Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อุบาย สมาธิภาวนา (พระอาจารย์มั่น) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรกต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ม.ค. 2006, 11:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อท่านพักอบรมภาวนาด้วยพุทโธ อยู่ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ขณะที่จิตสงบลงปรากฏเป็นอุคหนิมิตขึ้นมาในลักษณะคนตายอยู่ต่อหน้า แสดงอาการพุพองมีน้ำเน่าน้ำหนองไหลออกมา มีแร้งกาและสุนัขมากัดกินยื้อแย่งกันอยู่ต่อหน้าท่านจนซากนั้นกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ เป็นที่น่าเบื่อหน่ายและสลดสังเวชเหลือประมาณในขณะนั้น เมื่อจิตถอนขึ้นมา ในวาระต่อไป ไม่ว่าจะนั่งภาวนา เดินจงกรม หรืออยู่ในท่าอริยาบถใด ท่านก็ถือเอานิมิตนั้นเป็นเครื่องพิจารณาโดยสม่ำเสมอไม่ลดละ จนนิมิตแห่งคนตายนั้นได้กลับกลายเป็นวงแก้วอยู่ต่อหน้าท่าน เมื่อเพ่งพิจารณาวงแก้วนั้น หนักๆเข้าก็ยิ่งแปรสภาพไปต่างๆ ไม่มีทางสิ้นสุด



ท่านพยายามติดตามก็ยิ่งปรากฏเป็นรูปร่างต่างๆ จนไม่มีประมาณว่าความสิ้นสุดแห่งภาพนิมิตจะยุติลง ณ ที่ใด ยิ่งเพ่งพิจารณาก็ยิ่งแสดงอาการต่างๆ ไม่มีสิ้นสุด โดยเป็นภูเขาสูงขึ้นเป็นพักๆบ้าง ปรากฏว่าองค์ท่านสะพายดาบอันคมกล้าและเท้าทั้งสองมีรองเท้าสวมอยู่บ้าง แล้วเดินไป-มาบนภูเขานั้นบ้างปรากฏเห็นกำแพงขวางหน้ามีประตูบ้าง ท่านเปิดประตูเข้าไปดูเห็นมีที่นั่ง และที่อยู่ของพระ 2-3 รูป มีดาบสอยู่ในถ้ำนั้นบ้าง มียนต์คล้ายอู่ มีสายหย่อนลงมาจากหน้าผาบ้าง ปรากฏว่าท่านขึ้นสู่อู่ขึ้นไปบนภูเขาบ้าง มีสำเภาใหญ่อยู่บนภูเขาบ้าง เห็นโต๊ะสี่เหลี่ยมอยู่ในสำเภาบ้าง มีประทีปความสว่างไสวอยู่บริเวณรอบๆ หลังเขานั้นบ้าง ปรากฏว่าท่าฉันจังหันอยู่บนภูเขานั้นบ้าง จนไม่อาจจะตามรู้ตามเห็นให้สิ้นสุดลงได้
 
กรกต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ม.ค. 2006, 11:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สิ่งที่ท่านได้เห็นเกี่ยวกับนิมิตเป็นเหตุให้รู้สึกว่ามีมากมาย จนไม่อาจจะนำมากล่าวจบสิ้นได้ ท่านพิจารณาในทำนองนี้ถึง 3 เดือน โดยการเข้าๆ ออกๆ ทางสมาธิภาวนาพิจารณาเท่าไร ก็ยิ่งรู้ยิ่งเห็นสิ่งที่จะมาปรากฏจนไม่มีทางสิ้นสุด แต่ผลที่ปรากฏจากการพิจารณา ไม่ค่อยมีพอเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องและแน่ใจ เมื่อออกจากสมาธิประเภทนี้แล้ว ขณะกระทบกับอารมณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วๆ ไปก็เกิดการหวั่นไหว คือทำให้ ดีใจ เสียใจ รักชอบและเกลียดชังไปตามเรื่องของอารมณ์นั้นๆ หาความเที่ยงตรงคงตัวอยู่มิได้ จึงเป็นเหตุให้ท่านสำนึกในความเพียรและสมาธิที่เคยบำเพ็ญมาว่า คงไม่ใช่ทางแน่ ถ้าใช่ทางทำไมถึงไม่มีความสงบเย็นใจ และดำรงตนอยู่ด้วยความสม่ำเสมอ แต่ทำไมกลับกลายเป็นใจที่วอกแวกคลอนแคลนไปตามอารมณ์ต่างๆ ไม่มีประมาณ ซึ่งไม่ผิดอะไรกับคนที่เขามิได้ฝึกหัดภาวนาเลย ชะรอยจะเป็นความรู้เห็นที่ส่งออกนอกซึ่งผิดหลักของการภาวนากระมัง จึงไม่เกิดผลแก่ใจให้ได้รับความสงบสุขเท่าที่ควร



ท่านจึงทำความเข้าใจเสียใหม่โดยย้อนจิตเข้ามาอยู่ในวงแห่งกาย ไม่ส่งใจไปออกนอกพิจารณาอยู่เฉพาะกาย ตามเบื้องบน เบื้องล่าง ด้านขวาง สถานกลาง โดยรอบ ด้วยความมีสติตามรักษา โดยการเดินจงกรมไป-มา มากกว่าอริยาบถอื่นๆ แม้เวลานั่งสมาธิภาวนาเพื่อพักผ่อนให้หายเมื่อยบ้างเป็นบางกาล ก็ไม่ยอมให้จิตรวมสงบลงดังที่เคยเป็นมา แต่ให้จิตพิจารณาและท่องเที่ยวอยู่ตามร่างกายส่วนต่างๆ เท่านั้น ถึงเวลาพักผ่อน นอนหลับก็ให้หลับด้วยพิจารณากายเป็นอารมณ์ พยายามพิจารณาตามวิธีนี้อยู่หลายวัน จึงตั้งท่านั่งขัดสมาธิพิจารณากายเพื่อให้ใจสงบด้วยอุบายนี้ อันเป็นเชิงทดลองดูว่าจิตจะสงบแบบไหนกันอีกแน่ ความที่จิตไม่ได้พักสงบตัวเลยเป็นเวลาหลายวัน พร้อมกับได้รับอุบายวิธีที่ถูกต้องเข้ากล่อมเกลา จิตจึงรวมสงบอย่างรวดเร็วและง่ายดายผิดปกติ



ขณะที่จิตรวมสงบตัวลงไป ปรากฏว่าร่างกายได้แตกออกเป็นสองภาค และรู้ขึ้นมาในขณะนั้นว่า “นี้เป็นวิธีที่ถูกต้องแน่นอนแล้ว ไม่สงสัย” เพราะขณะที่จิตรวมลงไปมีสติประตัวอยู่กับที่ ไม่เหลวไหลและเที่ยวเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ ดังที่เคยเป็นมา และนี้คืออุบายที่แน่ใจว่าเป็นความถูกต้องในขั้นแรกของการปฏิบัติ ในวาระต่อไปก็ถืออุบายนี้เป็นเครื่องดำเนินไม่ลดละ จนสามารถทำความสงบใจได้ตามต้องการและมีความชำนิชำนาญขึ้นไปตามกำลังแห่งความเพียรไม่ลดหย่อนอ่อนกำลัง นับว่าได้หลักฐานทางจิตใจที่มั่นคงด้วยสมาธิ ไม่หวั่นไหวคลอนแคลนอย่างง่ายดาย ไม่เหมือนคราวบำเพ็ญตามนิมิตในขั้นเริ่มแรก ซึ่งทำให้เสียเวลาไปเปล่าตั้ง 3 เดือน โทษแห่งความไม่มีครูอาจารย์ผู้ฉลาดคอยให้อุบายสั่งสอน ย่อมมีทางเป็นไปต่างๆ ดังที่เคยพบเห็นมาแล้วนั้นแล อย่างน้อยก็ทำให้ล่าช้า มากกว่านั้นก็ทำให้ผิดทาง และมีทางเสียไปได้อย่างไม่มีปัญหา
 
yannapol
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2006, 7:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญกุศล ในสิ่งที่ได้แสดงไว้ในที่นี่

ผมเชื่อว่าทุกคนในโลก หากมีความเพียรเช่นท่าน สามารถที่จะดินตามท่านได้แน่นอน

ด้วยไม่ช้าก็เร็ว ขอทุกท่าน จงเริ่มเพียรพยายามได้แล้ว
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง