Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากรู้ความหมาย และวิธีทดสอบอารมณ์ว่าเรากำลังฝึกสามธิได้ระดั อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
แอนนี่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2006, 1:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากรู้ความหมาย ของ สมาธิ กรรมฐาน วิปัสนา ญาณ อภิญญา แต่ละคำแต่งกันอย่างไร แล้วรู้ได้อย่างไรว่าเราปฎิบัติได้แบบไหน ค่ะ คือแยกได้อย่างไร แล้วเราจะเข้าใจได้อย่างไรเพราะเท่าที่รู้มามันใกล้เคียงกันมาก เลยอยากทราบจะได้ไม่เข้าใจแบบผิดๆค่ะ กรุณาตอบแบบภาษาที่เข้าใจง่ายๆ อย่าตอบเป็นคำศัพท์แบบพระเรียนนะคะ ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ จะขอบคุณล่วงหน้านะคะ
 
copyma
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2006, 10:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ,อุบายทางใจ,วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ

สมถกัมมัฏฐานอุบายสงบใจ ๑

วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑



สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ



วิปัสสนา เป็นชื่อ ของปัญญา มีปัญญา ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า วิปัสสนา ปัญญามีชื่อเรียกมากทีเดียว มีชื่อต่าง ๆกัน แต่ว่า ปัญญา ที่ชื่อวิปัสสนา ปัญญานี้รู้อะไร? ปัญญาวิปัสสนารู้ว่า นามรูปนี้ไม่เที่ยง



ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้;

ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่

๑. อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต

๒. อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต

๓. ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน;

อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่

๑. สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง

๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ

๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ;

อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิชชา ๓
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=_ญาณ_&detail=on



อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง,

ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ

๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้

๒. ทิพพโสต หูทิพย์

๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้

๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้

๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์

๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป,



๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา


http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=_อภิญญา_&detail=on

 
สายแก้ว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2006, 10:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บรรพต อ.:-เทียบเคียงกับพุทธดำรัส ศึกษามากๆ
 
copyma
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2006, 10:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

568 อานิสงส์ของสมถะและวิปัสสนา

ปัญหา การเจริญสมถะและวิปัสสนา มีอานิสงส์อย่างไร ?



พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็นธรรมมีส่วนแหงวิชชา ธรรม ๒ อย่าง คืออะไร คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้วก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมละราคะได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิปัสสนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมละอวิชชาได้



“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล ความสิ้นราคะ ชื่อเจโตวิมุติ ความสิ้นอวิชชา จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ.....”
http://www.84000.org/true/568.html
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.พ.2006, 11:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ร้องไห้ ''งงงงงง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
 www.Stats.in.th