Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จริตกับการปฏิบัติ (พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 12:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สันตินันท์ (พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)
www.wimutti.com

คัดมาจาก http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y6190552/Y6190552.html#17
ในขณะที่ท่านตอบท่านยังเป็นฆราวาส ใช้นามปากกาว่า สันตินันท์

ถาม: ไม่ทราบว่าปฏิบัติธรรมให้ถูกจริตต้องสังเกตอย่างไรคะ


เรื่องของการปฏิบัติมีแง่มุมหลากหลายน่าสนุกมากครับ
เช่น เราทำสมาธิเพื่อข่มนิวรณ์ก็ได้

เรารู้นิวรณ์เพื่อให้จิตมีสมาธิก็ได้

เรามีสติระลึกรู้กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อให้จิตมี ธรรมเอก หรือจิตมีสัมมาสมาธิก็ได้

เราเอาธรรมเอก ไประลึกรู้กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อเจริญวิปัสสนาก็ได้



ในขั้นการเจริญวิปัสสนานั้น อรรถกถาท่านกล่าวไว้ชัดเจนว่า
การเจริญสติปัฏฐานอันใดอันหนึ่ง ก็ทำให้จิตเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้

และท่านตั้ง ข้อสังเกต ไว้น่าฟังว่า
จริตของคนเรามี ๒ ชนิด คือตัณหาจริต กับทิฏฐิจริต


ผู้มีตัณหาจริต
ซึ่งมีปกติวุ่นวายอยู่กับความอยากนั่นอยากนี่
ท่านแนะนำว่าเหมาะกับการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
และเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เพราะถ้าเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ เห็นความทุกข์ความสุขเป็นไตรลักษณ์
ความดิ้นรนแสวงหาด้วยความอยากก็จะเบาบางลง


ส่วนผู้มีทิฏฐิจริต
ซึ่งมีปกติวุ่นวายอยู่กับความคิดประเภทปัญญาชนเจ้าทฤษฎีทั้งหลาย
ท่านแนะนำให้เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เพราะถ้าเห็นความแปรปรวนของจิต เห็นกลไกการทำงานของจิตชัดเจน
ก็จะเห็นนามธรรมทั้งปวงเป็นไตรลักษณ์
การปล่อยวางความคิดความเห็นต่างๆ ก็จะทำได้ง่าย


ท่านว่า เวทนานุปัสสนาละเอียดกว่ากายานุปัสสนา
และธัมมานุปัสสนาละเอียดกว่าจิตตานุปัสสนา

แต่ท่านก็สรุปไว้แล้วว่า
การเจริญสติปัฏฐานทั้งปวง เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานทั้งสิ้น

ดังนั้น ใครจะทำอันใดก็ได้ ขอให้ทำให้ถูกเท่านั้นเอง


(มีต่อ)
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 12:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถาม: อยากให้คุณสันตินันท์แนะนำการเดินจงกรม
และเจริญสติตอนนั่งและนอน



ผมเดินจงกรมเหมือนกับนั่งสมาธิครับ
เพียงแต่ตอนเดิน จะรู้การเคลื่อนไหวของกายกับจิต
(แล้วแต่ว่า ขณะนั้นสติจะจดจ่อลงที่ใด)
ส่วนตอนนั่งและนอน จะรู้ลมหายใจกับจิต


จุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่การยืน เดิน นั่ง นอน
แต่อยู่ที่ความต่อเนื่องของสติและสัมปชัญญะ



ระดับความเร็วของการเดิน เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีปัญหามาก
บางคนจะพยายามเดินช้า-ช้ามาก-ช้าที่สุด
ก้าวหนึ่งกำหนดได้ ๖-๗ จังหวะ
แต่บางคนก็เดินเร็วเหมือนตามควาย


การเดินเร็วโดยนับจังหวะก้าวไปด้วย หรือบริกรรมไปด้วย
อาจจะมีประโยชน์บ้าง ในตอนที่จิตฟุ้งซ่าน
คือเดินและนับหรือบริกรรมเร็วๆ จิตจะได้ไม่มีเวลาไปคิดเรื่องอื่น


ส่วนการเดินช้า-ช้ามาก-ช้าที่สุดนั้น
เขาว่ากันว่าเพื่อให้กำหนดสติทัน
แต่ผมเดินแบบนั้นไม่เป็น จึงไม่เห็นประโยชน์ของการเดินช้าเพื่อให้สติตามทัน
กลับเห็นว่า เราควรฝึกสติสัมปชัญญะให้ไว ให้ทันการเดินปกติให้ได้
เพื่อจะเจริญสติสัมปชัญญะได้จริงในชีวิตประจำวัน
แต่อันนี้ เป็นเรื่องความถนัดส่วนตัวครับ ใครอยากเดินอย่างไรก็ไม่ว่ากัน
ให้มีสติสัมปชัญญะให้ต่อเนื่องได้จริงๆ ก็แล้วกัน


ถ้าสติไวจริงๆ แค่เอื้อมมือหยิบแก้วน้ำมาดื่มด้วยความเร็วปกติ
หรือก้าวเท้าเดินจงกรมด้วยความเร็วปกติ
ก็จะเห็นรูปเกิดดับต่อเนื่องกันถี่ยิบ ไม่ผิดกับภาพการ์ตูนเลย
นับไม่ทันด้วยซ้ำไปว่า มันกี่สิบกี่ร้อยจังหวะกันแน่
และการไล่นับ ก็จะเป็นภาระอันใหญ่หลวง เข้าขั้นทรมานจิตทีเดียว
เหมือนกับการพยายามนับเม็ดฝนที่ตกลงต่อหน้าเรา


เวลาเดินจงกรมนั้น จุดสำคัญอยู่ตอนที่จะหยุด หมุนตัว และเริ่มก้าวเดินใหม่
ยิ่งถ้าอายุมากแบบผม ขืนเดินพรวดพราดไปสุดทางจงกรม
ก็เหวี่ยงเท้าหมุนตัวกลับหลังหันทันที
ถึงสติจะไม่เคลื่อน แต่สังขารร่างกายเคลื่อนแน่นอน
ดีไม่ดีหน้ามืด ล้มคว่ำเอาง่ายๆ

ดังนั้นเดินไปสุดทางจงกรมแล้วหยุดอย่างสบายๆ เสียก่อน
ทำความรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วค่อยหมุนตัวกลับ
จะเห็นรูปกายเกิดดับต่อเนื่องกันถี่ยิบในตอนหมุนตัว
แล้วก็มาหยุดรู้รูปยืนสักหน่อยหนึ่ง พอตั้งมั่นไม่ซวนเซแล้วจึงค่อยเดินต่อไป

งานกรรมฐานเป็นงานละเอียด
ปฏิบัติไปอย่างสบายๆ ประณีต เป็นธรรมชาติธรรมดา
อย่าไปปฏิบัติด้วยแรงจูงใจของกิเลส จนต้องวางมาดเป็นผู้ปฏิบัติ
แต่ถ้ากำลังจงใจ กำลังวางมาด กำลังกดข่มบังคับกายและจิต
ก็ให้คอยรู้เท่าทันไว้
เดี๋ยวมันก็เป็นธรรมดาเองแหละครับ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 12:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถาม: การปฏิบัติอยู่ที่บ้านหรือปลีกวิเวก อันไหนจะดีกว่ากัน


ปัญหาเรื่องการปฏิบัติอยู่ที่บ้านดี หรือปลีกวิเวกดี
เป็นเรื่องที่คุยกันมานานแล้วครับ

ในความเห็นของผมเห็นว่า เราต้องแยกการปฏิบัติ ๒ ส่วนนี้ออกจากกัน
ทั้งสองส่วนนี้ ดีด้วยกันทั้งคู่ แต่ดีต่างกรรมต่างวาระกัน


การออกวิเวกไปตามสถานที่ที่จิตเกิดความตื่นตัวพอเหมาะพอควรนั้น
เหมือนการเข้าค่ายซ้อมมวย หรือเป็นช่วงติวเข้ม
ใครจะว่าไม่สำคัญก็คงไม่ได้

เพราะพระศาสดาท่านยังทรงให้พระสาวกที่เรียนกรรมฐานแล้ว แยกย้ายกันไปปฏิบัติ

ถึงกับทรงรับสั่งว่า โน่นโคนไม้ โน่นเรือนว่าง โน่นภูเขา โน่นป่า ให้ไปหาที่ปฏิบัติเอา
บางครั้งทรงกำชับให้ไปตามลำพังก็มี ไปเป็นกลุ่มย่อยๆ ก็มี


แต่พระบางรูป ท่านปลีกวิเวกในกุฏิของท่านก็มี
เช่น ท่านธัมมวิตักโกภิกขุ หรือท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต
อันนี้เป็นแบบอย่างของยอดคนอีกท่านหนึ่งที่แปลกออกไป

ส่วนการปฏิบัติที่บ้าน หรือปฏิบัติในชีวิตประจำวันนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด
เพราะเมื่ออยู่ที่ใด ก็ต้องปฏิบัติที่นั้น
จะเกี่ยงเรื่องสถานที่และเวลาไม่ได้

ฝ่ายที่ชอบหาที่วิเวก กับฝ่ายที่เชียร์การปฏิบัติที่บ้าน จึงถูกด้วยกันทั้งคู่ครับ
ขึ้นกับโอกาสและจังหวะเวลามากกว่า ว่าจะปฏิบัติที่ใด


ปกติผมก็ออกไปปฏิบัติที่นั่นที่นี่เสมอๆ แต่ไม่ได้พ่วงพาใครๆ ไปด้วย
ผมเองตั้งแต่เริ่มปฏิบัติมา อยากจะปฏิบัติ ก็ออกไปเลยครับ

พวกน้องๆ หลานๆ จึงไม่ควรจะรอไปกับคนนั้นคนนี้
อยากไปปฏิบัติในวัดป่า ก็จัดกระเป๋าลุยไปเลย
เป็นประสบการณ์ชีวิตที่เร้าใจดีมาก
ดีกว่าการไปเป็นทีมเป็นไหนๆ ทีเดียว
ยิ่งประเภทไปนั่งในป่าช้าทีละร้อยคนนั้น
ผมว่า ปฏิบัติอยู่ที่บ้านจะดีกว่า
โดยนั่งดูป่าช้าในกายนี้เองไปตามลำพัง
ไม่ต้องไปเบียดเสียดนั่งกันเต็มป่าช้าในวัดก็ได้ครับ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 12:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถาม: ในขณะที่รู้อารมณ์ต่างๆ นั้น ไม่ใช่มีแต่ตัวรู้กับสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น
แต่มีส่วนอื่นอยู่ด้วยคือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีส่วนหนึ่ง
สติส่วนหนึ่ง ปัญญารู้ไตรลักษณ์ส่วนหนึ่ง
แต่ละส่วนเขาจะแยกจากกัน ต่างส่วนต่างทำหน้าที่ของตน
และเมื่อดูไปๆ ก็จะเห็นตัวกู-ของกูออกมาอีกส่วนหนึ่ง

จึงขอความกรุณาจากคุณสันตินันท์ เพื่อขอทราบความเห็นและคำแนะนำ
ด้วยครับ กราบขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ด้วย



สิ่งที่คุณพบนั้น เป็นเช่นนั้นจริงครับ
ในการปฏิบัตินั้น ไม่เพียงจะพบสิ่งที่คุณยกตัวอย่างมาเท่านั้น
หากแต่จะพบขันธ์ ๕ แจกแจงออกไปได้อย่างน่าอัศจรรย์
โดยเฉพาะสังขารขันธ์นั้น มีมากมายเหลือเกินแม้ในภาวะอันหนึ่งๆ
เช่นในขณะที่จิตสักแต่รู้เห็นอารมณ์นั้น
จะมีเจตสิกธรรมเป็นอันมาก
เช่น สติ สัมปชัญญะ อุเบกขา เอกัคคตา ปัญญา ฯลฯ

ในการปฏิบัตินั้น เราไม่จำเป็นต้องคอยจำแนกชื่อ ว่าสภาวะอันนี้ ชื่อว่าอย่างนี้
เพราะเราจะพบสภาวะต่างๆ มากมายในขณะหนึ่งๆ
ขืนพยายามจำแนกชื่อ จิตจะฟุ้งซ่านจนปฏิบัติต่อไปไม่ได้
เพราะแทนที่จะรู้ กลับจะกลายเป็นคิดไป
เราเพียงรู้สภาวะเหล่านั้น รู้หน้าที่และบทบาทของมัน เท่าที่จิตรู้ในขณะนั้นก็พอ
ในทางปฏิบัติ เพื่อตัดข้อยุ่งยาก เราจึงมักสรุปย่อสภาวะทั้งหลาย
ลงเหลือเพียง “ผู้รู้” กับ “สิ่งที่ถูกรู้” ก็พอครับ

เมื่อรู้ชัดว่า อันใดเป็นผู้รู้ อันใดเป็นสิ่งที่ถูกรู้แล้ว
ไม่เพียงจะเห็นความเกิดดับของอารมณ์เท่านั้น
ยังเห็นกลไกการทำงานของจิตตามหลักของปฏิจจสมุปบาทด้วย
คือพบว่าเมื่อจิตรู้อารมณ์แล้ว เกิดเวทนาแล้ว
กิเลสจะแทรกตามเวทนา และกระตุ้นให้จิตเกิดตัณหาหรือความทะยานอยาก
จิตจะเคลื่อนออกยึดถืออารมณ์ เกิดภพขึ้น
แล้วก็เกิดตัวตนขึ้นมากระโดดโลดเต้นในภพนั้น
อย่างที่คุณบอกว่าเห็นตัวตนนั่นแหละครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 10:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 10:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ ทักทาย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 7:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เดี๋ยวนี้ ท่านคามินธรรมเปลี่ยนไป แฮะ ปรบมือ แลบลิ้น
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผ้าขี้ริ้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 ก.ย. 2005
ตอบ: 101

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 10:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากรู้จักเหมือนกัน (ความอยากจะเป็นตัณป่าวหนอ)
 

_________________
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง