Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ยืมโฮสแปปนึงครับ จะเอาไปสนทนาเรื่อง จินตามยปัญญาครับ
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ซี เมนต์
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 16 เม.ย.2005, 9:42 pm
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 647
อรรถกถาติกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๓
จินตามยปัญญา
ปัญญา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า โยคะ ในคำว่า โยค-
วิหิเตสุ นี้ มีอธิบายว่า ในการจัดแจงด้วยปัญญา ชื่อว่า น้อมนำไปด้วย
ปัญญา. อายตนะคือบ่อเกิดแห่งการงานในคำว่า กมฺมายตเนสุ นี้ ชื่อว่า
การงานั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่งแม้แต่คำว่า การงานนั้นด้วย อายตนะนั้น
ด้วย มีอยู่แก่บุคคลผู้มีอาชีพเป็นต้น ดังนี้ ก็ชื่อว่า บ่อเกิดแห่งการงาน. แม้
ในคำว่า สิปฺปายตเนสุ ก็นัยนี้.
ในคำเหล่านั้น การงานมี ๒ อย่าง คือ
xxx
นกรรม และ อุกกัฏฐกรรม
(ชนิดเลวและดี). ใน ๒ อย่างนั้น การงานของช่างไม้ การงานของผู้เท
ดอกไม้ เป็นต้น ชื่อว่า
xxx
นกรรม (ชนิดเลว). กสิกรรม วาณิชกรรม
โครักขกรรมเป็นต้น ชื่อว่า อุกกัฏฐกรรม (ชนิดดี).
แม้ในศีลปะก็มี ๒ อย่าง คือ ชนิดเลว และดี.
ใน ๒ อย่างนั้น ศิลปะของช่างสาน ศิลปะของช่างหูก ศิลปะของ
ช่างหม้อ ศิลปะของช่างหนัง และศิลปะของช่างตัดผมเป็นต้น ชื่อว่าชนิดเลว.
ศิลปะที่ใช้ปัญญา (มุทฺธา) ศิลปะการคำนวณ (คณนา) ศิลปะขีดเขียน (เลข)
เป็นต้น ชื่อว่า ชนิดดี. ฐานะแห่งวิชชา ชื่อว่า วิชชาเทียว. ฐานะแห่ง
วิชชานั้นต้องประกอบโดยธรรม ท่านจึงถือเอา. ก็หมอ พ่อค้า ซึ่งมีวิชชา
เช่นกับมนต์เครื่องคุ้มครอง คือทำให้นาคงงงวย เช่นกับมนต์ของบุคคลผู้เป่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 648
ไม้เลาแม่น จักษุวิทยา ศัลยกรรม เป็นต้นท่านไม่ถือเอา เพราะความที่ศิลปะ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั้นไม่เข้าไปรวมอยู่ในศีลปะอันมีคำว่า ข้าแต่ท่าน
อาจารย์ กระผมปรารถนา เพื่อศึกษาศิลปะ ดังนี้.
นัยแห่ง
xxx
นกรรม
พึงทราบในข้อนี้ว่า บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่ง สร้างบ้าน ปราสาท ยาน
เรือเป็นต้น โดยธรรมดาของตนเองเพื่อต้องการอยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย
เพราะว่า บุรุษผู้ฉลาดคนนั้นดำรงอยู่ด้วยการกระทำประโยชน์เกื้อกูล โดยคิด
ว่า มนุษย์เหล่านั้นเป็นทุกข์เพราะไม่มีที่เป็นที่อยู่อาศัย จึงสร้างบ้านอันต่างด้วย
บ้านมีรูปยาวและสี่เหลี่ยมเป็นต้นขึ้น และเพื่อป้องกันความหนาวและร้อนก็
สร้างปราสาทอันต่างด้วยปราสาทมีชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น เมื่อยานพาหนะ
ไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่า การสัญจรไปมาเป็นทุกข์ เพื่อต้องการบรรเทาความ
ปวดเมื่อยแข้งเป็นต้น ก็สร้างพาหนะเป็นเครื่องนำไปมีเกวียนและรถเป็นต้น
ครั้นเมื่อเรือไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่าเครื่องสัญจรไปในสมุทรเป็นต้นไม่มี จึง
สร้างเรือมีประการต่าง ๆ. บุรุษผู้ฉลาดนั้น ย่อมไม่เห็นวัตถุทั้งหลายเหล่านั้น
ทั้งหมดที่บุคคลอื่นกระทำอยู่ มิได้เก็บเอาของที่บุคคลอื่นทำแล้วมา ย่อมไม่
ได้ฟังจากผู้อื่น ก็แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความติดตามธรรมดาของตน.
จริงอยู่ การงานอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้กระทำตามธรรมดาของตน
ย่อมเป็นเช่นกับการงานทั้งหลาย อันชนเหล่าอื่นเรียนมากระทำให้สำเร็จ
นั่นแหละ. นี้เป็นนัยใน
xxx
นกรรม (การงานอันต่ำ) ก่อน.
นัยแห่งอุกกัฏฐกรรม
แม้ในอุกกัฏฐกรรม (การงานอันสูง) บัณฑิตคนหนึ่ง คิดว่า
เมื่อกสิกรรมไม่มีอยู่ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นไป ดังนี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 649
เพื่อต้องการให้อยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย จึงสร้างอุปกรณ์การ
ทำนามี แอกและไถเป็นต้น. โดยทำนองนั้น ย่อมสร้างวาณิชย-
กรรม และโครักขกรรมขึ้น. เขาย่อมไม่เห็นการงานเหล่านั้นทั้งหมด
ที่บุคคลอื่นทำอยู่ ฯลฯ ย่อมเป็นเช่นกับการงานที่บุคคลอื่นเรียนมา
ทำให้สำเร็จแล้วนั่นแหละ. นี้เป็นนัยในอุกกัฏฐกรรม (การงานอัน
สูง).
นัยแห่งศิลปะทั้ง ๒ อย่าง
ในบ่อเกิดแห่งศิลปะแม้ทั้งสอง บัณฑิตคนหนึ่ง ประสงค์จะ
ให้มนุษย์ทั้งหลายมีความผาสุก จึงจัดสร้าง
xxx
นศิลปะมีศิลปะของช่าง
สานเป็นต้นขึ้น และสร้างศิลปะอันสูงสุดกล่าวคือเพื่อให้ได้จำนวน
โดยสูงสุดแห่งหัตถกรรม สร้างอุปกรณ์คำนวณกล่าวคือเพื่อมิให้
ขาดปริมาณ สร้างเครื่องขีดเขียนอันเป็นแบบอย่างต่าง ๆ เป็นต้น.
บัณฑิตนั้น มิได้เห็นสิ่งเหล่านั้น แม้ทั้งหมดที่บุคคลอื่นทำอยู่ ฯลฯ
ย่อมเป็นเช่นกับศิลปะที่บุคคลอื่นเรียนมาแล้วทำให้สำเร็จนั่นแหละ.
ข้อนี้เป็นนัยในบ่อเกิดแห่งศิลปะ.
อนึ่ง บัณฑิตบางพวก ยังฐานะแห่งวิชาทั้งหลาย มีมนต์อันยังนาค
ให้งง (ให้หมุนไป) เป็นต้น ให้เกิดขึ้น เพื่อต้องการเยียวยามนุษย์ทั้งหลายผู้
เข้าไปเล่นกับอมนุษย์มีงูเป็นต้น. บัณฑิตนั้น ย่อมไม่เห็นฐานะแห่งวิชาเหล่า
นั้นซึ่งบุคคลอื่นทำอยู่ ไม่ได้เรียนฐานะแห่งวิชาที่บุคคลอื่นเรียนแล้ว ทั้งมิได้
ฟังต่อบุคคลอื่น แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความคิดตามธรรมดาของตน. จริง
อยู่ ฐานะแห่งวิชานั้นอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้ทำตามธรรมดาของตน ก็ย่อม
เป็นเช่นกับบุคคลอื่นที่เรียนมากระทำอยู่ให้สำเร็จนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 650
คำว่า กมฺมสฺสกต วา (แปลว่า กัมมัสสกตาญาณ) ได้แก่ ญาณ
คือการรู้อย่างนี้ว่า นี้เป็นกรรมของสัตว์ทั้งหลาย นี้เป็นกรรมของตน นี้มิใช่
กรรมของตน ดังนี้.
คำว่า สจฺจานุโลมิก วา (แปลว่า สัจจานุโลมิกญาณ) ได้แก่
วิปัสสนาญาณ.
จริงอยู่ วิปัสสนาญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก
ว่า สัจานุโลมิกญาณ ก็เพราะคล้อยตามสัจจะ ๔.
บัดนี้ เพื่อแสดงซึ่งอาการ คือความเป็นไปแห่งสัจจานุโลมิกญาณ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูป อนิจฺจนฺติ วา เป็นอาทินั้น (แปลว่า รูป
ไม่เที่ยง). ก็รูปมีความไม่เที่ยงเป็นลักษณะนั่นแหละ มาแล้วในข้อว่า
รูป อนิจฺจ นี้ มิใช่มีทุกข์เป็นลักษณะ หรือมีอนัตตะเป็นลักษณะ. แต่พึง
ทราบว่า เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งอรรถ (เนื้อความ) แล้ว สภาวะเหล่านั้นพึง
เป็นอย่างเดียวกัน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ยญฺหิ อนิจฺจ ต ทุกฺข
ย ทกฺข ต อนตฺตา (แปลว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา) ดังนี้.
คำว่า ย เอวรูปึ (แปลว่า อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น) ได้แก่
ญาณใด เป็นสภาวะอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิบายไว้ตอนหลังอย่างนี้
ญาณนั้น ชื่อว่า อนุโลมิกญาณ.
คำว่า ขนฺตึ๑ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ ปัญญา ทั้งนั้น. จริงอยู่
ปัญญา นั้น ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมอนุโลม (คือ คล้อยตาม)
ซึ่งเหตุอันเป็นการกระทำ ๕ อย่าง มีบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้น ที่พระผู้มี-
๑. คือ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 651
พระภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลัง โดยการเห็นซึ่งธรรมอันไม่เป็นข้าศึก ดังนี้.
อนึ่ง ปัญญา ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมคล้อยตามประโยชน์
แห่งสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ย่อมคล้อยตามมัคคสัจจะดังนี้ด้วย ย่อมคล้อย
ตาม เพราะการคล้อยตามพระนิพพานอันเป็นปรมัตถสัจจะ ดังนี้ก็ได้.
ญาณใด ย่อมอดทน ย่อมสามารถ ย่อมอาจเพื่อเห็นซึ่งเหตุเป็นที่
กระทำ (การณะ๑) แม้ทั้งหมดเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ญาณนั้น จึงชื่อว่า
ขันติ. คำว่า ปสฺสติ ได้แก่ ทิฏฐิญาณ. คำว่า โรเจติ ได้แก่ รุจิญาณ.
คำว่า มุจติ ได้แก่ มุติญาณ. พระบาลีว่า มุทตีติ มุทีติ ชื่อว่า มุติญาณ ดังนี้
ก็มี. คำว่า เปกฺขติ ชื่อว่า เปกขญาณ. ธรรมทั้งหลายมีบ่อเกิดแห่งการงาน
เป็นต้นแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมเข้าไปประจักษ์แจ้ง แก่ญาณนั้น จึงชื่อว่า
ธัมมนิชฌานขันติญาณ. อนึ่ง เมื่อว่าโดยพิเศษ ธรรมทั้งหลายกล่าวคือ ขันธ์
๕ เมื่อเข้าไปเพ่งพิจารณา ย่อมให้ประจักษ์แจ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นสิ่ง
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาบ่อย ๆ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า
ธัมมนิชฌานขันติญาณ.
คำว่า ปรโต อสุตฺวา ปฏิลภติ (แปลว่า บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น
ย่อมได้...) ได้แก่ มิได้ฟังคำแนะนำของผู้อื่น คิดอยู่เองนั่นแหละ ย่อมได้...
คำว่า อย วุจฺจติ (แปลว่า นี้เรียกว่า) ได้แก่ ปัญญานี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จินตามยปัญญา.
ก็จินตามยปัญญานั้น ย่อมไม่เกิดแก่บุคคลพวกใดพวกหนึ่ง
ย่อมเกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้รู้ยิ่งเท่านั้น.
สัจจานุโลมิกญาณแม้ในที่นี้ ก็ย่อมเกิดแก่พระโพธิสัตว์ทั้ง
สอง (ทฺวินฺนเยว โพธิสตฺตาน) เท่านั้น.
๑. การณะ คือ กัมมะ ศิลปะ วิชา กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 652
ปัญญาที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีปัญญา
มากแม้ทั้งหมดซึ่งมีบารมีเต็มแล้ว.
อธิบายสุตมยปัญญา
ในคำว่า ปรโต สุตฺวา ปฏิลภติ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ปัญญา
ทั้งหมดที่บุคคลได้แล้ว เพราะเห็นบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้นอันบุคคลอื่นกำลัง
ทำอยู่ หรือทำเสร็จแล้วก็ดี พึงถ้อยคำของใคร ๆ ผู้บอกอยู่ก็ดี เรียนเอาใน
สำนักของอาจารย์ก็ดี ชื่อว่า บุคคลฟังจากผู้อื่นแล้วนั่นแหละ.
อธิบายภาวนามยปัญญา
คำว่า สมาปนฺนสฺส (แปลว่า ผู้เข้าสมาบัติ) อธิบายว่า ปัญญา
ในภายในสมาบัติของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสมาบัติ ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา.
อธิบายทานมยปัญญา
คำว่า ทาน อารพฺภ (แปลว่า ปรารภทาน) ได้แก่ อาศัยทาน
อธิบายว่า มีเจตนาในทานเป็นปัจจัย. คำว่า ทานาธิคจฺฉ (แปลว่า บุคคล
ผู้ให้ทาน) อธิบายว่า บุคคลผู้กำลังน้อมเข้าไปให้อยู่ซึ่งทาน ชื่อว่า ผู้ให้ทาน.
คำว่า ยา อุปฺปชฺชติ (แปลว่า ย่อมเกิดขึ้น) ได้แก่ ปัญญาใด อันสัมปยุต
ด้วยเจตนาในทาน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ปัญญานี้ ชื่อว่า ทานมยปัญญา. ก็
เมื่อบุคคลคิดว่า เราจักให้ทานดังนี้ ก็ให้ทานอยู่ ครั้นให้ทานแล้ว ก็พิจารณา
อยู่ซึ่งทานนั้น.
ทานมยปัญญานั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยอาการ ๓ อย่าง คือ
ปุพพเจตนา
มุญจนเจตนา
อปรเจตนา
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th