ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ภูเขาหรดาล
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2005, 5:20 am |
  |
ภายในเก้าเดือน หลังทรงตรัสรู้ พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ ได้บรรลุอรหัตผล ถึง 1250 องค์ จากนั้น พระยศกุลบุต และพวกพ้อง อีก 60 ท่าน บรรลุโสดาปัตติผล ทรงแสดงธรรมโปรด ภัทธวัคคีย์ กับ เพื่อน 30 ท่าน บรรลุเป็นพระอริยเจ้า.... ชฏิล สามพี่น้อง พร้อมด้วยบริวาร 1000 คน ได้ฟังธรรมะจากพระบรมครู พากันบรรลุอรหันต์ เนื่องแต่การฟังธรรมนั้น ในยุคนั้น ไม่มี TV ไม่มี fax ไม่มีกล้องถ่ายรูป ไม่มีเครื่องบันทึกเสียงคาสเซ้ท ไม่มี mp3 ไม่มี cd ไม่มี ตำรา ใดใด ไม่มีพระไตรปิฏก ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มี อินเตอร์เนต ใความรู้สึกของผม นับว่าเป็นเรื่องน่าสังเกต และน่าจะนำมาใคร่ครวญ วิเคราะห์ หาเหตุผล เพื่อนำมาเป็น แม่แบบในการเรียนการสอน พุทธศาสนา ในปัจจุบัน ขอเรียนเชิญชาวพุทธ ช่วยกันเสนอความคิดเห็นกันนะครับ อาจจะขัดแย้ง แตกต่างกันไปบ้างก็ไม่เป็นไร เราชาวเวบธรรมะ ใจเปิดกว้างกันอยู่แล้ว อโหสิกรรมให้แก่กันและกัน ล่วงหน้าไว้ก่อน...พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรด พระเจ้าพิมพิสารและมหาดเล็ก ขุนนางน้อยใหญ่ องคมนตรี ทั้งหมด ได้พากันบรรลุธรรม รวดเดียว ยกชั้น 120,000 ท่าน เป็นพระโสดาบัน มีพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นองค์ผู้นำ ในครั้งกระโน้น พระองค์ท่านนับว่า ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศ ทั้งในทางโลกและทางธรรม....ท่านทั้งหลายลองหลับตานึกภาพดูกันนะครับ ชาวประชาในครั้งพุทธกาล พระอริยโสดา เดินสวนสนามกัน เต็มตลาด เป็นยุคบ้านบุญเมืองบุญ เจริญสุดขีด.....พวกเรายุค อ่านพระไตรปิฏก กันเหมือนอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน ต่างกันตรงที่ อ่านพระไตรปิฏกด้วยความเคารพ เราอ่านตำราธรรมะฉบับการ์ตูน กันแพร่หลาย เราจะรวมใจกันน้อมขอพระพุทธานุญาต นำพุทธวิธี ที่ทรงใช้ในครั้งพุทธกาล มาใช้ในยุค ไฮเทค นี้ จะได้ไหม? ... |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2005, 9:33 am |
  |
ดวงอาทิตย์ก็ดวงเดิม พระจันทร์ก็ดวงเดิม แต่กิเลสคนในปัจจุบันหนาขึ้นตามความเจริญทางวัตถุ ใช้ธรรมชาติที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญในทางปฏิบัติธรรรม ไปในทางรื่นเริงบันเทิงสุขส่วนตน มนุษย์ทำลายธรรมชาติที่งดงามและทดแทนธรรมชาติเดิมด้วยสิ่งปลูกสร้างสนองกิเลสตัณหาตน
แต่พุทธวิธีที่ทรงใช้ในพุทธกาล จะมีมนุษย์สักกี่คนที่อ่านออกได้อย่างลึกซึ้ง และลงมือปฏิบัติด้วยความตั้งมั่น พากเพียรอย่างแท้จริง เดินตามหนังสือ เดินตามตำรากันไปวันๆ สัญญาที่คิดว่าเป็นปัญญาก็เป็นเพียงตัวหนังสือที่จดจำไว้เท่านั้น หาได้ลงมือปฏิบัติให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ไม่
ลมก็ยังพัดเย็นอยู่อย่างเช่นเดิม แดดก็ยังคงสาดส่องให้ความอบอุ่นอยู่เสมอมา ดินก็ยังคงโอบอุ้มเกื้อหนุนสรรพชีวิตอยู่อย่างเดิม น้ำก็ยังไหลหลากไม่ขาดสาย ธาตุในธาตุนอกยังไม่สามารถสัมพันธ์กันได้อย่างสมดุล ก็วนเวียนกันไปในสังสารวัฏอย่างสนุกสนานเช่นนี้หนอ...มนุษย์
ธรรมะสวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา  |
|
|
|
   |
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2005, 11:37 am |
  |
นำพุทธวิธีครั้งพุทธกาล กลับมาใช้ในยุคปัจจุบันนั้นได้ แต่ผลที่จะเกิดจะน้อย จนเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะอะไร แม้ยุคปัจจุบันวัตถุเครื่องอำนวยสะดวกได้พัฒนาช่วยให้มนุษย์สบายมากขึ้น แต่นั้นก็เป็นเครื่องอำนวยความสบายภายนอกคือร่างกาย ไม่ได้ช่วยให้จิตมนุษย์ได้สัมผัสกับความสุขอันแท้จริงเป็นธรรมชาติ กับทำให้จิตใจมนุษย์เหินห่างจากความสุขอันจริงออกไปไกลเรื่อยๆ เพื่อแสวงหาความสุขที่ได้รับจากวัตถุซึ่งเป็นความสุขเพียงผิวเผินข้างในเต็มไปด้วยความทุกข์ในรูปแบบต่างๆ นานา  |
|
|
|
    |
 |
มาดู
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2005, 11:59 am |
  |
|
|
 |
ฐิต ฯ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2005, 2:30 pm |
  |
............พระพุทธเจ้า ตรัสว่า "หลังจากพระองค์ดับขันธปรินิพพานแล้ว
............พระธรรม(คำสอน) จะเป็นศาสดาแทนพระองค์
............อกาลิโก (ธรรมะของพระองค์ยังใหม่เอี่ยมเสมอ ไม่มีหมดอายุ ไม่ขึ้นกับเวลา)
............ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ (ผู้ปฏิบัติตามคำสอน ย่อมเป็นพยานของตนเอง
............เมื่อทราบด้วยตัวเองแล้ว ก็ไม่ต้องไปถามใครอีกว่า พุทธศาสนาดีอย่างไร
............มองเข้าไปในเรือนจำ คุกตาราง สิ่ เพราะพวกเขาผิดเพียง ศีล 5
............ละเมิดศีล 5 เขาจึงถูกจองจำบ้าง ตลอดชีวิตบ้าง ประหารบ้าง
...........โลกเรา ไม่ว่าในครั้งพุทธกาล หรือในปัจจุบัน พ.ศ. นี้ มิได้ไปไกลหรือมาไกล
...........หรอกครับ แม้ว่าจะกว่า 2548 ปีมาแล้ว
.......... ถามใจตัวเองดูเถิด ครบ 24 ชั่วโมง โลกก็หมุนรอบตัวเองกลับมาที่เดิม ซ้ำแล้ว
.......... ซ้ำเล่า 24 ชั่วโมง ก็มาที่เดิม ตะไลที่งานวัด เขาจุดขึ้นสูงไปท้องฟ้า แล้วมันไป
.......... ถึงไหนล่ะ แผล๊บเดียว เผลอ ๆ ตะไลอันนั้นกลับมาตกอยู่บนหัวเราก็เป็นได้
.......... เป็นหน้าที่พุทธบริษัทครับ ที่จะต้องเข้าไปศึกษาพระธรรม คำสอน ด้วยตนเอง
.......... ในเมื่อ ทีวี คอม อินเตอร์เน็ต ยังไม่มีทุกบ้าน ทุกเรือน ทุกเมือง ฯลฯ
.......... ถ้ายังนอนรอให้พระธรรมมาหาเอง บอกได้คำเดียว "ตายอีกไม่รู้จักจบสิ้น"
ขอขอบคุณในกระทู้ครับ |
|
|
|
|
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
14 มิ.ย.2005, 8:12 pm |
  |
ด้วยความเจริญทางด้านวัตถุนี่เอง ทำให้สติปัญญาของมนุษย์ในยุคปัจจุบันแตกต่างกับมนุษย์ในยุคพุทธกาล ที่มีสภาพแวดล้อมที่ยังเต็มไปด้วยธรรมชาติ สิ่งปรุงแต่งจากมนุษย์ยังมีน้อย และมนุษย์นั้นสมัยนั้นยังค่านิยมในการแสวงหาทางพ้นทุกข์ คือพ้นทุกข์จริงๆ ไม่ใช่พ้นทุกข์อย่างสมัยนี้ ที่แสวงหาความสุขแต่ต้องดิ้นรนแสวงหามาด้วยกิเลสตัณหา ความสุขที่ได้รับมาจึงยังไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง เพราะยังไม่สามารถรอดพ้นจากความทุกข์อันเกิดจากกิเลสตัณหา  |
|
|
|
    |
 |
ขี้เหร่แต่จน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2005, 12:10 am |
  |
เขาโคย่อมมีมากกว่าขนโค(ยกเว้นโคหนังกลับ อิอิ) ในครั้งพุทธกาล เปรียบได้ว่า คงมีโคเป็นจำนวนมาก จึงมีเขาโคมาก บวกกับพระอัฉริยะแห่งความเป็นบรมครู แห่งพระพุทธเจ้า ในยุคนั้นจึงบังเกิดพระอริยเจ้าในโลกเป็นจำนวนหลายแสน ท่าน(ล้าน ก็อาจถึง ได้แก่ผู้ไม่ได้รับการจารึกชื่อไว้ในตำนาน พระอริยเจ้าตกสำรวจ) ครูธรรมะในยุคพุทธกาลเป็นพระอรหันต์แถมถ่อมตน ว่า พี่งบวชใหม่ไม่มีความรู้มาก เช่น พระอัสสชิสอนธรรมะอุปติสสะปริพาชก ในครั้งแรก เยธัมมา เหตุ ปัทวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต เพียงธรรมบทเดียวนั้นเอง ได้บรรลุโสดาปัตติผล ในคัมภีร์ไม่ได้ระบุ ว่าพระอัสสชิ พาอุปติสสะ นั่งสมาธิ ละกิเลส...ในยุคนี้ นักบวชใหม่ ตั้งสำนัก พาคนนั่งสมาธิ สอนเรื่องจิตบริสุทธิ์ หลุดพ้น โชว์ภูมิรู้ แปดหมื่นสี่ ข้อธรรม กันอย่างเต็มที่ ผลทีได้ คือ ตึกติดแอร์ร้อยล้าน ไว้นั่งหลับตา ฟังทฤษฏีธรรม สมัยพุทธกาลนั่งกันตามโคนไม้ (อาคารสถานที่มาสร้างปลายพุทธกาล) พระพุทธเจ้าประทับนั่งบนอาสนะฟาง ที่พราหมโสถิยะปูถวาย....ฮี ก็แค่ ความเห็นของใครก็ไม่รู้ อย่างนี้สมควรถูกด่า...ยอม ให้ด่า ด้วยความเคารพ เพราะเมตตา สหายธรรมท่านจึงเข้ามาด่า...เราขอเลิฟ คนด่า อิอิ :::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: เขาโคย่อมน้อยกว่า ขนโค ฉันใด เหมือนดั่ง พญานกอินทรีย์ ย่อมมีน้อยกว่า ฝูงนกกระจอก ฉันนั้น.........อินทรีย์กับกระจอกได้จากบอร์ด ทางเดินผ่านในตึกของที่ไปเรียน.....พญานกอินทรีย์ มีนิสัยเป็นผู้นำ กล้าคิดกล้าริเริ่ม ไม่หวั่นไหวย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคสามารถเป็นผู้นำแก่ตนเองและหมู่คณะได้ กล้าบินเดี่ยว จะออกเป็นคู่แค่ช่วงฤดูสืบพันธุ์ เท่านั้น
ส่วนนกกระจอกนั้นเล่าชอบอยู่เป็นฝูง ส่งเสียงจิ๊วจ้าวๆ แสดงพลังของกลุ่ม หวังสร้างความชอบธรรมจากพลังกลุ่ม ชอบเลียนแบบกัน ทำไร ทำตามๆกัน ไม่กล้าเดี่ยวเพราะกลัวเดียวดาย ไม่กล้านำเพราะกลัวปัญหา
http://www.chrisrose-artist.co.uk/print11.html(sparrows) |
|
|
|
|
 |
ขี้เหร่แต่จน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2005, 12:41 am |
  |
ขอแก้ความแรก....เขาโคย่อมมีน้อยกว่าขนโค.....สมัยนี้วัดมีมาก ทุกซอยก็วัดทุกถนนก็วัด (มีวัดเยอะ ก็ยังดีว่า มีบ่อนการพนัน ซ่องโจรเยอะ) มีหลายสำนักที่สอนศีลธรรมจริยธรรม แก่ประชาชน เป็นที่พึ่งแก่ชาวบ้านได้ นับเป็นเรื่องน่าโมทนา ในจุดนี้.....
เหตุที่พระสัทธรรมเลือนหายhttp://www.pantip.com/cafe/religious/topic/y3542518/y3542518.html
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี พระมหากัสสปได้กราบทูลถามว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุที่เมื่อก่อนบทบัญญัติพระวินัยน้อย แต่พระอรหันต์มีมาก ในปัจจุบันสิกขาบทมีมากแต่พระอรหันต์กลับมีน้อย" ... " กัสสป! ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น พระอรหันต์จึงมีน้อยลง เหตุดังนี้เพราะเกิดสัทธรรมปฏิรูป คือ สัทธรรมปลอมหรือเทียมขึ้น สัทธรรมแท้จึงเลือนหายไป กัสสป! ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ไม่อาจทำให้สัทธรรมเลือนหายไปได้แต่โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหากที่ทำให้สัทธรรมเลือนหายไป กัสสป! เหตุ 5 อย่างที่ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ไม่เคารพในพระศาสดา1 ในพระธรรม1 ในพระสงฆ์1 ในการศึกษา1 ในสมาธิ1 กัสสป! ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา มีความยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา และในสมาธิแล้ว พระสัทธรรมจะตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน และไม่เลือนหายไป " ( สัทธรรมปฏิรูปกสูตร )
--------------------------------------------------------------------------
หลักตัดสินธรรมวินัย 8........ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี พระนางมหาปชาบดี เสด็จไปเฝ้าทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อเพื่อหลีกออกปฏิบัติแต่ผู้เดียว พระพุทธองค์ทรงประทาน ลักกษณะxxxสินธรรมวินัย 8 ประการ ให้ทรงปฏิบัติคือ ........ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ 1. ความกำหนัด 2. ประกอบสัตว์ไว้ในภพ 3. ความสั่งสมกิเลส 4. ความมักมาก 5. ความไม่สันโดษ 6. ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ 7. ความเกียจคร้าน 8. ความเลี้ยงยาก พึงทราบเถิดว่า นั่นไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา ส่วนธรรมเหล่าใดที่มีลักษณะตรงข้ามจากนี้ พึงทราบเถิดว่า นั่นเป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา (สังขิตตสูตร 23/ 255 )
--------------------------------------------------------------------------
" เนื้อแท้อันตรธาน พระพุทธภาษิต นิทาน.สํ. 16/311/627-3, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน "............... "ภิกษุทั้งหลายเรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ ( กษัตริย์ ทสารหะ วงศ์ยาทพ แห่งมหาภารตะ ) เรียกว่า อานกะมีอยู่ เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น ( ทุกคราวไป ) ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่ เท่านั้น ; ภิกษุทั้งหลาย สุตตันตะ ( ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง ) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่า เฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่ : เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน ภิกษุทั้งหลาย! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล
-------------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้ สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยันชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวกเมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ : เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ : เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถามทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า " ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย? " ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่ น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้ ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอง หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่ : จัดเป็นบริษัทที่เลิศแล. ( เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน พระพุทธภาษิต ทุก. อํ. 20/92/292, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย )
|
|
|
|
|
 |
ขี้เหร่แต่จน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2005, 1:23 am |
  |
......
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นมีหมู่มนุษย์ถือถาดทองคำอันมีค่ามหาศาลไปวางให้ สุนัขจิ้งจอกถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะใส่ พระพุทธเจ้าทรงประทานคำทาย ไว้ว่า " อนาคตต่อไปภายหน้าโน้น กลุ่มคนที่โง่เขลาปัญญาทราม จะเอาพระธรรมคำสอนของเราตถาคต ไปให้ลัทธิต่างๆเหยียบย่ำทำลาย แล้วถ่ายทอดลัทธิของเขา เอาคำสอนของเขาที่สกปรกโสโครกด้วยกิเลสตัณหา มากลบเกลื่อนในคำสอนของเรา แล้วดัดแปลงแก้ไขคำสอนของเราให้เข้ากันกับลัทธิของเขา แล้วประกาศว่าคำสอนของเราตถาคตเป็นส่วนหนึ่งในลัทธิของเขา ให้คนทั้งหลายมีความเข้าใจผิดว่าคำสอนของเราเข้ากันได้กับของเขา ถือว่าเป็นอันเดียวกัน ลัทธิเหล่านั้นก็จะไม่รู้คุณค่าของคำสอนของเราตถาคตแต่อย่างใด มนุษย์อย่างนี้ก็จะมีในเมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และจะมีลัทธิต่างๆ มาอวดอ้างว่าเป็นศาสนาเป็นจำนวนมาก " พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นหงส์สีทองทั้งหลาย ไปห้อมล้อมอีกา อีกาไปไหนฝูงหงษ์สีทองทั้งหลายก็ห้อมล้อมเป็นบริวาร พระพุทธเจ้าทรงประทานคำทำนาย ไว้ว่า "อนาคตต่อไปภายหน้าโน้น พระเณรผู้บวชใหม่ใจยังมีความบริสุทธิ์อยู่ในศีลในธรรม จะห้อมล้อมพระที่ทุศีลทุธรรม จะยกให้เป็นครูอาจารย์เพื่อเคารพกราบไหว้ อีกาฉลาด มีเล่ห์เหลี่ยมในการหาอาหารฉันใด พระทุศีลทุธรรมเหล่านี้ก็ฉลาดมีเล่ห์เหลี่ยมในการหาลาภสักการะได้ฉันนั้น และแบ่งลาภสักการะให้แก่หงษ์เล็กหงษ์ใหญ่ อย่างทั่วถึง ฝูงหงษ์ทั้งหลายจึงให้ความสำคัญในอีกา เป็นอย่างมาก ในยุคต่อไปช่วงปลายศาสนาโน้น การเปลี่ยนไปในสังคมของสมณะก็จะเป็นอย่างนี้ พระที่ทุศีลทุธรรมก็จะเพิ่มมากขึ้น พระเณรที่ขาดการศึกษาก็จะไม่รู้ธรรมวินัย ไม่เข้าใจว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรผิดศีลผิดธรรม จะไม่รู้ในหน้าที่ของตน เพียงบวชกันตามประเพณีเท่านั้น เหตุการณ์อย่างนี้ ก็จะเกิดมีในภายภาคหน้า โน้น "
|
|
|
|
|
 |
ลืมซะ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 มิ.ย.2005, 9:05 pm |
  |
พุทธทำนายอีก สิบสี่ข้อ ถ้าอยากอ่านให้ครบ เข้าไปที่ http://www.google.co.th แล้วพิมพ์คำว่า พุทธทำนาย มีเวบไซท์ เพียบ |
|
|
|
|
 |
|