Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อวิชชา มาจากไหน... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
นิค ออส
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2005, 8:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยได้ฟังกันมาแล้วซ้ำแล้วซ้ำเล่า ว่าที่มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิด จนต้องประสบทุกข์อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากทราบว่าอวิชชามาจากไหน และอวิชชาใครเป็นผู้ผลิต อวิชชากับอาสวะ เป็นอันเดียวกันหรือไม่ แตกต่างกันอย่างไร อวิชชาอยู่ตรงไหนของมนุษย์ เอาออกอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ใครทราบช่วยตอบที ถ้าเป็นเรื่องอจินตัยทำไมต้องเอามาสอนเนื่องจากมนุษย์ไม่ควรคิด



 
.... ...
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2005, 10:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คิดที่จะกิน อย่ากังวลเรื่องบาป....

คิดจะปฎิบัติธรรม อย่ากังวลเรื่องภาษา....

รู้เพื่อหาถูกผิด รู้เพื่อนำไปปฎิบัติ ย่อมไม่เหมือนกัน...

รู้จากการศึกษาจากภายนอก รู้จากการปฎิบัติจากภายใน ย่อมไม่เหมือนกัน...
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2005, 10:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณนิค ออส



อวิชชา ก็มาจากกิเลสตัวที่ละเอียดที่สุดที่อยู่ในจิตมนุษย์ มาจากความไม่รู้ความจริง ความโง่ ความมืดมัวของจิต ที่ไม่รู้ ใน อริยสัจ 4 คือ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ และ ไม่รู้วิธีปฏิบัติ เพื่อดับทุกข์ ผู้ผลิตก็คือตัวกู ผู้มีความหลง ความโลภ ความโกรธ ความไม่รู้เท่าทันธรรมชาติทั้งปวงตามที่เป็นจริง



บางทีก็เรียก อาสวะ บางทีก็เรียก อนุสัย เพราะเป็นตัวกิเลสประกอบทางจิตที่หมักหมมทับถมอยู่ ที่เกาะจับอยู่กับจิตใจ ตัวสุดท้ายก็คืออวิชชา จะเอาออกได้ก็ต้องปฏิบัติพัฒนากายและจิตวิญญาณให้สะอาดบริสุทธิ์ มีพลังเพื่อจะนำไปพิจารณาให้เกิดปัญญา จนเห็นแจ้งชัดใน อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขัง ความทุกข์ อนัตตา ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง เห็นชัดใน อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค



ถามว่าลักษณะเป็นอย่างไร ลักษณะก็จะแสดงออกมาให้เห็นด้วยพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจที่เป็นอันตรายต่อตนเอง และสังคม ผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงสภาวะธรรมนั้นๆย่อมไม่กล่าวว่าเป็นเรื่องอจินตัยอีกต่อไป เว้นแต่อธิบายสภาวะธรรมที่ตนเองยังไม่สามารถเจริญไปถึงได้เท่านั้นเอง



เจริญในธรรม



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ลุงสุชาติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 3:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อวิชชาเกิดขึ้นเมื่ออุปกิเลสตัณหาได้แ ราคะ โทสะ โมหะ ทิฐิ มานะ และความทะเยอทะยานอยากที่อยากจะมี จะได้ จะใช้ จะเป็น ที่เข้ามาครอบงำจิตใจ ประกอบกับเจตสิกซึ่งคอยกระตุ้นจิตให้เจตนาที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ที่เรียกว่า "อภิสังขาร" เพื่อสนองกิเลสตัณหาที่กำลังครอบงำจิตอยู่ จิต เจตสิกที่ถูกครอบงำด้วยกิเลสตัณหาจึงสิ่งที่ปิดบังจิตและเจตสิกมิให้เกิดปัญญารู้ว่า สิ่งใดผิด สิ่งใดถูก จึงได้อาศัยสฬายาตนะที่อาศัยนามรูป และผัสสะ ติดต่อกับอายาตนะภายนอก เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาคือ อิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ และอุเบกขารมณ์ ซึ่งทำให้เกิดกิเลสตัณหาเข้ามาอาศัยในขันธ์ ๕ เป็นอุปทานขันธ์ถูกยึดติดอยู่ในสังสารวัฏ ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกฏธรรมชาติ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้เกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ ต้องเวียนว่ายตาบเกิดในสังสารวัฏไม่มีที่สิ้นสุด

หากต้องการจะให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏได้อย่างเด็ดขาด จะต้องเจริญในอรัยสัจจ์ ๔ ขันธ์ ๕ ที่ไม่มีกิเลสตัณหาอาศัยอยู่ ขันธ์ ๕ จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏเป็นอิสระ เข้าสู่พระนิพพานได้อย่างแน่นอน

 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 3:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทุกคำถามมีคำตอบ มิฉะนั้น พระพุทธเจ้า จะไม่ได้ชื่อว่า สัพพัญญู รู้ทุกสรรพสิ่ง แต่คำตอบนั้น จะต้องได้มาจากจังหวะเวลาที่เหมาะสม ยกตัวอย่าง

ชายผู้หนึ่ง ยืนอยู่ดีๆ ถูกธนู ยิงมาใส่ สิ่งที่เขาต้องทำก่อน คือ ต้องดึงธนูออก และรักษาตัวก่อน แล้วถ้าอยากรู้ จึงค่อยไปหาว่า ใครยิงธนู ยิงมาทำไม

คนเราถูกอวิชชาเข้าครอบงำ เกิดความไม่รู้ขึ้น ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด สิ่งที่เขาต้องทำก่อน คือ ปฏิบัติธรรม ให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดก่อน แล้วก็จะรู้สิ่งที่สงสัยได้ด้วยตนเองในภายหลัง ดังพุทธภาษิตว่า "เมื่อใดก็ตามที่ธรรมะปรากฏขึ้นในใจของพราหมณ์ผู้มีความเพียรอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงจะมลายหายสิ้นไปจากใจของพราหมณ์ผู้นั้น"



อวิชชา เป็นพี่ใหญ่ของอาสวะ อาสวะ หรือ กิเลส แบ่งใหญ่ได้ 3 อย่างคือ โลภ โกรธ หลง ซึ่งมี หลง เป็นหัวหน้าใหญ่สุด และเมื่อนำ หลง มาแตกรายละเอียด อวิชชา คือ พี่ใหญ่สุดของ หลง ครับ



อวิชชา อยู่ในใจมนุษย์ เอาออกด้วยการปฏิบัติธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งก็คือ มรรคมีองค์ 8 ย่อเหลือ 3 นั่นเอง



ลักษณะของอวิชชา ก็คล้ายๆ กับความมืด ไงล่ะครับ เมื่อใจมืด ก็มองไม่เห็นหนทางในจะเดินไป จึงเดินไปผิดทาง ห่างไกลทางแห่งความเจริญ ฯลฯ











 
มนต์_เป่า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2005, 7:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเห็นนี้ ขอให้ทุกท่านคิดว่า เป็นเพียงที่คั่นหนังสือ ก็ละกัน นะครับ





แดดส่อง บัวบาน ลมพัด ธงปลิว





ชายสองคน เก๋อ กับ เก้อง กำลังเถียงกันใหญ่เรื่องลมพัดธงปลิว





เก๋อ : ธงนั้นปลิว เพราะลมเคลื่อนไปมา



เก้อง : ไม่ใช่หร็อก ธงต่างหากล่ะ ที่เคลื่อนไหว ขยับไปขยับมา



บังเอิญขณะนั้น อาจารย์เซน เดินผ่านมา และได้ยินสองคนนั้นกำลังโต้แย้งเถียงกันเรื่องเหตุแห่งธงปลิวอยู่นั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวขึ้น ว่า



อาจารย์เซน : ไมใช่ธงเคลื่อนหรือลมเคลื่อนทั้งนั้นแหละ



อาจารย์เซน : จิตของเธอทั้งสองต่างหากที่กำลังเคลื่อน



เก๋อ : พนมมือ สาธุ สาธุ สาธุ



เก้อง : สาธุ พร้อมกันกับเก๋อ.....สว่างพรึ่บด้วยปัญญาธรรมะกันไปทั้งสองคน





นี่ถ้าอาจารย์ไม่เดินผ่านมาได้ยินเข้า สองคนนี้คงเถึยงกันถึงขั้นลงมือลงไม้ ได้สำลีแปะหัวกันไปข้างหนึ่งแน่ๆ
 
แสงธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2005, 7:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อวิชชา ความไม่รู้จริง,

ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือความไม่รู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง

(ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์),

อวิชชา ๘ คือ อวิชชา ๔ นั้น และเพิ่ม

๕. ไม่รู้อดีต ๖. ไม่รู้อนาคต ๗. ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท;

(ข้อ ๑๐ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๗ ในอนุสัย ๗)



อาสวะ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ

มี ๓ อย่าง คือ

๑. กามาสวะ อาสวะคือกาม

๒. ภวาสวะ อาสวะคือภพ

๓. อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา;

อีกหมวดหนึ่งมี ๔ คือ

๑. กามาสวะ

๒. ภวาสวะ

๓. ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ

๔. อวิชชาสวะ;

ในทางพระวินัยและความหมายสามัญ หมายถึง เมรัย

เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้, ผลาสโว น้ำดองผลไม้









พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง