Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลับสบาย ปลายจมูก : นานาจิตตัง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2006, 9:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมมติสิ่งแวดล้อมที่ล้อมรอบตัวเราอยู่นี้ เราตั้งชื่อให้มัน หรือสมมติชื่อให้มันว่า อากาศ พอร้อนเราก็บอกว่าอากาศร้อน เย็นเราก็บอกว่าอากาศเย็น หนาวเราก็บอกว่าอากาศหนาว สรุปในภาพรวมกว้างๆ ก็คือ เราสมมติชื่อมันว่า อากาศ


คราวนี้ถ้าเราเอาโคนนิ้วชี้ อังไว้ที่ปลายจมูก แต่ไม่ต้องกับชนปลายจมูก แล้วเราก็สูดหายใจเข้า ยาว.... ยาววววว.. เราก็จะรู้สึกว่ามันมีอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่ดูคล้ายๆ ลมเย็นๆ พยายามดูดเอาสิ่งที่ติดอยู่ที่โคนนิ้วเข้าไปในจมูก....แม้เราจะมองไม่เห็นด้วยตา แต่มันก็จะต้องมี..สิ่ง..สิ่ง...หนึ่งแน่ๆ


สิ่ง...สิ่ง... หนึ่งที่ว่านี้ ถ้าเราไม่ไปพูดคุยกับใครแล้ว เราก็จะรู้ว่าสิ่งสิ่งนี้คืออะไร แต่ถ้าเราไปสื่อกับคนอื่น คนอื่นก็จะไม่รู้ว่าเราพูดถึงเรื่องอะไร วิธีที่จะสื่อให้รู้เห็นด้วยกันทั้งคู่ก็คือ สมมติชื่อสิ่ง....สิ่ง..นี้ออกมาว่าเป็น ลมหายใจเข้า


ลมหายใจเข้า ตอนแรกมันก็ถูกสมมติชื่อว่าเป็นอากาศ แต่ตอนนี้ชื่อมันถูกเปลี่ยนไปแล้ว ลมหายใจเข้ามันก็ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ตามกฎของอนิจจัง


ถ้าเราเอาโคนนิ้วชี้ อังไว้ที่ปลายจมูกเหมือนเดิม แต่คราวนี้ หายใจออก ยาว...ยาวววว.....เราก็จะรู้สึกว่า มันมีความร้อนออกมาสัมผัสที่โคนนิ้ว แล้วก็มี สิ่ง สิ่งหนึ่ง ที่มีแรงพยายามผลักโคนนิ้ว ออกจากปลายจมูก


สิ่ง..สิ่ง..หนึ่งที่ว่านี้ เราก็สมมติชื่อให้มันว่า ลมหายใจออก พอลมหายใจออก เลยนิ้วไปแล้ว มันก็กลายเป็นอากาศไป ถูกสมมติชื่อเป็นอากาศต่อเหมือนเดิม ลมหายใจออก มันถูกเปลี่ยนชื่อไปอีกเหมือนกัน

ทั้งทั้งที่ตอนแรกมันถูกสมมติชื่อเป็นอากาศ แต่มันก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นลมหายใจเข้า กับลมหายใจออกไปได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องยอมรับในเรื่องการสมมติชื่อ ที่มันสามารถเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ก่อน


ก่อนที่ลมหายใจออก มันจะถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็นอากาศ มันก็มาจากอากาศที่เป็นลมหายใจเข้าเหมือนกัน พอลมหายใจเข้ามันเข้าไปกระทบ หรือสัมผัส หรือผ่านร่างกาย หรือพูดให้ชัดๆ ก็คือปอด ชื่อก็ถูกเราเปลี่ยนไปเป็นลมหายใจออก ทั้งๆที่ส่วนผสม หรือองค์ประกอบของอากาศมันยังอยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน


มีนักวิทยาศาสตร์เขาเคยไปวิเคราะห์มาแล้วว่า ส่วนผสมของอากาศที่เป็นลมหายใจเข้า ถ้าว่ากันเป็นร้อยละตามน้ำหนักแล้ว ก็จะมีไนโตรเจนร้อยละ 78.62 ออกซิเจนร้อยละ 20.34 คาร์บอนไดออกไซร้อยละ 0.04 ที่เหลือเป็นน้ำ


ส่วนอากาศที่เป็นลมหายใจออก ดูตามน้ำหนักเช่นกัน ก็จะมีส่วนผสมของไนโตรเจนร้อยละ 74.90 ออกซิเจนร้อยละ 15.30 คาร์บอนไดออกไซ ร้อยละ 3.60 ส่วนที่เหลือก็จะเป็นน้ำเช่นกัน


เห็นได้จากข้อเท็จจริงโดยการใช้เครื่องมือวัดว่า ทั้งอากาศที่เป็นลมหายใจเข้า กับอากาศที่เป็นลมหายใจออก ส่วนผสมจะไม่ต่างกันมากเลย แต่เราก็เปลี่ยนชื่อมันเป็นลมหายใจเข้า กับลมหายใจออก เพื่อสะดวกในการเรียก เพื่อสะดวกในการสื่อกัน


ลมหายใจเข้ามันผ่านรูจมูกแล้วเข้าไปกระทบกับปอด พอออกจากปอดผ่านรูจมูกออกมา มันก็เลยถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นลมหายใจออก มันก็เหมือนกันกับตัววิญญาณธาตุ ในตาหรือในจักขุ ที่พอมันไปกระทบกับรูป มันก็เลยเปลี่ยนชื่อไปเป็นจักขุวิญญาณ เหมือนกันเลย


แล้ววิญญาณธาตุมันเกี่ยวอะไรกับขันธ์ ข้าวฟ่างมัวคิดเพลิน เพิ่งนึกออกว่า เรากำลังพูดกันถึงเรื่องขันธ์ พิสมัยกำลังใจดีเลยเริ่มเล่าใหม่ว่า


ขันธ์ 5 นี่มันก็มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ประกอบรวมๆกัน มันก็คลุกๆกันไป


รูป ก็คือสิ่งที่มีรูป เราเห็นได้ด้วยประสาทสัมผัส เช่นร่างกายอย่างนี้เป็นต้น เรียกว่ารูป (Form)


เวทนา ต้องอ่านว่า เว-ทะ-นา ไม่ใช่ เวด-ทะ-นา คำว่า เวด-ทะ-นา เป็นคำกริยา แปลว่า สังเวชสลดใจ ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึงคำนี้ แต่เราจะกล่าวถึงคำว่า เว-ทะ-นา ที่เป็นคำนาม แปลว่า ความรู้สึก เป็นความรู้สึกประเภทที่รู้สึกว่าเป็นสุข หรือเป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างนี้เราเรียกว่า เวทนา (Feeling)


สัญญา หรือจำได้หมายรู้ คือรู้สึกว่า อะไรเป็นอะไร เช่นจำได้ว่ารูปนี้รูปอะไร เสียงนี้เสียงอะไร แล้วเราก็สำคัญต่อไปตามความรู้สึกว่า ดีว่าชั่ว ว่าหญิงว่าชาย อย่างนี้เราเรียกว่า สัญญา (Perception) เพราะตามสูตรเขาบอกไว้ว่า บุคคลเสวยเวทนาใด แล้วไปหมายมั่นไว้ เราเรียกว่าสัญญา


สังขาร คือความคิดปรุงแต่ง ความคิดนึกว่าจะเอาอย่างนั้น จะทำอย่างนี้ ไม่ใช่ร่างกายเอา แต่สังขารเป็นเพียงความคิด คิดด้วยเจตนาเจตนาก็ได้ ไม่เจตนาก็ได้ อะไรก็ตามที่เป็นความคิด คิดดี คิดชั่ว อย่างนี้เรียกว่า สังขาร (Conception) หมด เป็นเรื่องของการตริ ตรึก นึกคิด เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป อย่างที่เราชอบบ่นกันว่ามันลืม อย่างนี้แหละ พอมีปัจจัยให้เกิดก็เกิดอีกครั้งวนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้แหละ


วิญญาณ คือการรับรู้ หรือความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง 5 และทางใจ คือการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ (Consciousness)


ตามแนวอภิธรรม เขาเรียกวิญญาณขันธ์ว่าจิต แล้วก็จำแนกจิตออกเป็น 89 หรือ 121 ดวงซึ่งมันก็เป็นเรื่องยาวเลย แล้วเราก็จะไม่เล่ารายละเอียดของจิตแต่ละอย่างให้ข้าวฟ่างฟังละ เพราะมันเกินจำเป็น ข้าวฟ่างจะได้เอาเวลาไปปฏิบัติ คือนั่งสมาธิบ้าง


คราวนี้เราจะเล่าต่อไปว่า เจ้าขันธ์ทั้ง 5 ที่เป็นกลไกภายในของสิ่งมีชีวิตนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร


หรือถ้าจะให้ง่ายเข้า เราอาจเริ่มที่พระพุทธภาษิตที่ตรัสว่า อาศัยตากับรูปย่อมเกิดจักขุวิญญาณ (จกฺขุญฺจ ปฏิจจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณ) และความที่มันมาพร้อมกัน มีด้วยกันทั้งสามอย่างนี้ เราเรียกมันว่า ผัสสะ (ติณฺณํ ธมฺมานํ สงฺคติ ผสฺโส) ผัสสะตัวนี้ ถ้าดูตามสายของปฏิจจสมุทปบาท มันก็เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา


เวทนานี้เป็นเรื่องของขันธ์ ขันธ์เกิดในช่วงนี้ ...ตรงนี้สำคัญต้องทำความเข้าใจให้ดี ตอนนั่งสมาธิจะมีประโยชน์ แต่ตอนนี้อาจดูตัวอย่างแบบไม่ต้องนั่งก่อน
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2006, 9:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ให้ข้าวฟ่างมองอะไรซักอย่างดี สมมติมองกระดาษหน้าข้าวฟ่างก็แล้วกัน เห็นกระดาษแล้วก็ตัวอักษรที่เขียนเยอะแยะเลย เกิดการรับรู้ที่เรียกว่า จักขุวิญญาณ คือเห็นทางตาแล้ว อย่างนี้ เกิดขันธ์ขึ้น 2 ขันธ์แล้ว

รูปขันธ์ ก็คือตาของข้าวฟ่างนี่แหละ ที่เป็นลูกกะตา เป็นรูปขันธ์ (Form) ที่เปลี่ยนชื่อมาจากอายตนะภายใน ที่เราเรียกว่า ตา...ตา ที่เป็นอายตนะภายใน กระทบรูป ที่เป็นอายตนะภายนอก เกิดจักขุวิญญาณ ตามที่เราเคยท่องกัน

ส่วนวิญญาณขันธ์ก็คือ การรับรู้ทางตา เพราะเราเห็นมัน เรารับรู้มัน มันก็เป็นสิ่งที่เรียกว่า วิญญาณ (Consciousness) ในขันธ์ 5

วิญญาณแปลว่ารับรู้ ตัวรับรู้ในร่างกายก็ได้ หรือตัวรับรู้ในขันธ์ 5 ก็ได้ ทั้งนี้เพราะขันธ์ 5 ที่เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันแล้วก็เนื่องกันต่อๆมาจนเป็นรูปร่างแล้วก็ความรู้สึกนึกคิด ก็จะประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

เห็นไหม เราแยกได้สองขันธ์แล้ว รูปขันธ์ก็คือรูปลูกกะตาของเรานี่เอง ส่วนวิญญาณขันธ์ก็คือตัวรูปลูกกะตาเรานี่แหละ แต่ภายในมันมีการรับรู้ว่าเป็นตัวอักษรในกระดาษอยู่ข้างหน้าเรา

โดยหลักกว้างๆ ของมันแล้ว เมื่ออายตนะภายใน...กระทบ..อายตนะภายนอก...เกิดวิญญาณ...วิญญาณมันก็อยู่ในขันธ์ 5 นั่นเอง เพราะมันกระทบกันมันเลยเกิดสิ่งใหม่ขึ้นมา ความจริงมันก็สิ่งเก่านั่นแหละ แต่เปลี่ยนลักษณะไปนิดหน่อย

ลองดูจากตัวอย่างของจริงอีกมุมมองหนึ่งบ้าง เช่น ถ้าเราเอาก้อนหินขว้างลงไป กระทบ..น้ำ...มันก็เกิดสิ่ง..สิ่ง..หนึ่งที่เรียกว่า..คลื่น..ขึ้นมา

การเกิดคลื่นมันก็เหมือนกับการเกิดของวิญญาณ ที่เกิดจากตากระทบกับรูป หินกระทบน้ำเราสมมติชื่อมันว่า คลื่น ตากระทบรูป เราสมมติชื่อมันว่าวิญญาณ

ทั้งคลื่นทั้งวิญญาณ มันเป็นมายาจับต้องไม่ได้ด้วยกันทั้งคู่ เราเห็นสิ่งที่ถูกสมมติชื่อว่าคลื่นซัดเข้าหาตัวข้าวฟ่าง แต่ให้ข้าวฟ่างไปจับคลื่นมาให้ดูซิ ก็จับไม่ได้ ให้ข้าวฟ่างไปจับสิ่งที่ถูกสมมติชื่อว่าเป็นวิญญาณดูซิ ก็จับยากเหมือนกัน ทั้งคลื่นทั้งวิญญาณ เป็นสิ่ง..สิ่ง..เดิมที่ถูกเปลี่ยนชื่อไปด้วยกันทั้งคู่

มันเปลี่ยนชื่อกันได้ แต่ถ้าเรารู้ทันมันก็ไม่เป็นบ่อเกิดแห่งเรื่องราว พอเราเห็นคลื่นเราก็เห็นเป็นเรื่องปกติไม่ไปไล่จับมัน แต่ถ้ามีใครซักคนหนึ่ง จะวิ่งไปจับคลื่นมาเก็บไว้ นี่มันก็ไม่ใช่คนปกติแล้ว

ลองมองดูอีกมุมหนึ่งใหม่ก็ได้ ถ้าข้าวฟ่างเห็นว่ามันมี Technical terms หรือศัพท์เฉพาะทางมากไป เอาตามที่เราเคยท่องกันสั้นๆว่า ตากระทบรูปเกิดจักขุวิญญาณ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าผัสสะ แค่นี้ก็ได้ พิสมัยแนะนำ

ตามันเข้าถึงกับรูป หรือตากระทบกับรูป สมมติเราไม่หลับตา เราลืมตา ให้ข้าวฟ่างลืมตาดู ตามันก็เข้าถึงกับรูป หรือกระทบกับรูปที่อยู่ข้างหน้า รูปที่อยู่หน้าของข้าวฟ่างก็คือกระดาษ มันก็เกิดการเห็นทางตาขึ้นมา เราเรียกมันว่า จักขุวิญญาณ

ถ้าเป็นอย่างนี้ ตาเกิดขึ้นแล้ว เพราะข้าวฟ่างไปเห็นกระดาษเข้า

แต่ถ้าข้าวฟ่างหลับตา ข้าวฟ่างก็จะไม่เห็นกระดาษ พิสมัยก็จะดุข้าวฟ่างว่า ..ทำไมไม่เห็น ไม่มีตารึไง....แสดงว่าตามันยังไม่มี ตามันยังไม่เกิด

แต่พอเราลืมตา ตามันทำหน้าที่ ข้าวฟ่างก็เห็นกระดาษ พิสมัยก็ไม่ดุข้าวฟ่าง ตาเกิดแล้ว

ตาก็เกิดแล้ว เพราะข้าวฟ่างไปเห็นกระดาษ กระดาษเป็นรูป สมมติมีหนังสือเล่มใหญ่มาทับกระดาษไว้ ข้าวฟ่างก็ไม่เห็นกระดาษ กระดาษที่เป็นรูปก็ไม่เกิด แต่เกิดรูปที่เป็นหนังสือเล่มใหญ่แทน อย่างนี้ก็ต้องไปพูดอีกแบบหนึ่ง อธิบายอีกแบบหนึ่ง

แต่ตอนนี้เราจะพูดถึง ตาที่เป็นอายตนะภายใน กระทบกระดาษที่เป็นอายตนะภายนอก แล้วเกิดจักขุวิญญาณ คือการเห็นกระดาษ

ปรากฏการณ์แบบนี้เราบอกว่า ขันธ์เกิดแล้ว ทำหน้าที่แล้ว 2 ขันธ์ รูปขันธ์คือลูกกะตาข้าวฟ่างนั่นแหละ เราเห็นตาข้าวฟ่างลืมอยู่ตอนข้าวฟ่างมองกระดาษ เพราะถ้าข้าวฟ่างหลับตาเราก็ไม่เห็นดวงตาข้าวฟ่าง รูปที่เป็นลูกกะตาของข้าวฟ่างก็ยังไม่เกิด

แล้วเมื่อข้าวฟ่างเห็นกระดาษก็เกิดการเห็นทางตา หรือที่เรียกว่าจักขุวิญญาณ จักขุก็คือรูปขันธ์ วิญญาณก็คือ วิญญาณขันธ์ เกิดแล้ว 2 ขันธ์

เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ข้าวฟ่างขัดขึ้น ข้าวฟ่างชักเข้าใจแล้ว พิสมัยเล่าแบบนี้เข้าใจลำบาก ข้าวฟ่างงงไปหมด ข้าวฟ่างรู้แล้ว มาฟังในมุมของข้าวฟ่างบ้างดีกว่า ก็เอาตามที่พิสมัยเคยให้ข้าวฟ่างท่องนั่นแหละ

ตากระทบรูปเกิดจักขุวิญญาณ....ตากระทบรูปเกิดจักขุวิญญาณ...ตากระทบรูปเกิดจักขุวิญญาณ......มันเป็นเรื่องของอายตนะภายในคือตา..กระทบกับอายตนะภายนอกคือรูป แล้วมันก็เกิดจักขุวิญญาณ ที่เราแปลว่าการรับรู้ทางตา เพราะวิญญาณแปลว่ารับรู้ จักขุแปลว่าตา

ก่อนที่ตามันจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นอายตนะภายใน ตานี่มันก็เป็นธาตุด้วยเหมือนกัน เราสมมติชื่อมันว่าจักขุธาตุ หรือเทียบเคียงกับทางวิทยาศาสตร์ที่เราเคยเรียนมาก็คือ เซลดวงตา วิทยาศาสตร์เขาสมมติชื่อเป็นเซลดวงตา แต่ของเราสมมติชื่อเป็นจักขุธาตุ

จักขุธาตุมันก็เป็นส่วนผสมของธาตุต่างๆ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ แล้วก็วิญญาณธาตุ

วิญญาณธาตุนี่มันก็เป็นนามธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ นี่มันก็เป็น รูปธาตุ ส่วนอากาศธาตุมันก็อยู่ระหว่างรูปธาตุกับนามธาตุ เป็นที่ตั้ง ที่ปรากฏของธาตุอื่นๆ

มันก็ทรงกันอยู่ของมันไปแบบนี้แหละ ทรงต่อเนื่องกันไปมันจึงเป็นรูปร่างของข้าวฟ่างอยู่ ถ้ามันไม่ทรงอยู่ มันก็ไม่เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ วิญาณธาตุ ที่รวมกันเป็นรูปร่างของข้าวฟ่าง คนโบราณเขาอ้างถึงคนตายว่าธาตุดับแล้ว ธาตุของนาย ก ธาตุของนาย ข ดับแล้ว คือมันไม่ทรงอยู่แล้ว
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2006, 9:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คราวนี้ พอสิ่งที่เรียกว่าตาของข้าวฟ่างที่เป็นอายตนะภายในนี้กรอกไปกรอกมา ไปกระทบกับรูปที่เป็นอายตนะภายนอก แล้วก็รูปที่เป็นอายตนะภายนอกนี่เพื่อให้มันง่ายเข้าสมมติชื่อให้มันใหม่ว่า รูป (Object) ก็แล้วกัน

พอตาข้าวฟ่าง ไปกระทบกับรูป (Object) ก็เกิดจักขุวิญญาณ ขบวนการหรือปรากฏการณ์นี้เราเรียกว่า ผัสสะ มันก็เกิดขันธ์ขึ้นมาสองขันธ์

ขันธ์แรกคือรูปลูกกะตาของข้าวฟ่างนี่แหละ เรียกมันว่า รูป (Form) ก็ได้ เป็นรูปขันธ์

ส่วนอีกขันธ์หนึ่งก็คือวิญญาณ ที่สืบเนื่องมาจากการเห็นทางตา หรือวิญญาณ(Consciousness) ทางตาก็ได้ เพราะมันผัสสะหรือกระทบกัน ธาตุ 6 ธาตุในลูกกะตา จึงแตกตัวออกเป็นรูปธาตุกับนามธาตุ

ตัวนามธาตุที่สำคัญก็คือวิญญาณธาตุ คือตัววิญญาณธาตุเมื่อถูกกระทบจึงเปลี่ยนสภาพไปจากธาตุ 6 เป็นอายตนะภายใน 6 มันเปลี่ยนสภาพได้ แล้วเกิดสิ่งใหม่ๆ ได้

เหมือนเอาเหล็กกระทบกับเหล็กมันก็มีการแตกตัวเป็นสะเก็ดไฟ เป็นแสงสว่าง อย่างนั้นแหละ เพราะมันกระทบมันจึงมีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้น

สรุปคือ เพราะมันผัสสะ หรือกระทบกันตามกระบวนการของมันระหว่างตากับรูป ธาตุทั้ง 6 ธาตุ ซึ่งก็คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ที่มันทรงอยู่ที่ตาในร่างหายเราหรือในนามรูปของเรา มันก็เลยแตกออกมาเป็นรูปธาตุ กับนามธาตุ

เราเลยได้ ขันธ์ 2 ขันธ์แล้ว คือรูปลูกกะตา (Form) กับวิญญาณทางตา(Consciousness) ที่เป็นวิญญาณขันธ์แล้ว มันก็เหลืออีก 3 ขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร

เวทนานั้นเมื่อเกิดผัสสะก็ต้องเกิดเวทนาตามสายของปฏิจจสมุปบาท เวทนาเช่นสบายตา ไม่สบายตาเป็นต้น

พอเกิดเวทนาแล้ว สัญญามันก็มั่นหมายเอาเวทนา คือเอาค่าของเวทนา ว่าสุขว่าทุกข์มาจำไว้ อย่างนี้เรียกว่าสัญญาขันธ์

สรรพสิ่งทั้งหลายที่มันมีก็เพราะเราไปสัญญามันไว้ คือมันไปจำได้หมายรู้มันไว้ หรือไปสัญญามันไว้ พอเห็นมันปุ๊บ เราก็จำมันได้เลย มันเลยมีสิ่งนั้น ถ้าข้าวฟ่างจำแฟนไม่ได้ ข้าวฟ่างก็เห็นคนๆ หนึ่งใครก็ไม่รู้ ไม่ใช่แฟนข้าวฟ่าง แฟนของข้าวฟ่างก็ยังไม่มีในสถานการณ์นั้น

พอสัญญาขันธ์มันเกิดแล้ว มันก็เนื่องกันไปเป็นความคิด เพราะเราไปมั่นหมายว่าจะทำอย่างไร คิดว่าจะทำอย่างไร อย่างนี้เราเรียกว่าสังขาร

เพราะตัวสังขารนี้มันอยู่ในหมวดขันธ์ เราเลยเรียกมันว่าสังขารขันธ์

ตัวสังขารขันธ์นี่มันสุดยอดเลย เพราะมันเป็นความคิด เป็นนามธรรมมันก็แล่นไปแล่นมา ถ้าเราควบคุมมันไม่ดี มันก็เป็นความคิดปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดเรื่องราวต่างๆที่ชุนมุลชุลเกกันตลอดช่วงชีวิตของเรา

เรารู้แล้ว เรารู้แล้ว พิสมัยสอดขึ้นมา เรารู้แล้วว่าตอนแรกเราเล่าให้ข้าวฟ่างแล้วข้าวฟ่างไม่เข้าใจเกี่ยวกับขันธ์ ก็เพราะคำว่ารูป หรือการสมมติชื่อคำว่ารูป นี่เอง

มันมีคำว่ารูปอยู่ในเรื่องอายตนะภายนอก แล้วก็รูปที่อยู่ในเรื่องขันธ์ มันซ้ำกัน เวลาศึกษาธรรมะมันเลยงงไปหมด

ถ้าเราระบุให้มันชัดเจนลงไปตั้งแต่ตอนแรกเลยว่า คำว่ารูปในอายตนะภายนอกนี้เราเรียกว่า รูป(Object) แล้วก็คำว่ารูปในเรื่องขันธ์ เราก็ระบุลงไปเลยว่า รูป (Form) แล้ว รับรองข้าวฟ่างจะไม่สับสนขนาดนี้เป็นแน่

คราวหน้าเราจะเปลี่ยนวิธีระบุชื่อใหม่ก็แล้วกัน พิสมัยกลัวว่าข้าวฟ่างจะมึนจนกระทั่งเลิกกิจการศึกษาธรรมะไปเสียก่อน จึงพูดเอาใจข้าวฟ่าง
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2006, 9:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

dt ขออนุญาตลาไปธุระส่วนตัวประมาณสามเดือนฮะ กลับมาจะขออนุญาตโพสต์ใหม่ฮะ ขอบพระคุณทุกท่านฮะ ที่ให้ความกรุณา dt ฮะ
 
dt
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2006, 7:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

dt อยากจะแจกนิยายเชิงธรรมะแก่ท่านที่กรุณาสละเวลามาอ่านเรื่องของ dt จำนวน 5 เล่ม ฮะ เนื้อเรื่องคล้ายๆที่โพสในกระทู้นี้ฮะ พิมพ์เป็นพ๊อกเก็ตบุคแล้วฮะ ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนแล้วฮะ ตามสารบัญข้างล่างนี้ฮะ หนังสือประมาณ 90 หน้าฮะ

สารบัญ

คำนำ

ภาค 1 ภาพที่เห็นจนเจนตา

เรื่องของข้าวฟ่าง
นานาจิตตัง

ภาค 2 มองทฤษฏี

สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตล้วนประกอบด้วยธาตุ
สลับฉาก
ธาตุสามารถโน้มไปน้อมมาได้
วิญญาณธาตุก่อให้เกิดอายตนะที่เป็นบ่อเกิดแห่งเรื่องราวของมนุษย์
ขันธ์ 5 เป็นกลไกของระบบการทำงานของมนุษย์

ภาค 3 แต่ถ้าให้ดีต้องมีปฏิบัติ

เรามารู้จักกับคำว่าอร่อยจากการปฏิบัติกันบ้าง
ทำไมข้าวฟ่างจึงอร่อย
อานาปานสติ
จิตเหมือนวัวป่า
เราพบแล้ว

เอกสารน่าอ่านต่อ

มาแอบดูปกิณกคดีเกี่ยวกับผู้เขียนกันมั่งดีกว่า


รบกวนช่วยโพสชื่อแล้วก็ที่อยู่ให้ dt ด้วยฮะ นามจริงหรือนามแฝงก็ได้ฮะ แต่ขอที่อยู่ที่ไปรษณีย์สามารถส่งให้ถึงมือท่านได้ฮะ ถ้าไม่สะดวกโพสที่นี่ ก็กรุณาเมล์มาที่ tatharta30dec2549@yahoo.com ก็ได้ ฮะ


dt ขอกราบคารวะทุกท่านที่กรุณาเข้ามาอ่านเรื่องของ dt ฮะ


ขอขอบพระคุณมากฮะ
 
สง่า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 ต.ค.2006, 4:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอ 1 เล่มครับ

สง่า ดุลยพันธุ์ 180/227 ถนนพหลโยธิน
แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน
กทม 10220

ขออนุโมทนาด้วยครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง