ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ปิงปอง ม.ราม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
31 ต.ค.2005, 10:14 pm |
  |
ตามที่ผมเคยศึกษามา คนเรามีจริตอยู่ 6 แบบคือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต สัทธาจริต วิตกจริต และพุทธิจริต ซึ่งแต่ละคนจะมีจริตอยู่1อย่างที่ยืนพื้นโดยจะมีจริตอย่างอื่นผสมอยู่ด้วย อยากทราบว่าแล้วคนที่บรรลุพระโสดาบันท่านจะมีจริตเป็นอย่างไรครับ |
|
|
|
|
 |
เฟ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ย.2005, 12:47 pm |
  |
ปัญหาที่ ๒ ถามถึงความเป็น พระสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า
“ ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู คือรู้ทุกสิ่งจริงหรือ? ”
“ ขอถวายพระพร จริง แต่ว่าความรู้ความเห็นของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ปรากฏอยู่เป็นนิจ คือเป็นของเนื่องด้วยการนึก พระพุทธเจ้าทรงนึกอยากรู้สิ่งใด ก็รู้สิ่งนั้นสิ้นเท่านั้น”
“ ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่พระสัพพัญญู เพราะถ้าความรู้สิ่งทั้งปวง เพราะถ้าความรู้สิ้งทั้งปวง ยังเป็นของต้องแสวงหาอยู่ ”
“ ขอถวายพระพร มีข้าวเปลือกอยู่ ๑๐๐ เกวียน บุคคลตักออกคราวละ ๕ ทะนาน ๔ ทะนาน ๓ ทะนาน ๒ ทะนาน จิตที่เป็นไปในขณะลัดนิ้วมือเดียว อันกำหนดข้าวเปลือกว่ามีเท่านั้น ๆ ก็ถึงซึ่งความสิ้นไป”จิตของผู้ที่ยังไม่ได้อบรม
บุคคลเหล่าใดยังมีราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา กิเลสอยู่ ไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้อบรมปัญญา จิตของบุคคลเหล่านั้นก็เกิดช้า เป็นไปช้า เพราะไม่ได้อบรมจิต
เหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่ที่มีแขนง เกี่ยวกระหวัดรัดรึงหุ้มห่อ รกรุงรัง ให้ขาดแล้ว ก็ดึงมาได้ช้าฉันนั้น อันนี้เป็น จิตดวงที่ ๑จิตของพระโสดาบัน
จิตดวงที่ ๒ นั้นได้แก่จิตของพระโสดาบันคือพระโสดาบันทั้งหลาย ผู้พ้นอบายภูมิแล้วผู้ถึงความเห็นแล้ว ผู้รู้แจ้งพระพุทธศาสนาแล้วมีอยู่
จิตของพระโสดาบันทั้งหลายนั้น ย่อมเกิดไว เป็นไปไวในที่ทั้ง ๓ ( คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ) แต่เกิดข้า เป็นไปช้า ในชั้นสูงขึ้นไป เพราะยังไม่ได้ละกิเลสชั้นสูง
ข้อนี้เหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่แล้ว ลิดข้อลิดปมทั้ง ๓ ข้อ แต่ยังไม่ได้ตัดยอดเบื้องบนให้ขาด ให้หายรุกรัง ก็ดึงมาได้ช้าฉะนั้นจิตของพระสกิทาคามี
จิตดวงที่ ๓ นั้น ได้แก่จิตของพระสกิทาคามี คือจิตของสกิทาคามี ผู้มีราคะ โทสะ โมหะ น้อยเบาบางลงมากนั้น ย่อมเกิดเร็ว เป็นไปเร็ว ในฐานะทั้ง ๕ แต่เกิดช้า เป็นไปช้า ในชั้นสูงขึ้นไป
เปรียบเหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่ ลิดข้อทั้ง ๕ ให้ขาดแล้ว ก็ดึงมาได้ไวหน่อย แต่ว่าเมื่อข้างปลายยังรกรุงรังอยู่ ก็ยังดึงมาได้ช้าเพราะเบื้องบนยังรุงรัง อันเปรียบเหมือนยังไม่ได้ละกิเลสชั้นสูงฉะนั้นจิตของพระอนาคามี
จิตดวงที่ ๔ ได้แก่จิตของพระอนาคามีที่ละสังโยชน์ ๕ เบื้องต่ำได้ขาดแล้ว จิตของพระอนาคามีย่อมเกิดเร็ว เป็นไปเร็ว ในฐานะทั้ง ๑๐ แต่เกิดช้า เป็นไปช้าในชั้นสูงขึ้นไปเพราะยังไม่ได้ละกิเลสชั้นสูง
เหมือนกับบุคคลตัดไม้ไผ่ ลิดข้อทั้ง ๑๐ ให้เกลี้ยงเกลาดีแล้ว ก็ดึงมาได้เร็วเพียง ๑๐ ปล้องเท่านั้น พ้นจากนั้นยังดึงมาได้ช้าฉะนั้นจิตของพระอรหันต์
จิตดวงที่ ๕ ได้แก่จิตของพระอรหันต์คือจิตของพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวกิเลสทั้งหมดแล้ว ย่อมเกิดเร็ว เป็นไปเร็วในวิสัยของสาวก แต่เกิดช้า เป็นไปช้า ในภูมิพระปัจเจกพุทธเจ้าที่สูงกว่า
เปรียบเหมือนบุคคลตัดไม้ไผ่ ลิดข้อทั้งปวงให้ตลอดลำแล้ว ก็ดึงมาได้เร็วฉันนั้นจิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า
จิตดวงที่ ๖ ได้แก่จิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เอง ไม่มีอาจารย์ ก็เกิดได้เร็ว เป็นไปเร็ว ในภูมิของตนเท่านั้น แต่เกิดช้า เป็นไปช้า ในภูมิของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเพราะภูมิของพระสัพพัญญูพุทธเจ้านั้น เป็นของใหญ่
เปรียบเทียบเหมือนบุรุษผู้ไม่กลัวน้ำ ก็ว่ายข้ามแม่น้ำน้อยได้ตามสบาย แต่พอไปถึงน้ำมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ แลไม่เห็นฝั่งก็กลัวก็สะดุ้ง ก็ช้า ก็ไม่อาจข้ามไปได้ฉะนั้นจิตของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
จิตดวงที่ ๗ ได้แก่จิตของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ทรงทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณ ประกอบด้วยพุทธธรรม ๑๘ ชนะไม่มีที่สิ้นสุด มีญานไม่มีที่สิ้นสุด ย่อมเกิดรวดเร็วเป็นไปรวดเร็วในสิ่งทั้งปวงเพราะจิตบริสุทธิ์ในสิ่งทั้งปวงแล้ว
“ ขอถวายพระพร ลูกศรที่ไม่มีข้อมีปมที่เกลี้ยงเกลา ไม่มัวหมอง อันนายธนูยกขึ้นสู่แล่งธนู อันไม่คกโก่ง อันเลี่ยงสุขุมเป็นอันดีแล้วยิงไปที่ผ้าฝ้าย หรือผ้ากัมพลเนื้อละเลียดลูกศรนั้นจะทะลุไปได้ช้า หรือว่าจะข้องอยู่ที่ผ้าประการใด ? ”
“ อ๋อ...ไม่ช้า พระผู้เป็นเจ้า ลูกศรนั้นต้องทะลุไปได้อย่างรวดเร็ว”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ความคิดของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ทะลุปรุโปร่งไปในสิ่งทั้งปวงได้รวดเร็วฉะนั้น ”
ขอถวายพระพร จิตของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ได้ล่วงเลยจิตทั้ง ๖ ไปแล้ว จึงเป็นจิตบริสุทธิ์ เป็นจิตรวดเร็ว เป็นจิตหาเครื่องเปรียบมิได้ ด้วยคุณอันคณานับมิได้
เพราะเหตุที่จิตของพระพุทธเจ้า เป็นจิตบริสุทธิ์รวเร็วนั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ได้ จิตของพระพุทธเจ้าในเวลาทรงทำยมกปาฏิหาริย์นั้น เป็นไปรวดเร็วนักไม่มีใครอาจชี้เหตุการณ์ได้
มหาบพิตร ปาฏิหาริย์เหล่านั้น เมื่อเทียบกับจิตของพระสัพพัญญูทั้งหลายแล้ว ยังไม่ได้เสี้ยวหนึ่ง เพราะพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า เนื่องด้วยการนึกด้วยจิตนั้นพอนึกก็รู้ได้ตามประสงค์อุปมาเหมือนผู้ยกสิ่งของ
“ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าบุรุษยกของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่วางอยู่ที่มือข้างหนึ่งมาไว้บนมืออีกข้างหนึ่ง หรืออ้าปากพูด กลืนอาหาร ลืมตา หลับตา คู้แขน เหยียดแขน อันนับว่าเร็วอยู่แล้ว
แต่ยังช้ากว่าพระสัพพัญญุตญาณ คือพอพระพุทธเจ้าทรงนึกก็รู้ได้ทันที ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะไม่เป็นพระสัพพัญญูด้วยเหตุเพียงนึกเท่านี้”
“ ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อยังนึกหาอยู่ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นพระสัพพัญญู ขอนิมนต์ชึ้แจงให้โยมเข้าใจตามเหตุการณ์อีกเถิด ”อุปมาเหมือนบุรุษผู้มั่งคั่ง
“ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับบุรุษผู้หนึ่ง เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีเครื่องกินมาก มีเงินทองมาก มีเครื่องปลื้มใจมาก มีธัญชาติ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวสาร งา ถั่ว ฟักแฟง แตงเต้า เนยใส น้ำมัน นมข้น นมสด นมส้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย อยู่มาก
เวลามีแขกมาหา ซึ่งเป็นผู้ควรต้อนรับด้วยอาหาร อาหารก็ทำเสร็จแล้ว ยังแต่จะต้องคดข้าวออกจากหม้อเท่านั้น บุรุษนั้นจะเรียกว่า เป็นผู้มีทรัพย์มาก หรือจะเรียกว่าไม่มีทรัพย์มาก ด้วยเหตุเพียงเวลาคดข้าวจากหม้อเท่านั้นหรืออย่างไร ?”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ทำไมจึงว่าอย่างนี้ถึงในราชมณเฑียรของพระเจ้าจักรพรรดิก็ตามถ้านอกเวลาก็ต้องรอเวลาอาหารสุก ไม่ต้องพูดถึงในบ้านเรือนของคฤหบดี ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ พระสัพพัญญุตญาณอันเนื่องด้วยการนึกของพระพุทธเจ้านั้น พอถึงก็รู้ได้ตามประสงค์ ”อุปมาเหมือนต้นไม้ที่มีผล
“ ขอถวายพระพร ต้นไม้ที่มีผลดกเต็มต้นยังไม่มีผลหล่นลงมาเลย เมื่อรอเวลาผลหล่นลงมา จะเรียกว่าต้อนไม้นั้น ไม่มีผลได้หรือไม่? ”
“ ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เพราะต้นไม้นั้นเนื่องด้วยการหล่นแห่งผล พอผลหล่นลงคนก็เก็บเอาได้ตามประสงค์ ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระสัพพัญญุตญาณก็เนื่องด้วยการนึกของพระพุทธเจ้า พอนึกก็รู้ทันที ”
“ ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงนึกก็รู้ได้ทันทีอย่างนั้นหรือ? ”
“ อย่างนั้น มหาบพิตร คือพระเจ้าจักรพรรดิพอทรงนึกถึงจักรแก้ว จักรแก้วก็มาปรากฏทันทีฉันใด พระพุทธเจ้าพอนึกก็รู้ทุกสิ่งฉันนั้นขอถวายพระพร”
“ ข้าแต่พระนาคเสน โยมตกลงรับว่าพระพุทธเจ้าเป็น พระสัพพัญญู แน่ละ ” |
|
|
|
|
 |
เฟ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ย.2005, 12:51 pm |
  |
จริต แปลว่า จิต ท่องเที่ยว สถานที่ จิต ชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของ จิต
จากคำแปลนี้ อ่านดูข้างบนแล้วน่าจะตรงสุด อะลองอ่านกันดู  |
|
|
|
|
 |
|