ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.พ.2008, 4:41 pm |
  |
การเจริญสมาธิอย่างสามัญ หรือ ฝึกสมาธิโดยใช้สติเป็นตัวนำ
การฝึกสมาธิด้วยอิทธิบาท 4 นั้น
ตามปกติใช้ได้กับงาน หรือการประกอบกิจต่างๆ เช่น การเล่าเรียนและกิจกรรม
ทั้งหลาย ซึ่งมีความก้าวหน้า หรือความสำเร็จของงานหรือกิจนั้นๆ เป็นเป้าหมาย
ให้แก่อิทธิบาท ทำให้เกิดแรงความเพียรประกอบการ ที่เรียกว่าปธานสังขาร
ขึ้นมา พุ่งแล่นไปสู่เป้าหมายนั้น จึงพาให้เกิดสมาธิ คือ หนุนให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่
ได้
แต่ในการดำเนินชีวิตประจำวันทั่วไป ที่คนเราสัมพันธ์กับอารมณ์ซึ่งเพียงผ่านไปๆ
เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นิ่งเฉย หรือดำรงอยู่ตามสภาพ ย่อมไม่มีฐานที่ตั้งตัว
หรือทำการของอิทธิบาท
ในกรณีเช่นนี้ องค์ธรรมที่จะใช้เป็นเครื่องชักนำ หรือฝึกให้เกิดสมาธิ ก็คือ
องค์ธรรมพื้นฐานที่เรียกว่า สติ
เพราะสติเป็นเครื่องดึงและกุมจิตไว้กับอารมณ์ คือ สิ่งที่พึงเกี่ยวข้องและกิจที่
ต้องทำในเวลานั้น เพราะสติเป็นที่พึ่งพำนักของใจ
การฝึกสมาธิด้วยอาศัยสติเป็นตัวหลัก แยกได้เป็น 2 วิธีใหญ่
.............................
ลิงค์เจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท =>
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14744&postdays=0&postorder=asc&start=0
[/size] |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ธ.ค.2009, 5:51 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.พ.2008, 4:54 pm |
  |
การฝึกสมาธิด้วยอาศัยสติเป็นตัวหลัก แยกได้เป็น 2 วิธีใหญ่ คือ
1. การฝึกเพื่อใช้งานทางปัญญา หรือ มุ่งประโยชน์ทางปัญญา
ได้แก่ การใช้สตินำทางให้แก่ปัญญา หรือ ทำงานร่วมกับปัญญา
โดยคอยจับอารมณ์ส่งเสนอให้ปัญญารู้หรือพิจารณา
(พูดอีกนัยหนึ่งว่า สติดึง หรือ กุมจิตอยู่กับอารมณ์ แล้วปัญญาก็พิจารณา
หรือ รู้เข้าใจอารมณ์นั้น)
ตามวิธีฝึกแบบนี้ สมาธิไม่ใช่ตัวเน้น แต่พลอยได้รับการฝึกไปด้วย
พลอยเจริญไปด้วยเอง พร้อมกับที่พลอยช่วยส่งเสริมการใช้ปัญญาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
การฝึกแบบนี้ ได้แก่ วิธีการส่วนใหญ่ของสติปัฏฐาน และเรียกได้ว่าเป็นการเจริญสมาธิ
ในชีวิตประจำวัน
ลิงค์สติปัฏฐาน=>
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.พ.2008, 5:09 pm |
  |
2. การฝึกเพื่อสร้างสมาธิล้วนๆ หรือมุ่งลึกลงไปในทางสมาธิเพียงด้านเดียว
ได้แก่ การใช้สติคอยจับอารมณ์ไว้ ให้จิตอยู่กับอารมณ์นั้นไม่คลาดจากกัน
หรือ ตรึงจิตให้อยู่กับอารมณ์ที่กำลังกำหนดนั้นเรื่อยไป
เป็นวิธีการที่เน้นสมาธิโดยตรง
แม้หากบางครั้ง จะใช้ปัญญาบ้าง ก็เพียงเล็กน้อย เป็นส่วนประกอบ
เช่น เพียงคิดพิจารณารู้ไปตามที่จำๆ มา
ไม่มุ่งหยั่งถึงตัวสภาวะ
ตัวอย่างก็เช่นวิธีการเจริญกสิณ และ อสุภะ เป็นต้น
ซึ่งโยคาวจรใช้อารมณ์ภายนอก กล่าวคือนอกกายใจตนเอง (หรือนอกรูปนาม ขันธ์ 5)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.พ.2008, 8:04 pm |
  |
การเจริญสมาธิตามวิธีธรรมชาติ
การเจริญสมาธิในข้อนี้ ก็คือ การปฏิบัติตามหลักการเกิดขึ้นของสมาธิในกระบวนธรรม
ที่เป็นไปเองตามธรรมดาของธรรมชาติ ซึ่งมีพุทธพจน์แสดงไว้มากมายหลายแห่ง-
(ที่มาจะไม่ลงให้ดู ตรงนี้)
สาระสำคัญของกระบวนธรรมนี้ คือ
กระทำสิ่งที่ดีงามอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เกิดปราโมทย์ขึ้น
จากนั้นก็จะเกิดมีปีติ ซึ่งตามมาด้วยปัสสัทธิ ความสุข และสมาธิในที่สุด
พูดเป็นคำไทยว่า เกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจ จากนั้นก็จะเกิดความเอิบอิ่มใจ
ร่างกายผ่อนคลายสงบ จิตใจสบายมีความสุข แล้วสมาธิก็เกิดขึ้นได้
เขียนให้ดูง่าย ดังนี้
ปราโมทย์ => ปีติ=> ปัสสัทธิ => สุข => สมาธิ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.พ.2008, 8:26 pm |
  |
หลักทั่วไปมีอยู่อย่างหนึ่งว่า การที่กระบวนธรรมเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้นั้น ตามปกติจะต้องมีศีล
เป็นฐานรองรับอยู่ก่อน
สำหรับคนทั่วไป
ศีล นี้ก็หมายเอาเพียงแค่การที่มิได้ไปเบียดเบียนล่วงละเมิดใครมาที่จะเป็นเหตุให้ใจคอ
วุ่นวาย คอยระแวงหวาดหวั่นกลัวโทษ หรือเดือดร้อนใจในความผิดความชั่วร้ายของตนเอง
มีความประพฤติสุจริตเป็นที่สบายใจของตน ทำให้เกิดความมั่นใจตัวเองได้
ส่วนการกระทำที่จะได้เกิดปราโมทย์ก็มีได้หลายอย่าง เช่น
อาจนึกถึงความประพฤติดีงามสุจริตของตนเอง แล้วเกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจขึ้นก็ได้
อาจระลึกถึงการทำงานการบำเพ็ญประโยชน์ของตน
อาจระลึกถึงพระรัตนตรัยและสิ่งดีงามอื่นๆ
อาจหยิบยกเอาหลักธรรมบางอย่างขึ้นมาพิจารณาแล้วเกิดความเข้าใจได้หลัก ได้ความหมาย
เป็นต้น แล้วเกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจขึ้นมาก็ได้ทั้งสิ้น
องค์ธรรมสำคัญที่จะเป็นบรรทัดฐานหรือเป็นปัจจัยใกล้ชิดที่สุดให้สมาธิเกิดขึ้นได้
ก็คือความสุข
ดังพุทธพจน์ที่ตรัสเป็นแบบไว้เสมอๆ ว่า
สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ - แปลว่า ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 พ.ค.2008, 6:58 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.พ.2008, 8:39 pm |
  |
นำตัวอย่างความเต็มมาให้ดูสักแห่งหนึ่ง เช่น
"(เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม) ปราโมทย์ย่อมเกิด
เมื่อปราโมทย์เกิด ปีติย่อมเกิด
เมื่อมีใจปีติ กายย่อมผ่อนคลายสงบ
ผู้มี กายย่อมผ่อนคลายสงบ ย่อมได้เสวยสุข
ผู้มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ว่าที่จริง การเจริญสมาธิในข้อนี้ ก็คือหลักทั่วไปของการฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นแกนกลาง
ของวิธีฝึกทั่วไปนั่นเอง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
03 พ.ค.2008, 7:03 pm |
  |
พึงทราบความหมาย ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน ของสมาธิ
-รส กิจหรือหน้าที่
-ปัจจุปัฏฐาน - เครื่องปรากฏ หรือผลที่ปรากฏ
-ปทัฏฐาน- เหตุใกล้
-ลักษณะ ของสมาธิ ได้แก่ ความไม่ซ่านส่าย
-รส ของสมาธิ ได้แก่ การกำจัดความซ่านส่าย หรือประมวลสหชาตธรรม เข้ากันได้
-ปัจจุปัฏฐาน ของสมาธิ ได้แก่ ความไม่หวั่นไหว ความสงบ
หรือญาณ คือ ความรู้ตามเป็นจริง (ยถาภูตญาณทัสสนะ)
-ปทัฏฐาน ของสมาธิ ได้แก่ ความสุข
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ส.ต.อ.ขรรค์ชัย
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 21 พ.ค. 2007
ตอบ: 50
ที่อยู่ (จังหวัด): ชุมพร
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.ค.2008, 3:58 am |
  |
ข้าพเจ้าได้ความกระจ่างเพิ่มขึ้น
ข้าพเจ้าขอเพิ่มเติมว่า
จะสามารถทำจิตสู่ขั้นปิติและสุขตามลำดับแห่งองค์ฌานนั้น ต้องรู้หลักและเข้าใจในหลักอริยสัจจ์ ๔ คือ รู้ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค |
|
_________________ นิพพานคือการดับความยึดมั่นถือมั่นเราจะเข้าถึงนิพพานได้อย่างไร |
|
   |
 |
pomo
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 3
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.ค.2008, 3:48 pm |
  |
ของคุณค่ะ  |
|
|
|
  |
 |
|