Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ช่วยด้วยค่ะ...ครูมือใหม่ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 ต.ค.2005, 3:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีค่ะ ญาติธรรมทุกท่าน



ขอเชิญญาติธรรมทุกท่านช่วยแนะนำด้วยค่ะ



ลูกโป่งคัดลอกจากกระทู้ด้านใน



ขอบพระคุณค่ะ...ลูกโป่ง









**********



กระทู้จาก...คุณครูมือใหม่



สวัสดีค่ะ ขอความกรุณาต้องการได้บทความหรือหัวข้อที่จะใช้พูดให้นักเรียน ม.1-3

ฟัง เรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ขอบคุณค่ะ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
max
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ต.ค.2005, 5:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับผมคัดลอกมาครับ

อนุโมทนาเจ้าของบทความครับ
http://come.to/makphol

กฎแห่งกรรม-กฎของชีวิต

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ ตายแล้วเกิดจริงหรือ อิทธิปาฏิหาริย์มีจริงหรือ มีคนเป็นจำนวนมากสงสัยในเรื่องเหล่านี้ แต่ทุกคนก็หาคำตอบไม่ได้ เพราะเหตุใดจึงหาคำตอบไม่ได้ ก็เพราะทุกคนไม่เคยลงมือพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเองเลย บางคนก็เชื่อในเรื่องเหล่านี้ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเห็น บางคนก็ไม่เชื่อ บางคนก็ยังสงสัยอยู่ แต่บุคคลทั้งสามประเภทนี้ต่างก็ไม่รู้จริงด้วยกันทั้งนั้น ได้แต่คิดเอาเองตามเหตุผลของตน ในพระไตรปิฎกได้กล่าวไว้ชัดเจนในเรื่องของกฎแห่งกรรม ในเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด รวมทั้งเรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ว่ามีอยู่จริง แต่คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะพวกที่เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์มักจะไม่เชื่อ โดยอ้างว่ามีการตีความในพระไตรปิฎกผิดบ้าง หรือไม่ก็อ้างว่ามีคนแต่งเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้ผู้อ่านเลื่อมใสศรัทธาบ้าง ผมย่อมตำหนิคนเหล่านี้ว่าอ้างโดยไม่มีเหตุผล เพราะไม่เคยได้ลงมือทดลองพิสูจน์หาความจริงเลย เพียงแต่นึกคิดไปตามเหตุผลของตนเองก็ด่วนสรุปเสียแล้ว โดยธรรมชาติของคนเราจะไม่เชื่ออะไรร้อยเปอร์เซนต์ถ้าไม่ได้เห็นด้วยตนเอง คนที่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมร้อยเปอร์เซนต์ก็คือคนที่มีฌานวิเศษหยั่งรู้ในเรื่องกรรมว่าคนนี้ได้รับผลกรรมอย่างนี้เพราะทำกรรมอะไรไว้ในอดีต คนนั้นมีร่างกายพิการอย่างนั้น เพราะทำกรรมชั่วอะไรไว้ในอดีต คนที่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดร้อยเปอร์เซนต์ก็คือคนที่ระลึกชาติได้ หรือเป็นผู้ที่มีฌานวิเศษ หยั่งรู้ว่าใครตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร อยู่ในภพใด ส่วนคนที่เชื่อว่าอิทธิปาฏิหาริย์มีจริงร้อยเปอร์เซนต์ก็คือคนที่มีอิทธิฤทธิ์ สามารถทำปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันคนที่ทำเช่นนี้ได้ คนที่ยืนยันในเรื่องเหล่านี้ได้ ยังมีอยู่มาก



ความจริงแห่งชีวิต

ตามที่ทราบมาแล้วว่าชีวิตทุกชีวิตย่อมประกอบด้วย กาย จิต และเจตสิก กายก็คือร่างกายอันเป็นที่ตั้งของทวารต่าง ๆ จิตก็ได้แก่จิตใจซึ่งมีหน้าที่สั่งให้ร่างกายทำงาน เจตสิกก็ได้แก่ตัวปรุงแต่งจิตให้สามารถรับรู้อารมณ์ทางทวารต่าง ๆ ให้มีความรู้สึกนึกคิดเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ได้ เจตสิกมีทั้งฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว และฝ่ายกลาง ๆ เจตสิกฝ่ายดี เรียกว่า กุศลเจตสิก ซึ่งได้แก่ สติ ปัญญา ศรัทธา เป็นต้น เจตสิกฝ่ายชั่วเรียกว่า อกุศลเจตสิก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ ส่วนเจตสิกฝ่ายกลาง ๆ ก็ได้แก่ เวทนา สัญญา เป็นต้น เมื่อเจตสิกปรุงแต่งจิต จิตก็จะมีลักษณะตามเจตสิกที่มาปรุงแต่งนั้น ถ้าอกุศลเจตสิกปรุงแต่งจิต จิตก็เป็นอกุศลด้วย ถ้ากุศลเจตสิกปรุงแต่งจิต จิตก็เป็นกุศลด้วย เช่น เมื่อโทสะเจตสิกปรุงแต่งจิตของเรา จิตก็จะโกรธ ถ้าโทสะ เจตสิกมีกำลังน้อยก็จะรู้สึกโกรธน้อย คือรู้สึกไม่พอใจ รำคาญ หรือหงุดหงิด แต่ถ้าโทสะมีกำลังมาก เราก็จะรู้สึกโกรธมากถ้าไม่ยับยั้งจิต จิตก็จะสั่งให้กายทำชั่วได้ เช่น สั่งให้ทุบตี ทำร้ายหรือด่าว่า เพื่อสนองความโกรธ เมื่อสนองกิเลสแล้ว กิเลสก็จะสงบลง พฤติกรรมต่าง ๆ ที่เราแสดงออกมานี้เรียกว่า กรรม



กรรมคืออะไร ?

กรรม ก็คือการกระทำซึ่งแสดงออกได้ 3 ทาง คือ การกระทำทางใจเรียกว่า มโนกรรม การกระทำทางวาจาเรียกว่า วจีกรรม และการกระทำทางกายเรียกว่า กายกรรม กรรมแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะคือ กรรมดีหรือกรรมที่เป็นบุญ เรียกว่า กุศลกรรม และกรรมชั่วหรือกรรมที่เป็นบาปเรียกว่า อกุศลกรรม

กรรมดี ได้แก่การกระทำอันเกิดจากการที่กุศลเจตสิกปรุงแต่งจิต เช่น นึกอยากจะตักบาตร คิดช่วยเหลือผู้อื่น พยายามระงับความโกรธ นึกแผ่เมตตาในใจ เห็นผู้อื่นทำดีก็นึกยินดีด้วยที่เรียกว่า อนุโมทนา เหล่านี้เรียกว่า ทำกรรมดีทางใจ และถ้ากุศลเจตสิกมีปริมาณมากหรือมีกำลังมาก ก็จะส่งผลให้มีการแสดงออกเป็นกรรมดีทางวาจาหรือทางกายได้ เช่น แผ่เมตตาโดยเปล่งวาจาออกมา เห็นผู้อื่นทำดีก็กล่าวคำอนุโมทนาด้วย กล่าวธรรมะให้ผู้อื่นฟัง เหล่านี้เป็นการทำกรรมดีทางวาจา ส่วนการทำกรรมดีทางกายก็ได้แก่ การตักบาตร การไหว้พระ การบริจาคทรัพย์ การลงมือช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น

กรรมชั่ว ก็ได้แก่การกระทำอันเกิดจากการที่อกุศลเจตสิกปรุงแต่งจิต เช่น รู้สึกโกรธ ไม่พอใจ หงุดหงิด เบื่อ กลุ้มใจ รู้สึกโลภอยากได้ อยากกินอาหารอร่อย ๆ อยากฟังเพลง อยากตกปลา ใจลอย รู้สึกฟุ้งซ่าน เหล่านี้เป็นการทำกรรมชั่วทางใจ และถ้าอกุศลเจตสิกมีปริมาณมากหรือมีกำลังมาก ก็จะส่งผลให้มีการแสดงออกเป็นกรรมชั่วทางวาจาหรือทางกายก็ได้ เช่นโกรธจึงด่าว่าออกไป อยากได้เงินจึงพูดโกหกหลอกลวงเพื่อนเพื่อให้ได้เงินมา พูดคำหยาบ พูดจาเพ้อเจ้อ เหล่านี้เป็นการทำกรรมชั่วทางวาจา ส่วนการทำกรรมชั่วทางการก็เช่น รู้สึกโกรธจึงทุบตี ทำร้าย อยากได้เงินจึงไปลักขโมย กลุ้มใจจึงกินเหล้าสูบบุหรี่ ไม่เชื่อเรื่องกรรมจึงยิงนกตกปลาตามใจชอบ เป็นต้น

กรรมดีกรรมชั่วเหล่านี้จะมีกำลังมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเจตนา หรือความตั้งใจ เช่นเมื่อถูกยุงกัดรู้สึกโกรธแต่ไม่ตบบาปน้อยกว่าได้ตบยุงให้ตายไป ฆ่ายุงบาปน้อยกว่าฆ่าหนู เพราะฆ่าหนูทำได้ยากกว่า ต้องมีเจตนาแรงกว่าจึงจะฆ่าได้ ฆ่าหนูบาปน้อยกว่าฆ่าคน เพราะการที่จะฆ่าคนได้จะต้องมีเจตนาที่แรงกว่าฆ่าหนู แต่ถ้าเราได้ทำสัตว์ให้ตายลงโดยไม่ได้เจตนา เช่น เดินไปเหยียบมดตายโดยที่เราไม่เห็นอย่างนี้ไม่บาป เพราะเราไม่ได้เจตนา

นอกจากกรรมดีกรรมชั่วแล้ว ยังมีการกระทำที่เกิดจากการที่เจตสิกฝ่ายกลาง ๆ ปรุงแต่งจิต ทำให้เกิดความรู้สึกกลาง ๆ ไม่เป็นบุญเป็นบาป ลักษณะของจิตที่ไม่เป็นบุญเป็นบาปก็ได้แก่ กิริยาจิต ซึ่งเป็นทีจิตที่สั่งให้ร่างกายทำงานตามหน้าที่ เช่น การที่หัวใจเต้น การหายใจ การยืน เดิน นั่ง นอน ลักษณะเหล่านี้ไม่เป็นบุญเป็นบาป คนชั่วก็หายใจ ยืน เดิน นั่ง นอนได้ คนดีก็หายใจ ยืน เดิน นั่ง นอนได้ แม้พระอรหันต์ก็หายใจ ยืน เดิน นั่ง นอนได้เช่นกัน นอกจากนี้เวทนาคือการรับรู้อารมณ์ทางทวารต่าง ๆ ก็ไม่เป็นบุญเป็นบาป คนชั่วก็เห็นได้ ได้ยินได้ คนดีก็เห็นได้ ได้ยินได้ แม้พระอรหันต์ ก็เห็นได้ ได้ยินได้ เช่นกัน



วิบาก

ในเรื่องของกฎแห่งกรรมกล่าวไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีเหตุมีปัจจัย ไม่มีกรรมใดที่ทำแล้วไม่ส่งผล บุคคลใดเมื่อทำกรรมแล้วย่อมต้องได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอน แต่จะช้าหรือเร็วนั้นก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหรือสภาพแวดล้อม ผลของกรรมเรียกว่า วิบาก กรรมเป็นการกระทำของเรา ส่วนวิบากเป็นสิ่งที่เราได้รับ กรรมและวิบากย่อมตรงกันเสมอ คือ ทำกรรมดีก็ย่อมได้รับวิบากดี ทำกรรมชั่วก็ย่อมได้รับวิบากชั่ว เช่น ถ้าเราฆ่าสัตว์ในปัจจุบัน ย่อมส่งผลให้เราได้รับอุบัติเหตุถูกทำร้าย หรือมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน วิบากร้ายนี้จะเกิดขึ้นในลักษณะใด เร็วหรือช้า จะเกิดในชาตินี้หรือชาติหน้า ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย แต่จะเกิดขึ้นแน่นอน เพราะเหตุที่ทำกรรมชั่วเอาไว้

เวทนาต่าง ๆ ที่เราได้รับในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเห็น การได้ยิน ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นวิบากอันเป็นผลกรรมที่เราทำเอาไว้ในอดีตทั้งสิ้น ที่เราได้รับทุกขเวทนาในปัจจุบันก็เพราะอดีตเราเคยทำกรรมชั่วเอาไว้ และขณะนี้กรรมนั้นกำลังส่งผล เราจึงได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่เราได้รับสุขเวทนาในปัจจุบันก็เพราะอดีตเราเคยทำกรรมดีเอาไว้ และขณะนี้กรรมดีนั้นกำลังส่งผล เราจึงได้รับอารมณ์ดี ในคนคนหนึ่งย่อมทำกรรมดีกรรมชั่วมากบ้างน้อยบ้างคละเคล้ากันไป เขาจึงได้รับวิบากดีเป็นสุขเวทนาบ้าง ได้รับวิบากชั่วเป็นทุกขเวทนาบ้าง คละเคล้ากันไปเช่นกัน



ทรงสอนเรื่องกรรม

พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า สัตว์โลกต่างมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลว ให้ดีได้ และได้ทรงยกตัวอย่างของกรรมเอาไว้ดังนี้

บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนxxxมโหด ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอยู่เสมอ เมื่อตายไปย่อมเกิดในทุคติภูมิ เพราะผลกรรมที่ได้สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในทุคติภูมิ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีอายุสั้น

บุคคลบางคนเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีความอนุเคราะห์เกื้อกูลต่อสัตว์ทั้งหลายอยู่เสมอ เมื่อตายไปย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะผลกรรที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีอายุยืน

บุคคลบางคนชอบเบียดเบียนสัตว์ ทำร้ายสัตว์ด้วยฝ่ามือ ด้วยท่อนไม้ หรือด้วยอาวุธต่าง ๆ อยู่เสมอ เมื่อตายไปย่อมเกิดในทุคติภูมิ เพราะผลกรรที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในทุคติภูมิ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีโรคมาก

บุคคลบางคนมีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ทำร้ายสัตว์ด้วยฝ่ามือ ด้วยท่อนไม้ หรือด้วยอาวุธต่าง ๆ เมื่อตายไปย่อมเกิดในโลกสวรรค์ เพราะผลกรรมที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีโรคน้อย

บุคคลบางคนมักโกรธง่าย ถูกว่าเพียงเล็กน้อยก็โกรธเคือง ผูกพยาบาท มักแสดงอาการโกรธให้ปรากฏอยู่เสมอ เมื่อตายไปย่อมเกิดในทุคติภูมิ เพราะผลกรรที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในทุคติภูมิ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีผิวพรรณทราม

บุคคลบางคนมักไม่โกรธง่าย ถูกว่ามากก็ไม่โกรธเคือง ไม่ผูกพยาบาท มักไม่แสดงอาการโกรธให้ปรากฏ เมื่อตายไปย่อมไปเกิดในโลกสวรรค์ เพราะผลกรรมที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนน่าเลื่อมใส

บุคคลบางคนมักมีใจอิจฉาริษยาผู้อื่นอยู่เสมอ เมื่อตายไปย่อมเกิดในทุคติภูมิ เพราะผลกรรมที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในทุคติภูมิ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีอำนาจน้อย

บุคคลบางคนมีปรกติไม่อิจฉาริษยาในลาภสักการะของผู้อื่น เมื่อตายไปย่อมเกิดในโลกสวรรค์ เพราะผลกรรมที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีอำนาจมาก

บุคคลบางคนมักไม่ให้ข้าว น้ำ ดอกไม้ ของหอม ปัจจัย 4 ต่าง ๆ แก่สมณพราหมณ์ เมื่อตายไปย่อมเกิดในทุคติภูมิ เพราะผลกรรมที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในทุคติภูมิ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีทรัพย์น้อย

บุคคลบางคนมักให้ข้าว น้ำ ดอกไม้ ของหอม ปัจจัย 4 ต่าง ๆ แก่สมณพราหมณ์ เมื่อตายไปย่อมเกิดในโลกสวรรค์ เพราะผลกรรมที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีทรัพย์มาก

บุคคลบางคนมักกระด้าง เย่อหยิ่ง ไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา ไม่เคารพคนที่ควรเ
 
max
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ต.ค.2005, 6:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอโทษครับ ต่อครับ

บุคคลบางคนมักกระด้าง เย่อหยิ่ง ไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่ต้อนรับคนที่ควรต้อนรับ เมื่อตายไปย่อมเกิดในทุคติภูมิ เพราะผลกรรมที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในทุคติภูมิ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเกิดเป็นคนในสกุลต่ำ

บุคคลบางคนมักไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ บูชาคนที่ควรบูชา เคารพคนที่ควรเคารพ ต้อนรับคนที่ควรต้อนรับ เมื่อตายไปย่อมเกิดในโลกสวรรค์ เพราะผลกรรมที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเกิดเป็นคนในสกุลสูง

บุคคลบางคนไม่สนใจที่จะสนทนาธรรมกับสมณพราหมณ์ ไม่ศึกษาหาความรู้ว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ ทำกรรมอะไรจึงเกิดทุกข์ ทำกรรมอะไรจึงเกิดสุข บุคคลเช่นนี้เมื่อตายไปย่อมเกิดในทุคติภูมิ เพราะผลกรรมที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในทุคติภูมิ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีปัญญาทราม

บุคคลบางคนมักสนใจที่จะสนทนาธรรมกับสมณพราหมณ์ ศึกษาหาความรู้ว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ ทำกรรมอะไรจึงเกิดทุกข์ ทำกรรมอะไรจึงเกิดสุข บุคคลเช่นนี้เมื่อตายไปย่อมเกิดในโลกสวรรค์ เพราะผลกรรมที่สั่งสมไว้นั้น แต่ถ้าไม่ไปเกิดในสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะเป็นคนที่มีปัญญามาก

เนื่องจากกรรมต่าง ๆ ที่เรากระทำลงไป ไม่ได้ส่งผลในขณะนั้นทันที ต้องใช้เวลา ซึ่งบางครั้งยาวนานมากถึงข้ามภพข้ามชาติเลยทีเดียว ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม เขาเหล่านั้นจึงได้ทำกรรมต่าง ๆ ไปตามความปรารถนาของตน บางคนชอบทำความดี ช่วยเหลือผู้อื่นแล้วมีความสุข ก็ดำเนินชีวิตไปในทางแห่งความดีนั้น โดยที่ตนเองก็ไม่ได้สนใจในเรื่องกรรมดีกรรมชั่วแต่อย่างใด บางคนชอบทำความชั่ว เบียดเบียนผู้อื่นแล้วมีความสุข ก็ดำเนินชีวิตไปตามวิถีทางแห่งความชั่วนั้น โดยไม่นึกถึงผลของบาปกรรมที่ทำลงไป แต่ไม่ว่าเขาจะเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมหรือไม่ก็ตาม เขาย่อมได้รับผลของกรรมที่ทำไว้อยู่นั่นเอง เพราะกฎแห่งกรรมเป็นกฎของธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องของความเชื่อ ไม่ใช่หลักปรัชญา สัตว์โลกทั้งหลายย่อมอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเกิดเป็นเทวดา มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม เป็นคนไทย จีน แขก ฝรั่ง ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม นับถือศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่น ๆ ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมด้วยกันทั้งสิ้น



การส่งผลของกรรม

การที่กรรมจะส่งผลได้นั้น ต้องมีเหตุปัจจัยหรือมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ในอดีตเราเคยเบียดเบียนสัตว์อื่นให้เดือดร้อน มาวันนี้กรรมนั้นจะส่งผลให้เราเจ็บป่วย ถ้าเราเดินทางออกไปนอกบ้าน ถูกฝนเปียกปอน เราก็จะเป็นไข้ เพราะมีเหตุคือถูกฝน แต่ถ้าเราไปออกนอกบ้าน กรรมนั้นก็จะส่งผลไม่ได้เพราะไม่มีเหตุที่ทำให้เราเจ็บป่วย ต้องไปส่งผลในโอกาสอื่น และถ้ากรรมนั้นยังไม่ส่งผลในวันนี้ แม้เราจะถูกฝนเปียกปอน เราก็ไม่เป็นไข้เช่นกัน

ถ้าในอดีตเราเคยฆ่าสัตว์ให้ตายลง มาวันนี้เป็นช่วงที่เราเคราะห์ร้าย เป็นช่วงที่กรรมนั้นจะส่งผลให้ได้รับอุบัติเหตุ ถ้าเราออกไปเที่ยวเตร่ก็อาจจะถูกรถชน แต่ถ้าเราไปทำบุญนั่งสมาธิอยู่ในวัด เหตุที่จะทำให้ได้รับอุบัติเหตุก็ไม่มี กรรมนั้นก็ส่งผลไม่ได้ ต้องไปส่งผลในโอกาสอื่น หรือถ้าวันนี้เราเดินทางไปนอกบ้านแต่ได้ปฏิบัติธรรมไปด้วย จนจิตใจผ่องใส เบิกบาน ขณะนั้นจิตเป็นกุศล กรรมฝ่ายที่เป็นอกุศลก็ส่งผลไม่ได้เช่นกัน ต้องไปส่งผลในโอกาสอื่น จะเห็นว่าเหตุที่ทำให้เราถูกรถชน มีอยู่ 2 เหตุด้วยกันคือ เหตุอดีต ได้แก่กรรมชั่วที่ทำไว้ในอดีต และ เหตุปัจจุบัน คือ รถที่แล่นมาชนเรา ถ้าไม่มีเหตุอดีต รถก็จะไม่แล่นมาชนเรา ถ้าไม่มีเหตุปัจจุบัน คือไม่มีรถแล่นมา เราก็ไม่ถูกรถชนเช่นกัน แต่เพราะเราเห็นแต่เหตุปัจจุบัน ไม่เห็นเหตุอดีต ก็เลยเข้าใจผิดว่าผลของกรรมไม่มี

ความรู้ในเรื่องกฎแห่งกรรมนี้ เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติธรรมได้ ในขณะปฏิบัติธรรม มีบ่อยครั้งที่เราต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ทำให้มีความหงุดหงิด มีความโกรธขึ้นมา บางครั้งก็ทนไม่ได้ ถึงกับต้องแสดงออกเป็นความชั่วทางวาจา หรือทางกาย ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายติดตามมา เราจึงควรสอนตนเองอยู่เสมอว่า อารมณ์ที่เราได้รับคือวิบาก สิ่งที่เรากระทำคือกรรม เมื่อเราได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี ก็ให้รู้ว่านี่เป็นวิบากอันเกิดจากกรรมชั่วที่เรากระทำไว้ในอดีต ขณะนี้เป็นการชดใช้กรรม เราควรยินดีรับผลกรรมนั้น และตั้งใจว่าจะไม่ทำกรรมชั่วต่อไปอีก อนาคตเราจะได้ไม่ลำบากเช่นนี้ ถ้าเราคิดได้อย่างนี้ ความหงุดหงิด ความโกรธ ก็จะไม่กำเริบ เราก็สามารถที่จะปฏิบัติธรรมต่อไปได้



บาปบุญอยู่ที่ใจ

มีชาวพุทธหลายคนที่ได้ยินได้ฟังมาว่า บาปบุญอยู่ที่ใจ ก็เข้าใจไปว่า ใจของเราเองที่เป็นตัวกำหนดบาปบุญ เช่น ถ้าเราคิดว่าฆ่าสัตว์แล้วไม่บาป มันก็ไม่บาป แต่ถ้าเราไปคิดไปกังวลว่ามันบาป มันก็บาป คนที่คิดเช่นนี้นับว่ามีความเห็นผิดอย่างมาก ที่จริงแล้วทำพูดที่ว่าบาปบุญอยู่ที่ใจนั้นหมายถึง สัตว์โลกทั้งหลายทำบาปหรือทำบุญได้ด้วยใจ เช่น ถ้าเราเดินไปเห็นมด ก็ตรงเข้าไปเหยียบจนมดตาย อย่างนี้บาป เพราะเรามีความจงใจฆ่ามด แต่ถ้าเรามองไม่เห็นมด เดินไปเหยียบมดตายโดยไม่ได้ตั้งใจอย่างนี้ไม่บาป เพราะเราไม่มีเจตนาที่จะฆ่า



การตายหมู่

บางคนกล่าวว่าการตายหมู่เกิดจากการที่ใครคนหนึ่งในกลุ่มมีชะตาถึงฆาต จึงพาให้คนอื่นต้องประสบเคราะห์กรรมตายตามไปด้วย ในเรื่องของกฎแห่งกรรมเป็นเรื่องเฉพาะตน ใครถึงฆาต คนนั้นก็ต้องตายคนเดียว จะไปถึงให้คนอื่นตายด้วยไม่ได้ แต่ที่เกิดการตายหมู่ เช่นเครื่องบินตก ก็เพราะทุกคนเคยทำกรรมชั่วไว้ในอดีต และในปัจจุบันนี้มีเหตุพร้อมให้ตายได้คือเครื่องบินขัดข้อง ทุกคนในเครื่องบินจึงตายหมด แต่ถ้ามีใครคนหนึ่งชะตายังไม่ถึงฆาต เขาก็จะต้องประสบเหตุให้แคล้วคลาดจากการตายหมู่ เช่น ไปไม่ทันเครื่องบิน หรือเกิดเปลี่ยนใจไม่ไปเที่ยวบินมฤตยูนั้น



ประโยชน์ของการอบรมตน

พระพุทธองค์ทรงอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างผู้ที่อบรมตน กับผู้ที่ไม่อบรมตนว่า ผู้ที่อบรมตนเมื่อได้รับวิบากร้าย ย่อมได้รับความลำบากน้อยกว่าผู้ที่ไม่อบรมตน บุคคลบางคน ไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็สามารถส่งผลให้เขาตกนรกได้ ส่วนบุคคลบางคน อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา ทำบาปกรรมเล็กน้อยเช่นเดียวกัน บาปกรรมนั้นย่อมส่งผลทันตาเห็น แต่เขาก็ไม่เดือดร้อนมากนัก ที่ตรัสเช่นนี้ก็เพราะ บุคคลที่ไม่อบรมตน ย่อมมีบารมีน้อย เปรียบเสมือนคนจน ทั้งเนื้อทั้งตัวมีเงินอยู่เพียงร้อยบาท ถูกโจรขโมยเงินไปร้อยบาท ย่อมได้รับความเดือดร้อนมากมาย ถึงอดตายได้ ส่วนบุคคลที่อบรมตน ย่อมมีบารมีมาก เปรียบเสมือนคนรวยมีทรัพย์มาก ถูกโจรขโมยเงินไปร้อยบาท ย่อมไม่เดือดร้อนมากนัก





 
jeab
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ต.ค.2005, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีมากๆค่ะ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง