Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ไม่หลงกล... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2005, 3:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รินใจ

Kids & Family ธันวาคม ๒๕๔๗



ปรีชาเจอสมชายในงานเลี้ยงรุ่น

เลยทักเพื่อนเก่าว่ายังทำโดนัทขายอยู่หรือเปล่า

"ยังทำอยู่ แต่เห็นจะต้องเลิกเร็ว ๆ นี้" สมชายพูดเนือย ๆ

ปรีชาถามเหตุผล สมชายจึงตอบว่า



"ทำยังไงก็ไม่มีกำไรน่ะซี

ถ้าหากฉันทำให้รูมันโต ลองคิดดูสิว่าฉันจะต้องใช้แป้งมากแค่ไหน

ถึงจะล้อมxxxรูนั้นให้รอบ"



"ไม่เห็นยากเลย แกก็ทำให้รูมันเล็กลงสิ" ปรีชาแนะ



"ทีแรกฉันก็คิดอย่างนั้น แต่พอฉันทำให้รูมันเล็กลง

ก็ต้องเพิ่มแป้งให้มากขึ้นเพื่อไปแทนส่วนที่เป็นรู

แล้วฉันจะมีกำไรได้อย่างไร " สมชายตอบ



สมชายพูดมีเหตุผล แต่เป็นเหตุผลที่ชวนให้งงงวย

เพราะในความเป็นจริงถ้ารูโตใช้แป้งเยอะ

รูเล็กก็ต้องใช้แป้งน้อยลงเนื่องจากมีขนาดเล็กลง

ปัญหาของสมชายก็คือเขาไม่ได้นึกถึงการทำให้โดนัทมีขนาดเล็กลง

เมื่อในใจของเขายังติดยึดอยู่กับขนาดเดิมของโดนัท

จึงคิดว่าถ้ารูเล็กลงก็ต้องใช้แป้งมากขึ้น



เหตุผลนั้นมีประโยชน์ แต่ถ้าใช้ไม่เป็นก็อาจทำให้เจ้าตัวคิดผิดพลาด

หรือมองคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

ความเป็นจริงนั้นมีเพียงหนึ่ง

แต่เหตุผลนั้นมีหลากหลาย บางเหตุผลก็มีข้อจำกัดที่ทำให้มองไม่เห็นความจริง



ขณะที่ศาสตราจารย์กับนักศึกษาเดินคุยกันอยู่ที่สวนสาธารณะ

นักศึกษาก็ชี้ให้ศาสตราจารย์ดูธนบัตร๑,๐๐๐ บาทที่ตกอยู่บนพื้นหญ้า

แต่ศาสตราจารย์ไม่เชื่อว่าเป็นธนบัตร ๑,๐๐๐ บาท

เหตุผลก็คือ "ถ้าเป็นแบ๊งค์พันก็ต้องมีคนเก็บไปแล้ว

ที่มันยังอยู่ตรงนั้นก็เพราะว่ามันเป็นแบ๊งค์ปลอม"



เหตุผลของศาสตราจารย์ดูน่าฟัง

แต่คุณคิดว่า ใครน่าเชื่อมากกว่ากัน ศาสตราจารย์หรือนักศึกษา ?



บางครั้งเพียงแค่สามัญสำนึกก็ทำให้เราเห็นความจริงได้

ขณะที่เหตุผลอาจทำให้เราห่างไกลจากความเป็นจริง

ดังกรณีข้างต้น ใครที่เห็นธนบัตร ๑,๐๐๐ บาทตกอยู่บนพื้นก็ต้องเก็บทั้งนั้น

แต่ที่มันยังอยู่ตรงนั้นเพราะไม่มีคนเห็นต่างหาก

เรื่องแบบนี้เด็ก ๆ ก็รู้ได้จากประสบการณ์และสามัญสำนึก



เนื่องจากเหตุผลและการคิดของเรามีข้อจำกัด

เราจึงไม่ควรติดยึดกับเหตุผลหรือข้อสรุปของเรามากเกินไป

มิเช่นนั้นเหตุผลจะกลายมาเป็นนายเรา

มันไม่เพียงครอบเราไม่ให้เห็นความจริงซึ่งปรากฏอยู่ซึ่ง ๆ หน้าเท่านั้น

หากยังสามารถทำให้เรากลายเป็นคนเห็นแก่ตัว

ดังที่คนจำนวนไม่น้อยมีเหตุผลสารพัดในการคอร์รัปชั่นหรือทุจริต

เช่น "ถึงฉันไม่ทำคนอื่นก็ทำ"

หาไม่ก็อ้างความยากจน ที่อ้างว่าตัวเองเสียสละมามากแล้ว

เพราะฉะนั้นขอเม้มเข้าตัวบ้าง ก็มีอยู่บ่อย ๆ



กิเลสนั้นก็รู้จักหาเหตุผลเพื่อประโยชน์ของมันเอง

เหตุผลที่ใช้ก็ดูดีทั้งนั้น บางทีก็เถียงยาก

ชายผู้หนึ่งชอบโหนตัวอยู่บนบันไดรถเมล์

ไม่ยอมเข้าไปข้างในรถ ทั้ง ๆ ที่มีที่ว่างมากมาย

กระเป๋ารถเมล์จึงขอร้องว่า

"พี่ ๆ ช่วยเข้ามาข้างในหน่อย อย่าโหนอย่างนั้น เดี๋ยวจะตกลงไป"

"เรื่องของกู"

"ไม่ใช่อะไร ถ้าพี่เกิดพลัดตกลงไป ตำรวจจะเล่นงานผม"

"เรื่องของxxx"

ยิ่งเรียนสูงหรือคิดเก่ง กิเลสก็ยิ่งเก่งในการหาเหตุผล

มาสนับสนุนการกระทำของมัน

มันมีเหตุผลร้อยแปดที่จะโมโหเคียดแค้นเวลาไม่ได้ดังใจ

หรือเศร้าโศกเสียใจเมื่อประสบกับความพลัดพรากสูญเสีย

ซึ่งก็เท่ากับซ้ำเติมให้เราเป็นทุกข์มากขึ้น

ดังนั้นถ้าไม่อยากให้กิเลสมาเป็นนายเรา

จนพาเราจมปลักแห่งความทุกข์

ก็ต้องรู้เท่าทันเหตุผลที่มันเอามาใช้

ไม่เชื่อเหตุผลหรือหลงกลมันง่าย ๆ



ขณะเดียวกันถ้าอยากให้ชีวิตมีความสุข

ก็ต้องรู้จักใช้เหตุผลมาส่งเสริมคุณภาพจิตที่ดีงาม

เช่น นึกถึงผลดีของการให้อภัยและการมีเมตตาจิต

เวลาประสบกับความล้มเหลวก็มองหาสาเหตุ

แห่งความผิดพลาดมากกว่าที่จะหาเรื่องแก้ตัวหรือโทษคนอื่น



เหตุผลถ้ารู้จักใช้ ก็สามารถช่วยให้เราปล่อยวาง

หรือยอมรับความจริงได้มากขึ้น



เด็กน้อยเห็นแม่ป่วย จึงช่วยแม่หุงข้าว

แต่ข้าวกลับแฉะ รู้สึกเสียใจ แม่จึงบอกว่า

"อย่าเสียใจเลยลูก หุงข้าวด้วยน้ำ มันก็ต้องมีแฉะบ้างเป็นธรรมดา"

วันต่อมาเด็กน้อยหุงข้าวให้แม่อีก แต่คราวนี้ข้าวไหม้

จึงโมโหตัวเอง แม่ก็บอกว่า

"อย่าโมโหเลยลูก หุงข้าวด้วยไฟ มันก็ต้องมีไหม้บ้างเป็นธรรมดา"

ข้าวจะแฉะหรือไหม้ ก็เป็นเรื่องธรรมดา

เช่นเดียวกับได้หรือเสีย แพ้หรือชนะ สรรเสริญหรือนินทา สำเร็จหรือล้มเหลว

ถ้ามองเห็นเช่นนี้ได้ ชีวิตจะปล่อยวางได้มากขึ้น และเป็นทุกข์น้อยลง


http://budpage.com/ba160.shtml



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง