ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
i
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 18 ส.ค. 2008
ตอบ: 6
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2008, 2:22 pm |
  |
เรารู้สึกเหมือนว่า เรากำลังรอใครบางคนอยู่
รอเพื่อที่จะเป็นเพื่อนปฏิบัติธรรมไปด้วยกัน
เหมือนว่าเราเคยสัญญาไว้ อันนี้เรียกว่าอุปทานหรือเปล่า
แต่จนป่านนี้ คนที่เราคิดว่ารอก็ยังไม่ปรากฏ
หรือเขาไม่มาเกิด? ท่านใดพอจะมีวิธีแนะนำให้เราเลิกรอซักที
ไม่ว่าจะพยายามคิดอย่างไรก็แล้ว ก็ยังตัดความรู้สึกนี้ไม่ได้ซักที
เฮ้อ..การปฏิบัติธรรมก็เลยยังไม่ไปถึงไหน..ช่วยชี้แนะให้เราพ้นจากความรู้สึกนี้ซักทีเถอะ |
|
|
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2008, 3:59 pm |
  |
ใต้ลำพู...รอคู่กรรมปะคับ
รอโกโบริ นานไม่ดีนะคับ
เราปฏิบัติไปให้มันได้มากๆ เยอะๆ ปฏิบัติรอเขา
แล้วพอเราพบคู่กรรมของเรา
เราก็จะได้สอนเขาให้ค้นพบอะไรดีๆไงคับ
ถ้ามัวแต่รอให้พร้อมทั้งสองคน
มันขาดทุนนะผมว่า เสียเวลาเปล่าๆ |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2008, 8:55 pm |
  |
กระทู้แรก ยังไม่ได้คุยอะไรกันเลย แอบมาตั้งคำถามที่นี่อีกแระ
กรัชกายต้องการทราบรายละเอียดการปฏิบัติของคุณสักเล็กน้อย
แล้วจะแนะนำให้
คุณ i ใช้กรรมฐานอะไร ปฏิบัติมานานหรอยาง
ต้องรู้รายละเอียดบ้างครับ จึงจะแนะนำได้
หากได้รับการแนะนำที่ถูกต้องการปฏิบัติก็ก้าวหน้าไปได้
หากยังไม่ได้รับการแก้ไข การปฏิบัติก็จะติดวนอยู่ตรงนั้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2008, 9:53 pm |
  |
ใต้ลำพู...รอคู่กรรมปะคับ
รอโกโบริ นานไม่ดีนะคับ
เราปฏิบัติไปให้มันได้มากๆ เยอะๆ ปฏิบัติรอเขา
แล้วพอเราพบคู่กรรมของเรา
เราก็จะได้สอนเขาให้ค้นพบอะไรดีๆไงคับ
ถ้ามัวแต่รอให้พร้อมทั้งสองคน
มันขาดทุนนะผมว่า เสียเวลาเปล่าๆ
คิดไว้ไง ท่านคามิน โรแมนติค ก็เป็น น้อ  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2008, 10:00 pm |
  |
หรือจะรอ ท่านคามิน  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
20 ส.ค. 2008, 3:30 am |
  |
ไม่รออะคับคุณบัวชมพู (เรียกซะสวยเลย.. ขอบาทนึง ค่าชม)
ได้ข่าวว่าตอนจบ ตายจากกัน
เจ้าของกระทู้อย่ารอนานนะคับ
ดูเรื่องราวระหว่าง โกโบริ+ทองกวาว เอาไว้เป็นตัวอย่าง
อุตส่ารอกันมาตั้งนานนม พอเจอกัน ก็ตายต่อหน้าซะงั้น
นี่ละหนา อนิจจัง
|
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ส.ค. 2008, 5:07 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
เรารู้สึกเหมือนว่า เรากำลังรอใครบางคนอยู่
รอเพื่อที่จะเป็นเพื่อนปฏิบัติธรรมไปด้วยกัน
เหมือนว่าเราเคยสัญญาไว้ อันนี้เรียกว่าอุปทานหรือเปล่า
แต่จนป่านนี้ คนที่เราคิดว่ารอก็ยังไม่ปรากฏ
หรือเขาไม่มาเกิด? ท่านใดพอจะมีวิธีแนะนำให้เราเลิกรอซักที
ไม่ว่าจะพยายามคิดอย่างไรก็แล้ว ก็ยังตัดความรู้สึกนี้ไม่ได้ซักที
เฮ้อ..การปฏิบัติธรรมก็เลยยังไม่ไปถึงไหน..ช่วยชี้แนะให้เราพ้นจากความรู้สึกนี้ซักทีเถอะ |
เป็น ปปัญจสัญญา หรือ กิเลสสัญญา
คุณ i ครับ ต่อไป มีความรู้สึกเช่นว่านั้นอีก ตั้งสติกำหนดความรู้สึกนั้น
รู้สึกอย่างไร กำหนดอย่างนั้น "คิดหนอๆๆ" หรือ มีความรู้สึกว่า
กำลังรออะไรรอใคร กำหนดลงไปที่ความรู้สึกนั้น "รอหนอๆๆๆ"
กำหนดแล้วปล่อย แล้วทำความรู้สึกตัวอยู่กับงานที่กำลังทำขณะนั้น
เช่น กำลังเขียน-อ่านหนังสือ ทำความรู้สึกตัวอยู่กับการเขียน-อ่านนั้น
กำลังกวาดบ้าน ถูบ้าน ดึงสติสัมปชัญญะให้อยู่กับกริยาอาการที่กำลัง
กวาด-กำลังถูนั้นดังนี้ เป็นต้น
ฝึกแบบนี้บ่อยๆ กรรมฐานจะก้าวไปข้างหน้าครับ
ต่อไปมีอะไรขัดข้องใจ ค้างคาใจอีก ตั้งกระทู้ถามใหม่นะครับ
เพียรปฏิบัติต่อไป
เจริญในธรรมครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ส.ค. 2008, 6:23 pm |
  |
พึงทำความรู้-เข้าใจสัญญาให้กว้างขึ้นอีก
สัญญา โดยทั่วไปเป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
หรือ ทำความรู้จักเท่านั้น
แต่สัญญาที่เจือกิเลส หรือ ปปัญจสัญญา เป็นปหาตัพพธรรม
คือ เป็นสิ่งที่ควรละหรือกำจัดให้สิ้นไป
ส่วนสัญญาที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความรู้ และ ส่งเสริมกุศลธรรม
เป็นภาเวตัพพธรรม คือ สิ่งที่ควรเจริญ ควรทำให้เกิดให้มีและ
ให้เพิ่มพูนขึ้นจนใช้ประโยชน์ได้บริบูรณ์
(อธิบาย)
ปปัญจสัญญา หมายถึง อาการที่คลอเคลียพัวพันอยู่กับอารมณ์นั้น
และคิดปรุงแต่งไปต่างๆ ด้วยแรงตัณหา มานะ และทิฏฐิผลักดัน
หรือเพื่อสนองตัณหา มานะ และทิฏฐิ คือปรุงแต่งในแง่ที่จะเป็น
ของฉัน ให้ตัวฉันเป็นนั่นเป็นนี่ หรือเป็นไปตามความเห็นของฉัน
ออกรูปออกร่างต่างๆมากมายพิสดาร จึงทำให้เกิดปปัญจสัญญาแง่
ต่างๆ คือสัญญาทั้งหลายที่เนื่องด้วยปปัญจนั่นเอง
ส่วนสัญญาอีกอย่างหนึ่ง คือสัญญาที่เป็นภาเวตัพพธรรม เรียกว่า
วิชชาภาคิยสัญญา = สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา บ้าง
หรือ เรียกว่า นิพเพธภาคิยสัญญา= สัญญาที่ช่วยให้ทำลายกิเลส
บ้าง
บางแห่งเรียกว่า กุศลสัญญา = สัญญาที่ให้เกิดความดีงาม บ้าง
บางแห่งเรียกว่า อวิปริตสัญญา= สัญญาไม่วิปริต บ้าง
(จากหนังสือพุทธธรรม หน้า 40 ) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ส.ค. 2008, 6:25 pm |
  |
การกำหนดนามรูปแต่ละขณะๆ ตามที่มันเป็น หรือ ตามเป็นจริงแล้วๆเล่าๆ
นั่นแล ได้เจริญวิชชาภาคิยสัญญาแล้ว ในขณะเดียวกันนั้นก็ขจัดกิเลส
สัญญาหรือปปัญจสัญญาด้วย อุปมาเหมือนความมืดหายเมื่อแสงสว่าง
ปรากฎ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
i
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 18 ส.ค. 2008
ตอบ: 6
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 9:27 am |
  |
ขอบคุณในความกรุณาชี้แนะของคุณกรัชกายค่ะ
อืม จะว่าไปแล้วก็ไม่ค่อยเข้าใจคำตอบเท่าไหร่หรอก
ไม่ใช่ว่าคำตอบไม่กระจ่างนะคะ แต่ว่าอาจจะเป็นเพราะความรู้แจ้งในธรรมะของ i คงมีน้อยมากเกิน (ประมาณเด็กอนุบาลถามผู้จบปริญญา)
สรุปแล้วภาวะที่เป็นเรียกว่ากิเลสใช่ไหมคะ อืม..ถ้าเป็นกิเลสก็คงเป็นสิ่งที่เราต้องละ คุณกรัชกายคะ ถ้าเราปฏิบัติธรรมแล้วรู้สึกว่าแตกต่างกับเพื่อนร่วมงานมาก (ประมาณว่ามองภาพเดียวกันแต่คิดคนละอย่าง) บางทีอาจนำมาซึ่งความขัดแย้ง มีวิธีคิดอย่างไรคะ เพื่อให้เราไม่ต้องเก็บเอาไปคิดมาก จนเป็นเหตุให้ทำสมาธิไม่ได้..ขอโทษนะคะ มีปัญหาอีกแล้ว |
|
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 9:54 am |
  |
i พิมพ์ว่า: |
ขอบคุณในความกรุณาชี้แนะของคุณกรัชกายค่ะ
อืม จะว่าไปแล้วก็ไม่ค่อยเข้าใจคำตอบเท่าไหร่หรอก
ไม่ใช่ว่าคำตอบไม่กระจ่างนะคะ แต่ว่าอาจจะเป็นเพราะความรู้แจ้งในธรรมะของ i คงมีน้อยมากเกิน (ประมาณเด็กอนุบาลถามผู้จบปริญญา)
สรุปแล้วภาวะที่เป็นเรียกว่ากิเลสใช่ไหมคะ อืม..ถ้าเป็นกิเลสก็คงเป็นสิ่งที่เราต้องละ คุณกรัชกายคะ ถ้าเราปฏิบัติธรรมแล้วรู้สึกว่าแตกต่างกับเพื่อนร่วมงานมาก (ประมาณว่ามองภาพเดียวกันแต่คิดคนละอย่าง) บางทีอาจนำมาซึ่งความขัดแย้ง มีวิธีคิดอย่างไรคะ เพื่อให้เราไม่ต้องเก็บเอาไปคิดมาก จนเป็นเหตุให้ทำสมาธิไม่ได้..ขอโทษนะคะ มีปัญหาอีกแล้ว |
ขออนุญาติแสดงความเห็นของผมหน่อยนะครับ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ถามผม....
ผมคิดอย่างนี้ครับ "ธรรมใดที่เรารู้ก็ขอให้เขาได้รู้เหมือนเราด้วยเถิด"
เราเป็นผู้ปฏิบัติธรรมจึงไม่ใช่เรื่องแปลกครับที่เราจะมีทัศนคติต่างจากผู้ที่ไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนอย่างที่ท่าน i ไม่ค่อยเข้าใจคำตอบของท่านกรัชกายนั่นล่ะครับ เพราะหากเขารู้เหมือนเราเขาก็จะเห็นเหมือนเราแล้วความขัดแย้งมันจะเข้ามายังไงล่ะครับ?
หรือหากเป็นเรื่องที่เราไม่รู้ ผมก็จะคิดอยู่อย่างนี้ครับ " ธรรมใดที่เรายังไม่รู้ ขอพระพุทธเจ้าทรงประทานปัญญาญาณให้ข้าพเจ้าได้รู้ด้วยเถิด "
 |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 10:25 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
คุณกรัชกายคะ ถ้าเราปฏิบัติธรรมแล้วรู้สึกว่าแตกต่างกับเพื่อนร่วมงานมาก- (ประมาณว่ามองภาพเดียวกันแต่คิดคนละอย่าง) บางทีอาจนำมาซึ่งความขัดแย้ง มีวิธีคิดอย่างไรคะ เพื่อให้เราไม่ต้องเก็บเอาไปคิดมาก จนเป็นเหตุให้ทำสมาธิไม่ได้..ขอโทษนะคะ มีปัญหาอีก |
เรื่องงานภาพของงานมีอยู่แล้วครับ คุณ i เราทำงานอะไรก็มองภาพ
งานนั้น ความเห็นต่างกับเพื่อนร่วมงานเกี่ยวงานประจำ ก็ว่ากันด้วย
เหตุผลซึ่งมีงานเป็นตัวตั้ง ได้ข้อตกลงในที่ประชุมแล้วจบ ไม่ควรหอบ
กลับไปฟุ้งซ่านต่อที่บ้าน จนทำลายความสุขส่วนตัว
ส่วนมุมมองในการใช้ชีวิตส่วนตัวเป็นอีกภาพหนึ่ง มองว่าชีวิตของใครก็
ของใคร
การปฏิบัติธรรมเพื่อความรู้เข้าใจโลกและชีวิตครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 10:44 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
เราเป็นผู้ปฏิบัติธรรมจึงไม่ใช่เรื่องแปลกครับที่เราจะมีทัศนคติต่างจากผู้ที่ไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนอย่างที่ท่าน i ไม่ค่อยเข้าใจคำตอบของ
ท่าน กรัชกาย นั่นล่ะครับ เพราะหากเขารู้เหมือนเราเขาก็จะเห็นเหมือนเราแล้วความขัดแย้งมันจะเข้ามายังไงล่ะครับ?
หรือหากเป็นเรื่องที่เราไม่รู้ ผมก็จะคิดอยู่อย่างนี้ครับ " ธรรมใดที่เรายังไม่รู้ ขอพระพุทธเจ้าทรงประทานปัญญาญาณให้ข้าพเจ้าได้รู้ด้วยเถิด "
natdanai - 21 สิงหาคม 2008, 9:54 am |
หากเป็นเรื่องที่เราไม่รู้ ผมก็จะคิดอยู่อย่างนี้ครับ
" ธรรมใดที่เรายังไม่รู้ ขอพระพุทธเจ้าทรงประทานปัญญาญาณให้ข้าพเจ้าได้รู้ด้วยเถิด "
เป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่คุณ natdanai คิดมีและมอง คือรอ
พระพุทธเจ้าประทานปัญญาณานมาให้ คิดได้ครับ ไม่มีใครว่า
อะไร
ภาพคล้ายๆ คุณ i รอใครอยู่แหละ ไม่ต่างกันเท่าไหร่ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 2:48 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ความรู้แจ้งในธรรมะของ i คงมีน้อยมากเกิน (ประมาณเด็กอนุบาลถามผู้จบปริญญา)
สรุปแล้วภาวะที่เป็นเรียกว่ากิเลสใช่ไหมคะ อืม..ถ้าเป็นกิเลสก็คงเป็นสิ่งที่เราต้องละ |
คุณ i รู้ธรรมขั้นมหาลัยครับไม่ใช่อนุบาล แต่ยังไม่จบปริญญาเท่านั้น
ก็คุณรู้สึกว่าเหมือนกำลังรอหร๋อรอใครบางคนมาร่วมทางปฏิบัติธรรมด้วยกัน
แต่ไม่กำหนดความรู้สึกนั้นตามเป็นจริง หากกำหนดเมื่อไหร่จบ
สรุปแล้วภาวะที่เป็นเรียกว่ากิเลสใช่ไหมคะ
เป็นกิเลสสัญญา
อืม..ถ้าเป็นกิเลสก็คงเป็นสิ่งที่เราต้องละ
วิธีละคือให้กำหนดในใจตามที่เรารู้สึก ตัวอย่างเช่น ขณะใดรู้สึกเช่นว่า
นั้น ก็ รอหนอๆๆๆ ในใจ ตามความรู้สึกเลย เท่านี้จบ ไม่มีนอกเหนือ
จากนี้ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 9:02 pm |
  |
กรัชกาย พิมพ์ว่า: |
หากเป็นเรื่องที่เราไม่รู้ ผมก็จะคิดอยู่อย่างนี้ครับ
" ธรรมใดที่เรายังไม่รู้ ขอพระพุทธเจ้าทรงประทานปัญญาญาณให้ข้าพเจ้าได้รู้ด้วยเถิด "
เป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่คุณ natdanai คิดมีและมอง คือรอ
พระพุทธเจ้าประทานปัญญาณานมาให้ คิดได้ครับ ไม่มีใครว่า
อะไร
ภาพคล้ายๆ คุณ i รอใครอยู่แหละ ไม่ต่างกันเท่าไหร่ |
เรียนท่านกรัชกายครับ
กระผมไม่ได้รอหรอกครับ กระผมเรียกว่าอฐิษฐานครับ  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 9:48 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
เรียนท่านกรัชกายครับ
กระผมไม่ได้รอหรอกครับ กระผมเรียกว่าอฐิษฐานครับ |
กระผ๊ม
เห็นข้อคิดของคุณ natdanai แล้ว กระผ๊มนึกถึงพุทธพจน์นี้ที่ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่หมั่นประกอบความเพียรในการฝึกอบรมจิต
ถึงจะมีความปรารถนาว่า ขอให้จิตของเราหลุดพ้นจากอาสวะเถิด ดังนี้
จิตของเธอจะหลุดพ้นไปจากอาสวะได้ก็หาไม่...
เหมือนไข่ไก่ 8 ฟองก็ตาม 10 ฟองก็ตาม 12 ฟองก็ตาม ที่แม่ไก่
ไม่นอนทับ ไม่กก ไม่ฟัก ถึงแม้แม่ไก่จะมีความปรารถนาว่า
ขอให้ลูกของเรา ใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก ทำลายเปลือกไข่
ออกมาโดยสวัสดีเถิด ดังนี้ ลูกไก่จะใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก
ทำลายเปลือกไข่ออกมาได้ก็หาไม่
(สํ.ข.17/261/186) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
21 ส.ค. 2008, 10:44 pm |
  |
กรัชกาย พิมพ์ว่า: |
อ้างอิงจาก: |
เรียนท่านกรัชกายครับ
กระผมไม่ได้รอหรอกครับ กระผมเรียกว่าอฐิษฐานครับ |
กระผ๊ม
เห็นข้อคิดของคุณ natdanai แล้ว กระผ๊มนึกถึงพุทธพจน์นี้ที่ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่หมั่นประกอบความเพียรในการฝึกอบรมจิต
ถึงจะมีความปรารถนาว่า ขอให้จิตของเราหลุดพ้นจากอาสวะเถิด ดังนี้
จิตของเธอจะหลุดพ้นไปจากอาสวะได้ก็หาไม่...
เหมือนไข่ไก่ 8 ฟองก็ตาม 10 ฟองก็ตาม 12 ฟองก็ตาม ที่แม่ไก่
ไม่นอนทับ ไม่กก ไม่ฟัก ถึงแม้แม่ไก่จะมีความปรารถนาว่า
ขอให้ลูกของเรา ใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก ทำลายเปลือกไข่
ออกมาโดยสวัสดีเถิด ดังนี้ ลูกไก่จะใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก
ทำลายเปลือกไข่ออกมาได้ก็หาไม่
(สํ.ข.17/261/186) |
ถึงกระผมจะเป็นไก่โต้ง....แต่ก็หัดกกไข่อยู่นะครับท่านกรัชกายครับ...แต่ก็ขอบพระคุณมากครับที่เตือนสติครับ  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 7:34 am |
  |
มีพุทธพจน์อีกบทหนึ่งว่า "ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทาง ส่วนการเดิน
(ทาง) เป็นหน้าที่ของท่านทั้งหลายต้องทำเอง"
อ้างอิงจาก: |
กระผมไม่ได้รอหรอกครับ กระผมเรียกว่าอฐิษฐาน
ครับ
ถึงกระผมจะเป็นไก่โต้ง....แต่ก็หัดกกไข่อยู่นะครับท่านกรัชกายครับ...
|
ไก่โต้งกกไข่มันจะเป็นตัวหร้อ  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 9:11 am |
  |
กรัชกาย พิมพ์ว่า: |
มีพุทธพจน์อีกบทหนึ่งว่า "ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทาง ส่วนการเดิน
(ทาง) เป็นหน้าที่ของท่านทั้งหลายต้องทำเอง"
อ้างอิงจาก: |
กระผมไม่ได้รอหรอกครับ กระผมเรียกว่าอฐิษฐาน
ครับ
ถึงกระผมจะเป็นไก่โต้ง....แต่ก็หัดกกไข่อยู่นะครับท่านกรัชกายครับ...
|
ไก่โต้งกกไข่มันจะเป็นตัวหร้อ  |
ก็ต้องหัดให้มากอ่ะครับ เพราะกระผมเป็นไก่โต้งที่ไม่ชอบไปตีกะใคร(โดยเฉพาะพวกไก่โต้งที่เดือยยาวๆ และมีนิสัยชอบการต่อสู้ )ครับ ก็เลยพอจะมีเวลาหัดกกไข่อยู่บ้าง แต่ก็ยังเป็นไก่โต้งอยู่ครับ ก็เลยต้องอฐิษฐานไปด้วย กกไข่ไปด้วย...  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
22 ส.ค. 2008, 9:18 am |
  |
ธรรมชาติของไข่ แม่ไก่เป็นผู้กก ไม่เคยเห็นไก่โต้ง (ไก่ตัวผู้กก
ไข่)  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|