ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ขาแจมในตำนาน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
12 ต.ค.2005, 10:10 am |
  |
ใคร พบวิธีปฏิบัติ หรือ link ดีๆ ช่วย มาโพสต์ กันหน่อย ^^ |
|
|
|
|
 |
โจ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
12 ต.ค.2005, 3:54 pm |
  |
มันคืออะไรอ่ะคับผม ผมอยากทราบเหมือนกัน ผู้รู้ช่วยให้ปัญญาผมหน่อยคับ |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ต.ค.2005, 2:11 pm |
  |
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=17&A=3408&w=อนิจจสัญญา
ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา
[๒๖๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ
ภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ในสรทสมัย ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก (หญ้า)
ทุกชนิด แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำ กาม
ราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ รูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ
อวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวหญ้ามุงกระต่ายแล้ว จับ
ปลาย เขย่า ฟาด สลัดออก แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้น
เหมือนกันแล.
[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวงมะม่วงขาดจากขั้ว ในมะม่วงเหล่านั้น มะม่วง
เหล่าใดเนื่องด้วยขั้ว มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของหลุดไปตามขั้วมะม่วงนั้น แม้ฉันใด.
อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลอนใดๆ แห่งเรือนยอด กลอนทั้งหมดนั้นไปสู่ยอด
น้อมไปที่ยอด ประชุมลงที่ยอด ยอด ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด.
อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแลฯ
[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่รากใดๆ ไม้กะลำพัก ชนทั้งหลายกล่าวว่า
เลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฉันนั้นเหมือน
กันแล.
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นใดๆ จันทน์แดง ชนทั้งหลายกล่าวว่า
เลิศกว่าไม้ที่มีกลิ่นเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือน
กันแล.
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่ดอกใดๆ มะลิ ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มี
กลิ่นที่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้น้อยใดๆ ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นผู้เสด็จไปตาม
(คล้อยตาม) พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ชนทั้งหลายย่อมกล่าวว่า เลิศกว่าพระราชาผู้
น้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงดาวทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง แสงดาวทั้งหมดนั้น
ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงพระจันทร์ แสงพระจันทร์ ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าแสงดาว
เหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ท้องฟ้าบริสุทธิ์ ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์
ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ย่อมส่องแสงและแผดแสงไพโรจน์ กำจัดความมืดอันอยู่ในอากาศทั่วไป
แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวง
ได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้
ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร? กระทำให้
มากแล้วอย่างไร? จึงครอบงำกามราคะทั้งปวง ฯลฯ ถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้หมด. อนิจจ-
*สัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความเกิดแห่งรูปดังนี้
ความดับแห่งรูปดังนี้. เวทนาดังนี้ ... สัญญาดังนี้ ... สังขารดังนี้ ... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้น
แห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ฯลฯ ถอนขึ้น
ซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะ
ทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้หมด.
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ ปุปผวรรคที่ ๕.
|
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ต.ค.2005, 2:29 pm |
  |
ขันธบรรพ
[๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ
อุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรม
วินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา
อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความ
ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเลื่อมใสธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่น
อยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่.
จบ ขันธบรรพ.
|
|
|
|
|
 |
ขาแจมในตำนาน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ต.ค.2005, 8:40 pm |
  |
บุคคลให้ทานแก่สัตว์เดียรฉานร้อยหนไม่มีผลเท่า
ให้แก่คนทุศีลเช่นนายพรานคนหาปลา ๑ หน
บุคคลให้ทานแก่คนทุศีล ๑๐๐ คนไม่เท่ากับ
ให้แก่คนมีศีล ๑ หน ให้แก่คนมีศีล ๑๐๐ หนไม่เท่า
ให้แก่พระโสดาบัน ๑ หน ให้แก่พระโสดาบัน ๑๐๐ หนไม่เท่า
ให้แก่พระสกิทาคามี ๑ หน ให้แก่พระสกิทาคามี ๑๐๐ หนไม่เท่า
ให้แก่พระอนาคามี ๑ หน ให้แก่พระอนาคามี ๑๐๐ หนไม่เท่า
ให้แก่พระอรหันต์ ๑ หน ให้แก่พระอรหันต์ ๑๐๐ หนไม่เท่า
ให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ หน ให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ หน ไม่เท่า
ให้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ หน ให้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ หนไม่เท่า
ถวายสังฆทาน ๑ หน ถวายสังฆทาน ๑๐๐ หนไม่เท่า
ถวายวิหารทาน ๑ หน
(วิหารทานคือการก่อสร้างกุฏิวิหารศาลาอุโบสถเสนาสนะที่อยู่ที่อาศัยถวายแก่วัดวาอาราม) ถวายวิหารทาน ๑๐๐ หนไม่เท่ากับมี
จิตศรัทธารับพระไตรสรณาคมน์คือพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่ง ๑ หน
รับพระไตรสรณาคมน์ ๑๐๐ หนก็ไม่เท่า
การสมาทานศีล ๕ ประการ ๑ หน การสมาทานศีล ๕ ประการ ๑๐๐ หนก็ไม่มีผลเท่า
การตั้งจิตแผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงชั่วเวลาเพียงรีดนมโค ๑ หน
การแผ่เมตตาชั่วเวลารีดนมโค ๑ หน ไม่มีอานิสงส์เท่ากับการเจริญอนิจจสัญญาคือการระลึกถึงความไม่เที่ยงของสังขารรูปธรรมนามธรรม ชั่วเวลาเพียงไก่ปรบปีก
ปล. ใครมีวิธิทำ ง่ายๆ ก็มาโพสต์กันนะ หนุกๆ ^0^ |
|
|
|
|
 |
อ.สมภพ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
15 ต.ค.2005, 1:24 am |
  |
ขอตอบคุณ ขาแจม ว่าเรื่องการเรียงลำดับการให้ทานที่ถูกต้องมีดังนี้ครับ
1.ทำทานกับสัตว์เดรฉานได้อานิสงส์ 100
2.ทำทานกับมนุษย์ทุศีลได้อานิสงส์ 1000
3.ทำทานกับมนุษย์มีศีลได้อานิสงส์ 100000
4.ทำทานกับมนุษย์ได้ฌานสมาบัติได้อานิสงส์ 100000 กัปล์
5.ทำทานกับมนุษย์ผู้เป็นพระโสดาบันขึ้นไปได้อานิสงส์ ๑ อสงไขยกับเศษอีกแสนมหากัปล์
หมายเหตุ...๑ อสงไขย เท่ากับ 10 ยกกำลัง 140 |
|
|
|
|
 |
ขาแจมในตำนาน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ต.ค.2005, 8:14 am |
  |
การให้ทานนั้น บางแห่งท่านเรียกว่า ยัญ แต่ในกูฏทัณฑสูตร ทีฆนิกาย ศีลขันธวรรค พระพุทธเจ้าตรัสเรียกบุญกุศลทั้งที่เป็นทาน ศีล และภาวนา ว่าเป็น ยัญที่ให้ผลแตกต่างกันเป็นลำดับ ดังนี้
๑. การถวายทานเป็นประจำ แก่บรรพชิตผู้มีศีลที่เรียกว่า นิจทาน แม้จะยากจนลงก็มิได้ละเลย คงถวายอยู่เป็นนิจตามกำลัง เพื่อรักษาประเพณีที่เคยทำไว้ มีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การสร้างวิหารถวายสงฆ์ ที่มาจากทิศทั้งสี่
๒. การสร้างวิหารถวายสงฆ์ ที่มาจากทิศทั้งสี่ มีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า สรณคมน์ คือการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
๓. การถึงสรณคมน์ ก็ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การรักษาศีล ๕ ของผู้ถึงสรณคมน์ อันให้ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งปวง
๔. การรักษาศีล ๕ ของผู้ถึงสรณคมน์ ก็ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การมีศีลสังวร คือการสำรวมในศีล ทั้งปาฏิโมกขสังวรศีลและอินทริยสังวรศีล คือสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ด้วยสติ ไม่หลงใหล ไปตามนิมิต คือรูปร่าง และ
อนุพยัญชนะ คือส่วนปลีกย่อยของรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และธัมมารมณ์ ที่มาปรากฎทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เหล่านั้น
๕. การมีศีลสังวร ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การบรรลุปฐมฌาน - ฌานที่ ๑
๖. การบรรลุ ปฐมฌาน ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การบรรลุทุติยฌาน - ฌานที่ ๒
๗. การบรรลุ ทุติยฌาน ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การบรรลุตติยฌาน - ฌานที่ ๓
๘. การบรรลุ ตติยฌาน ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การบรรลุจตุตถฌาน - ฌานที่ ๔
๙. การบรรลุ จตุตถฌาน ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า วิปัสสนาญาณ - ญาณของวิปัสสนา
๑๐. วิปัสสนาญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า มโนมยิทธิญาณ - ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ
๑๑. มโนมยิทธิญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า อิทธิวิธญาณ - ความรู้ที่แสดงฤทธิ์ต่างๆ
๑๒. อิทธิวิธญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า ทิพโสตญาณ - ความรู้ที่สามรถฟังเสียงทิพย์
และเสียงมนุษย์ได้ทั้งที่อยู่ในที่ปกปิด อยู่ใกล้และไกล ด้วยทิพโสต คือหูทิพย์
๑๓. ทิพโสตญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า เจโตปริยญาณ - ความรู้ที่กำหนดรู้ใจของบุคคลอื่นได้ด้วยใจตนเอง
๑๔. เจโตปริยญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ - ความรู้ที่ตามระลึกถึงที่อยู่ในชาติก่อนได้
๑๕. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า จุตูปปาตญาณ - ความรู้การตาย และการเกิดของสัตว์ทั้งหลายด้วยทิพยจักษุ คือตาทิพย์
๑๖. จุตูปปาตญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า อาสวักขยญาณ - ความรู้ที่ทำลายอาสวกิเลสให้สิ้นไป บรรลุเป็นพระอรหันตขีณาสพ |
|
|
|
|
 |
ขาแจมว่างๆ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ต.ค.2005, 8:17 am |
  |
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ
๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี
๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ
พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ "พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า" และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น)
๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า "การถวายวิหารทาน" แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน" อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น "โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ" ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน
๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "ธรรมทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ"
๑๕. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ "การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู" ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ "ละโทสะกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง |
|
|
|
|
 |
แจมมาโพสต์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ต.ค.2005, 8:27 am |
  |
- การเจริญอนิจจสัญญา คือ การนึกถึงสัญญาเดิม ที่เคยพิจารณาเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังขารมาก่อน
- ถ้าเราเคย ฝึกพิจารณาอะไรดีๆได้มาก่อน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อศุภะ หรือ อื่นๆ ...ก็เอามานึกขึ้นมาให้เป็นปัจจุบัน
- สมัยก่อน ถ้าเคยพิจารณาเห็นความจริงว่าสังขารต้องเปลี่ยน ก็ไปเอาอันนั้นมานึกอีก
- อานิสงส์คือได้ปัญญา จะได้ไปนิพพานไวๆ
ปล. ยกมาโพสต์ จากที่อื่น / ข้างบนมียกมาหลายพระสูตร ก็อาจคล้ายๆกัน หนุกๆ นะ
อย่าคิดมาก ^^ |
|
|
|
|
 |
แจมก็แจม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ต.ค.2005, 10:04 pm |
  |
อาพาธสูตร (คิริมานนทสูตร)
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
"ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหา แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานนท์ภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคริริมานันทภิกษุ จะพึงสงบระงับโดยฉับพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการนั้นเป็นฐานที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน ? คือ -
อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วสิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา ๑ และอานาปานัสสติ ๑
ดูก่อนอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา
ดูก่อนอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดีอยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา
ดูก่อนอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแลเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ ว่า
ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา
ดูก่อนอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้นอาพาธต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ -
โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝีโรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง
อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นโทษในภายนี้ ด้วยประการดังนี้
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา
ดูก่อนอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า ปหานสัญญา
ดูก่อนอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า วิราคสัญญา
ดูก่อนอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา
ดูก่อนอานนท์ สัพพโลเก อนภิรตสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละอุบาย (ตัณหาทิฐิ) และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และอนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
ดูก่อนอานนท์ สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง แต่สังขารทั้งปวง
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุ อนิษฐสัญญา
ดูก่อนอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษูในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า เป็นผู้มีสติ หายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นกำหนดรู้กาย (ลมหายใจ) ทั้งปวง หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา) หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้าย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตให้หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืน หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน หายใจออก
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อานาปานัสสติ
ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหา แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้ แก่คิริมานนทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุ จะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้"
ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์
ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริอานนท์ ได้สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น
ก็แลอาพาธนั้น เป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ ละได้แล้วด้วยประการนั้น แล ฯ
อาพาธสูตร ๒๔/๑๑๑
|
|
|
|
|
 |
แวะมาแจม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ต.ค.2005, 10:11 pm |
  |
เมื่อพิจารณาเห็นรูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้เรียกว่า อนิจจสัญญา (ความหมายรู้โดยสำคัญว่ากายใจไม่เที่ยง)
ปล. ยกมา จาก ** 7 เดือนบรรลุธรรม / ดังตฤณ |
|
|
|
|
 |
ยกมาแจม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 ต.ค.2005, 2:31 pm |
  |
มีพระสูตร ตรัสว่า (นวก อํ ๒๓/๓๖๙/๒๐๗)
เจริญ อสุภะ เพื่อละ ราคะ
เจริญ เมตตา เพื่อละพยาบาท
เจริญ อานาปานสติ เพื่อตัดเสียซึ่ง วิตก
เจริญ อนิจจสัญญา เพื่อถอน อัสสมิมานะ (ความยึดมั่นว่าตัวตนฯ)
กล่าวคือ เมื่อเจริญอนิจจสัญญา อนัตตาสัญญาย่อมมั่นคง
ผู้มีอนัตตสัญญา ย่อมถึงซึ่งการถอนอัสมิมานะ |
|
|
|
|
 |
ตามมามั่ว
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 มิ.ย.2006, 4:23 am |
  |
ถ้าเห็นจิต แล้วแยก ขันธ์ 5 ออกจากจิต ยังใช้ขันธ์ แต่เมื่อ ขันธ์ อดีต ที่ทำให้ทุกข์ ไม่มี อนาคตขันธ์ที่ทำให้ทุกข์ ไม่มี ก็เหลือเพียงขันธ์ ที่เป็นปัจจุบัน สิ่งที่เหลือจากที่ขันธ์ถูกแยกควรเรียกว่าใจ
(ที่ปราศจากอาการของใจทำกำเริบ)
ปล. โยนหินถ้าทางเหมือนเดิม |
|
|
|
|
 |
pongsakorn28287
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 พ.ย. 2004
ตอบ: 42
ที่อยู่ (จังหวัด): จ.เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2006, 10:52 am |
  |
 |
|
_________________ ยัง กัมมัง กะริสสันติ ใครทำกรรมใดไว้
กัลละยานัง วา ปาปะกัง วา ดีหรือชั่วก็ตาม
ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นๆ ต่อไป |
|
   |
 |
|