Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ตามจิตให้ทันเป็นอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ณฐนนท์ รัตนวิจารณ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2005, 8:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีความสงสัยว่าการตามจิตให้ทันนั้นเป็นอย่างไร สมมุติว่าเรากำลังเกิดความเบื่อหน่ายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หงุดหงิด เรารู้ว่ากำลังหงุดหงิด จะกล่าวได้ไหมคะว่าเรากำลังตามจิตทัน คือรู้ว่าหงุดหงิด เมื่อรู้แล้วจะแก้ให้ผ่อนคลายลงอย่างไร การตามจิตให้ทันนั้นคือการรู้ตัวทุกขณะอย่างนั้นเหระคะ ขอท่านผู้รู้กรุณาอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะ



 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2005, 4:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีคุณณฐนนท์ รัตนวิจารณ์



เราไม่สามารถจะห้ามการได้ยินได้ฟังได้ เราจะฟังแต่เรื่องดี ๆ มันก็เลือกฟังไม่ได้ มันก็ต้องมีเสี่ยงดี เสียงไม่ดี บางทีเราก็หาเรื่องไปฟังเอาด้วย เขาจะพูดอะไรไม่ดี เราก็หาฟัง เช่นเราเกิดความโกรธ ความอาฆาตมาดร้าย มันก็เกิดจากปรุงแต่งในจิตนี่ มันจะปรุงว่าเขาว่าอย่างนั้นเขาไม่ดีอย่างนั้นเขาเป็นอย่างนั้น เขาทำไม่ดีต่อเราอย่างนั้น เขาพูดไม่ดี เขาอะไร มันก็ต้องมีสิ่งปรุงในจิตแล้วมันก็เกิดความโกรธความแค้น ความทุกข์ ความทุกข์ ความทุกข์ทั้งหลายก็เกิดขึ้นมาในจิตใจมาจากปรุงแต่งในจิตทั้งหมด



ที่นี้ถ้าเรารู้ คำว่าเราก็คือสติ สติสัมปชัญญะเข้าไประลึกไปรู้ในจิตที่กำลังปรุงอยู่ ปรุงอยู่หรือว่ามันปรุง มันมีทุกข์เสียแล้ว มันผลิตอยู่ แล้วมันก็ทุกข์อยู่วนเวียนอยู่ในจิตนั่นแน่ะ ก็รู้ไปทั้งการตรึกนึก รู้ไปทั้งความทุกข์ที่มันเกิดขึ้น รู้ทั้งความไม่สบายใจความโกรธความแค้นก็ดีที่มันเกิดขึ้น ก็รู้ไปหมด แล้วมันก็ยังปรุงอยู่นี่ เราก็รู้อีก มันจะพบว่า เมื่อขณะที่สติสัมปชัญญะเข้าไปหยั่งรู้ ไปหยั่งรู้ หยั่งรู้ อาการความทุกข์ความไม่สบายใจความโกรธความแค้นจะคลายตัวลง จะมีอาการจางลงคลายลง ก็รู้ สติสัมปชัญญาะก็ไปรู้อาการที่มันคลายมันจางหรือมันวู้บ......ไป มันหายมันว่างไป ก็รู้อาการนั้นอีก



นี่เรียกว่าเห็นธรรมะ เห็นสัจธรรมของธรรมชาติ มันเกิดมันดับมันแปรมันเปลี่ยน ความปรุงแต่งต่าง ๆ ความไม่ชอบใจความโกรธความแค้นความทุกข์ใจเป็นสภาวธรรมทั้งหมด ศึกษาธรรมะคือศึกษาสิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้นี่คือธรรมะ ธรรมะฝ่ายอกุศลก็เป็นธรรมะ คือธรรมชาติที่มันเกิดมันดับ มันก็ไม่ใช่ตัวตน เราก็เห็นสิ่งเหล่านี้เกิด หมดไปสิ้นไป หาใช่ตัวตนเราเขาไม่ บังคับบัญชาอะไรไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่าได้ปฏิบัติธรรม



ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกินวิสัย เป็นเรื่องอยู่กับตัวกับจิตใจ ทำได้ทุกคน ก็มีจิตมีใจมีกิเลส กิเลสก็ยังเกิดขึ้นได้ สติปัญญาทำไมจะเกิดขึ้นไม่ได้ เราต้องนึกให้กำลังใจกับตัวเราเองอย่างนั้น เมื่อมันมีทุกข์ ทุกข์มันยังมีได้ ความดับทุกข์ทำไมมันจะมีไม่ได้ มันมีหลงมันก็ต้องมีปัญญา หลงยังมีได้ปัญญาทำไมจะมีไม่ได้ ความสบายใจมันมีได้ ความสิ้นความไม่สบายใจมันก็มีได้ เพียงแต่ว่าต้องคลำไป ปฏิบัติธรรมก็คือต้องค่อย ๆ ศึกษาพิจารณาไปให้เข้าถึงให้แยบคายขึ้นตามลำดับ



แนะนำให้ศึกษาได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้นะคะ



http://www.mahaeyong.org/index.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
คนจร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2005, 4:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีใครบ้างที่เวลาหงุดหงิดแล้วไม่รู้ว่าตนเองหงุดหงิด ย่อมรู้กันทุกคนนั่นแหละ แต่อาการที่รู้นั่นอยู่ที่รู้แบบไหนเท่านั้น และเมื่อตามจิตอยู่ก็หมายถึงตามไปข้างหลัง เพราะคำว่าตามนั้นย่อมช้ากว่าจังหวะหนึ่งหรือหลายจังหวะเสมอ ย่อมไม่ทัน และจิตนั้นมีคุณสมบัติอย่างไรเล่า ถ้าจิตยุ่งเหยิงวุ่นวาย เหมือนน้ำขุ่นมัวแล้วจะไปตามหรือมองจิตให้เห็นชัดได้อย่างไร ถ้าจะมองดูจิตว่าเป็นอย่างไรนั้นต้องดูจิตที่แจ่มใส เหมือนมองน้ำใสที่ตกตะกอนเสียก่อน ถ้าทำให้จิตตกตะกอนไม่ได้ก็ป่วยการที่จะพูดเรื่องการดูในจิต
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2005, 5:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คล้ายๆ ทำเหมือนดูละครน่ะครับ พอนางเอกหงุดหงิดที่พระเอกไม่ง้อ ก็รู้ว่าหงุดหงิด โดยไม่ได้อินไปกับอารมณ์ของนางเอก (ถ้าไม่รู้ก็ดูละครไม่รู้เรื่องแล้ว) แต่ถ้าตามไม่ทัน ก็จะเป็น พอนางเอกหงุดหงิด คนดูบางส่วนก็หงุดหงิดตามไปด้วย นั่นแหละครับ เขาเรียกว่า อินไปกับละคร ไม่ใช่เป็นแค่คนดูละครเฉยๆ
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2005, 7:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความคิด แบ่งออกเป็น 3 กาล

อดีตกาล

คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งจบลงแล้ว คือรู้อดีตของความคิด จึงรู้ตัว แม้ความคิดนั้น ๆจะดับลงแล้ว ก็ดีอยู่ พยามฝึกรู้ตัวบ่อยๆ สติจะเพิ่มขึ้น จนกระทั่งรู้ปัจจุบันขณะ

ปัจจุบันนกาล

กำลังหงุดหงิดอยู่ รู้สึกตัวก่อน รู้ปัจจุบันขณะความคิดซึ่งกำลังคิดอยู่ ระลึกได้อย่างนี้สุดยอด

อนาคตกาล

คิดถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง รู้ตัวไม่ทันดับลงก่อน ก็เป็น อตีตารมณ์อีก ความคิดเกิดปุ๊บรู้ตัวปั๊บ ก็เป็นปัจจุบันนารมณ์ อีก วนไปวนมา เป็นกิเลสวัฏ



ถามว่า (เมื่อรู้แล้วจะแก้ให้ผ่อนคลายลงอย่างไร)

วิธีผ่อนคลายหรือวิธีแก้ ง่าย ๆไม่ต้องคิดให้มากเรื่องมากความ คือคิดอย่างไรรู้สึกอย่างไร

ก็ให้บริกรรมตามความรู้สึกนั้น เช่นรู้สึกหงุดหงิดบริกรรมในใจว่า “หงุดหงิดหนอๆ” หลายๆ ครั้ง

รู้สึกเซ็งเบื่อหน่ายว่า “เบื่อหน่ายหนอๆ” “เซ็งหนอๆ” หลายๆ ครั้ง แก้แบบไม่ต้องถามเหตุผลมันว่า ทำไมถึงเบือ ทำไมถึงเซ็ง ทำไมถึงหงุดหงิด อย่างนี้ง่ายกว่า



แก้แบบมากเรื่องมากความ ก็แก้แบบเตือนสติตนเอง แบบนี้คิดได้เองเลยตามเหตุผล คือเตือนสติตนเอง

ให้สยบความคิดเช่นนี้ว่า ไม่ดีต่อตนเองเลยสักนิดเดียวนะ คิดอย่างนี้ รังแต่จะทำลายความก้าวหน้าตนเอง ทำลายความเชื่อมั่น ฯลฯ







 
.... ...
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2005, 10:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รับรู้ได้แล้ว...จึงเท่าทันแล้ว

เฝ้าดูได้อย่างต่อเนื่องแล้ว...จึงมีสติแล้ว

พิจารณาดูว่า ความหงุดหงิดมันอยู่ตรงไหน มันเกิดมาได้อย่างไร มันยึดเอาไว้ได้หรือไม่ มันอยู่อย่างจีรังยั่งยืนหรือไม่ มันเป็นอาการที่เที่ยงแท้หรือไม่ มันเกิดแล้วก็ดับไปใช่หรือไม่ สรรพสิ่งใดๆล้วนเกิดขึ้น ทรงอยู่ แล้วดับสลายไปใช่หรือไม่... สติและปัญญาจึงเกิดแก่ผู้ปฎิบัติแล้ว
 
Street Dog
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2005, 12:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





คุณณฐนนท์ โพสคำถามนี้มา ดีครับ ทำให้ผมได้อ่าน ความเห็นที่1+2+3+4+5 ที่รวมกันเข้าแล้วเพอร์เฟ็ค....สุดยอดครับ ชอบจริงๆ เข้ามาแจมเฉยๆนะครับ ขออนุญาตเล่า...เรื่องเด็กเลี้ยงควาย



จิต เปรียบได้กับ ควายตัวหนึ่ง ผู้รู้เปรียบเหมือนเป็นเด็กเลี้ยงควาย ปัญญา สติ สมาธิ เปรียบเหมือนเป็นเครื่องมือที่เด็กเลี้ยงควายมีไว้ใช้ ดูแลควาย



สมมติถ้าเด็กอ่ำ นี่เค้าไม่ใช้อุปกรณ์สามอย่างในการเลี้ยงควาย คอยแต่เฝ้าดูควาย เหมือนศรีธนนชัยดูน้อง เมื่อควายวิ่งหนีออกจากคอกไป อ่ำก็วิ่งตามไปดูควายไว้ ควายวิ่งเตลิดเปิดเปิงไปทางไหน อ่ำเค้าก็คอยวิ่งตามไปดู แล้วก็รู้ด้วยว่า ควายวิ่งไปทางไหน จะตามควาย

กลับเข้าคอกรึก็ทำได้อยู่ แต่มันช้าไปอ๋อย แถมเหนื่อยหืดจับ และเสี่ยงด้วย...เหมือนจิตที่กระดอนออกจากที่ตั้งเตลิดเปิดเปิงไปตามอารมณ์แล้ว ผู้รู้ก็ตามดู ๆไปเรื่อยๆ

หวังว่าสักวันหนึ่ง จิตจะละอารมณ์และตัณหาอุปาทานได้เอง เพราะคอยตามรู้ ...แล้วถ้าเกิดตอนนั้นตายไปขณะที่จิตยึดอยู่กับสิ่งใดหรือคนใดอยู่ และผู้รู้ก็รู้ เช่น หมาไม่สบาย รถคันงามได้รอยบุปมาสดๆ จิตกำลังจับอยู่ที่สิ่งเหล่านั้น ตายไปจะไปไหนลองคิดดู



ส่วนเด็กอวย ใช้ปัญญา สติ สมาธิ เป็นอุปกรณ์ในการเลี้ยงควาย ปัญญาคอยหาทางป้องกันว่าทำอย่างไร(ประมาณว่า...ใช้ยุทธการเชิงรุก) จะไม่ให้ควายหลุดออกจากคอกไปได้

อวยเค้าจะได้ไม่ต้องเหนื่อยคอยวิ่งตามควาย และไม่ต้องเสี่ยงกับควายหายตามไม่เจอ หรือความเสียหายต่างๆที่ควายอาจไปก่อไว้

เหมือนผู้รู้ที่ใช้ปัญญาคิดรักษาจิตไว้ไม่ให้กระเด็นออกจากที่ตั้งได้ มีสติ สมาธิ เป็นเครื่องทุ่นแรง เป็นกำลัง เป็นตัวช่วยหนุน ป้องกัน

อวยขยันหาเหตุและตัดเหตุแห่งจิตแหกคอกไปซะได้ เช่นนี้ แล้ว นับวันจิตก็เบิดบานและจะตั้งมั่นหยั่งรากลึกแน่นอยู่ที่ตั้ง

เป็นจิต ผู้รู้ ผู้เบิกบาน ผู้ตื่นอยู่...ผู้รู้ รักษา จิต ด้วยปัญญาเช่นนี้ ท่านเรียกว่า "จิตํ รกฺเขถ เมธาวี แปลว่า มีปัญญาดีเท่านั้น จึงจะรักษาจิตได้"

ผิดพลาดอย่างไร กรุณา แก้ไขด้วยครับ สาธุ





 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2005, 12:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ Street Dog อุปมาได้เห็นภาพดีมากครับ ขออนุญาติทำ C&D (คัดลอกและพัฒนา) นำไปใช้ในเว็บอื่นๆ ต่อไปบ้างนะครับ เมื่อมีโอกาส
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง