ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ดนดี
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2008
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
02 ก.ค.2008, 9:36 pm |
  |
ทำไมแม่กับแฟนอยู่คนละขั้วทั้งๆ ที่แม่ก็ชอบแฟนแต่เป็นกรรมอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างช่วยตอบหน่อย |
|
_________________ ตั้งใจทำความดี |
|
   |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ค.2008, 7:26 am |
  |
โอวาทวันมงคลสมรส - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
เป็นมงคลตลอดชีวิต
เมื่อครองเรือนด้วยหลักธรรม ๔
อย่างไรก็ตาม ควรจะได้กล่าวถึงธรรมที่เหมาะเฉพาะในโอกาสแห่งพิธีนั้น ๆ ไว้ด้วย เพราะธรรมคือคุณธรรมความดีงามเหล่านี้เป็นธรรมมงคลคู่ชีวิต ที่มีไว้สำหรับประพฤติปฏิบัติกันตลอดเรื่อยไปและทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลระยะยาวตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นอาตมาจึงจะได้กล่าวถึงธรรมะที่เป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าบางประการ ซึ่งจะนำให้เกิดคุณงามความดีนั้น ๆ ให้เหมาะสมกับโอกาสนี้ จะของแสดงเป็นหมวดหมู่
ธรรมะหมวดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เหมาะสมกับโอกาสพิธีนี้ คือ ฆราวาสธรรม ๔ ประการ ฆราวาสธรรมแปลว่า ธรรมสำหรับการครองเรือน มีอยู่ ๔ ข้อด้วยกัน คือ หนึ่ง สัจจะ แปลว่าความจริง สอง ทมะ แปลว่า การฝึกฝนปรับปรุงตน สาม ขันติ ความอดทน สี่ จาคะ ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำใจ จะขอกล่าวถึงธรรม ๔ ประการนี้โดยสังเขป
สัจจะ
ประการที่ ๑ สัจจะ ความจริง อาจแบ่งแยกได้ ๓ ด้าน ความจริงขั้นที่หนึ่ง คือ ความจริงใจ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุด และเป็นรากฐานที่มั่นคงของความสัมพันธ์ที่ดีงาม ความจริงใจแสดงออกเป็นความซื่อสัตย์ต่อกัน จากนั้นก็จริงวาจา คือพูดจริง ขั้นที่ ๓ จริงการกระทำ คือการทำจริงตามที่ใจคิดไว้ ตามที่วาจาพูดไว้ ตลอดจนกระทั่งว่าการดำเนินชีวิต ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ก็ตั้งใจทำจริงดังที่ตั้งความมุ่งมาดปรารถนาไว้ แต่ทั้งหมดนี้ก็มีความจริงใจนั่นเองเป็นรากฐาน ความจริงใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ความสัมพันธ์มั่นคงยั่งยืน
ทมะ
ประการที่ ๒ ทมะ แปลว่า การฝึกฝนปรับปรุงตน ทมะนี้เป็นข้อสำคัญในการที่จะให้เกิดความเจริญก้าวหน้า
ประการแรกที่สุดที่จะเห็นได้ง่ายในความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันก็คือ บุคคลที่มาอยู่ร่วมสัมพันธ์กันนั้น ย่อมมีพื้นเพต่าง ๆ กัน มีอุปนิสัยใจคอและสั่งสมประสบการณ์มาไม่เหมือนกัน แต่เมื่อมาอยู่ร่วมกันแล้วก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวเข้าหากัน
ในเมื่อมีพื้นเพต่างกันสั่งสมมาคนละอย่าง ก็อาจมีการแสดงออกที่ขัดแย้งกัน หรือไม่สอดคล้องกันได้บ้าง การที่จะทำให้เกิดความราบรื่นเป็นไปด้วยดี ก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเข้าหากัน รู้จักที่จะข่มใจไว้ แล้วรู้จักที่จะสังเกต ใช้สติปัญญาพิจารณาสิ่งที่ผิดแปลกไปจากความคิดนึกตามความหวังความปรารถนาของตน เมื่อไม่วู่วาม ข่มใจไว้ก่อน และใช้สติปัญญาพิจารณา ก็หาทางที่จะปรับตัวเข้าหากันด้วยวิธีที่เป็นความสงบ และเป็นทางที่จะรักษาน้ำใจกันไว้ได้ มีความปรองดองสามัคคี อันนี้ก็เป็นการปรับตัวอย่างหนึ่ง
นอกจากนั้น ในการอยู่ร่วมกับบุคคลภายนอกหรือในกิจการงานและสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย เราก็ต้องรู้จักปรับตัวเข้ากับบุคคล การงาน และสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น และรู้จักปรับปรุงฝึกฝนตัวให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการขวนขวายหาความรู้ให้เท่าทันสิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ เป็นต้น ชีวิตจึงจะเจริญก้าวหน้าได้
ทมะนี้ต้องมีปัญญาเป็นแกนนำสำคัญ เพราะต้องรู้จักคิดพิจารณา และมีความรู้ความเข้าใจ จึงจะปรับตัวและฝึกฝนปรับปรุงตนได้
ขันติ
ประการที่ ๓ คือ ขันติ ความอดทน ความอดทนเป็นเรื่องของพลัง ความเข้มแข็ง ความทนทาน
คนเมื่ออยู่ร่วมกัน ท่านว่าเหมือนลิ้นกับฟัน ย่อมมีโอกาสที่จะกระทบกระทั่งกัน จึงต้องมีความหนักแน่น ความเข้มแข็งในใจที่จะอดทนไว้ก่อน เรียกว่า อดทนต่อสิ่งกระทบใจ นอกจากนั้นก็อดทนต่อความเจ็บปวดเมื่อยล้าทางกาย และอดทนต่อความลำบากตรากตรำในการทำการงาน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถฝ่าฟันอุปสรรคลุล่วงไปได้
ถ้าหากว่าบุคคลสองคนหรือหลายคนมาอยู่ร่วมกันแล้วเอาความเข้มแข็งที่มีอยู่ของแต่ละคนมารวมกันเข้า ก็จะเพิ่มกำลังความเข้มแข็งให้มากขึ้น จะสามารถร่วมฝ่าฟันอุปสรรคและเพียรสร้างสรรค์รุดหน้าไปสู่ความสำเร็จ อันนี้เป็นเรื่องของขันติ ความอดทนที่จะช่วยเสริมให้มีความก้าวหน้า เจริญมั่นคง และพรั่งพร้อมด้วยความสำเร็จ
จาคะ
ประการที่ ๔ จาคะ แปลว่า ความเสียสละ เริ่มแต่ความมีน้ำใจ คือความพร้อมที่จะเสียสละความสุขส่วนตัวให้แก่ผู้อื่น โดยเฉพาะผู้อยู่ร่วมกันก็จะต้องมีความเสียสละต่อกัน เช่น เวลาฝ่ายหนึ่งไม่สบายเจ็บไข้ได้ป่วย อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องเสียสละความสุขของตนเองเพื่อช่วยรักษาพยาบาล อย่างน้อยก็มีน้ำใจที่จะระลึกถึงเมื่อจะทำอะไรก็ตามก็คำนึงถึงความสุขของอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างนี้ก็เรียกว่ามีจาคะ
จาคะก็พึงเผื่อแผ่ไปยังญาติมิตร บิดามารดา หรือผู้อยู่ใกล้ชิด ตลอดจนกระทั่งถึงเพื่อนมนุษย์โดยทั่วไป ถ้าหากว่ามีกำลังพอ ก็สละทรัพย์สินสิ่งที่ตนมีอยู่นี้ในการอนุเคราะห์สงเคราะห์ผู้อื่น
จาคะนี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกัน และของคนทั้งหลายที่แวดล้อมอยู่ไว้ได้
นี่คือหลักธรรม ๔ ประการ ซึ่งมีความสำคัญในการครองเรือนโดยสรุปก็คือ สัจจะ ความจริง เป็นรากฐานให้เกิดความมั่นคงยั่งยืน ประการที่ ๒ ทมะ การฝึกฝนปรับปรุงตน เป็นเครื่องนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในชีวิตและการงาน ประการที่ ๓ ขันติ ความอดทน เป็นเครื่องช่วยให้ความเจริญก้าวหน้านั้นเป็นไปได้สำเร็จเพราะมีความเข้มแข็ง มีพลังที่จะช่วยเสริม และประการที่ ๔ จาคะ ความเสียสละ มีน้ำใจ เป็นเครื่องบำรุงหล่อเลี้ยงมนุษย์ช่วยให้เกิดความชุ่มฉ่ำสดชื่น
บำรุงต้นไม้แห่งชีวิตสมรสให้แข็งแรงงอกงาม
ธรรมะ ๔ ประการนี้เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในชีวิต เหมือนกับต้นไม้จะเจริญงอกงามต้องมีรากฐานที่มั่นคง คือสัจจะ มีความเจริญเติบโต คือทมะ มีความแข็งแรงของกิ่งก้านสาขาตลอดจนลำต้น นั่นคือขันติ ซึ่งจะทนต่อดินฟ้าอากาศ ทนต่อสัตว์ทั้งหลายที่จะมาเบียดเบียน และมีเครื่องบำรุงหล่อเลี้ยง เช่น น้ำและอากาศ เป็นต้น ซึ่งช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นสดชื่น กล่าวคือ จาคะ ความมีน้ำใจ
เมื่อต้นไม้นั้นมีทุนในตัว เช่น มีน้ำมีอาหารหล่อเลี้ยงดี มีกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไป ต้นไม้นั้นเองก็กลับให้ความร่มเย็นแก่พื้นดินและแก่พืชสัตว์ที่มาอาศัยร่มเงา ตลอดจนช่วยรักษาน้ำในพื้นดินนี้ไว้ด้วย เช่นเดียวกับคนเรานั้นเมื่อได้สร้างเนื้อสร้างตัวโดยกำลังและเครื่องหล่อเลี้ยงขึ้นแล้ว ก็ไม่ได้มีกำลังแต่เพียงตัวเองเท่านั้น แต่กลับเอากำลังและสิ่งที่บำรุงเลี้ยงนั้นออกมาช่วยเหลือส่งเสริมผู้อื่นและสิ่งนี้ก็กลับมาเป็นผลดีแก่ตัวเอง ด้วยอำนาจของจาคะนั้น
ธรรมะ ๔ ประการนี้แหละจะเป็นเครื่องทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จ พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ สำหรับคฤหัสถ์ คือผู้ครองเรือนทั่วไปให้ดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ๔ ประการนี้ จึงเรียกว่า ฆราวาสธรรม เมื่อดำเนินชีวิตได้ดังนี้ก็นับว่าได้ประสบสิริมงคลอย่างแท้จริง ธรรมะดังกล่าวมานี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นธรรมมงคล เพราะเป็นหลักความดีงามที่จะทำให้เกิดความสุขความเจริญก้าวหน้า
ในโอกาสนี้ ญาติมิตร ท่านผู้ใหญ่ มีคุณพ่อคุณแม่เป็นต้น ตลอดจนท่านผู้หวังดีที่เคารพนับถือทั้งหลาย ได้มาประชุมพร้อมกันในที่นี้ ต่างก็ตั้งใจมาเป็นอันเดียวกันคือ มาให้ความสำคัญแก่เหตุการณ์ในชีวิตของบุคคลทั้งสอง ตั้งใจมาอวยชัยให้พรเพื่อความสุขความเจริญแก่ทั้งสอง ฉะนั้น ก็ขอจงได้ทำจิตใจของตนให้เบิกบานแจ่มใส เปิดใจออกรับความรักความปรารถนาดีเหล่านี้เพื่อความเป็นสิริมงคลทั้งในบัดนี้ และตั้งใจที่จะนำเอาหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นธรรมมงคลในระยะยาวอันยั่งยืนต่อไป
ในโอกาสนี้ พระสงฆ์จะได้เจริญชัยมงคลคาถา และบัดนี้ทุกคนก็อยู่ในที่พร้อมหน้าพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยอวยชัยให้พร คุณโสภณและคุณวิมลวรรณ จงประสบจตุรพิธพรชัย พรั่งพร้อมด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ พร้อมทั้งปฏิภาณ ธนสารสมบัติทุกประการ จงมีความเจริญก้าวหน้าในการดำเนินชีวิตและในการประกอบกิจการงาน ได้สำเร็จสัมฤทธิผลในสิ่งที่อันพึงปรารถนาโดยชอบธรรมและดลให้เกิดความเป็นสิริมงคลในทางธรรม อันเป็นมงคลที่ตั้งอยู่ในตนเอง และอำนวยผลแก่ญาติมิตรตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป ตลอดกาลนานเทอญ
จากหนังสือ “รักนั้นดีแน่ แต่รักแท้ดีกว่า” หน้า 133 – 143
ผมนำมาจาก -
http://larndham.net/index.php?showtopic=25029&st=1 |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ค.2008, 7:32 am |
  |
ธรรมะกับความรัก
วันมาฆบูชาปีนี้ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549 ก่อนวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์ ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เพียง 1 วัน ความจริงคนไทยมี “ธรรมะ” อยู่ในใจ อยู่ในวิถีชีวิตสะสมกันมาตั้งแต่โบราณอยู่แล้ว ทุกวันนี้คนไทยจำนวนมากยังใส่บาตรเกือบทุกเช้า แม้จะไม่ค่อยมีเวลาเข้าวัดฟังเทศน์หรือสอนสั่งลูกหลานด้วยหลักธรรม แต่พ่อแม่ก็สอนด้วยจารีตปฏิบัติ ซึ่งหากพ่อแม่ทำความดีมีความรัก ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ไม่โกหก ไม่กล่าวร้ายใครและมีเวลาให้ลูกหลาน ลูกหลานก็จะเป็นคนดีมีจิตใจที่เปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตาไปด้วย
พุทธศาสนามีคำสั่งสอนมากมายที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะคำสอนเกี่ยวกับการดำรงตนเป็น พลเมืองดี มีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น เช่น เรื่องความรักในครอบครัว การตั้งหลักฐานสร้างครอบครัวของหนุ่มสาวที่ตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในบ้านหลังเดียวกัน ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม 4 ประการสำหรับการสร้างครอบครัวใหม่ไว้ ดังนี้
ª อุฎฐานสิมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร เป็นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้เมื่อ 2 พันกว่าปีแล้ว แต่ยังใช้ได้ดีในยุคปัจจุบัน เพราะความขยันหมั่นเพียรเป็นหัวใจสำคัญในการประกอบอาชีพทั้งปวง ซึ่งจะสร้างสรรค์ครอบครัวให้มีชีวิตอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตาอย่างมีความสุข
ª อารักขสัมปา คือ ถึงพร้อมด้วยการรักษา หมายถึงการรักษาทุกอย่างที่จะช่วยดำรงความเป็นครอบครัวที่อบอุ่นไว้ ตั้งแต่การ รักษาทรัพย์ ที่หามาได้ ไม่ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย แม้กระทั่งการรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ หรือในบ้าน
ª กัลยาณมิตตา คือ การคบคนดีเป็นมิตร การคบคนดีเป็นมิตรจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างหลักฐานของตนเองและครอบครัว
ª สมชีวตา คือ คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะ หมายถึง ถ้าใครใช้จ่ายเกินตัว จะขยันหาเงินมาได้มากแค่ไหนหากไม่รู้จักคำว่าพอ ต่อไปจะต้องกู้หนี้ยืมสินทั่วไปไม่มีวันสิ้นสุด ถือเป็นธรรมะที่เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันของเราเป็นอย่างยิ่ง
ถึงแม้วันมาฆะบูชาซึ่งเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาจะอยู่ในช่วงเดียวกับวันแห่งความรักของวัฒนธรรมตะวันตกที่ให้ดอกไม้ ของขวัญ ส่งคำอวยพร แสดงความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน ถ้าหากเราจะให้ ธรรมะกับความรัก เป็นสิ่งหล่อหลอมให้ทุกคนมีรอยยิ้ม มีหัวใจสดชื่น ย่อมเป็นเรื่องดี เพราะพระธรรมของพระพุทธองค์คือปัญญาที่สามารถค้ำจุนโลกได้
ข้อมูลที่มา :- กรุงเทพธุรกิจ+บ้านนี้มีรัก
เรียบเรียง :- อังคณา สุริยกุล ณ อยุธยา |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ค.2008, 7:40 am |
  |
ผมยังพบบทความมีคนนำธรรมะไปเขียนได้น่าสนใจ
เขียนแล้ว น่าเรียนรู้อย่างมาก
ในที่นี้ ตัดมาตอนหนึ่ง ว่าด้วย สมรสธรรม 4
ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการเลือกคู่ครอง
อ้างอิงจาก: |
ในทางพุทธศาสนา มีคำสอนว่าชีวิตสมรสที่จะมีความสุข ราบรื่น มั่นคง ยืนยาวได้นั้น คู่สมรสควรมีคุณธรรมที่สมหรือสม่ำเสมอกัน อันจะพึงเรียกได้ว่า สมธรรม ๔ ประการ คือ
๑.สมศรัทธา ศรัทธาเป็นเครื่องหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิดและเป็นพลังชักชูงใจในการดำเนินชีวิต
๒.สมศีลา มีศีลคือความประพฤติสมหรือเสมอกัน มีความประพฤติที่เข้ากันได้ อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือ ขัดแย้งรุนแรงต่อกัน เช่นฝ่ายหนึ่งปากร้ายใช้คำหยาบคายอีกฝ่ายสุภาพอ่อนหวานทนฟังคำหยาบไม่ได้ ก็อาจเป็นทางให้ร้าวฉานเลิกร้างกันหรืออยู่อย่างทนทุกข์ทรมาน
๓.สมจาคา มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สมหรือเสมอกัน เป็นเรื่องความใจกว้างหรือใจแคบในการคบหาบุคคลอื่นๆถ้ามีน้ำใจต่างกันย่อมกระทบกระทั่งกันอยู่เรื่อย ทำให้ชีวิตครอบครัวเปราะและแตกร้าวได้ง่าย
๔.สมปัญญา หมายถึงการมีความคิด การรู้จักรับฟังและเข้าใจในเหตุผลของกันและกัน และการช่วยเป็นคู่คิดของกันและกันได้ กล่าวง่ายๆว่าพูดกันรู้เรื่อง เพราะสามีภรรยาอยู่ร่วมกันใกล้ชิด จำเป็นต้องมีความเข้าใจกัน เป็นกำลังแก่กันและกันได้ การมีปัญญาสมกันนี้ นอกจากเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจทำให้มีความสนิทสนมกันด้วยดีแล้ว ยังทำให้ชีวิตของคู่ครองทั้งสองฝ่าย เป็นชีวิตที่ส่งเสริมคุณค่าเพิ่มกำลังแก่กันและกันอีกด้วย
|
ที่มา
http://review.semsikkha.org/content/view/72/140/[/quote] |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ค.2008, 7:56 am |
  |
ส่วนตัวครอบครัวผมเอง ก็มีปัญหาเหมือนกัน
ปัญหาคือไม่มีสมรสธรรม
ทางผู้หญิงที่มาแต่งกับพี่เรา เขาก็แปลก
เอาแต่สามี ... ไม่เอาญาติสามีเลย
เวลาผ่านไปก็ถึงปรากฎว่า ทำให้พวกเราถึงบางอ้อ
แท้จริงเธอเกิดมาในครอบครัวพี่น้องที่กว่า 15 คน
เพราะเขาต้องเติบโตมาในลักษณะแย่งกันกินแย่งกันใช้ และตัวใครตัวมัน
มันอธิบายว่าทำไมเขาไม่เอาญาติ ไม่เอาใครเลย และกลัวมาก...ว่าใครจะมาเอาอะไรจากเธอ
ดังนั้น การเลือกคู่ครอง
คุณต้องเลือกให้เหมาะสมด้วย ตามหลักสมรสธรรม 4
ลำพังเพียงแต่หลงไหลในเพศรสกันและกัน
แต่ว่าถ้าแต่งมาแล้วทำให้ครอบครัวแตกสามมัคคี
เราจะพึงพอใจแบบนั้นหรือไม่
ภาษิตจีนกล่าวไว้ว่า
"พ่อแม่เหมือนแขนขา....ลูกเมีย(สามี)เหมือนเสื้อผ้า"
พ่อแม่นั้น อย่างไรก็ตัดกันไม่ขาด เลิกขาดจากกันไม่ได้ เปลี่ยนไม่ได้
ส่วนลูก ... โตแล้วมันก็ไป ตามธรรมชาติ
ส่วนคู่ครอง ... ผัวเมีย เลิกกันได้ เปลี่ยนกันได้ มีให้เห็นบ่อยไป
ดังนั้น ดีที่สุดคือ ต้องเลือกคนดี เพราะคนดีเข้ากับใครก็ได้
ต่อให้พ่อแม่เราไม่ชอบ ..แต่ถ้ามั่นใจว่าแฟนเราเป็นคนดี
สักวันหนึ่งพ่อแม่เราก็จะเข้าใจ
โดยเฉพาะ เมื่อเรามีลูก ... ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีทัศนะคติที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ดีขึ้นมาก
เพราะได้เข้าใจถ่องแท้ว่าความเป็นแม่คืออะไร
หลานๆที่เกิดมานั้น เป็นโซ่ทองคล้องใจครอบครัวเอาไว้
ปู่ย่าตายายเมื่อเห็นสะใภ้เลี้ยงหลานด้วยความยากลำบาก
มักจะลดราวาศอกลงอย่างมาก อะไรที่เคยตั้งกำแพงไว้ก็มักจะหายไปหมด
ดังนั้น ขอให้เลือกคนดี เหมาะกันกัน เสมอกัน
ลงท้ายจะดีเอง |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62
|
ตอบเมื่อ:
09 ก.ค.2008, 4:18 pm |
  |
อดทน ใจเย็น อ่อนน้อม ให้มากๆๆๆ ค่ะ |
|
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
11 ส.ค. 2008, 7:48 pm |
  |
เพิ่งมีโอกาสเข้ามาอ่าน แต่ก็อนุโมทนาบุญ กับคุณคามินธรรม เห็นคุณตอบปัญหาแล้ว นึกถึงรายการหนึ่ง รู้สึกจะชื่อ ศันศณีร์สอนน้อง (ถ้าเขียนชื่อไม่ถูกก็ขออภัย) อะไรทำนองนี้แหละ ตอบปัญหาชีวิตครอบครัวน่ะ  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
11 ส.ค. 2008, 8:17 pm |
  |
บัวหิมะ พิมพ์ว่า: |
เพิ่งมีโอกาสเข้ามาอ่าน แต่ก็อนุโมทนาบุญ กับคุณคามินธรรม เห็นคุณตอบปัญหาแล้ว นึกถึงรายการหนึ่ง รู้สึกจะชื่อ ศันศณีร์สอนน้อง (ถ้าเขียนชื่อไม่ถูกก็ขออภัย) อะไรทำนองนี้แหละ ตอบปัญหาชีวิตครอบครัวน่ะ  |
"ศิราณี" หรือเปล่า?
เหมือนจะเป็้นคำชมนะคับเนียะ
ดีไม่ชมว่าเป้น "ยายเม้าท์วอนสอนหญิง" นะคับ
อันนี้กรุ้มเลย
 |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 11:36 pm |
  |
ช่าย ถูกแล้วคุณคามินธรรม ชื่อ"ศิราณี" วันนี้นึกออก ว่าจะเข้ามาแก้ไขข้อความซะหน่อย ไม่ทัน ซะแล้ว ผิดตกขออภัย ง่ะ โหสิ  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|