Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ชีวิตลิขิตได้ ศูนย์ความจำ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ผ้าขี้ริ้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 ก.ย. 2005
ตอบ: 101

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 9:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



646646.jpg


ชีวิตลิขิตได้
กับมนุษย์เป็นดุจของคู่กัน กาลเวลาแม้เนิ่นนานหลักความเชื่อต่างๆ ก็ยังมั่นคง แต่สำหรับมนุษย์ผู้เข้าถึงความจริงและเหตุผลแล้ว ก็ไม่ต้องยอมจำนนต่อความเชื่อใดๆ เพราะการได้ประสบการณ์กับของจริงนั้น ๆ ทำให้เขารู้ถูกต้อง จึงทำให้มนุษย์เช่นนี้กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำด้วยความมั่นใจโดยไม่ต้องยอมจำนนต่อความเชื่อ ใด ๆ หลักการที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยผู้ที่ได้ประสบการณ์จากของจริง ๆ แม้จะมีผู้พยายามเปิดเผยให้ทดลอง แต่ก็ได้รับการสนองเฉพาะผู้มีปัญญาเท่านั้น
มนุษย์โลกส่วนใหญ่ยังยอมจำนน ต่อความเชื่อตามความเชื่อของตนเอง โดยไม่สนต่อเหตุผลอยู่ทุกวี่วันไม่จางคลาย
แม้ชีวิตของคนเรา ก็ยังถูกเชื่อว่ามีผู้เป็นใหญ่หรือแหล่งอำนาจคอยควบคุมลิขิตชีวิต ทำให้หลาย ๆ ชีวิตต้องยอมจำนนตัวเอง ไม่เชื่อมั่นการกระทำของตนเอง หรือบางคนต้องลดตนถึงกับคอยกราบไหว้อ้อนวอนบวงสรวงต่าง ๆ เพื่อหวังให้ผู้เป็นใหญ่ประทานสิ่งที่ตนปรารถนา

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติหลักความเชื่อที่ทำให้ชีวิตยอมจำนนไว้ ๓ ประการ คือ..
๑. ปุพพกตเหตุ เชื่อว่าชีวิตถูกลิขิตด้วยกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว
๒. อิสรนิมานเหตุ เชื่อว่าชีวิตถูกกำหนดโดยผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าบันดาล พรหมลิขิต หรือฟ้าประทาน
๓. อเหตุอัปปัจจยา เชื่อว่าชิวิตเป็นไปโดยดวง แล้วแต่โชคลาง เป็นเรื่องบังเอิญไม่มีเหตุ
ความเชื่อทั้ง ๓ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงสอน ไม่ทรงสรรเสริญ แต่ ทรงตำหนิชี้โทษว่า … “บุคคลใดมามีความเห็นว่าสุข ทุกข์ เป็นไปดังที่กล่าว… ความเพียรก็ดี ความพยายามโดยชอบก็ดีย่อมไม่เกิด “
ความเชื่อทั้ง ๓ ประการนี้ อย่างแรกดูเหมือนคล้าย ๆ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนอย่างที่สองเป็นความเชื่อของผู้ที่นับถือเทพเจ้า อย่างสุดท้ายมักเป็นความเชื่อของผู้ที่ไม่คอยสนใจศาสนาเป็นส่วนใหญ่
เรามาดูอย่างที่สามก่อน คนในสมัยปัจจุบันมักถูกสภาพเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมบีบให้ห่างศาสนา คนเห็นวัตถุเป็นที่พึ่ง และประจวบกับคนก็ละเลยด้วย จึงมีความเชื่อโดยสรุปจากเหตุการณ์เฉพาะ ๆ ว่าทุกเหตุการณ์เป็นเรื่องบังเอิญ แล้วแต่ดวง แล้วแต่โชค ดวงดีก็ดีเอง จะทำชั่วก็ตามทำดีก็ตามไม่สำคัญ ทำชั่วไม่มีใครรู้เห็น ถือว่าไม่มีโทษ ทำดีไม่มีใครชม ไม่ได้ยศ ไม่ได้เงิน ถือว่าทำดีไม่ได้ดี คนประเภทนี้จะไม่มีการรับผิดชอบพฤติกรรมของคน ดื้อรั้น มักสร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม ปล่อยตัวเองไหลไปกับกระแสโลก วิ่งตามค่านิยมไม่มีหยุด (โลกานุวัตน์) ต่อเมื่อตนเองประสบกับทางตันของชีวิตหรือความวิบัตินั่นแหละ เขาจึงเริ่มหันเข้าหาศาสนาเริ่มเพียรสร้างความดี แต่มักไม่เหลือความพร้อมแทบจะสายเสียทุก ๆ ราย
ส่วนอย่างที่สอง เชื่อว่าชีวิตถูกกำหนดด้วยผู้เป็นใหญ่ บุคคลกลุ่มนี้มักมีความยึดมั่นถือมั่นมาก เพราะค่านิยมของลัทธิทำให้เขาฝังตัวเองอย่างไม่ยอมถอย ซ้ำยังถูกล้อมด้วยทิฏฐิของศาสดาไม่ให้เปิดใจต่อเหตุผลในคำสอนใคร ๆ ความจริงเป็นเรื่องของจิต -วิทยาเพราะคนทั่วไปจิตใจมักเรียกร้องความรัก ความเข้าใจ ความยอมรับ อันเป็นสิ่งธรรมดาที่มนุษย์ปรารถนายิ่งกว่าปัจจัยสี่ ซึ่งเป็นเหตุทำให้อบอุ่น มีความสุขใจ ให้ชีวิตได้สดชื่นในระดับต้น ๆ
มนุษย์จีงได้วางกฎเกณฑ์เพื่อสนองความต้องการจุดนี้ ด้วยการสมมุติผู้เป็นใหญ่ไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวเคารพบูชา โดยวิธีมอบความรัก ความเชื่อ ความจริงใจ ความซื่อสัตย์ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะทำให้สิ่งที่เขาบูชาถูกใจ ชอบใจ จะได้ตอบแทนความรัก ความหวังดีความยอมรับและสนองความต้องการของตนกลับคืนมาตามความเชื่อนั้น ซึ่งเป็นกลไกการสนองความต้องการของคนด้วยคนเป็นผู้สร้างกลอุบายขึ้น เพื่อให้กำลังใจตนเองให้มีความสุขใจ ให้มีความอบอุ่น ไม่หมดหวัง ไม่ท้อแท้ ตามหลักอุบายเพื่อจะแสวงหาความรักความอบอุ่นจากผู้อื่นด้วยตนเอง แม้ที่สุดหาจากโลกมนุษย์ไม่ได้ ก็ยังมีทางสุดท้ายให้หวัง จากสิ่งลี้ลับ โดยไม่เคยรู้ - เคยพบ เป็นการหาทางออกให้จิตใจที่จะหมดหวังโดยอาศัยความเชื่อด้วยการผูกตัวเองไว้กับสิ่งนั้น คำสั่งสอนชนิดนี้จะทำให้คนจำนนชีวิต ไม่เชื่อมั่นการกระทำของตนเอง ทำอย่างไร เพียรขนาดไหนแล้วแต่ผู้เป็นใหญ่จะชอบใจ ถ้าถูกใจก็จะประทานให้สมปรารถนา ถือว่าเป็นคำสอนที่ดูถูกศักยภาพของมนุษย์
แต่ทางพุทธธรรมชี้ว่า ทุกอย่างทั้งในโลกและนอกโลกไม่สามารถยึดเป็นที่หวังได้ เพราะไม่มีสิ่งใดเป็นอมตะของตนเอง ทุกอย่างตกอยู่ในกฎไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องอาศัยเหตุจึงเกิด ดังนั้นมีทางเดียวคือ การถอนจิตไม่ให้ถูกพันธนาการจากสิ่งใด ๆ และการถอนจิตได้นี้เราเรียกว่า “ ความหลุดพ้น “ จะไม่มีอะไรทำจิตที่พ้นพันธนาการนี้ให้ท้อแท้ หมดหวัง เป็นทุกข์ได้เลย และการที่จิตไม่ถูกพันธนาการนี้ ไม่ใช่การไม่รับผิดชอบไม่รับรู้ช่วยเหลือ แต่เป็นการรับรู้และการกระทำการเกี่ยวข้องด้วยดีอย่างสมบูรณ์ รับผิดชอบเต็มที่อย่างมีสติสัมปชัญญะ โดยที่จิตใจไม่มีความทุกข์เลยแม้แต่น้อย เลยกลับกลายเป็นเรื่องของมนุษย์เป็นผู้ลิขิตสุข – ทุกข์ของตนเองด้วยการใช้สติปัญญา
ส่วนอย่างแรก คล้ายคำสอนในพุทธศาสนา แต่ทำไมพระพุทธเจ้าทรงตำหนิ ขี้โทษว่าจะทำให้ชีวิตยอมจำนน ที่เป็นเช่นนี้เพราะสอนไม่ตรงตามความจริง ชีวิต สุข – ทุกข์ขึ้นอยู่กับกรรม แต่มิใช่กรรมเก่าเพียงอย่างเดียว ชีวิต สุข – ทุกข์ ต้องอาศัยองค์ประกอบอื่น ๆรวมทั้งกรรมในขณะปัจจุบันด้วยต่างหาก ชาวโลกไม่น้อยที่รู้จักพระพุทธศาสนากลับเห็นว่าพุทธศาสนาสอนให้จำนนต่อกรรมเก่า แม้แต่คนระดับศาสตราจารย์ที่เคยออกทีวี และอาจารย์ที่สอนศาสนาในมหาวิทยาลัยบางท่าน ก็ยังสับสนกับคำสอน เรื่องกรรม อยู่มาก มักมีความเชื่อเรื่องกรรมที่สับสน เช่น
- - กรรมเป็นเรื่องร้ายแรง เป็นสิ่งเลวร้าย
- - กรรมเป็นเรื่องต้องยอมจำนน
- - กรรมเป็นเรื่องที่ยืดหยุ่นไม่ได้
- - กรรมเป็นความชั่วที่ทำไว้ในอดีต
- - กรรมเป็นเรื่องของบาป
- - กรรมเป็นผลร้าย (วิบาก) ที่ได้รับ
- - กรรมเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี (กิเลส)
- กรรมเป็นคำสอนที่ทำให้คนไม่แก้ไขพัฒนาชีวิต
คำว่า “ กรรม “ จริง ๆ แล้วเป็นคำกลาง ๆ ดีก็ได้เสียก็ได้ มีความหมายเพียงการกระทำด้วยกาย วาจา ใจ ถ้า กระทำเป็นไปในทางดี เรียกว่า กุศลกรรม หรือ บุญ ถ้ากระทำเป็นไปในทางชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม หรือ บาป

••คือ บุญ และ บาป นั้นมีเหตุให้เกิด และบุญบาปก็มีผลของตน ๆ ถ้าเราเข้าใจแยกแยะว่าอะไรเป็นเหตุแห่งกรรม? อะไรเป็นผลของกรรม ? อะไรเป็นกรรม ? ก็จะทำให้เราไม่สับสนในเรื่องกฎของกรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงชี้ให้เห็นวงจรชีวิตไว้เป็นองค์ประกอบ ๓ ประการ ที่เกาะเกี่ยวกันคือ กิเลส กรรม วิบาก ทั้ง ๓ เรียกว่า “ วัฎฎะ “ กิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำแล้วก็เกิดผลกรรม (วิบาก) และเมื่อผลกรรมเกิดขึ้นก็เร้าจิตใจให้กิเลสกำเริบ เป็นวัฏฏะวนเวียนอยู่เช่นนี้

กิเลสวัฏฏ์ เป็นความเศร้าหมองของจิตใจ ซึ่งมีมูลมาจากกิเลส ๓ ตัวคือ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นตัวชักพา ให้ทำดีทำชั่ว
กรรมวัฏฏ์ ได้แก่การกระทำ ด้วย กาย วาจา ใจ ทั้งบุญ – บาป โดยอาศัยทวารทั้ง ๓ คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร เป็นที่กระทำกรรม
วิปากวัฏฏ์ ได้แก่ผลของกรรม ที่สนองให้มาในลักษณะวิบากจิตและกัมมชรูป คือความรู้สึกทางทวารทั้ง ๕ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการนึกคิดปรุงแต่งในใจ เรียกว่า วิบากจิต ส่วนประสาทตาและชีวิตรูป เรียกว่า กัมมชรูป ถ้าได้รับรู้สิ่งที่ดีก็จะเป็นเหตุให้เกิดกิเลสวัฏฏ์คือ ความโลภ พอใจเกิดกำเริบขึ้น แต่ถ้าสัมผัสในสิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นเหตุให้กิเลสวัฏฏ์ในส่วนของความโกรธไม่พอใจกำเริบ ทั้งโลภะและโทสะที่กำเริบนี้เพราะความรู้ไม่เท่าทันสภาพธ่รรมชาติที่เกิด เรียกว่า หลงด้วยอำนาจโมหะกิเลส คือความมืดบอดทางสติปัญญา เมื่อหลงจึงโลภ เมื่อหลงจึงโกรธ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำ(กรรมวัฏฏ์) ต่ออีก เป็นวงจรชีวิตที่วนเวียนไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าจะตัดทำลายวงจรได้จึงหลุดพ้น
ถ้าเราเข้าใจแยกแยะเช่นนี้ ความสับสนในเรื่องของกรรมจะไม่มี ที่สับสนเพราะเข้าใจวัฏฏะ ๓ สับสน คือเห็นว่า….
- กิเลสเป็นกรรม เช่นอยากสูบบุหรี่อยากกินเหล้า ก็เข้าใจว่าเป็นกรรมเก่ามาทำให้อยาก ความจริงกิเลสในปัจจุบันทำให้อยาก ไม่ใช่กรรม
- วิบากเป็นกรรม เช่นเวลาที่ชีวิตประสบกับสิ่งเลวร้าย ก็มักบอกว่าเป็นกรรมของสัตว์ที่จิรงเป็นผลของกรรม (วิบาก) ของสัตว์ที่ได้ทำกรรมมาแล้ว
- กิเลสเป็นวิบาก เช่นติดการพนัน ติดยาเสพติด ก็เห็นว่ามันเป็นผลของกรรมที่ได้ก่อไว้ ซึ่งที่จริงเป็นกิเลส
เพราะการติดคือความอยาก (โลภะ) ชนิดรุนแรง บางครั้งยิ่งสับสนหนักไปต่าง ๆ นานา เช่นเห็นว่ากรรมเป็นกิเลส กรรมเป็นวิบาก วิบากเป็นกรรม วิบากเป็นกิเลส สับสนไปหมด
•
เราต้องแยกแยะให้ออก เช่นอยากกินเหล้า ความอยากเป็นกิเลส การกินเป็นกายกรรม ความคิดเป็นมโนกรรม การได้รับรู้รสสัมผัสเป็นผลกรรม (วิบาก) อันมาจากกรรมอดีตและกรรมปัจจุบันร่วมส่งผล
อีกตัวอย่างเช่น ถูกด่าแล้วโกรธ ความโกรธเป็นกิเลส ความไม่พอใจเป็นมโนกรรม ถ้าด่าคืนเป็นวจีกรรม ถ้าทำร้ายเป็นกายกรรม การรับรู้ได้ยินทางหูที่ต้องจำยอมได้ยิน เป็นผลกรรมจากอดีต (วิบาก)
ผลร้ายของความเข้าใจผิด
ถ้าเราเข้าใจแยกแยะเช่นนี้ความสับสนในเรื่องกรรมจะไม่มี และการสับสนเช่นนี้ถ้าหากเชื่อว่าชีวิตต้องยอมจำนนต่อกรรมเก่าด้วยแล้วยิ่งอันตรายใหญ่ เพราะบางทีตัวเองชุ่มอยู่กับกิเลส เช่นชอบเล่นการพนัน ชอบลักขโมย เกียจคร้าน กลับเห็นว่าเป็นเพราะกรรมลิขิต ทำให้เขาต้องเป็นนักพนัน เป็นขโมย เป็นผู้เกียจคร้าน ซึ่งทำให้เขาปล่อยตัวไม่คิดแก้ไข ยอมจำนนต่อพฤติกรรม ปล่อยตัวเองให้ทำบาปอยู่เช่นนั้น เป็นการฝังตนเองไว้กับหล่มแห่งบาป ซึ่งเป็นการสะสม เหตุของความทุกข์ร้อนให้ตนเองต้องฉิบหาย
ที่จริงเขากำลังยอมจำนนต่อกิเลสไม่ใช่ยอมจำนนต่อกรรม ซึ่งกิเลสเป็นสิ่งที่เราต้องละ ต้องกำจัดทำลาย และมีวิธีสามารถกำจัดทำลายได้ ไม่ใช่ให้เรายอมจำนนชีวิตต่อกิเลส นี้จะเห็นว่า การเข้าใจกรรมผิดพลาดทำให้ชีวิตเสียหายมากเหลือเกิน
แม้การเข้าใจสับสนในเรื่องผลของกรรมเก่า ว่าเป็นกรรมก็เช่นกัน ทำให้ชีวิตจำนนต่อสิ่งเลวร้ายอย่างไม่คิดแก้ไข ซึ่งที่จริงแล้ว ผลกรรมจะเกิดต้องอาศัยองค์ประกอบและเป็นการฟ้องอดีตทำให้รู้จุดบอดของตัวเอง เมื่อเราปรารถนาอนาคตที่ดีงาม ก็เลือกทางเดินเสียใหม่ ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมกระทำไปในทางที่ดี เป็นการรับผิดชอบความเลวร้ายด้วยตัวเอง ไม่ตีโพยตีพยาโทษใครเป็นการรักษาใจไม่ให้ทุกข์ร้อนได้อย่างวิเศษวิธีหนึ่งทีเดียว ซ้ำยังทำคนให้ไม่งอมืองอเท้า ขยันขันแข็ง ไม่รอวาสนา
กรรม เป็นการกระทำ เลือกทำได้ หลีกไม่ทำได้ ไม่ใช่ผลของกรรม (วิบาก) ไม่ใช่ตัวยุให้ทำ (กิเลส)
- การเข้าใจตัวกรรม จะทำให้เรารู้จักตัวเองว่าอะไร ถูกผิด เลือกการดำเนินชีวิตได้ กรรมเป็นตัวเจตนาที่เกิดในความรู้สึกพร้อม ๆ กับความคิดนึกต่างๆ ตลอดเวลา ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าเจตนาเป็นตัวกรรม “
- การเข้าใจเรื่องกิเลส จะทำให้เรารู้เท่าทันความคิด รู้จักจิตใจตัวเองละเอียดมากขึ้น ทำให้เกิดสติก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิด ไม่ตกเป็นทาสความคิดของกิเลส
- การเข้าใจเรื่องผลของกรรม (วิบาก) จะทำให้เรารับผิดชอบผลร้ายด้วยตัวเอง ไม่เพ่งโทษผู้อื่น ทำให้ใจสบายคลายทุกข์ อ่านอดีตกรรมของตนเองออก เลือกอนาคตใหม่ได้พอสมควร สามารถเพิ่มเติมความดีที่ตัวเองยังบกพร่องให้เต็มได้ ไม่เป็นคนจำนนชีวิต
•
ดังนั้น ในขณะนี้เรากำลังสั่งสมพฤติกรรม สร้างนิสัย ทำกรรมอะไร สะสมกิเลสอะไร จงรีบรู้เท่าทัน ก่อนที่จะติดเป็นปกติ เป็นนิสัย เป็นสันดาน ถ้าหากนิสัยเสียดุจการติดหล่ม จะไถ่ถอนตัวเองให้เจริญขึ้นยากมาก แก้ไขยากมาก เพราะมันฝึกจนชิน ฉะนั้นในขณะนี้เรากำลังเริ่มสะสมพฤติกรรมอะไร ชอบคิดแบบไหน ชอบพูดเรื่องอะไร ชอบทำอะไร จงรีบแก้ไขก่อนที่จะติดนิสัยนั้น ๆ อันจะเป็นการหมักหมมตัวบาปอกุศล ดุจการพอกหางหมูเป็นการสั่งสมเชื้อร้ายจะทำให้เสียหายกว่าการได้รับชดใช้ผลกรรม เพราะต้องตามชดใช้หนี้กรรมที่ทำไว้มากมายไม่สิ้นสุด
••
- ผลกรรมที่ไม่ดีเลวร้าย เป็นอนิฏฐารมณ์ เช่นได้ยินเสียงด่า จงมนสิการว่า เราได้ชดใข้หนี้ที่ตนเองได้สร้างเอาไว้เป็นการรับผิดชอบผลของการกระทำด้วยตนเองเป็นการตัด เว้นละลายทุกข์ทางใจได้ อยู่เหนือโลกธรรม แสวงหาความสุขใจด้วยการคิดง่าย ๆ
- ผลกรรมดี เป็นอิฏฐารมณ์ เมื่อเราได้รับสิ่งที่ดีงามทั้งปวง ที่เรามักเรียกว่าโชคดีมีลาภ ให้เราจงรู้ว่าเป็นการเบิกถอนทุนที่เราสะสมไว้ เมื่อเราได้รับจงรู้ว่ามันได้ถูกใช้หมดไปเราต้องเร่งสร้างบุญใส่เข้าไปใหม่ก่อนบุญจะหมด เหมือนคนได้เลื่อนยศต้องเร่งทำบุญ เป็นการเติมทุนไม่ให้บุญหมด เพราะถ้าชีวิตหมดบุญจะลำบากทันที
- ทั้งสองอย่างอันเป็นผลดีและไม่ดีนั้นเป็นโลกธรรม เป็นสิ่งธรรมดา ๆ ของโลก ควรโยนิโส หาทางออก ยกจิตใจให้อยู่เหนือโลกธรรม ทำจิตให้อยู่เหนืออารมณ์ ดูโลกอย่างเข้าใจโลก

การทำบุญด้วยอะไร แล้วจะได้อะไรนั้น เราจะเอาอะไรตัดสิน เพราะบางคนสับสนต่อผลบุญจนกลัวอานิสงส์ เช่นคนจีนไม่ชอบทำบุญด้วยการสร้างห้องสุขา เพราะกลัวสุขาจะติดตามไปอยู่ใกล้ ๆ ตลอด หรือใครทำบุญแต่เพียงข้าวก็จะอดน้ำ ความจริงไม่มีการให้ข้าว ไม่มีการให้ห้องสุขา ไม่มีการให้น้ำ เพราะชื่อนั้นเป็นสิ่งสมมุติ แท้จริงการให้เป็นการให้สิ่งที่เขารู้ได้ทางทวาร ๖ นั่นเอง เช่นให้ข้าว คนรับจะได้รับรสอร่อย ได้ความอิ่ม ได้อายุ ได้ชีวิต ได้กำลัง ได้ความสุข สิ่งที่ผู้ให้จะได้รับผลก็คือ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ให้ข้าวต้องได้ข้าว หรือให้กระเบื้องต้องได้กระเบื้อง
หลักการตัดสินว่าให้อะไรแล้วได้อะไร เราต้องเอาสภาพทางทวาร ๖ เป็นเครื่องพิสูจน์ตัดสิน สิ่งที่เขาได้รับนั้นแหละคือสภาพที่เราจะได้เมื่อรับ ซึ่งอาจจะมีลักษณะแตกต่างกันในรูปแบบสิ่งของที่ได้รับ แต่เสมอกันด้วยสภาพการรับรู้ทางทวารทั้ง ๖ เช่นนางเทพธิดาตนหนึ่งได้อุบัติเกิดในสวรรค์ พร้อมบริบูรณ์ไปด้วยสรรพสิ่งที่มีสีเหลืองสุกปลั่ง(ทองคำ) เพราะเหตุที่ได้บูชาพระสารีริกธาตุด้วยดอกฟักที่มีสีเหลืองสด
•
ชีวิตร่างกายเป็นสิ่งที่ถูกปรุงขึ้นด้วยกรรม จิต อุตุ อาหาร ความเจ็บป่วยก็มีสมุฏฐานมาจากสี่องค์ประกอบนี้ ถ้าจิตใจไม่ดีจิตก็มีผลต่อร่างกายทันที ถ้าอุตุ( ดิน ฟ้า อากาศ) แปรปรวน ร่างกายปรับไม่ทันก็ต้องเจ็บป่วย หรือถ้าอาหารไม่ดี แสลง ไม่เหมาะต่อสุขภาพก็จะต้องเจ็บป่วย แต่โรคบางอย่างที่รักษาด้วย ยา อาหาร และจิตบำบัดไม่หายก็มี โรคนี้เรียกว่าโรคกรรม – โรคเวร การรักษา ต้องแก้ด้วยการทำกุศลที่แก้กันได้ เช่นพี่สาวของพระอนุรุทธะ เป็นโรคผิวหนังรักษาไม่หาย ต้องไปสร้างวิหาร ถวายวัดแล้วถวายความอุปัฏฐาก ปัดกวาด เช็ด ถู โรคจึงได้ทุเลาแล้วหาย
ดังนั้น เมื่อเจ็บป่วย เราไม่อาจรู้สมุฏฐานได้ จึงต้องหาหมอ ต้องใช้ยาเป็นเบื้องต้น ไม่ควรสรุปว่าแล้วแต่บุญ แล้วแต่กรรมเพราะไม่ถูกต้อง โรคบางอย่างไม่ได้มีสมุฏฐานมาจากกรรม แต่ว่าทางที่ดี การรักษาด้วยวิธีใด ๆ ก็แล้วแต่ ควรต้องทำบุญช่วยด้วยจึงดี เพราะเราไม่สามารถรู้สมุฏฐานทั้ง ๔ อันเป็นเหตุของการเจ็บป่วยชัดเจน และการได้ทำบุญไว้ก็เป็นการช่วยให้ตนมีบุญ เป็นการหนุน(อุปถัมภ์) ให้ตนหลุดพ้นจากการเจ็บป่วยอันเป็นผลของบาปดังคนนิยมทำบุญกันในรูปการสะเดาะเคราะห์ สังฆทาน บวช ฯลฯ อะไรต่าง ๆ เหล่านี้
?
กิเลสก็อย่าง วิบากก็อย่าง กรรมก็อย่าง การตัดกรรมไม่ใช่การตัดผลของกรรม ผลกรรมเป็นสิ่งที่จำต้องรับ ตัวกรรมเป็นสิ่งที่เลือกทำได้
การตัดกรรมนั้นคือการตัดอกุศลกรรมหรือบาปกรรม ได้แก่การหยุดทำอกุศลกรรมนั้น ๆ ไว้ด้วยการทำบุญ ทำกุศลกรรม เช่น รู้สึกโกรธเป็นบาปกรรม ตัดกรรมก็โดยการเจริญเมตตา โกรธอิจฉาเป็นบาปกรรม ตัดกรรมด้วยการแผ่มุทิตา นิวรณ์เกิดเป็นบาปกรรม ตัดกรรมด้วยการกำหนดสมถภาวนา วจีทุจริตเกิด กายทุจริตเกิดเป็นบาปกรรม ตัดกรรมด้วยการรักษาศีลทำสุจริตกรรมแทน
กรรมมักพูดคู่กับเวร เช่นหมดเวร – หมดกรรม เวรนั้นหมายเอาการสนองผลการกระทำตามลักษณะที่ทำ ถ้าเป็นการผูกอาฆาตเรียกว่าผูกเวร ผลจะมีไม่สิ้นสุด บุคคลผู้ถูกอาฆาต จะต้องล้างผลาญกันข้ามภพข้ามชาติ ดังนั้นการตัดเวรตัดกรรม ก็ต้องทำด้วยการเจริญเมตตา ให้อภัย อโหสิ ขอขมา จึงหมดเวร สมจริงดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร “

วิธีที่ ๑ ผลกรรมที่ไม่ดีเราสามารถชะลอได้ แต่เฉพาะที่ ไม่ร้ายแรงมากเช่น ถ้าหากเรารู้ว่าอายุจะเหลืออยู่อีก ๓ เดือน จะประสบอุบัติเหตุ ให้เราเร่งทำบุญเพื่อเพิ่มบุญ เมื่อบุญใหม่เริ่มส่งผล บุญก็จะอุปถัมภ์ให้ชีวิตอายุยืนยาว และจะเบียดเบียนกรรมเก่าๆ ไว้ไม่ให้ออกผลได้ เป็นการชะลอผลกรรม และถ้าหากผลกรรมนั่นถูกเบียดเบียนจนเลยกำหนดก็หมดเวลาที่จะต้องมารับโทษไปเอง
แต่ถ้าหากกรรมนั้นรุนแรงเพราะบาปหนักมากก็ไม่อาจชะลอได้เลย ดุจพระเจ้าสุปพุทธะ รู้ว่าตนจะถูกแผ่นดินสูบ ก็เลยหนีขึ้นอยู่บนปราสาท แต่ก็เกิดเหตุให้ม้าตัวโปรดร้อง ทำให้หลงลืมสติลงมาถูกแผ่นดินสูบจนได้
วิธีที่ ๒ กรรมจะให้ผลนั้น ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในปัจจุบัน ๔ อย่าง คือ คติ อุปธิ กาล ปโยคะ ถ้าองค์ประอบ ๔ ประการนี้เป็นไปในทางเสื่อมเสีย(วิบัติ) ก็จะเป็นปัจจัยให้ผลของบาปกรรมมาส่งผลได้ แต่ถ้าองค์ประกอบสมบูรณ์ดี (สมบัติ) ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดผลของบุญได้สะดวก ดังนั้นการชะลอผลกรรมหรือการเร่งผลกรรม ก็อยู่ที่ว่าเราจัดองค์ประกอบเหล่านี้ได้ดีหรือไม่
- คติ คือภพ ที่ไปเกิด หรือที่อยู่ สิ่งแวดล้อม
- อุปธิ คือร่างกาย บุคลิกท่าทาง ฐานะหน้าที่
- กาล คือกาลเวลา ยุคสมัย ค่านิยมของยุคสมัย
- ปโยคะ คือความเพียร ความพยายาม ความขยันอดทน เป็นการกระทำในปัจจุบัน
ตัวอย่าง : เช่นเราอยากร่ำรวยที่เราไปอยู่ต้องเหมาะต่อการทำอาชีพ, การค้าขายเรียกว่า คติสมบัติ, ด้านร่างกายมีสุขภาพพลานามัย และบุคลิกดี ไม่เจ็บป่วยทุพลภาพ เรียกว่า อุปธิสมบัติ , ด้านกาลเวลา รู้จักช่วงโอกาส ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการทำอาชีพ เรียกว่า กาลสมบัติ, ความอดทน ขยันหมั่นเพียร ทำเต็มที่ เรียกว่า ปโยคสมบัติ
ถ้าองค์ประกอบดี ร่ำรวยได้ แต่ถ้าองค์ประกอบไม่พร้อม (วิบัติ) การค้าขายก็ต้องบกพร่องไป หรือถ้าหากเราจะหลีกผลบาปเก่า เช่นจะถูกรถชน จะถูกคนทำร้าย เราก็เลือกคติที่ดีเช่น ไปบวชปฏิบัติธรรมอยู่ในวัดไม่ไปไหน ๆ อุปธิร่างกายก็ทำให้เหมาะสมกับฐานะหน้าที่ คือวางตัวให้เหมาะสมไม่ทำตนนอกรีตนอกรอย กาลเวลาก็ทำให้เหมาะสมถูกกาลเวลา ปโยคะ คือ ความเพียร ก็หมั่นทำกุศลเจริญสติจิตใจแน่วแน่ไม่ท้อถอย ถ้าเราจัดองค์ประกอบเช่นนี้รถที่จะมาชน คนที่จะมาทำร้ายก็เกิดยากมาก เป็นการชะลอกรรมได้
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ปโยคะ ได้แก่ความพยายาม ความเพียรในการทำความดี ซึ่งเราสามารถเลือกได้ เร่งได้ด้วยตัวเอง ส่วน ๓ อย่างข้างต้น บางครั้งเราไม่อาจเลือกหรือจัดสรรได้เลย และเป็นเพียงเครื่องรองรับเท่านั้น
•
ผลที่ดีนั้นได้แก่ การรับรู้หรือได้ประสบกับ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ อันเป็นอิฏฐารมณ์ที่มนุษย์ปรารถนา เป็นเรื่องกิน กาม เกียรติ เป็นเรื่องวัตถุเสียส่วนมาก ซึ่งที่จริงการมีทรัพย์สิน เงิน ทอง แม้มากมาย แต่ถ้ามีโรคภัยมาเบียดเบียนร้ายแรง ก็หาความสุขสบายไม่ได้ เหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ “
แต่การทำดีนั้น คนเรามักเพ่งไปที่ผลดังกล่าว แล้วก็เร่งเร้าอยากให้เห็นผลวันนี้ พรุ่งนี้ ซึ่งการทำบุญ(มหากุศล) นั้น เป็นสิ่งที่ต้องรอ อาจเป็นเดือน เป็นปี หรืออาจข้ามภพ ข้ามชาติจึงออกผลจะมีเพียงกุศลที่ได้องค์ประกอบพร้อมจริง ๆ คือได้ทำบุญกับพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่ท่านเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน แล้วออกนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ เราได้ทำบุญกับท่านเป็นบุคคลแรก ด้วยทานที่ได้มาอย่างบริสุทธิ์ อย่างนี้จึงได้ผลภายใน ๓ วัน ๗ วัน
การรอคอยผลบุญที่จำต้องรอคอย ทำให้คนลังเลต่อผลของบุญที่จะได้รับเมื่อทำความดี จนบางคนเขวต่อการทำบุญก็มาก เช่นมาวัดทำบุญ เงินหาย รองเท้าถูกขโมย สุนัขกัด จึงมีคำกล่าวที่ว่า “ ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป “
การรับผลของกรรมอุปมาคล้ายกับการปลูกพืชเช่นการปลูกต้นมะพร้าว แต่ขณะนั้นมะนาวให้ผลสุกพอดี ก็จำต้องรับผลมะนาวไปก่อน จะด่วน ว่ามะพร้าวเปรี้ยวไม่ถูก จะกินมะพร้าวก็ต้องรออีกนาน
ด้วยเหตุนี้ขอให้เราตระหนักว่า แม้ขณะทำดีแต่รับผลไม่ดีอาจจะโดนว่า ถูกนินทากล่าวร้าย แต่จงรู้ว่าความดีย่อมาไม่แปรเปลี่ยนด้วยคำพูด ใครๆ ดีย่อมเป็นดี บุญย่อมเป็นบุญ ฉะนั้นทำดีย่อมได้รับผลดี เป็นคำพูดที่ถูก จริง และเมื่อเราแน่ใจให้เรามั่นคงไว้ จงอย่าหาความสุขกับผลการกระทำที่หวังจะได้รับแต่ จงให้ภูมิใจกับคุณค่าที่ตนได้มีโอกาสทำ จงสาธุ มุทิตา กับตนเอง ในคุณค่าของการกระทำนั้น โดยใช้คำเพียงสั้น ๆ ให้เราได้กำไร คือ .” ทำดี - ดี, ทำชั่ว - ชั่ว “ไม่ต้องรอ
• :
ชาวพุทธเราแม้ทำดีแต่จิตใจยังไขว้เขว ไม่ค่อยเชื่อบุญ – บาป ที่ทำก็เพราะรักษาใจตนเองให้ ศรัทธามั่นอยู่ไม่ได้ ถ้ามีความเชื่อเวรกรรม, บุญ - บาป หรือเชื่อความรู้จริงที่พระพุทธเจ้าทรงสอนแล้ว ใจจะไม่ทุกข์ร้อนกับความรู้สึกที่ว่า ทำบุญได้บาป ในขณะนั้นเลย

หลักศรัทธา ๔ ประการของชาวพุทธ
- กัมมศรัทธา เชื่อในเรื่องการกระทำว่าทำแล้วเป็นความดี – เป็นความชั่ว, เป็นบุญ- เป็นบาป, บาป – บุญมีจริงแน่นอน ความเชื่อนี้จะทำให้เรารู้จักพฤติกรรมตนเอง
- วิปากศรัทธา เชื่อในเรื่องของผลการกระทำว่า สุข - ทุกข์ นี้เป็นผลของบุญ – บาป การเชื่อดังนี้จะทำให้เราไม่เพ่งโทษสิ่งอื่นใด
- กัมมัสสกตาศรัทธา เชื่อในเรื่องสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน การเชื่อจะทำให้เราดูแลรับผิดชอบ พฤติกรรมตนเอง ไม่ทุกข์ร้อนใจ ไม่เพ่งโทษโกรธใคร ๆ เพราะสุข – ทุกข์ เราลิขิตเรามาเอง เชื่อมั่นในการกระทำของตนเอง
- ตถาคตโพธิศรัทธา เชื่อในการตรัสรู้จ่ริงของพระพุทธเจ้า ทำให้มั่นใจไม่คลอนแคลนลังเล สงสัยในเรื่องบุญ – บาป หรือผลของบุญ – บาป กล้าพิสูจน์ในความสุขุมลุ่มลึกของธรรมะ ที่ยากต่อการหยั่งถึง
หลักความเชื่อกรรมนี้ พระพุทธเจ้าไม่ได้สร้างกฏเกณฑ์ขึ้นมา แต่พระองค์ทรงใช้ปัญญาพิสูจน์จนพบกฏเกณฑ์ความจริงของธรรมชาติที่เป็นอยู่ แล้วนำมาบัญญัติสอนเป็นหลักกรรม โดยพระองค์ไม่ได้สาบแช่งหรือ ลิขิตชีวิตใคร แต่ทรงชึ้ให้รู้เหตุ – ผล ที่เป็นจริงตามกฏของธรรมชาติ เรียกว่า “ กรรมนิยาม “
วิธีการหยั่งรู้นั้น พระองค์ได้ใช้พระญาณระลึกถึงชีวิตในอดีตชาติด้วย อตีตังสญาณ รู้การเกิด การตาย รู้การกระทำด้วยจุตูปปาตญาณ เมื่อรู้เห็นการกระทำของสัตว์โลกว่าทำแบบนี้มา จึงได้แบบนี้ ชาติแล้วชาติเล่า ภพแล้วภพเล่า จนเห็นความจริง จึงได้บัญญัติกฏเกณฑ์ขึ้น ตามความเป็นจริงนั้น ๆ โดยมิได้ทรงเชื่อใคร ๆ ไม่ได้ยืมกฏเกณฑ์ หรือปฏิรูปกฏเกณฑ์จากคำสอนใคร ๆ มา แต่เกิดจากการได้ประสบเรื่องราวด้วยญาณปัญญาของพระองค์เอง รู้จริงด้วยตนเอง จึงได้ทรงนำมาบัญญัติสอน แม้ความจริงระดับศีลธรรมอันเป็นกฏเกณฑ์เพื่ออยู่กันอย่างเป็นสุขของสังคม จะเหมือนกันกับศาสนาอื่นบ้าง ว่าได้นำความรู้ของศาสนาใคร ๆ มาสอน เป็นการรู้เองมิได้เชื่อใคร ๆ
การหยั่งรู้นี้ อุปมา ดังกับนักวิทยาศาสตร์เข้าห้องค้นคว้าทดลอง จนเกิดความรู้เกิดทฤษฏีขึ้นที่จริงแล้ว นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้สร้างกฎเกณฑ์หรือหลักความจริงนั้นเลย เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าจนเข้าถึงกฏเกณฑ์ หรือหลักความจริงนั้น ๆ จึงได้นำมาบัญญัติเป็นหลักเกณฑ์เป็นทฤษฎีขึ้นมาไว้สำหรับสอนกัน ตามความจริงที่ตนเองได้พบ และถ้าพบความจริงมากเท่าใด ก็เข้าใกล้พุทธศาสนามากขึ้นเท่านั้น ทนทานต่อการพิสูจน์มากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้น หลักเกณฑ์การเชื่อถือกฏความจริงที่นักวิทยาศาสตร์ใช้กันอยู่ จึงเป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าใช้มา ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว และพระองค์ก็ได้เข้าถึงความจริงทุกสิ่งทุกอย่างหมด จนเรียกความรู้ชนิดนี้ของพระพุทธเจ้าว่า “ สัพพัญญุตญาณ “ แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่ไปถึงไหนเลย วิชาความรู้ต่าง ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์นำมาบอกมาสอนจึงไม่สามารถดับทุกข์ได้จริงจัง
การนับถือกฎแห่งกรรมจึงต้องใช้ปัญญาและศรัทธาควบคู่กัน เพราะถ้ามีแต่ปัญญา มักไม่ลงมือกระทำ ชอบวิพากษ์วิจารณ์ จิตใจกระด้างไม่ค่อยอ่อนน้อม ชอบละเลยกุศลเล็ก ๆ น้อย ๆ และยังชอบมองแต่โทษผู้อื่น ชอบจัดแจงผู้อื่น
แต่ถ้ามีเพียงศรัทธา (กัมมัสสกตาศรัทธา) ก็มักเชื่อดาย ชอบปลงแล้วก็ยอมจำนน ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ต่อสู้ รอวาสนา
ดังนั้น จึงต้องมีทั้งปัญญา และศรัทธาควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม ใจจึงไม่กระด้าง เชื่อฟังยอมรับผู้อื่นได้ หาทางออกที่ดีงามได้ ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น ซื่อสัตย์ต่อพระพุทธเจ้าอย่างจริงใจ
• :
๑. รู้จักพฤติกรรมของตนเอง
๒. ทำให้คนควบคุมปกครองตนเองด้วยตัวเองได้
๓. ทำให้คนรับผิดชอบการกระทำของตนด้วยตนเอง
๔. ทำให้ไม่เพ่งโทษผู้อื่น
๕. ดับทุกข์ใจได้
๖. ทำให้คนเกิดความเพียร เป็นคนไม่งอมืองอเท้า ขยัน อดทน ตื่นตัว ไม่รอวาสนา
๗. ทำให้มนุษย์เชื่อมั่น(การกระทำดีชั่ว)ตัวเอง ไม่งมงายกับความเชื่ออื่นใด
๘. ทำให้คนไม่จำนนชีวิตต่อแหล่งอำนาจลึกลับใด ๆ
๙. ทำให้คนพัฒนาตัวเองได้สูงสุดด้วยตัวเอง
๑๐. เป็นคำสอนที่ให้เกียรติ ไม่ดูถูกศักยภาพของมนุษย์
๑๑. เป็นกฏหมายธรรมชาติที่ยุติธรรมที่สุด
• :
มนุษย์มีศักยภาพในตนเอง และสามารถพัฒนาเองได้จนสูงสุด เป็นสัตว์ที่ฝึกตนเองและผู้อื่นได้ หากฝึกตนดีแล้ว แม้เทวดายังชมพรหมยังสรรเสริญ กราบไหว้ ดังนั้นชีวิตของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายจึงเลือกอนาคตได้
เลือกเกิด สามารถเลือกเกิดในภพภูมิ ทุคติ หรือสุคติใด ๆ ชั้นไหน ๆ ก็ได้ด้วยการสร้างกรรมให้ถูกตามทางเดินของคตินั้น ๆ
เลือกเกิด รูปภพภูมิที่ไปเกิด
เลือกเป็น สามารถจะเลือกเป็นมนุษย์ชนิดที่ สวย รวย ฉลาด ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีบริวาร หรือจะเป็นพระอรหันต์ ก็มีสิทธิเลือกเป็นได้ ด้วยการพัฒนาพฤติกรรม เพิ่มเติมบารมีด้วยตนเอง เมื่อบารมีพร้อมก็สามารถเป็นได้ (เมื่อทำความดีให้ตั้งจิตปรารถนาคือ อธิษฐานด้วย)
•
เป็นผู้มีปัญญา เพราะ หมั่นศึกษาสนทนาธรรมะ, เจริญภาวนาไม่เสพของเสพติด,ไม่ส่งเสริมการมัวเมา
มีคนเคารพนับถือ เพราะ มีความอ่อนน้อม,มุทิตายินดี และไม่ลบหลู่ดูหมิ่นริษยาคุณความดีของผู้อื่น
มีบริวารมาก เพราะ ชักชวนและช่วยเหลือผู้อื่นในการทำความดี, ไม่ส่อเสียดยุยงผู้อื่นให้แตกร้าว
มีบุคลิกดี เพราะ ทำบุญด้วยจิตใจเลื่อมใสศรัทธา
มีรูปงาม เพราะ รักษาศีล และเป็นผู้ไม่มักโกรธ
มีทรัพย์สมบัติ เพราะ หมั่นทำทานแบ่งปัน ไม่ตระหนี่ และไม่ผิดศีลข้อที่ ๒. (อทินนาทาน)
มีอายุยืน เพราะ หมั่นเจริญเมตตา และไม่ฆ่าไม่เบียดเบียน ทำลายชีวิตผู้อื่น
ไม่มีโรคภัย เพราะ หมั่นเจริญกรุณา ไม่เบียดเบียน ทำร้ายชีวิตผู้อื่น ช่วยเหลือรักษาพยาบาลชีวิตผู้อื่น

กรรม แม้จะมีหลักฐานและเหตุผล แต่คนก็ยังลังเลที่จะเชื่อถือ มีผู้ยอมรับเชื่อถือเรื่องกฏแห่งกรรมก็เป็นชีวิตแบบยอมจำนนต่อกรรมเก่า ปลงแบบแม่จำเนียร ไม่อดทนต่อสู้ ส่วนบางคนก็ไม่เชื่อเลยว่า กรรมมีจริง? เพราะความเชื่อไม่สามารถทำใคร ๆ ให้หายข้องใจต่อคำถามใด ๆ ได้ เว้นแต่ว่าผู้นั้นได้ใส่ใจในประเด็นที่ว่า “ เราจะเข้าใจเรื่องกรรมกันได้อย่างไร “

๑. ศึกษาหาเหตุผล ในหลักธรรมคำสอนเรื่องกรรม ของพระพุทธเจ้าโดยพยายามตั้งคำถามจากเหตุ
การณ์ต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวเรา
๒. หาโอกาสฝึกภาวนา ตามที่เปลี่ยว เช่น ป่า, ภูเขา, ถ้ำ โดยมีครูบาอาจารย์ เป็นผู้คอยดูแล และ
แนะนำการปฏิบัติ
๓. สนทนากับผู้ที่มีประสบการณ์จริงเชื่อมั่นในเรื่องเวรกรรม บาปบุญ
๔. ให้โอกาสตนเองได้ฟังประสบการณ์จริง และเหตุผลในเรื่อง กรรม – เวร หรือตัวอย่าง ของผู้ที่
ประสบเคราะห์กรรม
๕. อย่าด่วนเชื่อ หรือปฏิเสธ ให้ฟังหาเหตุผล ค้นคว้าหาความจริง พยายามอย่าใช้อัตโนมัติเข้าข้าง
ความคิดเห็นของตนเอง
 

_________________
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง