Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ตามหลักพุทธปรัชญา ชีวิตมีการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อยากรู้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2005, 2:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ช่วยตอบด้วยครับ
 
auteacher
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 13 ก.ย. 2005
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2005, 11:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พูดแล้วยาวครับเรื่องนี้ เป็นเรื่องของ ปฏิจจสมุปบาทคับ เรื่องนี้ค่อนข้างยากคับ ลองไปหาอ่านดูนะคับ...

ถ้าให้ผมตอบ ผมจะตอบว่า เพราะอวิชชา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงครับ ไม่รู้นี้คือไม่รู้อะไร

ก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจในกฎธรรมชาติ ว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน และกฎแห่งกรรม พอรู้ และเข้าใจธรรมชาติแล้ว ก็ยอมรับในความจริง ตอบแค่นี้ละกันคับ...สาธุคับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger

ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2005, 8:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศาสนาพุทธไม่ใช่ปรัชญา ใครบอกว่าเป็นปรัชญาก็ไม่ใช่ชาวพุทธ
 
อยากรู้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2005, 9:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

งั้นถามใหมม่อีกรอบก็ได้ หลักพระพุทธศาสนา ชีวิตมีการเวียวว่าย ตาย เกิดอย่างไร มีอะไรเป็นตัวนำ
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2005, 1:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมใส่ใจด้วยดีโดยแยบคายใน ปฏิจจสมุปบาทธรรมในร่างกายและจิตใจที่ตถาคตกล่าวมาแล้วนั้น ว่า เพราะเหตุดังนี้เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ” ปฏิจจสมุปบาทธรรม เมื่อผู้ปฏิบัติใส่ใจเข้าไปพิจารณาโดยแยบคายถึงธรรมชาติซึ่งปรากฏในลักษณะเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม คือธรรมที่มันเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องกันอยู่





คือเข้าไปสัมผัสเห็นว่า เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด อ้าว xxxสิ่งนี้ก็เกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มีxxxสิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้ก็ดับ หมายความว่า สิ่งต่างๆ ที่มันประกอบกันมาเป็นสังขารคือร่างกายและจิตใจ ท่านใช้คำว่า “สิ่ง” เพราะว่ามันไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา มันคือธรรมชาติ เรียกว่า “สิ่ง” เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ เป็นสิ่งต่าง ๆ คือสิ่งนี้มีอีกสิ่งมันก็มีขึ้น มันเป็นปัจจัยกันอยู่ อ้าว สิ่งนี้เกิดอีกสิ่งหนึ่งก็เกิด สิ่งนี้ไม่มี สิ่งอีกสิ่งก็ไม่มี เมื่อสิ่งนี้ดับ อีกสิ่งนี้ก็ดับไป มันเป็นการเกี่ยวพันเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยกันอยู่ ฉะนั้นไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาโดยลำพังโดยปราศจากเหตุปัจจัย







สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละอย่างแต่ละธรรมชาตินั้นล้วนแล้วแต่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น สิ่งที่เป็นเหตุมีเป็นปัจจัยให้สิ่งที่เป็นผลมันเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นผลมันก็เกิดขึ้น สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยมันไม่มี สิ่งที่เป็นผลมันก็ไม่มี สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยมันดับ สิ่งที่เป็นผลมันก็ดับ ถ้าเหตุมันมีผลมันก็มี เหตุไม่มีผลมันก็ไม่มี มันเป็นปัจจัยกันเกี่ยวข้องกันไปอย่างนั้น นี่คือธรรมชาติจริง ๆ ในชีวิตนี้ เช่นว่ายกตัวอย่างว่า เพราะอาศัยผัสสะ ผัสสะคือการกระทบอันเป็นปัจจัยให้เกิดสุขเวทนา ผัสสะที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดสุขเวทนา เช่น ความเย็น ความร้อน ความนุ่มนวล เย็นพอดี ร้อนพอดี







สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยให้เกิดสุขเวทนา เมื่อผัสสะคือความเย็นร้อนอ่อนแข็งหย่อนตึงที่มันพอดีๆเป็นปัจจัย คือมาผัสสะมากระทบมันก็เกิดสุขเวทนาขึ้น แต่พอเหตุปัจจัยคือผัสสะการกระทบของโผฏฐัพพารมณ์ที่ทำให้เกิดสุขเวทนาเหล่านั้นมันดับ สุขเวทนาเหล่านั้นก็ดับไปสงบไป อาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยให้ทุกขเวทนา มันก็เกิดทุกขเวทนาขึ้น เมื่อผัสสะเป็นปัจจัยให้ทุกขเวทนานั้นดับ ทุกขเวทนาที่เกิดโดยอาศัยผัสสะนั้นก็ดับไป อาศัยผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาที่มันไม่สุขไม่ทุกข์คือเฉย ๆ มันก็เกิดอุเบกขาเวทนาขึ้น เมื่อผัสสะที่เป็นปัจจัยเหล่านั้นมันดับ อุเบกขาเวทนาคือไม่สุขไม่ทุกข์มันก็ดับ







ฉะนั้นความสุขความทุกข์ความเฉยๆที่มันเกิดขึ้น มันไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ เพราะมันมีเหตุมีปัจจัย มันมีการผัสสะมีการกระทบสัมผัสกัน อายาตนะภายนอกอายาตนะภายในมากระทบเกิดวิญญาณรับรู้ เกิดประชุมเกิดผัสสะขึ้นก็เกิดเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา เกิดการ กระทบขึ้นทางตาเวทนาเกิดขึ้น คือมีสี มีประสาทตา มีจักขุวิญญาณประชุมกันขึ้น มีสีมากระทบ มีการเห็น เกิดผัสสะขึ้นตรงนั้นน่ะ ตรงที่เห็นนั่นน่ะ ตรงที่เห็นนั่นน่ะมันมีผัสสะแล้ว มีการกระทบอารมณ์แล้ว สีต่าง ๆ นั้นเป็นอายาตนะภายนอก ตา ประสาทตาเป็นอายตนะภายใน การเห็นเป็นธาตุรู้ ประชุมกัน มันเกิดผัสสะขึ้นมา มันก็จะเกิดเวทนาขึ้น เกิดเวทนาขึ้นมา







เกิดเวทนาเดี๋ยวมันก็เกิดตัณหาต่อ ถ้าภาพที่เห็นสวยงามมันก็เกิดตัณหาความชอบใจติดใจ ถ้าปรุงแต่งว่าภาพนั้นไม่สวยไม่งามมันก็เกิดความไม่ชอบใจเกิดขึ้น ความชอบใจไม่ชอบใจมันก็ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ มันเกิดเพราะมันมีเวทนาเสวยอารมณ์ เวทนาก็เกิดขึ้นมาเพราะมันมีการผัสสะ มีการกระทบสัมผัสทางตาขึ้นมา สิ่งเหล่านี้มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยนั่นคือ ปฏิจจ สมุปบาทธรรม พอมีการกระทบมีการเห็น เอ้า เวทนาเกิดขึ้น แล้วก็เกิดตัณหาความชอบใจหรือความไม่ชอบ อยากจะให้มันหมดไป อยากให้มันสิ้นไป เป็นวิภวตัณหา อยากไม่มีไม่เป็น ถ้ามันเป็นภาพดีสวยงามก็อยากมีอยากเป็น หรือว่าอยากเข้าไปรักใคร่ในสิ่งเหล่านั้น ถ้ามันไม่สวยงาม ปรุงแต่งว่ามันไม่สวยงามก็อยากให้มันไม่มีไม่เป็นให้มันหมดไปไม่ต้องการ







มีความอยากมันก็มีความยึดเข้ามา ยึดมั่นถือมั่นว่านั้นดีนั่นสวยนั่นงาม นั่นคือเรานั่นคือของของเรา เกิดความรักความหวงแหนเป็นอุปาทาน อุปาทานเหล่านี้มันก็เกิดจากตัณหา ตัณหาก็มาจากเวทนา เวทนาก็มาจากผัสสะ ผัสสะที่มันมีขึ้นมาได้มันก็มีอายาตนะ เพราะมันมีอายาตนะภายในภายนอก คือมันมีประสาทตา มันมีสีต่าง ๆ มันจึงเกิดผัสสะ มันก็เป็นปัจจัยกัน







อายาตนะภายในก็มาจากเพราะว่ามันมีรูปนาม รูปนามก็มาจากวิญญาณเกิดปฏิสนธิวิญญาณ วิบากวิญญาณ วิญญาณก็มาจากสังขาร สังขารมาจากอวิชชาความไม่รู้ความไม่รู้ในอดีตปรุงแต่งสังขารเป็นกุศล อกุศล ก็เกิดวิญญาณ มีนามรูป นามรูปก็สร้างตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีอายาตนะภายใน พอมีอายาตนะภายในมันก็กระทบอายาตนะภายนอก สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นอายาตนะภายนอก เกิดผัสสะ พอผัสสะก็เวทนาเกิด เวทนาเกิดตัณหาเกิด ตัณหาเกิดอุปาทานเกิด อุปาทานเกิด เกิดภพเกิดกัมมภวะเกิดการกระทำกรรมลงไปอีก





แล้วก็เกิดอุปัตติภพเกิดการอุบัติขึ้นเกิดชาติ พอมีชาติการเกิดขึ้นมาก็มีชรา มีชรามีความแก่มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสมีความตาย โสกะคือความเศร้าโศก โทมนัสความเสียใจ ปริเทวะก็บ่นเพ้อรำพัน ทุกขะคือทุกข์กายทุกข์ใจ โทมนัสเสียใจ อุปายาสคับแค้นใจ ความเสียใจเต็มที่กลายเป็นความแค้นใจคับแค้นใจ คับแค้นใจมันก็เกิดขึ้นตามมา เพราะมันมีการเกิดมีชาติการอุบัติมันเกิดขึ้นก็จึงมีชรามีความแก่มีความเจ็บมีความตาย ในระหว่างที่มันมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมา มันก็ยังแฝงด้วยอวิชชา ตัณหา มีอวิชชาอยู่มันก็เกี่ยวข้องกันไปอีก มีอวิชชามันก็สร้างต่อไปอีกเป็นวัฏฏจักรหมุนวนเป็นลูกโซ่เกี่ยงข้องกันไป







ฉะนั้นชีวิตนี้ถ้าพิจารณาโดยแยบคายลงไปแล้วก็จะเห็นว่าเป็นธรรมชาติที่มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน ไม่ได้เกิดจากใครมาดลบันดาลให้เป็นไป ความสุขความทุกข์ทุกขณะที่เป็นไปในชีวิตประจำวันมันเกิดจากเหตุปัจจัยในธรรมชาติของมันเอง ไม่ได้เกิดจากสิ่งใดมาดลบันดาลให้เป็นไป ฉะนั้นผู้ได้สดับได้ปฏิบัติก็เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้





http://www.mahaeyong.org/Dharma/patjai.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2005, 1:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีความไม่รู้ (อวิชชา) เป็นตัวนำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดน่ะครับ พอไม่รู้แล้วก็เกิดความอยาก (ตัณหา) พออยากแล้วก็ไปสร้างกรรมสนองความอยาก พอสร้างกรรม ก็มีวิบาก คือ ผลของกรรมมารองรับ เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ ไปจนกว่า จะรู้ (วิชชา) ขึ้นมาน่ะครับ
 
อยากรู้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2005, 7:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ ครานี้กระจ่างแจ้งเลย



ขอขอบคุณและอนุโมทนา
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ย. 2005, 7:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทุกครั้งที่ได้รับคำชม ผมก็จะหันหลังกลับไปมองคุณครูครับ เพราะครูท่านสอนไว้ ผมก็จำมาบอกต่อ ขอบคุณเช่นกัน ที่ทำให้ย้อนนึกถึงพระคุณครูอีกครั้ง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง