ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 ส.ค. 2005, 10:38 am |
  |
ธรรมะสายกลาง หรือธรรมที่เป็นกลางสำหรับผู้ฝึกตนหรือปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นนั้น ก็คือข้อธรรม ที่ไม่เอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น การคิด ก็จะเป็นเพียงหัวข้อหลักการที่เป็นกลางไม่กล่าวว่าต้องคิดดี หรือคิดไม่ดี เพราะตามหลักธรรมชาติแล้ว สรรพสิ่งย่อมต้องมีการคิดและการคิดนั้นก็ย่อมมีทั้งดีและไม่ดี ซึ่งสรรพสิ่งย่อมมี การเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดา สรรพสิ่งย่อมมีโลภะคือความโลภเป็นธรรมดา สรรพสิ่งย่อมมีโทสะคือความโกรธเป็นธรรมดา สรรพสิ่งย่อมมีโมหะคือคามหลงเป็นธรรมดา ดังนั้น ความคิดซึ่งเป็นหลักการหรือธรรมะจึงเป็นกลางเพียงบอกว่า ความคิดเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง และทำให้เกิดพฤติกรรมหรือการกระทำต่างๆได้ ไม่เจาะจงว่าทางที่ดีคือธรรมะ ทางที่ไม่ดีไม่ใช่ธรรมะ อย่างนี้เป็นต้น อนึ่งท่านทั้งหลายพึงระลึกไว้อย่างหนึ่งว่า ศาสนาไม่ใช่ลัทธิความเชื่อ แต่ศาสนาเป็นหลักความจริงตามธรรมชาติ “ลัทธิความเชื่อนั้น มักจะเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง ตามความเข้าใจแห่งผู้ก่อตั้งลัทธินั้นๆ” แต่ศาสนาคือหลักความจริง ที่มีจริง เป็นจริง ไม่เอนเอียงไปทางหนึ่งทางใดอย่างเด็ดขาด หากจะกล่าวอย่างให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ก็หมายความว่า ธรรมะเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ไม่ใช่เข้าข้างหรือลำเอียงไปในทางที่ตนเองชอบหรือสังคมชอบ แต่ธรรมะจะชี้ให้เห็นถึงหลักความจริงว่า สรรพสิ่งย่อมเป็นอย่างนั้น ต้องมีอย่างนั้น ผู้ที่จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวงได้ ต้องปฏิบัติตามข้อธรรม ต้องมีความเข้าใจในธรรมะว่าประพฤติปฏิบัติเยี่ยงไร จึงทำให้เกิดความสุขหรือหลุดพ้นจากอาสวะ ปฏิบัติเยี่ยงไรจึงเป็นทุกข์ ซึ่งตัวอย่างย่อมมีให้เห็นได้ประสบด้วยตัวเองในสังคมอยู่แล้ว จากการที่ผู้เขียนได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พบว่าการที่จะทำความเข้าใจในหัวข้อธรรมเหล่านั้นจะต้องเตือนตนอยู่เสมอว่า บางคนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สภาพจิตใจ และความคิดอ่านล้วนย่อมดีตามไปด้วยไม่มากก็น้อย บางคนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยดีสภาพจิตใจและความคิดย่อมไม่ค่อยดีไม่มากก็น้อยคำว่าสภาพแวดล้อมในที่นี้ จะรวมถึงสภาพจิตใจของผู้อยู่ใกล้ชิดตั้งแต่แบเบาะเป็นต้นมา ซึ่งเหล่านี้เป็นหลักความจริง ที่ทุกคนทุกท่านย่อมเป็นอย่างนั้น และที่กล่าวไปคือ ธรรมะที่เป็นกลาง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ธรรมะที่เป็นกลาง หมายถึง การเข้าใจในธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง นับตั้งแต่ตัวเราเป็นต้นไปเป็นอันดับแรก จนไปถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลจากตัวเราก็ตาม
ธรรมหรือธรรมะ ที่เป็นสายกลางนี้ ล้วนย่อมมีอยู่แล้ว ในตัวของมนุษย์ อันเป็นไปโดยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากรู้จักและเข้าใจธรรมที่อยู่ในตัวเรา ศาสนาย่อมเจริญก้าวหน้า ย่อมมีความสงบสันติสุขเพิ่มขึ้น และธรรมที่มีอยู่แล้วในตัวเราก็มิได้เป็นอุปสรรคในการทำงาน หรือเป็นอุปสรรคต่ออาชีพใดใดเลย แต่กลับจะเป็นการเสริมสร้างและสนับสนุน ให้การทำงานและอาชีพนั้นๆ เจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงยิ่งยิ่งขึ้นไป
ธรรมะเปรียบเป็นยาขนานหนึ่ง สามารถใช้ในการรักษา ความคิด จิตใจและร่างกายได้ สามารถป้องกันเชื้อโรค คือ กิเลสต่างๆได้ ดังนั้น ยาขนานนี้ หรือธรรมะนี้ ก็ย่อมมีหลักการในการใช้เหมือนกับการใช้ยาชนิดต่างๆ เช่นกัน ดังจะได้อธิบายดังต่อไปนี้
1) จะต้องใช้ยาให้ถูกต้องตามประเภทและชนิดของยา ธรรมะก็เป็นเหมือนยาโดยทั่วๆไป มีหลายชนิด หลายอย่างหลายประเภท เช่น ศีล ( ซึ่งมีอยู่ในทางศาสนาพุทธฯ,ฮินดู,คริสต์,อิสลาม ) เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ หรือละเว้นไม่ให้กระทำ หรือเป็นเรื่องสมควรกระทำ ก็จะแบ่งเป็นควรละเว้นเรื่องอะไร เป็นเรื่องๆไป เช่นเราไปแนะนำ คนที่เขามีอาชีพจับปลา หรือเลี้ยงปลา หรือเชือดคอไก่ขายว่าอย่าฆ่าสัตว์นะ มันเป็นการผิดศีล อย่างนี่เป็นการใช้ยาผิดประเภทหรือใช้ธรรมะผิดประเภท เพราะว่าเขาต้องดำรงชีพด้วยการประกอบอาชีพเยี่ยงนั้น เขาจำเป็นต้องทำ ขืนไปแนะนำ หรือสอนเขา ดังที่กล่าวไป ดีไม่ดีอาจจะถูกเขาเห็นว่าเราเป็นไก่เป็นปลาไปก็ได้ แต่ถ้าหากเราใช้ธรรมะหรือยาให้ถูกประเภทและชนิดของธรรมะ เช่นแนะนำเขาว่า ต้องไปทำบุญทำทาน ถือศีลบ้าง แล้วที่เราจำเป็นที่ต้องทำผิดศีลผิดธรรมะไปนั้นก็จะเบาบางลง หรือหมดไป อย่างนี้เป็นต้น ที่ได้ยกตัวอย่างให้เห็นข้างต้นนี้ อาจจะมีหลายข้อประกอบกัน แต่ยกให้เห็นเป็นเรื่องของการใช้ผิดประเภทและชนิดของยา หรือใช้ธรรมะหรือข้อศีลสอนไม่ถูกกาลเทศะ
2) ต้องใช้ยาให้เป็นไปตามวิธีใช้ การจะใช้ธรรมะในการเสริมสร้างการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน หรือเพื่อขจัดความทุกข์ การใช้ธรรมะก็เหมือนกับการใช้เครื่องมือชนิดต่างๆในการทำงานทั่วไป ซึ่งผู้ใช้ก็ต้องรู้จักวิธีใช้เครื่องมือนั้น และหากจะให้เกิดความชำนาญ ก็ต้องใช้บ่อยๆจึงจะเกิดความชำนาญในการใช้ ธรรมะแต่ละข้อก็มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันไป เช่น ความปรารถนาให้ได้ดีพบสุข ก็ต้องใช้เพื่อให้ชีวิตและจิตใจเบิกบานแจ่มใส กรุณา ปรารถนาให้พ้นทุกข์ ก็เพื่อให้ความทุกข์ บรรเทาเบาบางลงไป มุทิตา ความพลอยมีความยินดี ก็เพื่อมิให้จิตใจเศร้าหมองด้วยเกิดกิเลสเมื่อได้สัมผัสหรือพบเห็นความสำเร็จของผู้อื่น อุเบกขา คือความวางเฉย เมื่อได้สัมผัสหรือกระทบ หรือไม่สามารถช่วยเหลือได้ หรือสัมผัสกับสิ่งที่เราอยากได้แต่ไม่สามารถหามาได้ ฯ ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปต้องใช้ตามวิธีใช้ เพราะถ้าหากอยากให้ได้ดีพบสุข แต่วางเฉย หรือมีความพลอยมีความยินดี เขาอาจจะว่าเราบ้าก็เป็นได้ ถึงแม้ว่าตามที่ยกตัวอย่างไป ในความเป็นจริงอาจจะสัมพันธ์กันในบางข้อ แต่ในที่นี้ยกตัวอย่างให้เห็นว่า หากไม่ใช้ตามวิธีใช้ ก็ไม่เกิดประโยชน์และอาจจะเกิดโทษก็ได้
3) ต้องใช้ยาตามขนาดที่กำหนดไว้ คำว่าใช้ยาตามขนาดที่กำหนดไว้ หากว่าเป็นตัวยาโดยทั่วไป ก็คงจะอธิบายได้อย่างง่ายดาย และเป็นที่เข้าใจง่าย แต่ว่าหากเป็นธรรมะย่อมไม่สามารถกำหนดไว้อย่างตายตัว หรือจะกล่าวว่า การใช้ธรรมะตามขนาดที่กำหนดไว้นั้น เป็นเรื่องซับซ้อนมากพอสมควรเพราะขนาดของธรรมะที่ต้องใช้ อาจจะใช้ธรรมะเพียงเล็กน้อย แต่ใช้เวลานาน จึงจะได้ผล, บางทีต้องใช้ข้อธรรมะมาก แต่ใช้เวลาน้อย จึงจะได้ผล, บางครั้งอาจต้องใช้ธรรมะมาก และต้องใช้เวลามากจึงได้ผล หรืออาจจะใช้ธรรมะเพียงเล็กน้อย และใช้ระยะเวลาเพียงเล็กน้อย ก็ได้ผล, แล้วแต่ว่า โรคหรือความทุกข์หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลงที่มีอยู่ในจิตใจ จะมีมากมีน้อย ซึ่งการวินิจฉัยโรคนั้น ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล แต่ก็มีวิธีที่สามารถกำหนดขนาดของธรรมะที่จะใช้ได้ คือ การปฏิบัติ โดยการทำสมาธิ ซึ่งเป็นขั้นพื้นฐาน ขนาดของธรรมะจะไม่มีการกำหนดไว้ตายตัว ดังจะได้กล่าวใน หัวข้อเรื่องการปฏิบัติธรรม ส่วนเวลาในการใช้ ก็จะต้องใช้ไปตลอด เพียงครั้งละนิดแต่ทำไปเรื่อยๆ และสำหรับคำว่าระยะเวลาในการใช้นั้นก็จะแตกต่างกับการใช้ยาตามเวลา สำหรับการทำสมาธินั้น เป็นการฝึกฝนให้ตัวเรารู้จักควบคุมสมองควบคุมความคิด ควบคุมอารมณ์ความอยากได้ อยากมี ฯลฯ การฝึกสมาธิ เป็นการใส่ข้อมูลให้กับสมองและระบบประสาทสัมผัส จึงมีความจำเป็นและสำคัญในการปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติสมาธิจัดอยู่ในข้อธรรม พรหมวิหารสี่ และโดยอนุโลมจัดอยู่ในข้อธรรม “อิทธิบาท 4” หากเราปฏิบัติสมาธิบ่อยๆธรรมะพรหมวิหารสี่ และ อิทธิบาท 4 ก็จะเกิดขึ้นในตัวเราโดยอัตโนมัติ
4) ต้องใช้ยาให้ถูกกับคน การใช้ยาหรือธรรมะให้ถูกกับคน ต่างกับการใช้ยาตามประเภทนิดหนึ่ง คือ คนบางคนนั้นเป็นบุคคลที่สอนยาก ก็ต้องใช้ธรรมะในระดับที่เข้าใจง่าย และอาจจะต้องบ่อยๆ ต้องชัดเจนเจาะจง อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งบุคคลทางพุทธศาสนา จะแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นๆของเรื่องนี้ ดังนั้นหากเราใช้ธรรมะไม่ถูกกับคน อาจจะไม่เกิดประโยชน์ต่อตัวเขา บางทีผู้ฟังหรือผู้รับ อาจจะคิดว่าเราพูดเพ้อเจ้อก็เป็นได้ ส่วนการใช้ยาหรือธรรมะตามประเภทนั้น ก็เป็นเช่นที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว
5) ต้องใช้ยาตามเวลา การใช้ยาตามเวลา หรือการใช้ธรรมะตามเวลา
จะมีความใกล้เคียงกันมากที่สุด เช่น ยาโดยทั่วไปจะต้องให้ผู้ป่วยรับประทาน ตามเวลาที่กำหนดเช่น ก่อนอาหาร 3 เวลา หรือหลังอาหาร 3 เวลา เป็นต้น ธรรมะเช่นกันก็ต้องใช้ตามเวลา ใช้บ่อยๆ หรือใช้เมื่อเกิดอาการของกิเลส การใช้ธรรมะตามเวลา เช่น คิดพิจารณา หรือทำสมาธิ วันละ 3 เวลา ครั้งละ 5 นาที หรือ ก่อนนอนใช้เวลามากหน่อย ก็จะทำให้จิตใจผ่องใส สามารถควบคุมความคิด มิให้เกิดความเศร้าหมองจากกิเลส หรือช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ สรุปว่าการใช้ธรรมะตามเวลา กับการใช้ยาโดยทั่วไปตามเวลาจะมีส่วนที่คล้ายคลึงกันข้อนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก เพราะขึ้นอยู่กับการรู้จักแบ่งเวลาของเรา บางคนอาจจะเก็บข้อมูลความจำตลอดทั้งวันแล้วนั่งคิดพิจารณาว่าถูกหรือผิด เพื่อได้แก้ไขในวันต่อไป บางคนอาจคิดในทันทีก่อนที่จะกระทำ หรือหลังจากกระทำลงไปแล้ว ซึ่งตามธรรมชาติแห่งการทำงานของมนุษย์ส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ธรรมะมีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว หากรู้จักนำออกมาใช้ให้ถูกต้องตามเวลาย่อมทำให้เกิดผลดี ซึ่งตามธรรมชาติแห่งมนุษย์และสรรพสิ่งย่อมใช้ธรรมะที่มีอยู่ในตัวเองอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่หากใช้ธรรมะที่มีอยู่ให้ถูกต้องตามเวลาคือใช้ให้ถูกต้องกับการสัมผัสย่อมได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป
ตามที่ได้กล่าวไปทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแยกหัวข้อไว้ให้เห็นชัดเจนเท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติที่เป็นจริง จะต้องใช้ร่วมกันหรือพร้อมๆกัน เพราะบุคคลต่างๆต้องปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทุกข้อต้องใช้ร่วมกัน คือ ต้องใช้ธรรมะให้ถูกประเภท ถูกกับคน ตามขนาดที่กำหนดไว้ ให้ถูกต้องตามวิธีใช้ และใช้ธรรมะตามเวลา ซึ่งที่ได้กล่าวไปนี้เป็นการเปรียบเทียบการใช้ธรรมะกับการใช้ยาซึ่งมีการใช้ที่ใกล้เคียงกัน จึงได้นำมาเขียนไว้เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษา
อีกทั้งหลักการใช้ ทั้ง 5 ข้อ ที่ผู้เขียนได้ศึกษา ค้นคว้า และวิจัย นำมาจาก “หนังสือ คู่มือ การใช้ยาสำหรับพยาบาล” ภาควิชาพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2538 อนึ่งสำหรับการวินิจฉัยว่าบุคคลใด ควรใช้ยาอย่างไร หรือว่าเป็นทุกข์ด้วยเหตุใด ก็คล้ายกับการไปหาแพทย์เพื่อรักษาป่วยคือ ผู้ป่วยต้องแจ้งอาการต่างๆให้แพทย์ฟังเพื่อวินิจฉัย คือผู้มีความทุกข์ หรือมีปัญหา ก็ต้องเล่าเรื่องราวต่างๆของตัวเองให้ผู้รู้ทางด้านธรรมะฟัง หรือผู้มีปัญหา อาจจะรู้ได้ด้วยตัวเองและใช้ยาด้วยตัวเอง คือ ปฏิบัติสมาธิ เป็นชั้นแรก และนี้เป็นขนาดของธรรมะที่เป็นมาตรฐานสำหรับทุกคน เพราะการปฏิบัติสมาธิถ้าหากเป็นยาทั่วๆไป ก็เรียกว่า เป็นยาที่ครอบคลุมทุกโรค คือรักษาความทุกข์ รักษากิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้ทุกอย่าง ซึ่งอาจจะหายขาด หรือ ทุเลาเบาบางลงก็ได้ และขนาดการใช้ก็แล้วแต่ผู้ปฏิบัติจะสามารถปฏิบัติได้ หรือควรพยายามทำสมาธิให้ได้อย่างน้อย หนึ่งชั่วโมง โดยเริ่มจาก 5 นาทีก่อน แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำสมาธิให้มากกว่าหนึ่งชั่วโมงได้ก็ยิ่งดี เพราะการทำสมาธิจะช่วยระงับอาการต่างๆได้ ทีละน้อย ทีละน้อย (หมายถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ) ดังนี้เป็นต้น อนึ่งการทำสมาธินั้น เป็นการปฏิบัติธรรมในข้อพรหมวิหารสี่ และโดยอนุโลมจัดอยู่ในธรรมะข้อ “อิทธิบาทสี่” ดังได้กล่าวไปแล้วในข้อ 3
มาถึงบทสรุปท้ายเรื่องนี้ ท่านทั้งหลายควรได้อ่านซ้ำในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง เพราะหากไม่ใช่เรื่องสำคัญแล้ว ผู้เขียนคงไม่นำมาเขียนไว้ให้ท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษา เหตุที่นำเอาหลักการใช้ยาของพยาบาลมาเขียนไว้ก็เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า การทำงานทุกชนิด หรือหลักวิชาการทุกชนิด ย่อมมีหลักการที่เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน นับตั้งแต่ภายในสรีระร่างกายของเราเป็นต้นไป หลักการเหล่านั้นจะนำไปใช้แทนกันได้ หากรู้หลักการหนึ่ง ก็ย่อมสามารถรู้และทำงานหรือปฏิบัติตามหลักการอันนั้นในงานอื่นๆได้เช่นกัน หลักการใช้ยาของพยาบาลนับได้ว่าสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เพียงแต่เปลี่ยนจากตัวยา เป็นอะไรก็แล้วแต่ เช่นหากเป็นช่างเครื่องยนต์ ก็ต้องใช้เครื่องมือให้ถูกต้อง เป็นพนักงานขับรถ ก็ต้องใช้เกียร์ให้ถูกต้อง หรือจะค้าขายก็สามารถใช้หลักการใช้ยาของพยาบาลไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสบาย ซึ่งก็แล้วแต่ว่าท่านทั้งหลายจะมีสมองสติปัญญาสามารถนำไปใช้ได้หรือไม่คือจะจำหลักการใดหลักการหนึ่งเหล่านั้นได้หรือไม่เท่านั้น หากท่านยังไม่เข้าใจในเรื่องหลักการนี้ ท่านก็ลองเข้าครัวแล้วทำอาหารอะไรสักอย่าง แต่ข้อสำคัญต้องจำหลักการใช้ยาสำหรับพยาบาล หรือ 5 R คือ
Right drug ให้ยาที่ถูกต้องตามชนิดและประเภท
Right dose ให้ยาตามขนาดที่กำหนดไว้ไม่มากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้
Right methord การให้ยาเพื่อการรักษามีหลายวิธีควรทราบว่ายาชนิดใดต้องให้โดยวิธีใดจึงจะถูกต้องเกิดประสิทธิภาพในการรักษาเต็มที่ และเกิดอันตรายน้อยที่สุด
Right time ยาแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์ในสภาวะและในระยะเวลาที่ต่างกันการใช้ยาถูกต้องตามเวลา จะทำให้ระดับยาอยู่ในกระแสเลือดหรือร่างกายผู้ป่วยตามระยะที่ต้องการ
( จากหนังสือ คู่มือ การใช้ยาสำหรับพยาบาล ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ – คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
จากนั้นก็ลงมือทำอาหารแล้วลองนึกถึง หลักการให้ยาสำหรับพยาบาล ว่าใช้กับการทำอาหารได้หรือไม่ แล้วท่านก็จะเกิด ญาณ(ยาน) หรือปรีชาหยั่งรู้ขึ้น ซึ่งในเรื่องของญาณ(ยาน)ผู้เขียนจะได้อธิบายในตอนต่อๆไป
|
|
|
|
|
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
24 ส.ค. 2005, 10:46 am |
  |
|
   |
 |
เที่ยง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 ส.ค. 2005, 1:54 pm |
  |
ยังคิดว่าตนเองเป็นพระศรีอาริย์อยู่หรือเปล่าครับในเวลานี้ |
|
|
|
|
 |
มากวน lกาละแมกันl
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
25 ส.ค. 2005, 7:08 am |
  |
เคยอ่านผ่านตาบอร์ดไรจำไม่ได้แระ ลุงใหญ่ไปสะกิดคนเค้าเรื่อง มาโยนิทธิ อะไรเนี่ยแหละ โดนเค้าด่าซะเละเลย ผมไม่รู้ไรด้วยได้แต่เข้าไปขำ
1 เลือกใช้ยาให้ถูกกับโรค เลือกธรรมะให้ถูกกับกิเลสปัญหาที่กำลังรุกฆาตอยู่ในจิตเจ้าของ "ธรรมะวิจะยะ"
2 เลือกใช้ยาให้ถูกวิธี เปรียบได้กับ ปฏิบัติธรรม ตรงตามอริยมรรควิธี
3ใช้ยาตามขนาด คือ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นพระก็ปฏิบัติข้อธรรมอย่างสมณเพศเดินหน้าเต็มตัว ฟาดฟันกิเลสไม่ต้องปราณีอย่าไว้หน้ามัน อย่าเลี้ยงไข้กิเลส เป็นฆราวาสก็ปฏิบัติระดับฆราวาส เอาให้พออยู่ในสังคมได้โดยไม่ให้สิ่งฟอนเฟะในสังคมมาปนเปื้อนใจเรา แต่ในขณะเดียวกันไม่ทำตัวเป็นจรเข้ขวางคลอง
4 ใช้ยาให้ถูกกับคน เหมือนธรรมะ บางคนเน้นใช้ภาษาผู้ดีในเวปบอร์ดธรรมะ หรืออย่างครูอาจารย์เทศน์ฟังแล้วรื่นหูแต่ไม่เก็ท(พระมหาหลายรูปเขียนบทความธรรมะเลิศสุด เรานึกปลื้มอยู่ในใจ ชอบภาษารื่นสลวยแบบนั้น) ไม่โดนใจ บางครั้งคนส่วนใหญ่ต้องใช้ภาษาแรงๆ เอาให้กระแทกใจ หรือถ้าเป็นวัยรุ่น(กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่เป็นอนาคตของชาติ...อนาคตของชาติไทยจะเป็นอย่างไร ดูได้ที่คนกลุ่มนี้)ก็ต้องใช้วิธีและภาษา
"แนว" จะเข้าใจดี อย่างพระพยอม เทศน์ด้วยภาษาโดนใจวัยรุ่นๆ ๆถูกพระอาจารย์พยอมด่า แล้วสะดุ้งคราวหลังติดใจแห่กันไปให้ด่าถึงวัดสวนแก้ว ผมยังเคยไปเลยอ่ะ ถูกด่าแรงๆแล้วกระเทือนซาง แต่ได้คิดนะ!แต่ขอร้องนะครับ ไม่ต้องเข้ามาด่า "อ้ายฟายไปไถนาซะ ไป็" เพื่อเอาใจกัน คริ คริ
[ขอยก ตย ญาติมักจะหนีโรงเรียนไปเล่นเกมส์ ขาดสอบไม่สน ผมส่งsmsไปด่าสกัด "สมองมิงมีแค่เซลเดียวเหรอ ฟะ อ้ายไฮดร้า" วันนั้นมานเปลี่ยนใจไม่หนี่ รร ทนๆเรียนไป แล้วรอไปเล่นเกมตอน หลัง รร เลิก แล้ว ถ้าวันนั้นไม่โดนด่า ....-อนาคตจู๋ครับ-๐-]
5ใช้ยาตามเวลาให้ครบตามคุณหมอสั่ง หลายคนใช้ยาไม่ต่อเนื่องผิดเวลาผิดวิธี เช่น กินยาขี้เกียจเขย่าขวด กินยาคุมกระโดดเว้นวรรค ท้องอ่ะดิ!....โรคไม่หายก็พาลด่าหมอว่า หมอห่วยรักษาไม่หาย แต่ไม่ยอมโทษตัวเอง....
การปฏิบัติธรรมต้องทำต่อเนื่อง ไม่ใช่ทุกข์ทีทำที ไม่ทุกข์ไม่ทำ อย่างนี้ ต้องวนอยู่ในวัฏะอีกหลายแสนมหากัป เดือดร้อนต้องไปหาตุนเสบียงกันอีก
บทความลุงใหญ่นี้ดีครับ อ่านแล้วโปรดอย่าคิดเป็นลบเลยนะครับ พระนาคเสนท่านมีปัญญาดี ตอนยังไม่บรรลุอรหันต์ท่านก็คิดว่าท่านเป็นพหูสูตร ท่านเทศน์ให้คนฟัง มีคนฉลาดฟังเอาสาระไปชำราะกิเลส บรรลุมรรคผลกันไปหลายท่าน...ส่วนผมเองก็เคยคิดว่า ตัวเองเป็นพระพุทเจ้ากัสปะ พระพุทธเจ้ามหาเธปางกอน กลับชาติมาเกิด! เพื่อนผม
มันบอกว่า อย่าไปบอกใครนะ มานเปนพหูสูตร รู้เหตุการณ์ลึก ตื้น ทุกอย่าง ผมก็ก้ำกึ่ง เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง  |
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
|