ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
06 ต.ค.2008, 10:13 pm |
  |
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต มากราบนมัสการเยี่ยมหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๖ ณ วัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
เอกะจิต-เอกะธรรม
ธาตุรู้ก็ดี ผู้รู้ก็ดี จะจัดเป็นสังขารฝ่ายนามอันละเอียดก็ได้ เพราะเกิดดับเป็นอย่างละเอียด
ถ้ามีผู้เข้าไปสอดแทรกยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว ก็เป็นเหตุ เป็นกรรม เป็นพืช เป็นภพ เป็นอุปาทาน เป็นชาติอันละเอียด ได้ทั้งนั้น
สติสัมปชัญญะปัญญา ไม่สมดุลย์กัน ละเอียดคมคายในขณะเดียวกันแล้ว ก็ยากจะรู้ชัดได้
ต้องอาศรัยอานาปานะสติอันละเอียด ทรงปัญญา ควบคุมให้สมดุลย์กัน ทันเวลาในขณะเดียวแห่งปัจจุบัน
พร้อมทั้งผู้รู้ตามเป็นจริง สัมปยุตอีกด้วยฯ
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
06 ต.ค.2008, 10:14 pm |
  |
ถ้ามีจุดหรือต่อมแห่งผู้รู้อยู่ที่ไหน นั้นแล คือตัวภพ
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
06 ต.ค.2008, 10:15 pm |
  |
เอาเปลือกมาเป็นแก่น
เวลาภาวนาเกิดอารมณ์ต่างๆก็คิดนึกปรุงแต่ง เข้าใจว่าตนได้ดิบได้ดี ผลที่สุดจิตไม่รวมลงไปได้
อันนี้เรียกว่า เอาเปลือกมาเป็นแก่น
เวลาภาวนาจิตฟุ้งซ่าน เกิดจากอารมณ์นึกคิดปรุงแต่งไปกับอารมณ์ เข้าใจว่าเป็นปัญญา ก็ยิ่งฟุ้ง
ปรุงแต่งมาก เข้าใจว่าตนเฉลียวฉลาด เลยอวดตัวอวดตนว่าวิเศษวิโส
อันนี้เรียกว่า เอาเปลือกมาเป็นแก่น
บางคนเวลาภาวนามีอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมา เป็นภาพ เป็นนิมิตให้ปรากฏ แล้วยึดเอาภาพนิมิตนั้นเป็นอารมณ์
นั้นก็เอาเปลือกมาเป็นแก่นเหมือนกัน
ส่วนคนที่ภาวนาเป็น จนจิตรวมลงไปนิ่งแน่วจนลืมเนื้อลืมตัวไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เรียกว่า นั่งหลับขาดสติ
เขาเข้าใจว่าอันนั้นเป็นแก่น เข้าใจว่าปฏิบัติได้ดีวิเศษ
นั่นก็เอาเปลือกมาเป็นแก่นเหมือนกัน แต่ก็ยังดีกว่าที่ว่ามาแล้ว เพราะอันนี้เป็นเปลือกหุ้มแก่น
ถ้ากระเทาะเปลือกก็จะเห็นธรรมเลย
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
06 ต.ค.2008, 10:19 pm |
  |
ยามที่พิจารณาไม่ชัด อย่าได้ท้อแท้ ท้อถอย
แต่ให้เข้าใจว่าที่ไม่ชัด เพราะสติ สมาธิเราอ่อนไป ให้ปล่อยวางการพิจารณานั้นเสีย
แล้วให้มาอบรม สติ สมาธิให้มีกำลังมากขึ้น อย่าอยากให้รู้ชัดโดยลืมนึกไปถึงสติ-สมาธิของตน
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
06 ต.ค.2008, 10:20 pm |
  |
ทางเดียวที่จะถอนอุปทานเสียได้มีแต่พิจารณาในขันธ์5 เมื่ออำนาจสติมีกำลังเพียงพอ อุปทานก็ปล่อยวางแล้วทุกข์จะมาจากไหน
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
06 ต.ค.2008, 10:21 pm |
  |
คำว่าสติสมบูรณ์
สติที่สมบูรณ์จะไม่ต้องควบคุม รักษา แต่มันจะมีสติพอดีกับอารมณ์ ที่จะมาปรากฏขึ้นที่จิต
แล้วรู้เท่าทันเพราะเหตุมาจาการที่เราได้อบรมมาดีแล้ว ไม่มีส่งจิตออกนอกไปจากอารมณ์ที่ปรากฏขึ้น
จิตนั้นรู้แล้วก็วางเฉย บางทีก็เกิดสังเวชในเรื่องนั้นๆ เราไม่ต้องเอาสติไปควบคุมจิต
สติกับจิตมันได้สัดส่วนกันมันคุมกันเอง นี่เรียกว่า สติสมบูรณ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี |
|
|
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
07 ต.ค.2008, 3:24 am |
  |
ขออนุโมทนาด้วยครับ
 |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
07 ต.ค.2008, 5:29 pm |
  |
 |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 9:49 pm |
  |
ถ้าไม่ยืนยันว่าจิตเป็นตน ๆ เป็นจิต ก็ข้ามทะเลหลงไปแล้ว
ธรรมก็ทรงธรรมอยู่ตามธรรมชาติเท่านั้น
พระนิพพานมิใช่ผุ้รู้พวกผู้รู้ ไปจนไม่มีที่หมาย
"ถ้าหมายอยู่ก็พอเหมือน ๆ "
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 9:52 pm |
  |
ส่วนจิตเป็นผู้รู้
เมื่อละสมมติวางสมมติได้แล้ว ก็เย็นต่อไป กลายเป็นวิมุติความหลุดพ้นไป
เพราะสมมติทั้งหลายวางได้แล้ว ก็เป็นวิมุตติ
แต่ถ้าเอาเข้าจริง ๆ แล้วมักจะหลง
ถ้าเราตั้งใจเอาจริง ๆ พวกกิเลสก็เอาจริง ๆ กับเราเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความหมั่น ความเพียร ไม่ท้อถอย ถ้าละพวกกิเลสตัณหาได้แล้วก็เย็นสงบสบาย...
หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 9:53 pm |
  |
รู้ปัจจุบัน ละปัจจุบัน เป็นธรรมโม
ถ้าไปยึดถืออดีต-อนาคตเท่ากับไปเก็บไปถือของปลอม
ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง
รู้เฉพาะตนละเฉพาะตน วางเฉพาะตน หมุนเข้าหากายหาใจนี่แหละ ถ้ามัวเอาอดีต-อนาคตจะกลายเป็นแผนที่ไป...
แผนที่ปริยัติธรรมจำมาได้มากจึงไปยึดไปถืออย่างนั้นบ้าง สิ่งนี้บ้าง ทั้งอดีต-อนาคต ทำให้ยิ่งห่างจากการรู้กายรู้ใจของเรา
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็กลายเป็นเชื้อของกิเลสที่อยู่ในแผนที่ใบลานแต่ไม่เดือดร้อน
ถ้าหากมาอยู่ในใจจะทำให้เดือดร้อน
เพราะฉนั้นถ้าเกิดขึ้นในใจ ให้เอาใจละ เอาใจวาง เอาใจออก เอาใจถอน ปัจจุบันเป็นอย่างนี้
ไม่ใช่จำปริยัติได้มาก พูดได้คล่อง เวลาเอาจริง ๆ ก็ไม่รู้จะจับอันไหนเป็นหลัก
ปัจจุบันธรรมต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งในกายใจของตน ต้องละวางถอดถอนในปัจจุบัน จึงจะใช้ได้...
หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 9:56 pm |
  |
สติทัน-การคิดปรุงดับ.
สตินี้มันก็ทันน่ะ คิดขึ้นเรื่องใดมันก็ดับ คิดขึ้นเท่าใดมันก็ดับ
ถ้ามีสติพร้อมกับ
. ปรุงขึ้น
ดับ ปรุงขึ้น
ดับ เรียกว่า สติพร้อมกัน. คิดไปก็หลงไปลืมไป แปลว่าไม่มีสติ
..
ถ้ามีสติแล้ว คิดขึ้นร้ายก็ดี คิดดีก็ดี รู้พร้อมกันนั้นล่ะ
.สติรู้พร้อมกันดับลงทันทีนั่นล่ะ
.ๆลๆ.
มีสติแล้ว มีปัญญา
.
เมื่อไม่มีสติมันก็เผลอ เผลอแล้วมันก็หลงไป.
ครั้นไม่เผลอแล้วมีสติแนบอยู่ทุกเมื่อแล้ว คิดดีก็ดับลง คิดชั่วก็ดับลง พอใจก็ดับลง ไม่พอใจก็ดับลง. เอาลงทันทีนั่นล่ะ
..มีสติแล้วก็ใช้ได้ ใจเบิกบานขึ้น ปัจจุบันมีสติพร้อมกันกับคิด
..คิดผิดก็ดี คิดถูกก็ดี รู้พร้อมกันก็ดับทันที เรียกว่า สติ
.สัมมาสติ สติสัมโพฌงค์
.ๆลๆ
อุบายก็อาศัย ความเพียรความหมั่นนั่นล่ะ
..ตั้งอยู่นั้นล่ะ ตั้งดูมันอยู่นั้นล่ะ
..มันปรุงขึ้นรู้ทันที เป็นสติ
..
หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ |
|
|
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
09 ต.ค.2008, 9:20 pm |
  |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
12 ต.ค.2008, 7:53 am |
  |
พระพุทธองค์เมื่อทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่หกปี ได้ทรงนำเอาหลักวิชาที่ได้ศึกษามาทดสอบหาความจริง ก็ไม่เป็นผล มีแต่จะทำให้ฟุ้งส่ายไปมาไม่สงบ จึงทำให้พระองค์ไม่อาจตรัสรู้สัจธรรมได้
เมื่อพระองค์ทรงย้อนมาดำเนินตามแนว ฌาน-สมาธิ ที่พระองค์เคยได้เมื่อสมัยยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีใครสอนให้ แล้วจิตของพระองค์ก็สามารถเข้าถึงองค์ฌาน ได้สำเร็จพระโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
นี่แสดงว่าเรื่อง ฌาน-สมาธิมัคคปฏิบัติ เป็นเครื่องกำจัด ชำระกิเลสอารมณ์ เครื่องเศร้าหมองออกจากจิต จิตจึงบริสุทธิ์ ความรู้อันนี้จึงเป็นไปเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์แล้วก็ได้ธรรมอันบริสุทธิ์ของจริงของแท้ขึ้นมา ดังคติธรรมที่ว่า "ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ และสำเร็จได้ด้วยใจ"
แปลเป็นแบบไทยๆ หมายความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจ รู้เฉพาะใจของตน (ปัจจัตตัง) ฉะนั้น ใจจึงประเสริฐกว่าทุกสิ่ง เพราะใจเป็นผู้ให้สำเร็จกิจทุกกรณี
ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงนำเอาแนวปฏิบัติที่พระองค์ได้ทรงดำเนินมาแล้วนั้น มาสอนให้พุทธบริษัทปฏิบัติตาม
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
...............................................
ปล....
เสนอให้ศึกษาเปรียบเทียบกับ
สคารวสูตร
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=13&start_byte=906254
พระสูตรนี้ เป็นการตรัสเล่าถึง การแสวงหาโมกขธรรมของพระพุทธองค์
เริ่มตั้งแต่ต้น จนตรัสรู้....
มีที่น่าสนใจ คือ พระองค์เองเคยไปฝึกบำเพ็ญอรูปสมาบัติ
คือ อากิญจัญญายตน กับ ท่านอาฬารดาบส
และ เนวสัญญานาสัญญายตน กับ อุทกดาบสมาแล้ว
แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ไม่ใช่ทางตรสรู้ จึงหลีกออกมา
และ ไปบำเพ็ญทุกรกิริยา จนเกือบสิ้นพระชนม์.... แต่ ก็ไม่บรรลุพระโพธิญาณ
จึงทรงหวลระลึก ถึงรูปฌานที่๑ ที่พระพุทธองค์เคยบำเพ็ญได้เองโดยไม่มีใครสอน ตอนยังเป็นเจ้าชายสิตทัตถะ
ดังที่ตรัสว่า
"....เรามีความคิดเห็นว่า
ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดา
เรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.
เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.
เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ? จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม....." |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
12 ต.ค.2008, 7:54 am |
  |
๑.
เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่จิต (จิตในที่นี้หมายเอาผู้รู้สึกนึกคิด)
แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะแต่จิตเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดว่าจิตเป็นบุญ จิตเป็นบาป อย่างนั้นๆ จิตดี จิตชั่ว จิตหยาบ จิตละเอียดอย่างนั้นๆ แม้แต่ชื่อแลบัญญัติของจิตอื่นนอกจากนี้ก็อย่าให้มี ณ ที่นั้น ให้ยังเหลือแต่สติที่เข้าไปเพ่งอาการอันหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะใหัวับๆ แวบๆ แต่มิได้ออกไปยึดแลไปปรุงแต่งอะไร
เมื่อจิตกับสติรวมกัน เป็นอันหนี่งอันเดียวแล้ว สติก็ตั้งมั่นแนวแน่อยู่เฉพาะที่จิตนั้นอย่างเดียว เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดเข้าแล้ว จิตคืออารมณ์ของจิตนั้นก็จะหายไป สติก็จะหายไปตามกัน แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นเอกัคคตาจิต
๒.
หากจะตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า การฝึกอบรมสติปัฏฐาน 4 เบื้องต้น จิตก็จะละเอียดลงไปโดยลำดับๆ จนเป็นเอกัคคตารมณ์แลเอกัคคตาจิต แต่แล้วทำไม จึงต้องถอนออกมาเดินอยู่ในวิถีเดิม (คืออารมณ์ทั้ง หก ) จะไม่เรียกว่า จิตเสื่อม หรือ
เฉลยว่า มนุษย์เรา เกิดมาในกามภพ ใช้วัตถุกาม (คือ อายตนะ) เป็นเครื่องอยู่ หลงแลมัวเมา คลุกกรุ่นเป็นทุกข์เดือดร้อนนานัปการกับการอยู่ด้วยกามกิเลส ด้วยเหตุที่มิได้ฝึกอบรมสติของตนให้มั่นคงจนได้รู้แลเห็นจิต เห็นตัวกิเลสแลที่เกิดของกิเลสตามเป็นจริง จนจิตแยกออกจากกิเลสได้
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี |
|
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
13 ต.ค.2008, 5:22 pm |
  |
อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ ท่านตรงประเด็น  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|