Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 บทความแนะนำ1การใช้เวลากับการใช้เงิน(จบ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
BLUESKY
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ต.ค.2005, 11:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีเวลาช่วงปิดเทอมนานถึงสองเดือน ลูกอาจจะวางแผนทำงานวิจัยส่งเข้าประกวดชิงรางวัล Westing Talent Search แต่ถ้ามีเวลาหยุดพักหนึ่งสัปดาห์ ลูกอาจจะเขียนบทสัมภาษณ์ไปลงในวารสารของโรงเรียน แต่ถ้ามีเวลาในวันหยุดสุดสัปดาห์เพียงสองวัน ลูกก็อาจได้แค่ทำการบ้าน ดูหนัง หรือชวนเพื่อนมาเที่ยว แต่ถ้าลูกเอาเวลาปิดเทอมสองเดือนเที่ยวเล่นดูหนังทุกวัน หรือเอาเวลาวันหยุดสุดสัปดาห์มาทำงานวิจัยก็แสดงว่าไม่รู้จักจัดสรรเวลา มีคนคนหนึ่งมักจะทำอะไรรีบเร่งเสมอ พอมีเพื่อนถามว่าทำไมต้องรีบอย่างนี้ ค่อยๆทำไม่ได้เหรอ เขาตอบว่า "ต้องทำให้เร็วจะได้มีเวลาเหลือมากหน่อย ที่เห็นผมงานยุ่งตอนนี้ พอกลับไปบ้านผมกลับว่าง ได้ทำอะไรที่อยากทำนอกเหนือจากงานประจำ" คนนี้ช่วงชิงเวลาด้วยการทำอะไรเร็วๆ แล้วสะสมเวลาเล็กๆน้อยๆจนได้เวลามาก และเป็นประโยชน์ด้วย นับว่าเขารู้จักใช้เวลา ถ้าเทียบกับคนที่มัวโอ้เอ้เฉื่อยชาแต่ไม่เคยมีเวลาว่างเอาเสียเลย ลูกคงเคยเห็นพวกแม่บ้านนั่งคุยกันหรือดูโทรทัศน์พร้อมกับถักไหมพรมไปด้วย เพราะนั่นเป็นงานเบา ทำสบายๆไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิ จึงสามารถทำสองอย่างพร้อมกันได้ อีกตัวอย่างหนึ่งที่พ่อรู้ นักเขียนหญิงคนหนึ่งตอนยังสาวช่วงชิงเวลาทำงานเขียน ด้วยการเขียนขณะทำกับข้าว หวงจวินxxx นักวาดภาพพู่กันจีนที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งก็มักจะวาดภาพพร้อมกับคุยกับเพื่อนๆที่มาเยี่ยม นับว่าเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัวจริงๆ พระเจ้าประทานเวลามาให้ทุกๆคนเท่าๆกัน คนที่สร้างผลงานได้มากกว่าคนทั่วไปมักจะเป็นคนที่รู้จักทำอะไรสองอย่างในเวลาเดียวกัน ก็เพราะอย่างนี้แหละ ถ้าลูกตื่นขึ้นมาในวันหยุดแล้วนั่งนึกว่าจะจัดสรรเวลาวันนี้อย่างไร นั่นแสดงว่าใช้เวลาสิ้นเปลือง ทำไมไม่คิดเรื่องนี้ตอนล้างหน้าแปรงฟันหรือกินอาหารเช้าล่ะ เมื่อก่อนพ่อวาดรูปจนดึก มักจะล้างจานสีกับจานฝนหมึกให้เสร็จก่อนจึงเข้านอน แต่ต่อมาพ่อเปลี่ยนเวลาล้างเป็นตอนเช้าหลังตื่นนอน เพราะถ้าทำตอนดึกขณะที่สมองเหนื่อยล้าxxxงก็คิดอะไรไม่ออก สู้ประหยัดเวลารีบเข้านอนก่อน พอตื่นนอนตอนเช้าค่อยล้างไปคิดไปพลางในเวลาที่สมองแจ่มใส แรงบันดาลใจในการเขียนและการวาดภาพก็จะเกิดขึ้นตอนนี้ ลูกอาจจะแย้งว่าเวลาทำอะไรควรตั้งใจทำ ไม่ควรทำหลายๆอย่างพร้อมกัน พ่อว่าเวลาอ่านหนังสือหรือคิดเลขอาจจะเป็นอย่างนี้ เพราะต้องใช้สมาธิมากเป็นพิเศษ แต่ถ้าบอกว่าไม่ควรอ่านหนังสือพิมพ์เวลารอรถเมล์อย่างนี้ก็ไม่ถูก สถาพแบบไหนถึงจะทำสองอย่างพร้อมกัน คิดสองอย่างพร้อมกันเป็นเรื่องที่ลูกต้องตัดสินใจเอง แต่พ่ออยากย้ำว่า ในยูคสมัยที่ต้องเร่งรีบอย่างทุกวันนี้ คนที่ทำอะไรสองอย่างพร้อมกันไม่ได้คงตามคนอื่นไม่ทันแน่ สรุปจากเรื่องที่พ่อพูดไปแล้ว หลักการจัดสรรเวลาจะเป็นดังนี้ 1. แยกแยะสิ่งที่ต้องทำว่ามีอะไรต้องทำก่อนหลัง อะไรสำคัญกว่าแล้วจัดสรรเวลาให้กับสิ่งที่ต้องรีบและสำคัญกว่าตามลำดับ จะได้ไม่เกิดสภาพที่ว่าสิ่งที่ไม่ควรกลับไม่ได้ทำ 2.เอาเวลาส่วนใหญ่ไปทำเรื่องที่สำคัญ เอาเวลาปลีกย่อยไปทำอะไรเล็กๆน้อยๆ ไม่เอาเวลาส่วนใหญ่มาแบ่งทำเรื่องเล็กน้อยๆ 3. ช่วงชิงเวลาด้วยการทำอะไรให้เร็ว เพื่อสะสมเวลาไว้ 4. ถ้าเป็นไปได้ให้ทำหลายอย่างพร้อมกัน เป็นการใช้เวลาอย่างเต็มที่ ลูกลองคิดดูให้ดี เมื่อเทียบกันแล้วหลักการใช้เวลากับการใช้เงินก็คล้ายกัน จริงไหม
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง