Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทางสายกลางในทางพุทธศาสนา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2006, 8:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในสังคมของมนุษย์ จะเรียกว่า เป็นธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตก็ย่อมได้ หากจะกระทำการใดใด ย่อมต้องมีปัจจัย หรือมีสิ่งประกอบที่สำคัญหลายประการ อันได้แก่ ตัวบุคลากร อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ความรู้ สภาพอากาศ และสภาพภูมิประเทศ อันเอื้ออำนวย หรือสามารถปฏิบัติภารกิจนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ภารกิจใดใด ก็ย่อมต้องอาศัย ตัวบุคลากร อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ความรู้ความสามารถ สภาพสิ่งแวดล้อมต่าง อันเกี่ยวข้องกับภารกิจนั้นๆ จึงจะสามารถปฏิบัติภารกิจนั้นๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้

ในทางศาสนาก็เช่นกัน การเรียนการศึกษา การปฏิบัติธรรมหรือการฝึกตน ก็ย่อมต้องอาศัยปัจจัยที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นเหมือนเช่นเดียวกัน คือต้องประกอบไปด้วยความรู้ความเข้าใจที่เป็นไปตามหลักธรรมชาติ คือหลักความจริงที่สามารถเอื้ออำนวยให้การเรียนการศึกษา การปฏิบัติธรรมหรือฝึกตน ได้ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายตามแต่สมองสติปัญญาของแต่ละบุคคล

ดังนั้น ก่อนที่จะเรียนจะศึกษาในทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ ก็ควรได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับทางสายกลางเป็นอันดับแรก เพื่อผลในการเรียนการศึกษาในชั้นต่อๆไป

ทางสายกลางจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ เป็นปัจจัยพื้นฐาน เป็นสิ่งประกอบเป็นอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่สำคัญยิ่ง

ข้าพเจ้าเคยเขียนเรื่องทางสายกลางไปแล้วครั้งหนึ่งในปีก่อน (2547-2548) เป็นเรื่องทางสายกลางสำหรับศาสนาพุทธ แต่คงมีคนอ่านน้อย จึงยังมีคนถามอีก

ในปีนี้(2549)ข้าพเจ้าจึงเขียนใหม่อีกครั้ง และก็มิใช่หมายความว่า จะเล็งผลเลิศ หรือเพื่อต้องการให้ท่านทั้งหลายได้เชื่อ แต่ข้าพเจ้าเขียนก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้อ่าน ได้คิด ได้พิจารณา ซึ่งก็นับได้ว่า เป็นการหมุนกงล้อพระธรรมจักรแห่งข้าพเจ้าไปข้างหน้าแม้จะต้องถอยหลังบ้าง ก็ตามที

อันทางสายกลางนั้น นับได้ว่า เป็นคำพูดหรือเป็นประโยคที่ต้องตีความให้ตรงจุด ตรงประเด็น ในทางพุทธศาสนา หากจะตีความหมายตามตัวอักษร ตามคำ ตามประโยคแล้ว ทางสายกลางย่อมหมายถึง การอยู่ตรงกลางระหว่างทาง 3 สาย คือ

สายที่ 1 คือ สายแห่งความดี ตามบรรทัดฐานของการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

สายที่ 3 คือ สายแห่งความไม่ดี ตามบรรทัดฐานของการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

สายที่ 2 คือ ทางสายกลาง (เขียนไม่ผิดนะขอรับ) คืออยู่ระหว่างตรงกลาง ของความดี กับความชั่ว ตามบรรทัดฐานของการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่ง ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต

ในทางธรรมะหรือในทางศาสนา ย่อมต้องสอนสรรพสิ่งที่มีชีวิตและสอนได้ ให้หลุดพ้นจากวัฎจักร แห่งความโลภ ความโกรธ และความหลง นั่นก็คือ รู้ว่า อย่างไหนเป็นทางสายที่ดี และอย่างไหนเป็นทางสายที่ไม่ดี เพราะการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ย่อมมีการปฏิสังคม ติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันอยู่เกือบตลอดเวลา ดังนั้น ศาสนา(ในที่นี้กล่าวเฉพาะในศาสนาพุทธ)จึงสอนให้สรรพสิ่งที่มีชีวิตและสอนได้ แนะนำได้ ได้รู้ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตมีพฤติกรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจอย่างไรบ้าง และจะไม่จำเพาะเจาะจงว่า ศาสนาหรือธรรมะแห่งศาสนามุ่งเน้นสอนให้คนทำแต่ความดี ทว่า ธรรมะแห่งศาสนา จะสอนให้รู้ต้นตอแห่งพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ ของสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่สอนได้ และสอนไม่ได้ ว่ามีหัวข้อหลักหรือต้นตออย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น

สรรพสิ่งทั้งหลาย ล้วนย่อมมี การคิด และการระลึกนึกถึง อันนี้นับเฉพาะสิ่งที่มีชีวิต และการคิด รวมถึงการระลึกนึกถึง ย่อมมีทั้งที่ทางสังคมเรียกว่าความดี และย่อมมีทั้งที่ทางสังคมเรียกว่าความไม่ดี

อันนี้เป็นหลักการแห่งศาสนาที่แท้จริง อย่างนี้เป็นต้น ที่ข้าพเจ้ายกตัวอย่างให้ได้ศึกษากันแม้เป็นเพียงข้อเดียว แต่ก็แบ่งเป็นสอง คือ คิด อย่างหนึ่ง ระลึกนึกถึงอย่างหนึ่ง หรือหากจะหมุนไปอีก การคิด และระลึกนึกถึง ก็ย่อมเกิดจากสรีระร่างกาย และ การคิด และระลึกนึกถึงจะเกิดขึ้นได้ เพราะการได้สัมผัสพบเห็น อย่างนี้เป็นต้น

ที่ข้าพเจ้ากล่าวไปเป็นเพียงส่วนน้อย แต่ก็ย่อมสามารถทำให้ท่านทั้งหลายคิดพิจารณาเป็นวงรอบ และต้องคิดพิจารณาให้มีที่สิ้นสุด อย่าคิดในทางที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ไก่กับไข่ อันไหนเกิดก่อนกัน โดยไม่มีข้อสรุป ข้อสรุปจะต้องเป็นข้อสรุปที่มีเหตุและผลที่ใครจะคัดค้านไม่ได้ เพราะเป็นหลักความจริง

เอาละขอรับ วันนี้เอาแค่นี้ก่อน หวังว่า คงมีประโยชน์ต่อพระสงฆ์ ต่อบุคคลากรทั้งหลาย ให้ไปคิดพิจารณาให้ดี ก็แล้วกัน ขอรับ

 
คนผ่านทาง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ม.ค. 2006, 7:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับ ลุงใหญ่

ผ่านมาครับ เลยลองอ่านดู

อ่านดูแล้ว จึงทำให้ทราบว่า ความรู้ในพระธรรมของลุงใหญ่ ต่ำกว่ามาตรฐานมั่กๆครับ

ไม่ว่าพิจารณาโดยอรรถ หรือโดยพยัญชนะ

"ไม่รู้ ก็ไม่ชี้" นี้เป็นทางหนึ่ง ในการปิดทางแห่งอบายครับ

รู้ จึงชี้ จึงจะได้บุญกุศลครับ

...

อย่ากล่าวตู่พระพุทธเจ้า เลยครับ บาปกรรมๆจริงๆ
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ม.ค. 2006, 12:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางสายกลาง ไม่ใช่ ตรงกลาง ระหว่างดีกับชั่ว นะครับ มิฉะนั้น ก็ปฏิบัติทางสายกลางกันทั้งโลก คือ นอนเฉยๆ ไม่ดี และไม่ชั่ว ไม่ต้องทำอะไร



แต่ทางสายกลาง อริยมรรคมีองค์แปด จะต้องเป็นทางที่พ้นดี พ้นชั่วครับ
 
มดเล็ก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ม.ค. 2006, 3:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฮ้อออ มาเงี้ยอีกแระ เวงกำ
 
ไม่บอกชื่อก็รู้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ม.ค. 2006, 5:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางสายกลาง หาใช่ทางไปสู่การสั่งสมบุญ หรือกึ่งกลางระหว่างบุญ-บาป



แต่ "ทางสายทาง" เป็นทางปฏิบัติไปสู่ความหลุดพ้น คือ "พระนิพพาน" พ้นบุญบาป

เพราะบุญบาปมีวิบากกรรม ทำให้ ข้ามพ้นวัฏสงสารไม่ได้

ทางสายกลาง ถูกค้นพบ เพราะพระศาสดา ทางทราบสัจธรรมนั้น จึงกำหนด มรรค ให้สอดคล้องกับสัจธรรม

หาใช่ กำหนดมรรคขึ้นโดยนั่งนึกจินตนาการขึ้นมาลอยๆไม่ แต่เพราะทราบสัจธรรมมาก่อนแล้ว บรรลุพระโพธิญาณก่อนแล้ว จึงกำหนดมรรค

กล่าวคือ พระศาสดามีพระปัญญาญาณสิ่งนี้ ก่อน คือ กำหนดรู้ในทุกข์ การละเหตุแห่งทุกข์ การทำให้แจ้งในพระนิพพาน และมรรคซึ่งก็คือกิจที่ต้องทำ คือ อริยมรรคมีองค์แปด เรียกอริยมรรคมีองค์แปดว่า ทางสายกลาง ทางสายเอกแห่งโลก



ลุงใหญ่ เข้าใจไหมขอรับ



เมาไม่ขับ

ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่บาป
 
ขอถาม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ม.ค. 2006, 5:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากถามลุงใหญ่ว่า ที่ลุงใหญ่ว่าตนเองเป็นพระศรีอาริย์เมตไตร และมีฉัพพรรณรังสี นั้นลุงใหญ่คิด หรือว่าเห็นอย่างไร เพราะเห็นพูดเช่นนี้ในเวบอื่นๆ และดื้อดึงจะถืออย่างนี้อยู่ตลอด ตอนนี้ยังไม่ยอมแก้ไขตนเองใช่หรือเปล่าครับ
 
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ม.ค. 2006, 3:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางสายกลางนั้น ตีความหมายได้หลายสถาน ทางสายกลางสถานแรก ก็ดังที่ข้าพเจ้าได้เขียนให้ท่านได้อ่านอยู่ ณ ที่นี้ และยังมีทางสายกลางอีกหลายสถานซึ่งจะเขียนในวันต่อไป

การทำความเข้าใจในหลักการศาสนา สำหรับบางคนนั้น ก็อย่างที่คุณคนผ่านทางกล่าวมา ต่ำมากๆ และขอเตือนไว้ว่า หากรู้ไม่จริงก็อย่าออกความคิดเห็น ถามได้ถ้าหากไม่รู้ ไม่เป็นไร

หากพวกท่านต้องการที่จะหลุดพ้น หรือต้องการที่จะศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องของศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธให้ถูกทาง ก็ลองใช้สมองสติปัญญา เท่าที่มีอยู่ของพวกคุณ คิดพิจารณาดูเถิด

สำหรับคำถามที่ถามถึง ฉัพพรรณรังสี นั้น ก็ขอตอบว่า เรื่องจริงขอรับ พิสูจน์ได้ด้วยตาตนเอง และข้าพเจ้าก็ยังคงยืนยันอยู่เหมือนเดิมว่า ข้าพเจ้าคือ ศรีอาริยะเมตไตย ของจริง ตัวจริง เสียงจริง ไม่เชื่อไม่เป็นไร แต่ขอเตือน คนทั้งโลกไว้ว่า อย่าทำตัวเข้าตำรา" กบเลือกนาย" อยากได้พระพุทธเจ้าหรือศาสดาแห่งศาสนา ตามความคิดเพ้อฝันของพวกคุณ ขอเตือนไว้ขอรับ
 
ขอถาม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ม.ค. 2006, 6:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยังดื้อเหมือนเดิมเลย อิอิอิ



ไม่มีครายว่าอะไร อยากเป็นอะไรก็เป็นไปเถิดครับ ขอรูปถ่ายฉัพรรณรังสีมาโพสให้ดูบ้าง ไม่ได้เหรอ
 
commando
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ม.ค. 2006, 9:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

吹牛大王!
 
กบนอกกะลา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ม.ค. 2006, 10:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ถ้ายังอวดเก่งแข่งดีกับพระพุทธเจ้ากับพระศาสนา ก็คงอีกไม่นานร๊อก



ขอความกรุณาคุณหยุดเข้าไปก่อกวนยัดเยียดความคิดอุตริบ้าๆนี้

ตามเว็บพระพุทธศาสนาเสียทีเถอะ ไปตั้งลัทธิใหม่เปิดเว็บเป็นของตัวเอง

จะได้ไม่ถูกต่อต้านจากชาวพุทธเค้านะ ทั่นพระสีอาน

 
ธรรมะสนทนา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ม.ค. 2006, 11:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ "การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง" ขอโอกาสบำเพ็ญธรรมทาน เพื่อเป็น หิตายะ สุขายะ โลกานุกัมปายะ ดังต่อไปนี้



คำว่า ทางสายกลาง แปลมาจากคำภาษาบาลีว่า มัชฌิมา ปฏิปทา หมายถึงทางปฏิบัติหรือข้อปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินไปในชีวิตของกาย ของวาจา เป็นองค์แห่งอริยสัจองค์ที่ 4 คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แปลว่า ทางปฏิบัติอันนำไปสู่ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติที่ว่านี้ คือ อริยมรรคมีองค์แปด แบ่งเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่



1. เป็นทางปฏิบัติชอบที่ทำให้ใจสว่างใสประกอบด้วยองค์ 2 จัดเป็นองค์มรรคฝ่ายปัญญา คือ สัมมา ทิฏฐิ ใจคิดเห็นชอบ สัมมา สังกัปโป ใจคิดดำริชอบ



2. เป็นทางปฏิบัติชอบที่ทำให้กายและวาจาเรียบร้อยสะอาดประกอบด้วยองค์ 3 จัดเป็นองค์มรรคฝ่ายศีล คือ สัมมา วาจา พูดชอบ สัมมา กัมมันตะ กระทำชอบ สัมมา อาชีวะ ประกอบอาชีพชอบ



3. เป็นทางปฏิบัติชอบที่ทำให้ใจสงบประกอบด้วยองค์ 3 จัดเป็นองค์มรรคฝ่ายสมาธิ คือ

สัมมา วายามะ ใจคิดพยายามชอบ สัมมา สติ ใจคิดระลึกชอบ สัมมา สมาธิ ใจคิดตั้งมั่นชอบ



สรุป องค์มรรคฝ่ายปัญญามี 2 องค์มรรคฝ่ายศีลมี 3 องค์มรรคฝ่ายสมาธิมี 3 รวมเป็นมรรคมีองค์แปด = ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา = มัชฌิมา ปฏิปทา คือทางสายกลาง

ด้วยประการฉะนี้
 
ไอธรรมไอที
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 ธ.ค. 2004
ตอบ: 28

ตอบตอบเมื่อ: 06 ม.ค. 2006, 11:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะคือสัจจะธรรมแห่งความจริง

ตัวอย่างเช่น ความจริงไฟมันร้อน

เหมือนดั่งอกุศลธรรม ก็คือไฟที่มีความร้อน

ถ้าไปจับไฟไฟมันก็ย่อมร้อน

ไม่ว่าเราจะรู้ความเป็นจริงหรือไม่ว่าไฟมันร้อน

ถ้าเราเอามือไปจับไฟ ไฟมันก็ย่อมเผามือเราให้ร้อน

ถ้าเรารู้ความจริงคือธรรมะว่าไฟร้อน เราก็จะมีความรู้คือปัญญา ไม่เอามือไปจับมัน

แต่ถ้าเราไม่รู้ความจริง คือขาดปัญญาเราก็ไปจับไฟนั้น ไฟก็จะเผามือเรา

เหมือนกับการทำอกุศลธรรม ทำไปโดยรู้หรือไม่รู้ มันก็ร้อน คือวิบากกรรมย่อมให้ผล

อกุศลธรรมก่อให้เกิดความเดือดร้อนไม่ว่าจะมีปัญญารู้หรือไม่รู้มันย่อมเผาตัวเอง

พุทธบริษัทที่มีปัญญาด้วยการศึกษาพระธรรมโดยศึกษาปริยัติและปฏิบัติ

จนเกิดปัญญา จะรู้ว่าไฟนั้นร้อนคืออกุศลธรรม คือสิ่งใด จะไม่ทำในสิ่งนั้น

เพราะว่าอกุศลธรรมเป็นบาปทำให้เป็นไฟเผาตัวเอง ทำให้ตนเองต้องเป็นทุกข์เป็นร้อน

ผู้ที่รู้ย่อมรู้ว่าการก่ออกุศลธรรมทำให้ผู้อื่นต้องเป็นทุกข์เดือดร้อน

ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ในภายหลังเพราะได้ก่ออกุศลธรรมลงไป

และไฟที่เผาตนเองนั้นย่อมเผาตั้งแต่ชาตินี้และชาติใหม่ที่ไปเกิดคือ

ต้องไปลงนรกถูกไฟแห่งมิจฉาทิฏฐิเผาตน



ผู้มีมิจฉาทิฏฐิเพราะขาดปัญญา แสดงสิ่งที่ขาดซึ่งธรรมะและปัญญาออกมา

โดยไร้ซึ่งปัญญาก็เหมือนเอาไฟเผาตนเอง ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ว่าตนทำถูกหรือไม่

ก็ต้องได้รับผลแห่งวิบากกรรมอยู่ดีโดยที่ไม่รู้ กรรมย่อมต้องสนองผลกรรมที่ทำมา

ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ก็หนีไม่พ้น เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้รู้มีสัมมาทิฏฐิ

ร่ายมาตั้งนาน ผมชอบเขียนธรรมะน่ะครับ



ทางสายกลางคือมัชฌิมา ปฏิปทา ไม่ปฏิบัติตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป

ตามผู้ตอบด้านบนได้อธิบายไว้แล้ว

ในหลักสูตรวิชาพุทธศาสนาของเด็กนักเรียนชั้นประถมก็เขียนแบบนี้ไว้เป็นพื้นฐาน

เด็กนักเรียนประถมยังรู้เลยนะว่าทางสายกลางคืออะไร

แต่คนบางคนก็ยังไม่รู้ มิจฉาทิฏฐิของคนเรามันมากกิเลสของมนุษย์มันหนา

เพราะปุถุชนแปลว่าคนหนา คนหนาก็ควรศึกษาให้รู้จะได้เป็นผู้รู้ไม่ใช่ผู้หนาอีก

การทำอกุศลกรรมแบบนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ธรรมะเป็นของสูงจะจาบจ้วงก็เหมือนคนเราถุยน้ำลายรดฟ้าแล้วมันจะตกลงที่ไหน



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ม.ค. 2006, 11:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าตัวเองมีมิจฉาทิฏฐิอยู่ เพราะถ้ารู้ว่าตัวเองมีมิจฉาทิฏฐิอยู่ก็แสดงว่าไม่มีมิจฉาทิฎฐิแล้ว ผู้มีธรรมความมีพรหมวิหารสี่เป็นพื้นฐาน

หวังว่าคงวางจิตได้ถูกต้อง และถึงพร้อมซึ่งศีล สมาธิ ปัญญา ทุกคนทุกท่านเทอญ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง