"บางทีรู้สึกว่าสิ่งที่ทำในทางโลกมันไปไม่ได้กับทางธรรมหรือสิ่งที่เราจะปฎิบัตินะค่ะ.... "



สับสนแน่นอนครับ หากไม่รู้จุดเริ่มต้น หรือคำแนะนำดีๆ



คำแนะนำมีว่า ในฝ่ายทฤษฎีนั้นให้เริ่มต้นจากหนังสือพุทธธรรม ก็จะเห็นภาพรวมทั้งหมดของพระธรรมมีแท่งเดียว หากต้องการเห็นกับตาตัวเองก็เข้าหาพระไตรปิฎก อรรถกถา ในภาคปฏิบัตินั้น เริ่มต้นจากมหาสติปัฏฐานสี่ เทียบเคียงผลปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น หลวงพ่อชา หลวงพ่อพุธ เพียงเท่านี้ ก็เกินพอแล้วครับ หากศึกษามากกว่านี้ สับสนตายครับ (แต่ก็ไม่สับสน หากผู้นั้นเข้าใจดีแล้วจากหนังสือพุทธธรรม ก็ไม่เขว)



โลกียธรรมและโลกุตตรธรรม สำหรับฝ่ายชาวบ้านๆนั้น ก็ไปด้วยกันได้



เริ่มต้นจากสัมมาทิฏฐิก่อน คือ มีพระรัตนไตรเป็นที่พึ่งสูงสุดในชีวิต เชื่อในพระปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อในกรรมและผลของกรรม ฯลฯ



จากนั้นตามด้วย ทำบุญ



ทำบุญ สำเร็จฝ่ายบุญแล้ว ต้องสำเร็จฝ่ายกุศลด้วย เพราะทำบุญเพื่อกำจัด อกุศลธรรม คือ โลภ โกรธ หลง เพราะเป้าหมายสูงสุดแห่งบุญคือการกำจัดกิเลส ถึงพระนิพพาน

แต่หากยังไม่ถึงพระนิพพาน ผลแห่งบุญ อานิสงส์แห่งบุญ จะอำนวยสุขประโยชน์ตลอดระยะทางในสังสารวัฏ มีปิดกั้นอบาย เป็นต้น(บุญ สำเร็จด้วย ทาน ศีล และภาวนา ครับ)



เมื่อใช้ชีวิตประจำวัน ก็อยู่ในกรอบแห่ง ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ แล้วแต่สะดวก กรอบแห่งศีลนี้ จะป้องกันชั่วหยาบ และอกุศลได้



ศีล จะเป็นกรอบควบคุมความโลภ โกรธ หลงของท่านเอาไว้ได้ระดับหนึ่ง ไม่ฆ่าผู้อื่นเพราะโลภในทรัพย์สินของเขา ไม่โลภในคู่ครองของคนอื่น ไม่พูดเท็จเพียงเพราะหลงเชื่อว่าไม่บาป ฯลฯ



ศีล ๕ จึงเพียงพอ ในการป้องกันความโลภ โกรธ หลงอย่างหยาบๆได้



เพราะรากฐานแห่งศีล คือ หิริโอตตัปปะ คือ ความละอายเกรงกลัวต่อบาป คือ เมื่อสำนึกในจิตใจมีอยู่เองโดยปกติว่า ไม่ฆ่าเบียดเบียน ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดในกาม ไม่มุสาส่อเสียดหยาบคาย ไม่ดื่มสุราสิ่งมืนเมา เพียงเท่านี้ ชีวิตก็ปกติสุข ช่วยให้จิตสงบได้ง่าย ...



หากต้องการกำจัดอกุศลมูลให้มากกว่านี้ ก็ภาวนาร่วมด้วย ด้วย มหาสติปัฏฐานสี่อยู่เนืองๆ เพียงเท่านี้ ทางโลกกับทางธรรมก็มีในสมัยเดียวกันได้(ภาวนา คือทำให้มีขึ้น เกิดขึ้น เจริญขึ้น)



แต่สองสิ่งนี้ คือโลกียธรรมกับโลกุตตรธรรมจะแยกจากกันเด็ดขาด เมื่อจิตได้ปฏิวัติไปสู่โลกุตตรธรรม

แต่ผู้นั้นก็มีชีวิตอยู่บนโลก ในโลกนี้ได้เป็นปกติ เพราะอยู่เหนือโลกนั่นเอง



มหาสติปัฏฐาน จึงเป็นยอดแห่งทาง เพราะถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ผู้เจริญมหาสติปัฏฐาน ย่อมสำเร็จ พระนิพพานได้ แต่ช้าเร็วต่างกัน



โดยสรุป คือ มีสัมมาทิฏฐิ ทำบุญให้เกิดกุศล ทำบุญด้วย ทาน ศีล ภาวนาฝึกสติด้วยมหาสติปัฏฐาน ๔ เพียงเท่านี้ ก็คงไม่มากเกินไป ที่จะเป็นชาวบ้าน ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม



หากข้าพระพุทธเจ้า กล่าวตู่พระพุทธเจ้า และพุทธธรรม แม้เพราะสำคัญผิดในพุทธธรรมนั้น ได้โปรดอดโทษข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด



กราบขออภัย หากยังตอบไม่ถูกใจท่าน เพราะทำให้ท่านเสียเวลาอ่าน

 
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2006, 9:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การสนใจธรรมะของแต่ละคนน่าจะมีเหตุที่มาต่าง ๆ กัน แต่รวม ๆ แล้วมีที่มา 2 ส่วน คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ (ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ)



-ผู้ที่เป็นทุกข์ทางกาย เช่นเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทรมานมาก ๆ หรือเป็นโรคชรา เป็นต้น จึงแสวงหาตนเอง หาที่พึ่ง ฯลฯ คิดเท่าไหร่ ๆ ก็หาข้อยุติไม่ได้ จึงเริ่มสนใจธรรมะโดยหาหนังสือมาอ่านบ้าง บำเพ็ญเพียรทางจิตบ้าง .....



-ผู้ที่เป็นทุกข์โทมนัสทางจิตใจ เช่นพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักบ้าง ปรารถนาสิ่งใด ๆ แล้วไม่เคยสมหวังบ้าง ฯลฯ จึงแสวงหาธรรมะ โดยการอ่านหนังสือเอาเองบ้าง บำเพ็ญเพียรทางจิตบ้าง....

...



โดยส่วนตัวนั้น ไม่ใช่เพราะสองเหตุนี้



แต่เป็นเพราะอยาก ลดอัตตา(อัตตาสิ้นไปก็นิพพาน) ป้องกันความถือดี เย่อหยิ่ง ให้ทราบว่าเหนือฟ้ามีพระพุทธเจ้าอยู่ แต่ไปๆมาสนใจศึกษาเพื่อ กำจัดปรับปราท เป็นเป้าหมายปัจจุบัน



และพระนิพาพานนั้น คือเป้าหมายต่อไป

 
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2006, 9:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระธรรม

ทรงแนะนำหนทางให้เข้าถึงพระธรรมด้วยอริยมรรค ที่เป็นเหตุปัจจัยให้ถึงพระธรรมนั้น เช่น ไตรสิกขา หรือ อริยมรรคมีองค์แปด หรือ มหาสติปัฏฐาน เป็น อาทิ



เพราะหากพระองค์ไม่ได้ตรัสรู้พระธรรม พระองค์จะทรงแนะนำเหตุปัจจัยให้ถึงพระธรรมนั้นได้อย่างไรกัน ใช่ไหม?



ชาวบ้านๆก็ ต้องเชื่อในกรรม ทำตัวให้สอดคล้องกับ กรรม คือ กฎแห่งกรรม มีว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในวิบากกรรม กรรมดีมีวิบากกรรมดี กรรมชั่วมีวิบากกรรมชั่ว



กรรมและวิบากกรรมนี้ เป็นพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า รวมทั้งพระปัญญาตรัสรู้วิธีพ้นไปจากวิถีแห่งกรรมด้วย คือ พระนิพพาน



ชาวบ้านๆ ก็ต้องศรัทธาในพระปัญญาของพระพุทธเจ้า มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เชื่อกฎแห่งกรรม "เว้นชั่ว ทำดี ทำจิตให้บริสุทธิ์"เท่าที่สามารถ เพียงเท่านี้ ชาวบ้านๆก็ อยู่ปฏิบัติธรรมประจำวันแล้ว โลกกับธรรมก็อยู่ด้วยกันแล้ว



อนึ่ง คำว่ามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง และเชื่อกรรม หมายรวมถึง เว้นจากโหราศาสตร์ การเสี่ยงทาย มงคลตื่นข่าว ไหว้ราหู ฯลฯ



แต่หากบูชาเทวดา กราบไหว้พรหมเพราะบูชาคุณความดีของท่าน เพราะนอบน้อมต่อผู้อาวุโส โดยไม่ขาดไปจากไตรสรณคม ก็เป็นมงคลได้เหมือนกัน



 
วิง เ วี ย น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2006, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่าทำให้สับสนมาก เวียนหัวนะ
 
p
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2006, 7:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
copyma
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2006, 8:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

252 พระธรรมวินัยแท้และของปลอม
http://84000.org/true/252.html

..................



007 ธรรมที่ควรมนสิการคืออริยสัจจ์ ๔
http://84000.org/true/007.html

..................



218 โรคกายโรคใจ
http://84000.org/true/218.html

..................



462 เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๔
http://84000.org/true/462.html

...................



446 ธรรมที่ภิกษุควรรู้ กำจัด และ ละ
http://84000.org/true/446.html
 
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2006, 9:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในฝ่ายเวรวาทนั้น แม้มีพระไตรปิฎกเดียวกัน แต่ก็ยังแย้งต่างกันอยู่ ไม่ฉันเนื้อแบบสันติอโศก ไปเที่ยวเมืองพระนิพพานก็มี นิพพานเป็นอัตตาก็มี ตายแล้วเข้าโลงก็มี สมาธิหมุนก็เห็นว่ามี ฯลฯ



ในฝ่าย เซน ก็เชื่อวิธีการตรัสรู้ในแบบของตน แต่หากถามว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไตรสิกขา คือ?สำคัญจำเป็นไหม ก็คงตอบได้ยาก?



ในฝ่ายนิกายตันตระ วัชรยาน แม้กระทั่งมหายาน แบบพุทธเกษตร ก็มีอยู่



ต่างฝ่ายต่างเชื่อว่าพระไตรปิฎกของตนเองถูกต้องครบถ้วน สมบูรณ์ที่สุด

ต่างฝ่ายต่างเชื่อว่าไตรสิกขาของตนเอง ถูกต้องที่สุด



ปัญหา คือว่า หากมีโยนิโสมนสิการเหมือนกัน เกิดปัญญาเหมือนกัน เหตุใดวิธีหรือมรรคจึงต่างกัน วินัยต่างกัน และผลจะต่างกัน?



หากไม่ต่างกัน ไยจึงแตกเป็นลัทธินิกายมากกมาย?



หากเหมือนกัน ไยรวมกันไม่ได้?



เถรวาทแบบธรรมยุต กับมหานิกาย ไยรวมกันไม่ได้เล่า?



อะไรเป็นที่ยุติ แห่ง ความเห็น



หากเหตุแห่งการแยกลัทธินิกายมีอยู่ เหตุนั้นคือ สิ่งใด?

ทำอย่างไร จึงจะแก้เหตุปัจจัยนั้นได้?



พระสัทธรรมแท้ๆ คือ สิ่งใด?



อนุโมทนาครับ สำหรับ http://84000.org/true/252.html(ส่วนธรรมเหล่าใด.... เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ(คลาย?)กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว.... นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา”



แต่ฝ่ายอื่นๆจะเห็นชอบด้วย หรือไม่นั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง



อนุโมทนาครับ
 
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2006, 9:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะเกิดอยู่ใต้ร่มเงาฝ่ายเถรวาท จึงเชื่อแล้วว่า ฝ่ายเถรวาท ตรงที่สุด

แต่หากท่านๆเกิดภายใต้ร่มเงาของตันตร วัชรยาน มหายาน ย่อมเชื่อว่า ตรงที่สุดเช่นกัน



ทำไม ต่างฝ่ายต่างว่าตนตรง แท้จริงที่สุด เพราะอัตตา อวิชชา มานะ หรือว่า ความหลง?
 
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2006, 9:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิง เ วี ย น Posted : 2006-01-31 21:01:19 IP :

อย่าทำให้สับสนมาก เวียนหัวนะ



ไม่ทราบว่าคุณ วิงเวียน สับสนตรงไหน

หรือว่าคำอธิบายใคร หรือตรงไหนสับสน กรุณาถามหรือพูดให้ตรงๆก็ได้ครับ คนอื่นๆจะได้ไม่เวียนหัวตามคำพูดคุณวิงเวียนไปด้วย





 
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2006, 10:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ วิงเวียน ควรจะมีจุดยืนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จุดยืนนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่ากัน

แต่การแอบๆนี่ แสดงว่าไม่มีจุดยืนใดๆเลยในชีวิต เพราะแม้แต่ความเห็น ก็แอบๆแสดง



การแสดงจุดยืนในการทำงาน ประกอบอาชีพ รักษาศีล ปฏิบัติธรรม จุดมุ่งหมายเป็นสิ่งที่ต้องมีปฏิธานในใจ และกล่าวบอกแก่ผู้อื่นได้ เพราะไม่ได้เป็นชั่วบาป



บางท่านมีจุดยืน คือ กำจัดมารศาสนา เพราะไม่เชื่อคติชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ บางท่านมีจุดยืนทำให้คนรู้จักพระพุทธเจ้า อย่างคุณดังตฤณ ท่านอื่นๆก็มีจุดยืน แตกต่างกันไป เพราะความดีนั้น จะทำให้ดีพร้อมอย่างยิ่งยวดในคราวเดียวกันทั้งหมดในชาติเดียวนั้น ทำไม่ได้ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายท่านก็เน้นบารมีในแต่ละชาติต่างกัน เป็นต้น



จุดยืนของคุณวิงเวียน ผมไม่เห็นว่ามีอะไร นอกจากแอบๆ เพราะแม้แต่ชื่อ ก็ไม่กล้าแสดง อย่ากล่าวถึง ความกล้าหาญเรื่องอื่นใด อีกเลย
 
pongsakorn28287
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 พ.ย. 2004
ตอบ: 42
ที่อยู่ (จังหวัด): จ.เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2006, 11:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณปูคุงโกรธใครมาหรือปล่าวครับ?

เห็นใส่เป็นชุดเลย(กับคุณวิงเวียนน่ะ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
copyma
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2006, 12:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิสัยของมนุษย์ที่ชอบคิด จึงทำให้เกิดความสงสัยในสิ่งต่างๆ ที่ตนพบทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเล่าเรียน ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนก็อดสงสัยในสิ่งที่เรานับถือไม่ได้ คือพระพุทธเจ้า คำสอนของท่าน และสงสัยในการปฏิบัติของพระสงฆ์ บางคนสงสัยและหาคำตอบ บางคนสงสัยเฉยๆ บางคนหาแง่โจมตี แต่บางคนก็หาทางส่งเสริมให้ดีขึ้น ความสงสัยนี้เป็นลักษณะประจำชนิดหนึ่งของปุถุชน ทางพระท่านเรียกว่า พวกกถังกถี คือผู้ชอบตั้งปัญหาว่า ทำไม? อย่างไร? แต่ผู้ที่เป็นอริยบุคคลแล้ว ท่านหมดความสงสัยเพราะรู้แจ้งแล้ว ไม่มีความแคลงใจในพระรัตนตรัย จึงได้นามว่า อกถังกถี แปลว่าผู้ไม่มีปัญหาว่า ทำไม? อย่างไร?

ด้วยเหตุฉะนี้แหละกถังกถีในอภิธรรมปิฎกจึงมีขึ้นในวงการนักศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนา เมื่อสงสัยก็มีการถกเถียงตอบโต้กัน การถกเถียงดังกล่าวมิใช่มีเฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น ในอดีตก็มีการขัดแย้งกันมาแล้ว ส่วนใหญ่ประเด็นที่ขัดแย้งกันคือ พระอภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์หรือไม่? เป็นของมีมาแต่เดิมหรือมีขึ้นในยุคหลัง? เป็นหลักธรรมที่จำเป็นต่อการศึกษาปฏิบัติหรือเป็นส่วนเกินความจำเป็น? จากปัญหาเหล่านี้ได้มีการเขียนและพูดอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยสรุปแล้วอาจแบ่งกลุ่มได้ดังนี้



๑. ฝ่ายปฏิเสธพระอภิธรรมปิฎก



๒. ฝ่ายยอมรับพระอภิธรรมปิฎก



๓. ฝ่ายประนีประนอม



เราลองมาศึกษาดูเหตุผลของแต่ละกลุ่มดู บางทีจะทำให้เห็นปัญหาขัดแย้งที่มีอยู่ได้ชัดขึ้น อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจดีระหว่างเพื่อนศาสนนิกด้วยกัน .....................


http://www.dharma-gateway.com/dhamma/tripitaka-09.htm

 
โจโฉ คับ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.พ.2006, 3:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยสังเกตุความฝันของตัวเองป่าวคับ



ถ้าหมั่นสังเกตุ และได้ผู้รู้แนะนำแบบง่ายๆ เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง

คุณอาจจะเข้าใจนรก สวรรค์ อีกแง่ จะเข้าใจการปรุงแต่งของจิต

จะเข้าใจคร่าวๆ ถึงอุปาทาน ฯลฯ



อันเป็นเหตุให้เข้าใจธรรมในภาพรวมแบบคร่าวๆ และเมื่อเข้าใจที่เหตุ

ก็จะรู้ว่า ควรจะใช้ชีวิตอย่างไร ควรจะทำอย่างไร ต่อไป

แล้วปฎิบัติธรรมยังไงถ้ายังอยู่ในโลก ในกองกิเลส



พอรู้ชัดว่าทุกส่งเกิดจากจิต ก็จะเข้าใจว่าทำไมต้องตามรู้กาย รู้จิต

เพื่อให้เกิดสติ ความง่ายในการปฎิบัติธรรมก็จะตามมา

เมื่อเข้าใจคำว่า ธรรมดาของทุกสิ่ง เข้าใจการเกิดดับ ของทุกสิ่ง



มะก่อนผมสับสน ไม่อยากอยู่ในทางโลก เพราะพอสนใจธรรมแล้วรู้สึกว่า

มันอยู่คนละขั้ว แต่พอผ่านไปจุดหนึ่ง ผมอยู่แบบสบายๆ และเห็นแนวทางมากมาย

ธรรมะ มีหลายระดับ ให้เราเลือก เมื่อเราพร้อมตรงไหน ก็ทำตรงนั้น



แต่ที่ขาดไม่ได้ ก็คือ การฝึกสติ ฝึกดูลมหายใจ ฝึกดูความคิด และตามให้ทัน

รู้ตามความจริง มีอุบายมากมายในการนำมาใช้



สำหรับบางคน การอยู่ในโลก อยู่ในกิเลส อยู่ในแสงสี อาจจะทำให้เจริญในธรรม

เร็วกว่า การปลีกไปอยู่เงียบๆ สงบๆ ซะอีก



สู้ ๆ นะคับ ว่างๆ อยากให้ลองอ่าน หนังสือผมเล่นๆ อะ

เดี่ยวเขียนแหลก แปลกอยากระบาย รับรอง อาจไม่ใช่ธรรมะลึกซึ้ง แต่ก็อ่านสนุก

ได้ข้อคิดเยอะ น้า อิๆๆ ไปดูที่ หน้าเพจของผมใน
http://www.baanlamduan.netคับ



ส่วนนี่ อยากให้ลองฟังเพลง โลกในความฝันนะคับ

แล้วอาจจะเก๊ตกับสิ่งที่ผมอยากจะสื่ออะ


http://www.palungjit.com/club/jochokrub



มีเพลงธรรมะ สองเพลง คือ เพลงกรรม และโลกในความฝัน

แนะนำอีกเพลง สำหรับคุณแม่ คือ สำนึก



(แวะโชว์ผลงานซะเรย เรา.. หุๆๆ )
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง