Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมะทางสายกลาง แห่งวิชชา 3 วิชชา 8 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2005, 3:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะแห่งศาสนา

ธรรม หรือ ธรรมะ หรือหลักการแห่งศาสนาคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือของศาสดาแห่งศาสนาองค์อื่นๆ ธรรมหรือธรรมะคือ ธรรมชาติ , ธรรมหรือธรรมะ คือการประพฤติ หรือการปฏิบัติตนเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งมวล

ธรรมะมาจากไหน ธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ล้วนแล้วแต่นำมาจากธรรมชาติ แห่งสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ พืช สัตว์ และเผ่าพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ต่างๆ เช่น ไฟ ลม ดินน้ำ สำหรับ ไฟ ลม ดิน น้ำ นั้น เป็นทั้งสภาพภูมิประเทศ และ สภาพภูมิอากาศ คือเป็นทั้งสองอย่าง หรือเรียกเป็นภาษาไฮเทคว่า two in one บางท่านอาจจะงุนงงสงสัยว่า ไฟ ลม ดิน น้ำ เป็นทั้งสภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร ก็ต้องขออธิบายว่า สภาพภูมิประเทศย่อมเป็นปัจจัยสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วย ดิน(รวมถึงภูเขา และทะเลทรายด้วย) น้ำ (รวมไปถึงทะเลด้วยเช่นกัน)และ ต้นไม้ และรวมไปถึง ไฟ ทั้งไฟจากดวงอาทิตย์ และไฟภายใต้พื้นผิวโลก ไฟที่เกิดจากมนุษย์และธรรมชาติต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยอันสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น ไฟ ลม ดิน น้ำ จึงเป็นทั้งสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศด้วย

สำหรับแนวความคิดของผู้ที่จะปฏิบัติธรรม ธรรมะหรือคำสอน เป็นสิ่งที่เป็นกลาง หรือจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็น ทางสายกลาง เป็นสิ่งที่แสดงให้รู้ว่า สรรพสิ่งที่มีอยู่ หรือธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่ ล้วนต้องเป็นไปอย่างนั้น เป็นหลักความจริงหรือหลักธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งทั้งหลายอันย่อมมีอยู่ ย่อมประพฤติอยู่ ธรรมะไม่เอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง แม้ว่าบางความหมายของธรรมะจะดูเหมือนเอนเอียง ซึ่งในหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว ธรรมชาติต่างๆ ทั้งของ มนุษย์ สัตว์ พืช และอื่นๆ ล้วนย่อม มีดี มีร้าย(ตามค่านิยมของสังคมมนุษย์) มีเกิด มีแก่ มีเจ็บไข้ได้ป่วย มีสุข สบาย มีทุกข์ยาก ลำบาก เป็นต้น

ดังนั้น ธรรมะหรือคำสอน จึงอยู่กลางหรือเป็นทางสายกลาง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ เพื่อการพิจารณา ให้เห็นถึงหลักความจริงแห่งธรรมชาติ เพื่อการฝึกตนหรือปฏิบัติ ให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง หากแม้นว่าธรรมทั้งหลายเอนเอียงไปในทางใด ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นไปในทางที่ดี หรือทางที่ไม่ดีอันมีค่านิยมของสังคมมนุษย์เป็นบรรทัดฐาน หรือเอนไปทางผู้อื่น หรือเอนเข้าหาตัวเรา ก็ย่อมทำให้ธรรมะเป็นไปในทางนั้นๆด้วย เช่นเอนเอียงไปในทางที่ดี(ตามค่านิยม,กฎเกณฑ์กติกาของสังคม,วัฒนธรรมจารีตประเพณี ) หากไปพบสิ่งที่ไม่ดี(ตามค่านิยม,กฎเกณฑ์กติกาของสังคม,วัฒนธรรมจารีตประเพณี) แทนที่จะสามารถขจัดอาสวะ หรือขจัดกิเลสได้ กลับจะเป็นการทำให้จิตใจของเรามัวหมองหรือเศร้าหมอง เกิดเป็นทุกข์ ฯลฯ แต่ถ้าหากเรามองเห็นหรือเข้าใจ ในสภาวะของสรรพสิ่งว่าต้องเป็นไปอย่างนั้นแล้ว จิตใจของเราก็จะปราศจากความทุกข์แห่งกิเลสได้ไม่มากก็น้อย และเป็นการถูกต้องในการคิดพิจารณาหรือในการปฏิบัติธรรมะหรือฝึกฝน

ธรรมหรือธรรมะที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้ในทางที่เกิดประโยชน์ได้ และในทางตรงกันข้ามธรรมะก็สามารถก่อให้เกิดโทษ เกิดทุกข์ได้เช่นกัน เพราะเหตุที่ว่า ธรรมะจะเป็นกลางไม่เอนเอียงไปในทางดี หรือไม่ดี เป็นทางสายกลาง จะไม่แยกว่าอย่างไหนเป็นทางโลก อย่างไหนเป็นทางธรรม ไม่เอนเอียงว่าอย่างไหนถูก อย่างไหนไม่ถูก แต่ตัวผู้ใช้หรือผู้อ่านผู้เล่าเรียนผู้ศึกษาอาจจะจำต้องพิจารณาแยกแยะว่าดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิดในบางเผ่าพันธุ์ หรือแยกแยะตามลักษณะการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน หรือแยกแยะตามบรรทัดฐานทางสังคม และเป็นการแยกแยะเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมนั้นๆ ธรรมะที่เป็นทางสายกลางนั้นหากจะกล่าวในเชิงเปรียบเทียบกับหลักวิทยาศาสตร์ ก็เปรียบเป็นเช่น นิวตรอน คือความเป็นกลาง ส่วนในทางที่ไม่ดี ตามค่านิยมของสังคมและกฎเกณฑ์กติกาวัฒนธรรมจารีตประเพณี ก็ย่อมเปรียบเป็น อิเลคตรอน คือเป็นไปทางลบ ส่วนในทางที่ดีตามค่านิยมของสังคมและกฎเกณฑ์กติกาวัฒนธรรมจารีตประเพณี ก็เปรียบเป็น โปรตอน คือเป็นไปในทางบวก

ธรรมะหรือคำสอนเป็นสิ่งที่สรรพสิ่ง ประพฤติปฏิบัติอยู่ ซึ่งเป็นปกติในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย รวมไปถึงสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ทั้งที่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่า หรือที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ธรรมะคือคำสอนแห่งศาสนา เป็นคำสอนที่มุ่งไปในทางให้บุคคลรู้เท่าทันในธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งสรรพสัตว์ มุ่งสอนให้บุคคลรู้ว่า การกระทำการประพฤติปฏิบัติอย่างไร เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดกิเลสทั้งมวลหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ และมุ่งสอนให้บุคคลรู้ว่า การกระทำ การประพฤติปฏิบัติอย่างไร เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการขจัดซึ่งกิเลสทั้งมวลหรือขจัดซึ่งความทุกข์ ตัวหลักการหรือธรรมะจะมีหัวข้อหลักเช่น เมตตา ปรารถนาให้ได้ดีพบสุข และก็จะมีส่วนอธิบายซึ่งเรียกว่าส่วนกระพี้ ความหมายของคำว่า กระพี้ ในทางศาสนา กับ ความหมายในทางพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้น ย่อมเป็นคนละอย่างกัน เพราะความหมายของคำว่า กระพี้ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า น.ส่วนของเนื้อไม้ที่หุ้มแก่น,เนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับแก่น มีลักษณะอ่อนและยุ่ยง่าย (ว.) ไม่เป็นแก่นสาร แต่ความหมายในทางศาสนานั้นกระพี้หมายถึง ส่วนรายละเอียดหรือส่วนอธิบาย ยกตัวอย่างเช่น เมตตา ความปรารถนาให้ได้ดีพบสุข เป็นส่วนแก่นของหลักการหรือเป็นแก่นแห่งธรรมะ หากอธิบาย ความปรารถนาให้ได้ดีพบสุขว่าเป็นอย่างไรบ้าง ทำอย่างไรบ้าง มีอย่างไรบ้าง คำอธิบายก็คือส่วนกระพี้นั่นเอง



 
SOMPONG
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2005, 7:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

I LIKE IT
 
คนจร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2005, 1:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คราวหลังเขียนให้คนอ่านแล้วรู้เรื่องด้วย
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง