Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ถ้าเป็นคุณจะตัดสินใจอย่างไร ?????? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เด็กน้อย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2006, 2:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เนื้อความ : (jinny)

อ้างอิง |





ประมาณปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีผู้ใหญ่มาเสนอตำแหน่งหัวหน้าให้เรา แต่เราตอบปฏิเสธไป หลายคนว่าเราแปลก แต่เราคิดว่ามันเป็นโลกธรรม ๘ เราปรารถนานิพพาน แล้วเราไม่อยากไปเสียเวลาเดินชมสวนดอกไม้ เดินชมเพลินไปหน่อย ภพชาติเพิ่มขึ้น เลยไม่ต้องไปไหนอีก หรือว่าอันนี้เป็นสภาวธรรมที่เราต้องผ่านไป เลยอยากถามเพื่อนๆ ว่าคิดอย่างไรกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (โภคทรัพย์)

ขอบคุณค่ะ

จากคุณ : jinny [ ตอบ: 25 ม.ค. 49 13:38 ] แนะนำตัวล่าสุด 14 ต.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 5 | ฝากข้อความ





………..

นำคำถามมาจากเว็บอื่น เห็นว่า เป็นคำถามที่ดีมากๆ จึงอยากฟังความคิดเห็นของกัลยาณมิตรเว็บลานธรรมช่วยแสดงความเห็นในกรณีนี้หน่อยว่า ถ้าเป็นคุณจะทำอย่างไร ?



 
soul
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2006, 8:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้ารู้จักพอก็ดีครับ เพราะต่ำหน้าที่การงานสูงขึ้นความรับผิดชอบก็มากขึ้น

เวลาให้กับตัวเองก็ย่อมน้อยลงไปเป็นธรรมดา
 
วรากร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2006, 10:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สำหรับผม



การที่มีตำแหน่งหรือไม่มีตำแหน่งสูงกว่าเดิม ไม่สามารถบอกได้ว่าท่านจะสามารถที่จะนิพพานได้ดีกว่าหรือไม่ดีกว่า



การมีตำแหน่งเป็นหัวหน้า ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในแบบของหัวหน้า การมีตำแหน่งเป็นลูกน้องก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในแบบของลูกน้อง หากเราทำตัวเกินหน้าที่ หรือเกินความพอดีก็จะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี



ไม่ว่าอะไรๆในโลกนี้ล้วนแต่มีธรรมะแอบแฝงอยู่ ผู้ที่มองเห็นก็จะบอกว่ามี ผู้ที่มองไม่เห็นก็จะไม่มี



 
เฟ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2006, 12:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเลื่อนตำแหน่ง น่าจะมองว่ามันเป็นการเจริญเติบโตมากกว่า ถ้าเป็นกรณีย้ายที่ทำงาน หรือย้ายความรับผิดชอบ โดยมีตำแหน่งสูงขึ้น ความสามารถเรามีมากพอ สักยภาพในการเดินทางอำนวยก็ไม่น่าปฏิเสธนะ ในมุมมองของเรา มักน้อย อยู่ให้พอดี สันโดษ ไม่เกี่ยวกับการปฏิเสธความรับผิดชอบที่มากขึ้น

 
สายแก้ว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2006, 1:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บรรพต อ.:-ตอนสามีภรรยาหลับนอนอยู่ด้วยกันยังบรรลุอรหัตผลได้เลย นับประสาอะไรกับต้องไปขายของทุกวัน ถ้าไม่เอารายได้ อาจจะเป็นเพราะว่าทำทานมาไม่ดี สมัยพุทธกาลเคยมีพระอรหันต์องค์หนึ่งบิณฑบาตไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสว่า ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า ไม่เคยทำทานเลยเอาแต่ปฎิบัติธรรมเพียงอย่างเดียว ถึงบรรลุธรรม แต่ก็อด
 
ทิคัมพร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2006, 2:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำอาชีพสุจริต ไม่ขัดต่อ มรรค8ครับ
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2006, 3:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในพระพุทธศาสนานั้น ท่านได้จำแนกข้อแตกต่างของทรัพย์ทั้งสองประเภทที่ได้แสดงไว้ในพระไตรปิฎกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอริยทรัพย์ ๗ ไว้ดังนี้



๑. สัทธาธนัง หมายถึง ความศรัทธาที่จะใฝ่หาความจริงต่างๆ ตาม หลักพระพุทธศาสนา เป็นทรัพย์สินทางใจ



๒. สีลธนัง หมายถึง การรักษาศีล ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดเนื้อ ร้อนใจเป็นทรัพย์สินทางใจ



๓. หิริธนัง หมายถึง การละอายต่อบาปเป็นทรัพย์สินทางใจ



๔. โอตตัปปธนัง หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาปเป็นทรัพย์ทางใจ



๕. สุตธนัง หมายถึง การหมั่นศึกษา ค้นคว้า สดับตรับฟังในวิชา การต่างๆ เป็นทรัพย์สินทางใจ และปัญญา



๖. จาคธนัง หมายถึง การเสียสละ การบริจาคเพื่อกำจัดความโลภ เป็นทรัพย์ทางใจ



๗. ปัญญาธนัง หมายถึง ทรัพย์สินทางปัญญา จะเห็นได้ว่า “อริยทรัพย์” ตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นทรัพย์สินทางใจทั้งสิ้น



ส่วนในเรื่อง “โภคทรัพย์” นั้น ท่านหมายถึง ทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทองในรูปธรรมทั้งสิ้น ท่านได้แสดงไว้ว่า มีอยู่ ๕ ประการ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน คือ เพื่อเลี้ยงตน บริหารตนเองให้เป็นสุข เอิบอิ่มโดยชอบ ๑ เลี้ยงมารดาบิดา บริหารให้ท่านเป็นสุข เอิบอิ่มโดยชอบ ๑ เลี้ยงบุตรภรรยา คนใช้ คนงาน และบริวาร บริหารให้เขาเหล่านี้เป็นสุข เอิบอิ่ม เป็นสุขโดยชอบ ๑ เลี้ยงมิตรและอำมาตย์ บริหารให้เขาเหล่านี้เป็นสุข เอิบอิ่มโดยชอบ ๑ ย่อมบำเพ็ญทักษิณาทานที่มีผลเลิศเป็นทางสวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ๑ นอกจากนี้ ยังได้ปรากฏอยู่ในสุภากัมมารธีตาเถรีคาถา (คาถาสุภาษิตของนาง สุภากัมมารธีตาเถรี) ไว้ว่า



“...เงินหรือทองคำ ย่อมไม่มีเพื่อความสงบใจแม้แก่บุคคลนั้น เงินและทองคำนั้น เป็นของไม่สมควรแก่สมณะ ไม่เป็นอริยทรัพย์ แท้จริงทองคำและเงินนี้ เป็นเหตุให้เกิดความโลภ นำมาซึ่งความมัวเมา ให้เกิดความลุ่มหลง เป็นเครื่องให้กำหนัดพัวพัน มีความระแวง มีความคับแค้นเป็นอันมาก และไม่มีความยั่งยืนมั่นคง ก็คนทั้งหลายผู้ยินดีในทรัพย์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ประมาท มีใจเศร้าหมอง ต่างผิดใจต่อกันและกัน กระทำความบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันเป็นอันมาก การฆ่ากัน การถูกจองจำ การถูกลงโทษมีการตัดมือและเท้าเป็นต้น ความเสื่อมเสีย ความเศร้าโศกร่ำไร ความฉิบหายวอดวายเป็นอันมาก...”




ความหมายของ “ทรัพย์” ในทางพระพุทธศาสนา

พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์





นิพพาน สภาวะธรรมที่เป็นเป้าหมายของพุทธศาสนา หากคุณปฏิบัติธรรมและปรารถนานิพพานเช่นเดียวกับผู้อื่น ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อปรารถนานิพพานอย่างเดียว ทุกคนมีหน้าที่ ยิ่งปฏิบัติธรรมเข้าสู่สภาวะละเอียดมากเท่าไหร่ แต่ละบุคคลก็ย่อมทราบหน้าที่ด้วยตัวท่านเองว่า ท่านมีหน้าที่ทางโลกอย่างไรในขณะที่ยังดำรงซึ่งความเป็นมนุษย์ แต่ไม่ใช่ละทิ้งไป ยิ่งหลบ ยิ่งหนี ยิ่งหลง ยศฐาบรรดาศักดิ์เป็นเพียงสมมติ อยู่ในโลกแต่ไม่ยึดและหลงไปกับมัน....เท่านั้น....



เจริญในธรรม



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง