Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ตำราวิชชา 3 วิชชา 8 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ

ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2005, 10:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำนำ

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่มีคุณค่าต่อศาสนาเป็นอย่างมาก เป็นความรู้อันเกี่ยวกับธรรมะปฏิบัติ กอปรไปด้วยหลักวิชาการ ซึ่งข้าพเจ้า ได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และทดลอง มา กว่า 40 ปี ซึ่งก็ต้องขอระลึกนึกถึงคุณของครูอาจารย์ ทั้งที่เป็น พระสงฆ์ และฆราวาส ที่ได้แนะนำแนวทางให้ข้าพเจ้าหลาย ๆ อย่าง จนข้าพเจ้า ได้ค้นพบ วิชชา 3 วิชชา 8 แห่งศาสนา ซึ่งวิชชาเหล่านี้ได้สูญหายไปนานแล้ว อาจจะเป็นเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือโดยไม่รู้ ไม่เข้าใจ ยากต่อการศึกษา ฯลฯ วิชชา 3 และ วิชชา 8 จึงได้สูญหายไป มาบัดนี้ ข้าพเจ้าได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและทดลอง จนได้ผลเป็นที่สรุปแล้ว จึงได้เขียนเป็นหนังสือ เป็นตำรา เพื่อไว้ให้ชนรุ่นหลังๆได้ศึกษาเล่าเรียน ต่อไป อีกทั้งในหนังสือเล่มนี้ มีวิธีการปฏิบัติธรรม ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน คือการทำสมาธิ ไปจนถึง การฝึกตน หรือปฏิบัติ วิปัสสนา อย่างละเอียดพอสมควร และการทำสมาธิ หรือวิธีการปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่จะมีอยู่ในศาสนาพุทธ ดังนั้นผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้ศัพท์ภาษาบางคำของศาสนาพุทธ และหรืออธิบายตามหลักศาสนาพุทธบ้างเป็นบางข้อ เพื่อให้ผู้อ่านผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจได้ง่ายเพราะได้ฟังได้ยินมาบ้างแล้ว

ดังนั้นจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้คงมีประโยชน์ต่อท่านทั้งหลาย และต่อศาสนา ทั้งในปัจจุบัน และในภายภาคหน้า

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

จ.ส.ต.

( เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ )

( รป.บ )

สงวนลิขสิทธิ์

5 ธันวาคม 2545



ความเป็นมาของศาสนา

ศาสนา คือ ความเชื่อของมนุษย์ อันมีหลักการ (ตามพจนานุกรมฉบับราช-บัณฑิตยสถาน) เป็นความเชื่อที่มีเหตุ มีผล สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง มีจริง ที่กล่าวไปแล้วนั้นคือ “ศาสนา” บางศาสนาแม้จะพิสูจน์ได้ยาก แต่ก็เป็นศาสนาต้นกำเนิดแห่งศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งจะได้กล่าวในตอนต่อไปว่า เป็นต้นตอหรือ ต้นกำเนิดอย่างไร

ศาสนา เกิดจากธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง หมายถึง มนุษย์ พืช สัตว์ สิ่งของ และสิ่งอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงสภาพลมฟ้าอากาศด้วย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ศาสนา เป็นสิ่งที่ช่วยขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ สัตว์ พืช และอื่นๆ ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขพอสมควรตามระบบนิเวศน์ฯ และสภาวะ ธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งนี้ ก็เป็นตัวกำหนดให้ ทุกสิ่งเป็นไป ทั้งในทางที่ดี และไม่ดี(ตามค่านิยมของโลก) หรือในทางสุขสบาย หรือไม่เป็นสุขไม่สบาย คือเป็นทุกข์

ศาสนามิใช่สอนให้บุคคลเป็นคนดี แต่ศาสนาสอนให้บุคคลรู้เท่าทันในธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง รู้เท่าทันในธรรมชาติแห่งสรรพสัตว์ คำว่ารู้เท่าทันนั้นก็คือรู้ว่า ธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งนั้นเป็นอย่างไร ก่อให้เกิดกิเลสหรือความสุขความทุกข์เยี่ยงไร ศาสนาใดใดก็ตามจะไม่สอนในแง่ของการชี้นำว่าสิ่งไหนเป็นการทำความดี สิ่งไหนเป็นการชี้นำว่าเป็นการทำความชั่ว แต่ศาสนาใดใดจะสอนให้บุคคลรู้จักในการประพฤติในการกระทำ ว่าการประพฤติปฏิบัติหรือการกระทำเยี่ยงใดเป็นการก่อให้เกิดกิเลสทั้งมวลหรือทำให้เกิดความทุกข์ การประพฤติปฏิบัติหรือการกระทำเยี่ยงใดเป็นการขจัดกิเลสทั้งมวล หรือทำให้เกิดความสุข แต่ในทางค่านิยมแห่งสังคมเราแล้วมักจะเข้าใจเอาว่า ศาสนาสอนให้บุคคลกระทำดีประพฤติดี ไม่ประพฤติชั่ว การเข้าใจอย่างนี้เป็นความเข้าใจเพียงชั้นกระพี้หรือเป็นความเข้าใจในชั้นเปลือกนอกหรือในส่วนคำอธิบาย แห่งศาสนาเท่านั้น เพราะคำว่ากระพี้ในทางศาสนากับในทางภาษานิยมนั้นมีความหมายแตกต่างกัน ดังจะได้อธิบายดังต่อไปนี้

ความหมายของคำว่า กระพี้ ในทางศาสนา กับความหมายในทางพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหรือภาษานิยมนั้น ย่อมเป็นคนละอย่างกัน เพราะความหมายของคำว่า กระพี้ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า กระพี้คือ น.ส่วนของเนื้อไม้ที่หุ้มแก่น,เนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับแก่น มีลักษณะอ่อนและยุ่ยง่าย (ว.) ไม่เป็นแก่นสาร

แต่คำว่า “กระพี้” ในทางศาสนานั้น หมายถึงส่วนรายละเอียดหรือส่วนที่อธิบายหัวข้อธรรมะต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยง่าย จึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่า ตัวกระพี้คือตัวธรรมะ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วหาใช่ไม่ หากนำเอาตัวกระพี้มาพิจารณาจะไม่เกิดปัญญาหลุดพ้น เพราะตัวกระพี้จะมีข้อความมาก ไม่เหมือนตัวหัวข้อธรรมะหลักๆ เช่น เมตตา เป็นหัวข้อหลัก ก็จะมีส่วนกระพี้อธิบายแยกแยะรายละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันครอบคลุม ซึ่งจักทำให้เกิดญาณหรือปรีชาหยั่งรู้ เพื่อการวิปัสสนาต่อไป แต่ส่วนกระพี้ก็มีความสำคัญเหมือนกันเพราะหากไม่มีคำอธิบายก็ย่อมไม่สามารถรู้ได้ว่าหัวข้อธรรมนั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอย่างไร ซึ่งก็เหมาะกับสมองสติปัญญาของบุคคลในแต่ละระดับ

อนึ่ง ศาสนาต่างๆเกิดจากการที่สรรพสิ่งประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นปกติในการดำรงชีพ และศาสนาก็นำเอาการดำรงชีพ การสังคมเป็นอยู่ร่วมกันและธรรมชาติของสรรพสิ่งเหล่านั้นทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตมากลั่นกรอง แล้วสั่งสอนให้สรรพสิ่งมีการดำรงชีวิตที่สงบสุขเป็นมิตรไร้การเบียดเบียน หรือมีน้อยที่สุด สิ่งที่ศาสดาแห่งศาสนาต่างๆได้กลั่นกรองออกมานั้นก็คือ คำสอน ธรรมะการปฏิบัติ การฝึกตน เพื่อเป็นข้อคิดพิจารณา ตามหลักการในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน และอื่นๆ

ดังนั้น ธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งจึงเป็น ต้นกำเนิดแห่งศาสนา แต่ต้นตอหรือต้นกำเนิดแห่งศาสนาพุทธมาจากศาสนาพราหมณ์ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ได้คิดค้นและพบว่าธรรมชาติเป็นต้นกำเนิด มาก่อนศาสนาพุทธ และได้ซ่อนความลับไว้ที่ เครื่องทำความดีหรืออาวุธของเทพเจ้าองค์นั้นๆ แต่ เนื่องจากเทพเจ้ามีหลายองค์ ก็ย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากกัน แต่ความคิดเห็นที่แตกต่างเหล่านั้นก็สามารถผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ดังนั้น ท่านที่พอทราบเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ ก็จะเห็นเทพเจ้าถือเครื่องทำความดี หรืออาวุธที่แตกต่างจากกัน เช่น พระศิวะ หรือพระอิศวร ทรงสามง่ามไว้ในพระหัตถ์เพียงอย่างเดียว ก็มีความหมายว่า สิ่งที่มนุษย์เป็นสุข เป็นทุกข์ จะมีเพียงอย่างเดียว แต่สามารถแบ่งออกไปได้อีก 3 อย่าง รวมเป็น 4 อย่าง ซึ่งจากการอนุมาน และวิเคราะห์ รวมไปถึงได้ค้นคว้าและวิจัย ก็พบว่า สิ่งที่พระศิวะถืออยู่ก็คือ วิชชา 3 นั่นเอง อีกทั้งตัว สามง่ามนั้นก็คือ ซี่ของกงล้อพระธรรมจักร และแต่ละอย่าง ก็สามารถแยกแยะรายละเอียดออกไปได้อีกมาก เท่าที่ผู้เขียนได้กล่าวไปนั้นเป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้ ศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ค้นพบมา ดังนั้นจึงเพียงกล่าวไว้ให้ท่านผู้อ่านได้รู้ได้ทราบถึงต้นตอแห่งคำสอนว่ามาจากไหน มิใช่เป็นการสร้างความเชื่อในเรื่องของเทพเจ้าแต่อย่างใด

อีกประการหนึ่งบรรดาพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมงคลพิธี หรือ อวมงคลพิธี ก็ล้วนแล้วแต่ได้นำมาจากศาสนาพราหมณ์ แล้วนำมาดัดแปลงเป็นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ เหตุเพราะว่า ความเชื่อในเรื่อง ภูติ ผีปีศาจ เทพยดาและอื่นๆ อีกหลายอย่างยังคงหลงเหลืออยู่ และก็เป็นวิธีการทำให้ใจเป็นสุข ทำให้ใจหายกังวล หรือทำให้ใจสบายได้อย่างหนึ่ง แม้จะเป็นเพียงชั้นหยาบหรือชั้นปุถุชนก็ตามแต่ เหตุที่ความเชื่อในเรื่องเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อศาสนาพุทธก็เพราะศาสนาพราหมณ์ เกิดจากความเชื่อในเรื่องเหล่านั้น แล้วถูกถ่ายถอดมาสู่ศาสนาพุทธ พิธีกรรมต่างๆ เป็นวิธีการหลุดพ้นจากความทุกข์ ด้านจิตใจด้านหนึ่ง ถึงแม้จะเป็นเพียงในชั้นปุถุชน หรือจะเรียกอีกอย่าหนึ่งว่า เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ชั้นพื้นฐาน ดังนั้น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งก็นำมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมีความสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคำสอน ด้านอื่นๆ

ส่วนทางด้านวัตถุมงคล เช่นการสร้างพระประธาน พระพุทธรูปต่าง ๆ ก็ล้วนได้รับอิทธิพลมาจาก ศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะมีตำราเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปเกิดจากชาวกรีก ที่ได้เข้าไปอาศัยในดินแดนนั้นก็ตามที ซึ่งก็มีการนำไปใช้ในทางพุทธพาณิชย์ ก็เป็นเรื่องของยุคสมัย ย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ความนิยม และความเชื่อ แต่ก็มีส่วนในการทำให้จิตใจของผู้ศรัทธา คลายความเศร้าหมอง คลายความทุกข์ มีสมาธิ ฯลฯ หรือมีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น ก็นับว่าเป็นผลดีทางด้านจิตใจทางหนึ่ง แม้จะเป็นเพียงชั้นหยาบหรือชั้นปุถุชนก็ตาม อีกทั้งการนุ่งห่มในทางศาสนาพุทธ ก็ได้ดัดแปลง และได้รับอิทธิพลมาจาก อินเดียและศาสนาพราหมณ์เช่นกัน ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปเกือบทุกอย่างที่ศาสนาพุทธได้รับอิทธิพลหรือเลียนแบบมาจากศาสนาพราหมณ์ แม้แต่วิชชา 3 วิชชา 8 แห่งศาสนา ผู้เขียนสันนิษฐานว่า เป็นวิชชาแห่งศาสนาพราหมณ์ ก็เป็นได้ แต่เนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐาน หรือเหตุผลมายืนยันได้ จึงได้แต่สันนิษฐานเท่านั้น ถึงแม้ผู้เขียนจะพิสูจน์ให้เห็นได้ก็คิดว่าคงไม่สำคัญเท่าไรนักเพียงรู้ไว้ว่า น่าจะเป็นเช่นนั้น

อีกประการหนึ่ง วิชชา 3 วิชชา 8 ที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงนั้น ซึ่งจะได้อธิบายในตอนต่อๆไป คงจะเป็นข้อคิดพิจารณาอย่างหนึ่งว่า วิชชา 3 วิชชา 8 นี้ เป็น วิชชาแห่งศาสนาพราหมณ์หรือไม่ และศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาพุทธ จะมีต้นตอจากศาสนาพราหมณ์หรือไม่อย่างไร ซึ่งก็เป็นเพียงข้อคิดที่ท่านทั้งหลายควรได้ศึกษาและพิจารณาไว้เท่านั้น แต่ในหนังสือเล่มนี้ บรรดาข้อธรรมะหรือบทเรียนต่างๆ ได้มาจาก การศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ศาสนาต่างๆ ดังนั้น บรรดาข้อธรรมะหรือบทเรียนจึงมีส่วนคล้ายคลึง หรือเหมือนกันทั้งในทางศัพท์ภาษาและความหมาย แต่ก็จะมีบางศัพท์ภาษาที่มีความหมายแตกต่างจากที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ก็เนื่องจากผู้เขียนไม่สามารถหาคำใดที่มีความเหมาะสมได้เท่ากับคำศัพท์ที่มีอยู่เดิม อีกทั้งหลักความจริงตามธรรมชาติ ก็ย่อมสามารถใช้ศัพท์ภาษาที่มีความหมายคล้ายคลึงกันหรือเหมือนกันได้ อีกประการหนึ่ง ศัพท์ภาษาที่ผู้เขียนได้ใช้ในหนังสือนี้เป็นความหมายที่ผู้เขียนได้ศึกษา ค้นคว้าและวิจัยมาได้ แม้อาจจะต้องใช้ศัพท์ภาษาที่มีอยู่เดิม ก็เพื่อความเหมาะสมและง่ายต่อการจดจำและทำความเข้าใจ จึงขอแจ้งให้ท่านผู้อ่านผู้ศึกษาทราบไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ศัพท์ภาษา อีกประการหนึ่ง หลักความจริงของสรรพสิ่ง ย่อมสามารถเขียนเป็นภาษาไทยได้ในความหมายที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นหลักความจริงที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ อาจมีความหมายคล้ายคลึงหรืออาจจะเหมือนกันก็เป็นเรื่องของศัพท์ภาษา เพราะศาสดาแห่งศาสนาต่างๆได้ค้นพบมาก่อนผู้เขียน และได้สอนไว้ก่อนผู้เขียน

สรุป ตามที่ผู้เขียนได้กล่าวไปว่าศาสนาต่างๆล้วนมีต้นตอมาจากธรรมชาติและการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์,สัตว์ และอื่นๆ อีกทั้งหลักการหรือธรรมะ หรือศัพท์ภาษาที่ผู้เขียนใช้ในการอธิบายในหนังสือตำราเล่มนี้ได้มาจากการค้นคว้า ศึกษา และวิจัย เป็นองค์ความรู้ใหม่ในส่วนใหญ่ แม้จะต้องอาศัยศัพท์ภาษาที่มีอยู่เดิมบ้าง ก็เพราะศัพท์ภาษาที่มีอยู่เดิมง่ายต่อการเข้าใจและจดจำ อีกทั้งเป็นคำที่เหมาะสม เพราะท่านทั้งหลายเคยผ่านตาหรือได้อ่านได้ศึกษาเล่าเรียนมาบ้างแล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ย่อมมีส่วนคล้ายคลึงกันอยู่บ้างแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง