Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มิตรแท้–มิตรเทียม (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2005, 5:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

มิตรแท้ – มิตรเทียม
โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)



ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ในสิงคาโลวาทสูตร
ตรัสเรียกปาปมิตร ว่า มิตรปฏิรูป คือ มิตรเทียม
ตรัสเรียก กัลยาณมิตร ว่า สุหัส คือ คนใจดี จัดเป็นมิตรแท้
ทรงจำแนกลักษณะมิตรเทียม และมิตรแท้ฝ่ายละ ๔ พวก

มิตรเทียมนั้น คือ ผู้ปอกลอก เป็นผู้พูดไม่จริง เป็นประจบ เป็นผู้ชักพาในทางฉิบหาย

มิตรแท้นั้น คือ เป็นผู้อุปการะเกื้อหนุนกันจริง เป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์กันได้
เป็นผู้แนะนำในทางที่เป็นประโยชน์ เป็นผู้เอ็นดูรักใคร่จริง

ครั้นทรงแสดงลักษณะแห่งมิตรเทียมและมิตรแท้ดังนี้แล้ว
ตรัสให้เว้นมิตรเทียมเสียให้ห่างไกล เหมือนคนเดินทางเว้นทางอันตราย
พระองค์ตรัสให้เข้าหามิตรแท้เหมือนมารดาไม่ทิ้งบุตร

ฉะนั้นกัลยาณมิตรหรือมิตรแท้นั้น ท่านพรรณนาว่า
เป็นปัจจัยแห่งความเจริญทั้งที่เป็นส่วนโลกิยะและโลกุตระ
เมื่อได้มิตรเช่นนั้นพึงผูกใจไว้ด้วยสังคหวิธีตามควร
ดังพระบรมพุทโธวาท ตรัสสอนสิงคาลกมาณพคหบดีบุตรว่า

ดูก่อนคหบดีบุตร มิตรเปรียบด้วยทิศเบื้องซ้าย
กุลบุตรพึงบำรุงมิตรด้วยมิตรฐานะ ๕ ประการ

... ด้วยการกล่าวถ้อยคำน่ายินดี
...ด้วยประพฤติการที่เป็นประโยชน์แก่มิตร
...ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอไม่ถือตัว
...ด้วยการร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน
...ด้วยคำพูดซื่อตรงไม่หลอกลวงกัน

ดูก่อนคหบดีบุตร มิตรอันเปรียบเทียบด้วยทิศเบื้องซ้าย
อันกุลบุตรบำรุงด้วยฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว

...มิตรย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยฐานะ ๕ ประการ คือ

๑. กุลบุตรนั้นเลินเล่อเผลอสติ ย่อมเอาใจใส่ระวังรักษาเขา
๒. ย่อมป้องกันรักษาทรัพย์สมบัติเขา
๓. เมื่อมีทุกข์ร้อนย่อมเป็นที่พึ่ง
๔. ย่อมไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
๕. ย่อมนับถือครอบครัววงศ์วานเขา

ผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะแห่งมิตรพร้อมด้วยมิตรธรรมเช่นนี้
จัดว่าเป็นมิตรดี มีความซื่อตรงต่อมิตร
ย่อมเป็นที่นิยมนับถือของประชาชน
พ้นจากภัยอันจะบังเกิดแต่ศัตรูหมู่อมิตร
ต้องด้วยภาษิตของพระโพธิสัตว์
ครั้งเสวยพระชาติเป็นเตมิยกุมาร ตรัสแก่นายสุนันทสารถี
โดยนิพนธ์คาถาดังนี้ว่า

บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรแท้
จากบ้านเรือนของตนไป ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาหาร
คือมีผู้คนต้อนรับสักการะด้วยอาหาร
คือมีผู้คนตอบรับสักการะ
ด้วยความนิยมนับถือ
ได้เป็นที่พึ่งแห่งอุปชีวกชนเป็นอันมาก

บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร
ไปสู่ชนบทใดๆ ก็ดี
สู่นิคมราชธานีทั้งหลายก็ดี
ย่อมเป็นผู้ที่เขาบูชา
คือ ได้รับการต้อนรับในที่เหล่านั้นทุกตำบล

ผลของมิตรธรรมในคาถานี้

๑. สักการะเขาแล้วย่อมเป็นผู้ที่เขาสักการะตอบ
๒. เคารพเขาแล้ว เป็นผู้ที่เคารพของเขา
๓. บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมได้รับการยกย่องและเกียรติคุณ

บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร
จำรูญพูนย่อมเกิดแก่เขา
พืชพันธุ์ที่หว่านในนาของเขาย่อมงอกงามจำเริญ
เขาย่อมได้บริโภคผลแห่งพืชพันธุ์ที่หว่านแล้ว...

ข้อนี้เปรียบได้ดังภาษิต
บุคคลไม่ประทุษร้ายมิตร
แม้ตกเหวหรือตกเขา หรืออับปาง
ย่อมได้ที่พำนักไม่ตกอับ

บุคคลไม่ประทุษร้ายมิตร
ศัตรูหมู่อมิตรไม่อาจย่ำยีได้
ดุจไม้ไทรมีรากและย่านอันงอกงาม
พายุไม่อาจพัดพานให้ล้มไปได้ฉะนั้น
โดยนัยนี้ให้ความหมายว่า

ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรและเข้าใจในอุบายสงเคราะห์มิตร
ย่อมเป็นที่รักของประชาชน
มีพวกพ้องมาก
ผู้น้อยเป็นที่รักของท่านผู้ใหญ่
ก็จะได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชู
คนที่เสมอกันต่างก็จะได้อาศัยกัน
ท่านผู้ใหญ่เล่าก็จะได้ผู้น้อยไว้เป็นกำลัง
แม้กิจเกิดขึ้น ก็ตั้งใจทำให้สำเร็จด้วยความภักดี

สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงด้วยกายและจิต
ก็ย่อมเป็นไปเพราะความรักใคร่เป็นที่ตั้ง
เมื่อเกิดขึ้นในหมู่ใดก็ยังความเจริญให้เป็นไปในหมู่นั้น
สมด้วยภาษิตว่า

พวกที่หาพวกพ้องมิได้ ไม่สามารถทรงตนอยู่ได้
เหมือนต้นไม้ไร้ราก ไร้กิ่ง ทนพายุไม่ได้ฉันนั้น
คุณ คือ ความมีพรรคพวกมาก เป็นกำลังเครื่องตั้งมั่นของตน
เหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลึกลงมั่นในพสุธา
ตั้งลำต้น แตกสาขางอกงามวัฒนา
พายุพัดมาทั้ง ๘ ทิศ ก็ไม่อาจให้ล้มไปได้ฉะนั้น

ความซื่อตรงต่อมิตร
เว้นประทุษจิต
ไม่คิดทำลาย
เป็นคุณอำนวยสุขสมบัติอัฐวิบูลผล
ตามภาษิตนิพนธ์ของพระเตมิยโพธิสัตว์
มีอรรถาธิบายดังที่ได้วิสัชนามา



......................................................................

คัดลอกจาก..เรื่องมิตรธรรม-ธรรมครองใจมิตร
โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
จากหนังสือกฎแห่งกรรม ธรรมปฏิบัติ เล่มที่ ๑๘
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2005, 4:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาตคัดลอกไปเผยแพร่ต่อนะครับ
 
คนจร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2005, 1:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อัญญะทัตถุหะโร มิตโต
โย จะ มิตโต วจี ปรโม
อนุปปิยัญ จะ โย อาหุ
อัปปาเยสุ จะ โยสะขา
เอเต อะ มิตเต จัตตาโร
อิติ วิญญา ยะ ปัณฑิโต
อาระกา ปริวัชเชยยะ
มัคคัง ปฏิภะยัง ยะถา

อุปกาโร จะ โย มิตโต
สุขะ ทุกโข จะ โยสะขา
อัตถักขายี จะ โย มิตโต
โย จะ มิตตานุกัมปิโก

เอเต ปิ มิตเต จัตตาโร
อิติ วิญญา ยะ ปัณฑิโต
สักกัจจัง ปริยูปาเสยยะ
มาตา ปุตตัง วะ โอระสัง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง