ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ต้นข้าว
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
09 ธ.ค.2005, 12:40 pm |
  |
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ “…อะไร…
พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ “ ธรรม ” ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดได้ประกาศ “ ธรรม ” เหมือนที่พระองค์ได้ตรัสรู้มาก่อน พระองค์ทรงค้นพบ “ ธรรม ” ขณะที่เป็นนักบวชและทรง ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง…เป็นพระพุทธเจ้า หลังจากที่ได้ทรงไตร่ตรองเหตุและผลตามความเป็นจริงของธรรมชาติ จนแน่พระทัยว่า “ ธรรม ” ที่พระองค์ค้นพบนั้นเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ต่อมวลมนุษยชาติและสัตว์โลก “ ธรรม ” นั้นคือ “ อริยสัจ ๔ ” แปลความหมายได้ว่า “ ความจริงอันประเสร็จ ๔ ประการ ”
ประการที่ ๑ เรื่อง ทุกข์
คือ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ดังใจก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การประสพกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น
ประการที่ ๒ เรื่อง สมุทัย
คือ ต้นเหตุที่ทำให้ใจและกายเกิดความทุกข์ เป็นตัว “ ตัณหา ” ที่ทำให้มีการเกิดในภพใหม่ ได้แก่ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความโลภ ความโกรธ ความหลง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลาภสักการะ ยศ สรรเสริญ สุข ริษยา อาฆาต แค้น ความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ “ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ประการที่ ๓ เรื่อง นิโรธ
คือ การดับทุกข์และดับต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ โดย “ สำรอก ” ไม่ให้เหลือแห่ง “ ตัณหา ” นั้น ด้วยการพยายามหักห้ามใจตนเองให้ ลด ละ เลิก ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความโลภ ความโกรธ ความหลง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลาภสักการะ ยศ สรรเสริญ สุข ริษยา อาฆาต แค้น ให้ลดไป ทีละเล็ก…ทีละน้อย ไปจนที่สุดไม่เหลือ “ ความอยาก ” ใดๆไว้ในใจจึงดับทุกข์ดับตัณหาได้สนิทไม่มีการเกิดในภพใหม่อีกต่อไป ทุกข์มาก…สุขน้อย…ทุกข์น้อย…สุขมาก…ไม่มีทุกข์…ไม่มีสุขทางโลก มีแต่สุขทางธรรม คือ “ นิพพาน ”
ประการที่ ๔ เรื่อง มรรค
คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ที่ใช้สำหรับปฏิบัติตนเพื่อเป็นการ ลด ละ เลิก จากต้นเหตุของการเกิดทุกข์กาย และ ทุกข์ใจ เรียกว่า “ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ” คือ “ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ” แปลความหมายได้ว่า “ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐ ๘ ประการ ” คือ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ดังกล่าว ย่อลงให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในทางปฏิบัติตนเพื่อให้ชีวิตได้พบความสุข และถึงความสุขอันแท้จริง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล คือ การละเว้นไม่กระทำความชั่วประพฤติแต่ความดี ด้วยการทำบุญ ทำทาน ไม่เบียดเบียน ให้ความรักและมีใจเมตตาต่อผู้อื่น มีศีล ๕ อยู่ประจำใจเป็นเบื้องต้น คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่เป็นชู้กับสามี-ภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มสุราและของมึนเมาต่างๆ “ ศีลเป็นฐาน…บาท ”
ปัญญา คือ การใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะธรรม ให้เห็นตามความเป็นจริงของโลกว่า มวลสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน---อนิจจัง ทุกสิ่งเมื่อไม่แน่นอนย่อมมีทุกข์เป็นส่วนประกอบ---ทุกขัง ทุกสิ่งเมื่อไม่แน่นอนย่อมไม่มีตัวตนถาวรเป็นของตัวเอง---อนัตตา มวลสรรพสิ่งทั้งหลายมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และล้วนดับไปตามกาลเวลา วิปัสสนากรรมฐาน ใช้ปัญญาพิจารณาจนจิตเริ่มรู้เท่าทันตามความเป็นจริงของธรรมชาติ และไม่ไปยึดติดกับสิ่งที่ไม่เป็นจริงนั้นๆ อีกต่อไป วิปัสสนาญาณ และขั้นดับกิเลสตัณหาได้สนิท อาสวักขยญาณ
สมาธิ คือ ความสงบหรือความนิ่งของจิตที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยการภาวนา หรือ การทำจิตให้ว่างๆ ด้วยการเพ่งดูวัตถุ “ กสิณ ” เมื่อจิตสงบ จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน “ “ สมถกรรมฐาน ” เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านจิตจะเริ่มคลายจากเรื่องต่างๆ ที่จิตเคยไปยึดติดอยู่ เมื่อกระทำให้จิตสงบบ่อยๆครั้ง มีเจตนาในทางที่ดี คือ มีศีล และ เมตตา เป็นฐานอยู่ประจำใจ จิตจะเริ่ม ลด ละ เลิก เริ่มลืมเรื่องที่ไม่ดีเรื่องที่เป็นทุกข์ต่างๆ ที่จิตเริ่มไม่ต้องการแต่ละเรื่องที่จิตเคยยึดติดอยู่ค่อยๆหมดไปในที่สุด
ผลของสมาธิ จำแนกออกได้เป็น ๓ ข้อ
ข้อ ๑ ใช้ระงับจิตไม่ให้คิดมาก ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปยึดติดกับสิ่งที่ไม่ดี คือ สิ่งที่ผิดศีล สิ่งที่ผิดคุณธรรม และ มีสติระลึกรู้เท่าทันเหตุการณ์ว่า ขณะนี้กำลังทำอะไร ตลอดเวลาในขณะที่ตื่นอยู่คือ การมีสติตั้งมั่นในความไม่ประมาท
ข้อ ๒ เมื่อจิตสงบอยู่ที่ระดับหนึ่ง จะเริ่มเกิดปัญญา ทำให้สามารถพิจารณาได้ตามความเป็นจริงต่อมวลสรรพสิ่งของธรรมชาติที่อยู่รอบตัว หรือที่อยู่ไกลตัว และจะช่วยทำให้ การเชื่อเรื่องหรือสิ่งต่างๆเป็นไปตามเหตุและผลมากขึ้น เป็นลำดับ และจะช่วยลดความเชื่อแบบ “ งมงาย ” ไม่มีเหตุผลลง เป็นลำดับ ลำดับ
ข้อ ๓ จิตเป็นรูปของกระแสพลังงาน ปกติจิตจะแผ่ซ่านไปทั่ว เมื่อทำให้จิตสงบ กระแสพลังงานของจิตจะเริ่มรวมตัวกันเล็กลงเข้าหาศูนย์กลางของจิต ยิ่งจิตสงบมากขึ้นกระแสพลังงานของจิตจะยิ่งรวมตัวกันเข้าหาศูนย์กลางของจิตเล็กลง เข้าไปเรื่อยๆ เมื่อกระแสพลังงานจิตรวมตัวกันเล็กลงมากเท่าใด ก็จะเกิดพลังงานของจิตมากขึ้นเป็นทวีคูณ พลังงานของจิตที่เกิดจากการรวมกระแสจิตที่มีความสงบมากๆ จนเข้าใกล้ จวนจะถึง และถึงขั้น ณาน คือ มีอารมภ์เป็นหนึ่ง จะทำให้จิตเกิด “ ญาณ ” คือการหยั่งรู้เรื่องต่างๆ ด้วยจิต และ “ อภิญญา ” คือ การรู้เรื่องต่างๆ ได้ชัดเจนแน่นอนยิ่งกว่าญาณ ซึ่งเป็นผลให้นำมาใช้เป็นเครื่องมือพิเศษทางจิตที่รู้ได้เฉพาะตน สำหรับตรวจสอบความเป็นจริงต่างๆ ของธรรมชาติอัน มหัศจรรย์ เร้นลับ พิสดาร
รู้จัก…..ปริยัติ
รู้จริง…..ปฏิบัติ
รู้แจ้ง…..ปฏิเวธ
ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นสมบัติของโลก
บุญ บาป เป็นสมบัติของ ใจ เราอันแท้จริง
ท.อมรเวช ผู้เรียบเรียง จากพระไตรปิฎก http://www.palungjit.com/board/showt...hanks&p=160894
__________________
|
|
|
|
|
 |
วรากร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
09 ธ.ค.2005, 12:49 pm |
  |
|
|
 |
เอย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
09 ธ.ค.2005, 3:23 pm |
  |
|
|
 |
new
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532
|
ตอบเมื่อ:
09 ธ.ค.2005, 7:51 pm |
  |
อนุโมทนาครับ คุณต้นข้าว ที่นำมาให้อ่านกันครับ
84000 พระธรรมขันธ์ ย่อ ลง ที่รู้ทุกข์ และ ความดับทุกข์ อย่างที่คุณเอยว่าจริง ๆ
แต่ด้วยจริตและความต่างของสัตว์โลกพระองค์จึงได้แสดงธรรมมากมายเพื่อให้เหมาะกะจริตของแต่ละคน
สาธุ ครับคุณต้นข้าว ที่ ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาจะได้ สะกิดใจใครหลายคน ว่า สิ่งที่พระองค์ทรงสอนนั้นคืออะไร
จริง ๆ แล้ว ถ้าจะย่อลงไปอีก ก็คือ พระองค์สอนให้ดับทุกข์ ถ้าใครดับทุกข์ได้หมดจรด ไม่เหลือ ทุกข์เลย คือ พระอรหันต์โดยแท้ ใช่ไหมครับ คุณ ธะนะวัติ คุณ ไม่เหลือ ทุกข์แล้วใช่ไหมครับ ณ ขณะนี้
|
|
|
|
  |
 |
บัวเบลอ
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 18 ต.ค. 2005
ตอบ: 86
|
ตอบเมื่อ:
09 ธ.ค.2005, 9:13 pm |
  |
เพื่อนๆคิดว่า
ความสามารถใน การหยั่งรู้เรื่องต่างๆ ด้วยจิต ตามข้อที่ ๓ ในหัวข้อผลของสมาธินั้น
เป็นของอัตโนมัติที่ทุกคนจะต้องได้ เมื่อปฏิบัติถึงระดับนั้นๆ
หรือว่าไม่แน่ เป็นเรื่องเฉพาะตนแล้วแต่บุพกรรม |
|
|
|
  |
 |
วรากร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ธ.ค.2005, 12:22 pm |
  |
|
|
 |
|