Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิมุตติ การหลุดพ้นทั้งแบบโลกียะ และแบบโลกุตระ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2005, 3:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน









วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ ๑.ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว ๒.วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้ ๓.สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด ๔.ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ ๕.นิสฺสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป; ๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ



คำว่าวิมุตติ แปละว่าพ้น หรือจิตพ้นจากกิเลสนั้น มีสองความหมายคือพ้นชั่วคราว เป็นโลกียวิมุตต ส่วนพ้นถาวรนั้นเป็นโลกุตรวิมุตติ การพ้นอย่างไหนก็ดูตัวอย่างจากข้างล่างนี่ครับ



ตทังควิมุตติ พ้นด้วยองค์นั้นๆ หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงกันข้ามที่เป็นคู่ปรักกัน เช่น เกิดเมตตา หายโกรธ เกิดสังเวช หายกำหนัด เป็นต้น เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกิยวิมุตติ ดู วิมุตติ



โลกิยวิมุตติ วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ



โลกุตตรวิมุตติ วิมุตติที่เป็นโลกุตตระ คือ ความหลุดพ้นที่เหนือวิสัยโลก ซึ่งกิเลสและความทุกข์ที่ละได้แล้ว ไม่กลับคืนมาอีก ไม่กลับกลาย ได้แก่ วิมุตติ ๓ อย่างหลัง คือ สมุจเฉทวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวุมุตติ และนิสสรณะวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกิยวิมุตติ



 
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2005, 4:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุรุทธสูตร

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ส่งคนไปนิมนต์พระอนุรุทธ์ พร้อมด้วยภิกษุอื่น 3 รูป ไปฉันที่บ้าน เมื่อฉันเสร็จแล้ว จึงถามปัญหาเรื่อง อัปปมาณาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตอันไม่มีประมาณ) กับมหัคคตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตที่เป็นฌาน) มีอรรถะ (ความหมาย) และพยัญชนะ (ตัวอักษร) ต่างกัน หรือว่า มีอรรถะอย่างเดียวกันแต่มีพยัญชนะต่างกัน พระเถระตอบว่า อรรถะและพยัญชนะต่างกัน โดยอธิบายว่า อัปมาณาเจโตวิมุตติ ได้แก่การแผ่จิตด้วยพรหมวิหาร 4 มีเมตตาเป็นต้น อันหาประมาณจำกัดไม่ได้ไปยังโลกทั้งปวงทั้ง 6 ทิศ ส่วนมหัคคตาเจโตวิมุตติ ได้แก่การเจริญฌาน (แผ่กสิณนิมิตไป) กำหนดขอบเขตเพียงโคนไม้เดียวบ้าง 2 3 แห่งบ้าง สองสามเชตบ้านบ้าง สองสามแว่นแคว้นบ้าง กำหนดแผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขตบ้าง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง