ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2005, 1:19 am |
  |
มงคลสูตร
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ
ฟังเสียงสวด
http://www.geocities.com/chruawan/page13.htm |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2005, 1:25 am |
  |
1. อเสวนา จพาลานํ
(การไม่คบคนพาล)
อันลักษณะคนพาลสันดานชั่ว
ขอยกตัวอย่างให้เห็นเป็นหลักฐาน
หนึ่งเกียจกิจการใดไม่เอาการ
สองทรัพย์ศฤงคารไม่นำพา
สามเลี้ยงชีพด้วยประมาทขาดสติ
สี่คบพาลรานริเรื่องชั่วช้า
ห้าขาดเคารพไตรรัตนศรัทธา
หกขาดศีลขาดปัญญาเป็นอาจิณ
ไม่ฟังธรรมคำสอนของศาสนา
ได้ชื่อว่าเป็นพาลด้วยกันสิ้น
อย่าคบพาลรานคนเป็นมลทิน
เมื่อยลยินหลีกเลี่ยงเบี่ยงให้พ้น |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2005, 1:30 am |
  |
2. ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
(การคบบัณฑิต)
บัณฑิตคือนักปราชญ์ฉลาดล้ำ
มีศีลธรรมบำเพ็ญทานการกุศล
ใครคบปราชญ์เป็นปราชญ์สามารถคน
จะพาตนรุ่งเรืองและเฟื่องฟู
แม้ได้เพียงเห็นปราชญ์ก็เป็นสุข
อยู่ร่วมเรือนหายทุกข์สุขมาสู่
คติโบราณขานไขไว้น่าดู
เชิญทุกผู้จงจำเป็นสำคัญ
คบคนพาลพาลพาไปหาผิด
คบบัณฑิตคิดพาหาสวรรค์
คบเช่นไรมักเป็นเหมือนเช่นนั้น
จะคบกันก็ต้องหาที่น่าคบ |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2005, 1:35 am |
  |
3. ปูชาจ ปูชนียานํ
(การบูชาวัตถุและคนที่ควรบูชา)
พึงบูชาปูชนีย์ศรีสถาน
ด้วยดวงมาลย์มุ่งมั่นพลันประสบ
ที่ประสูติตรัสรู้นิพพานครบ
อีกเคารพที่ปฐมเทศนา
อุเทสิกเจดีย์ศรีโสภาคย์
ธาตุเจดีย์มีมากในแหล่งหล้า
เมื่อพบเห็นเป็นที่เจริญตา
น้อมบูชาด้วยใจเลื่อมใสจริง
อีกบูชาคนที่ควรคารวะ
สูงด้วยวัยด้วยชาตะทั้งชายหญิง
สูงด้วยคุณวิชาอย่างแท้จริง
อย่าประวิงกราบไหว้ใจนิยม |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2005, 1:40 am |
  |
4. ปฏิรูป เทศวาโสจ
(อยู่ในประเทศอันสมควร)
ประเทศใดไร้ราชปราชญ์สดับ
อีกตระกูลมีทรัพย์ประเสริฐสม
อีกไร้หมอไร้นทีไร้ที่ชม
จะมัวซมอยู่ได้ไฉนกัน
ประเทศดีมีพุทธบริษัท
ไม่อัตคัดขัดสนทุกสิ่งสรรพ์
บ้านเมืองจัดพัฒนาทั่วหน้ากัน
ประชาราษฎร์สุขสรรพ์ทุกวันคืน
มีกษัตริย์รัฐบาลหลักฐานมั่น
ข้าราชการทั้งนั้นน่าชมชื่น
ประชาชนขวนขวายทุกวันคืน
เลี้ยงชีพชื่นชวนชมนิยมดี |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2005, 1:45 am |
  |
5. ปุพฺเพจ กตปุญฺญตา
(ทำความดีมาก่อน)
เกิดเป็นคนจนหรือมีทำดีไว้
เพราะเราได้มาเกิดประเสริฐศรี
มีโอกาสอาจสร้างสมความดี
คือต้องมีศีลธรรมประจำใจ
เจริญพระธรรมกรรมฐานสังหารกิเลส
ฟังธรรมเทศน์แล้วยึดประพฤติให้
อยู่เป็นนิจนิรันดร์กันผองภัย
คืออยู่ในกุศลกรรมบถทำดี
กายกรรมสามวจีสี่ครบถี่ถ้วน
มโนสามงามล้วนทางสุขี
จงประกอบกิจนั้นในทันที
ปล่อยเนิ่นช้าไม่ดีจะเสียการ |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2005, 1:51 am |
  |
6. อตฺตสมฺมา ปณิธิจ
(การตั้งตนชอบไว้)
ตนคือจิตอัตตภาพทั้งปวงไซร้
ย่อมว่ายเวียนอยู่ในวัฏสงสาร
เกิดแล้วแก่เจ็บกายถึงวายปราณ
นี้แหละคือคำขานของตัวตน
ตั้งตนชอบคือประกอบกรรมสุจริต
อยู่ในอิทธิบาทสี่มีมรรคผล
ฉันทะวิริยะจิตตะดล
วิมังสาพาตนคิดไตร่ตรอง
ยึดทิฏฺฐธมฺมิกัตถ์ประโยชน์ไว้
ซึ่งธรรมใดไม่มีเสมอสอง
ชนเหล่าใดใฝ่ธรรมตามทำนอง
ชื่อว่าครองความชอบไว้ปลอบใจ |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2005, 1:56 am |
  |
7. พาหุสจฺจญจ
(ความเป็นผู้สดับมาก)
สดับมากหลากเรื่องล้วนสาระ
ก็คงจะพหูสูตรมิสงสัย
หมั่นฟังธรรมจำจดให้ขึ้นใจ
ปฏิบัติตามให้ได้ทางดีงาม
พระสูตรวินัยปรมัตถ์
ท่านช่างจัดแยกให้เห็นไว้เป็นสาม
รวมแปดหมื่นสี่พันขนานนาม
เรียกชื่อตาม"พระธรรม"ในคัมภีร์
เว้นคิดถามจำจดและท่องบ่น
จะทำตนพหูสูตรได้ไฉนนี่
ขอเชิญชวนมวลมิตรพินิจที
ที่กล่าวนี้แน่จริงหรือกริ่งเกรง |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2005, 12:30 am |
  |
8. สิปฺปญฺจ
(ศิลป)
วิจิตรศิลป์ยินเรียกศิลปะ
คิดว่าจะแบ่งได้ให้เหมาะเหม็ง
เป็นห้านามตามแผนกแยกอย่างเพรง
ชักครื้นเครงความคิดพินิจดู
วรรณศิลป์จิตรศิลป์สถาปัตย์
ทั้งการจัดปฏิมาสง่าหรู
นาฏดุริยางค์ช่างเลือกแต่ละครู
ล้วนความรู้เป็นศิลป์ถิ่นเมืองทอง
ชนใดไม่คำนึงถึงศิลปะ
จิตเลยละน่ากลัวจะมัวหมอง
เป็นเศรษฐีมั่งมีทั้งเงินทอง
ใครจะปองคบค้าสมาคม |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2005, 12:37 am |
  |
9. วินโย
(สำเหนียกในระเบียบวินัย)
วินโยคือวินัยบอกไว้ชัด
ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตลิขิตสม
ควรเล่าเรียนเพียรรักษาจักน่าชม
คนนิยมยินดีเพราะมีวินัย
พึงเว้นกายกรรมสามวจีสี่
มโนสามตามที่กำหนดไว้
วันศีลห้าศีลแปดจงปักใจ
เป็นวินัยคฤหัสถ์จงจัดเจน
บรรพชิตนั้นปาราชิกตั้งสังเกต
อีกสังฆาทิเสสเหตุขุกเข็ญ
ถุลลัจจัยปาจิตตีย์สี่ประเด็น
ปาฏิเทสนีย์พึงเห็นเป็นวินัย
ทุกกฎอีกทั้งทุพภาสิต
อาบัติกิจเกิดก่อต่อขึ้นได้
ควรบรรพชิตคิดหักประหารใจ
อย่าพึงให้โสมมพรหมจรรย์ |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2005, 12:43 am |
  |
10. สุภาสิตา จ ยาวาจา
(วาจาเป็นสุภาษิต)
พึงกล่าวคำอ่อนหวานสุจริต
ไม่เป็นพิษเป็นภัยไม่เสกสรร
กล่าวในกาลอันสมควรล้วนสำคัญ
คำทั้งนั้นนำประโยชน์น่าโปรดปราน
เป็นคำพูดสัตย์จริงไม่กล่าวเท็จ
ทั้งมีเหตุมีผลเสมอสมาน
กล่าวด้วยจิตเมตตาตลอดกาล
ชื่นดวงมาลย์ทุกผู้ที่อยู่ฟัง
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
เสนาะนักครูกลอนท่านสอนสั่ง
จะชั่วดีอันใดให้ระวัง
ถูกชิงชังก็เพราะปากได้ยากใจ |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2005, 12:49 am |
  |
11. มาตา ปิตุ อุปฏฺ ฐานํ
(บำรุงบิดามารดา)
พึงบำรุงบิดรและมารดา
เพราะเหตุว่าเป็นพรหมของบุตรไซร้
ทั้งท่านเป็นบุพเทพอันเกรียงไกร
เป็นอาหุไนยบุคคลชนทั้งปวง
อีกเป็นบุรพาจารย์อันประเสริฐ
ทรงคุณธรรมล้ำเลิศทะเลหลวง
สอนละชั่วมั่วความดีหาที่ควง
เพื่อมอบปวงสมบัติให้จัดการ
ฉะนั้นบุตรพึงเลี้ยงตอบแทนคุณ
ดำรงวงศ์สกุลให้สุขสานต์
ประพฤติดีเชื่อฟังคำสั่งท่าน
อุทิศผลบุญทานนิรันดร์เทอญ |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2005, 12:54 am |
  |
12. ปุตฺตสงฺคโห
(สงเคราะห์บุตร)
บุตรดีเรียกอภิชาตสามารถนัก
ยิ่งยศศักดิ์สูงส่งน่าสรรเสริญ
บุตรชั่วเรียกอวชาตไม่อาจเชิญ
มาดำเนินวงศ์สกุลให้อุ่นใจ
บุตรเสมอตนนั้นเรียกอนุชาต
ยังสามารถครองเรือนเป็นเพื่อนได้
บุตรดีชั่วอยู่ที่ตัวอบรมไซร้
ควรสอนให้ทำดีหลีกหนีพาล
ให้ศึกษาหาความรู้ไว้ชูหน้า
หาภรรยาเทียมพักตร์เป็นหลักฐาน
ให้ครอบครองสรรพสิ่งศฤงฆาร
เป็นพ่อบ้านแม่เรือนเป็นเพื่อนเรา |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2005, 1:03 am |
  |
13. ทารสฺส สงฺคโห
(สงเคราะห์ภรรยา)
ภริยาไม่ดีนั้นมีสามจำพวก
เพื่อสะดวกขอแสดงแจ้งกันเขลา
เมียเสมอเพชฌฆาตพิฆาตเรา
เมียเสมอโจรโค่นเอาหมดเหย้าเรือน
เมียเสมอนายร้ายนักมักช่วงใช้
ส่วนเมียดีมีไว้ได้เป็นเพื่อน
คือเมียเสมอมารดาหล่อนกล้าเตือน
ผัวเลื่อนเปื้อนหล่อนก็ว่าอย่างน่าชม
เมียเสมอทาสเสมอน้องทั้งสองนี้
ช่างภักดีรับใช้ได้สวยสม
เมียเสมือนเพื่อนเล่าเรานิยม
ได้เชยชมภิรมย์สุขอยู่ทุกกาล
พึงสงเคราะห์หล่อนด้วยสถานห้า
หนึ่งยกย่องเป็นภริยาทุกสถาน
สองไม่ดูหมิ่นถิ่นแคลนนางนงคราญ
สามไม่ทำทรมานด้วยนอกใจ
สี่มอบให้ใหญ่ยิ่งในเรือนเหย้า
ห้าให้เครื่องแต่งตัวเจ้าได้สวมใส่
ทั้งห้าข้อพนอน้องหายข้องใจ
นางทรามวัยแม่ศรีเรือนเป็นเพื่อนตาย |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2005, 1:09 am |
  |
14. อนากุลา จ กมฺมนฺตา
(การงานไม่อากูล)
พายเถิดพ่อรอรั้งอยู่ใยเล่า
จ้ำจ้ำเข้าจักถึงซึ่งที่หมาย
ถ้าเกียจคร้านทุกผู้นิ่งดูดาย
ตะวันสายวายตลาดขาดค่าเอย
โบราณท่านขานเสนาะได้เพราะพริ้ง
เป็นความจริงหญิงชายทั้งหลายเอ๋ย
งานอากูลวุ่นวายไม่สะเบย
จักขอเอ่ยหลักการทำงานดี
หนึ่งการนั้นสำคัญเป็นไฉน
ตัวท่านไซร้รู้ขบวนครบถ้วนถี่
ชำนิชำนาญการนั้นเป็นอย่างดี
สองท่านมีพลังเป็นอย่างไร
พลังทรัพย์พลังกายพลังจิต
พลังปัญญาพาคิดเป็นข้อใหญ่
สามท่านมีอิทธิบาทประจำใจ
การนั้นจักเสร็จได้เป็นผลดี |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2005, 1:15 am |
  |
15. ทานญฺ จ
(การให้)
การให้ทานท่านจำแนกแยกเป็นสาม
จาคะเจตนาพางามประเสริฐศรี
วิรัติเว้นเบญจศีลด้วยยินดี
เทยฺยธมฺมนั้นมีการให้ปัน
ให้ด้วยจิตคิดเลื่อมใสจึงให้ทาน
ให้ด้วยใจชื่นบานใช่เสกสรร
ให้แล้วก็อิ่มใจไปชั่วกัลป์
นี้ลักษณะสำคัญการให้เอย
เกิดเป็นคนควรให้ทานการกุศล
ช่วยเจือจานงานทุกคนอย่างนิ่งเฉย
ตามกำลังศรัทธาอย่าละเลย
จะงอกเงยงามบุญสุนทรทาน |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2005, 1:21 am |
  |
16. ธมฺม จริยาจ
(การประพฤติธรรม)
สภาพซึ่งทรงไว้มิให้ชั่ว
คือว่าตัวธรรมะประเสริฐสาร
กุศลธรรมกรรมบถสิบประการ
เป็นสะพานพาพบประสบธรรม์
สุจริตกายสามวจีสี่
มโนมีมาครบทุกสิ่งสรรพ์
จงประพฤติยึดถือกุศลกรรม์
จะกางกั้นกรรมชั่วจนตัวตาย
ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ผู้อิ่มธรรมไร้ทุกข์จนชีพสลาย
ผู้ใคร่ธรรมจักจำเริญจนวางวาย
ธรรมทั้งหลายรักษาผู้ประพฤติธรรม |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2005, 1:21 am |
  |
17. ญาต กานญฺจ สงฺคโห
(สงเคราะห์ญาติ)
สงเคราะห์คือช่วยเหลือและเกื้อหนุน
สร้างพระคุณให้เกิดประเสริฐสรรพ์
สงเคราะห์ด้วยอามิสประสิทธิ์ธรรม์
เป็นสองทางด้วยกันหมั่นตรึกตรอง
ด้วยอามิสคือให้ปันทรัพย์สิน
ให้อาหารการกินสรรพสิ่งของ
ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลให้เงินทอง
ช่วยให้ครองความสุขพ้นทุกข์ภัย
ช่วยสงเคราะห์ด้วยธรรมตามโอกาส
ให้โอวาทอบรมบ่มนิสัย
ให้ประพฤติยึดธรรมตามวินัย
บอกทางสวรรค์สรรให้เมื่อใกล้มรณ์ |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2005, 1:30 am |
  |
18. อนวชฺช กมฺมานิ
(กรรมที่ไม่มีโทษ)
การกระทำกรรมดีไม่มีโทษ
อย่าใจโฉดชั่วช้ารักษาคำสอน
ตามพุทธพจน์บทศีลพึงสังวรณ์
จงอาทรเบญจศีลให้ภิญโญ
เว้นฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ผิดในกาม
เว้นพูดพล่ามโป้ปดบทโยโส
เว้นดื่มเหล้าเมายาวางท่าโต
เกิดโมโหหุนหันฆ่าฟันกัน
จงประพฤติเบญจธรรมอันล้ำเลิศ
เมตตาเถิดสรรพสัตว์โลกสร้างสรรค์
มีสัมมาอาชีวะทั่วหน้ากัน
มีสทารสันโดษครองคู่ของตน
พึงมีสัจมีสติดำริชอบ
พึงรอบคอบคิดสร้างทางกุศล
เพื่อช่วยเหลือเกื้อมิตรอุทิศตน
ให้ผ่านพ้นที่ขุ่นข้องและผองภัย
อีกโสดหนึ่งพึงสร้างสาธารณะ
เช่นขุดสระสร้างศาลาที่อาศัย
ให้เกิดประโยชน์โปรดมนุษย์โดยทั่วไป
ก็จักได้ดลสุขไปทุกกาล
ข้อสุดท้ายรักษาอุโบสถ
ตามกำหนดแน่วแน่เป็นแก่นสาร
อุทิศตนเพื่อผลพระนิพพาน
แม้ยาวนานก็ต้องหยั่งด้วยตั้งใจ |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ย. 2005, 1:36 am |
  |
19. อารตี วิรตี ปาปา
(งดเว้นจากความชั่ว)
อันความชั่วตัวบาปควรสาปส่ง
อย่าลุ่มหลงเครื่องเศร้าหมองไม่ผ่องใส
หนึ่งฆ่าสัตว์ตัดชีวิตปลิดชีพใคร
สองลักทรัพย์เอาไปเป็นของตน
สามประพฤติผิดกิจกามลามไปทั่ว
สี่พูดปดยุยั่วให้สับสน
ทั้งสี่เรื่องเครื่องเศร้าหมองของทุกคน
อย่าปล่อยตนกล้ำกรายร้ายเหลือดี
พึงงดเว้นเมื่อเหตุประจันหน้า
พึงงดเว้นเมื่อวาจาเป็นสักขี
พึงงดเว้นทุกทิวาและราตรี
ทั้งชาตินี้ชาติหน้าอย่าสร้างกรรม |
|
|
|
   |
 |
|