ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เอนก
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 เม.ย.2005, 7:54 pm |
  |
ขอทราบวิธีปฏิบัติตนอย่างไร ให้หายเป็นคนอารมณ์ร้อน และวู่วาม
จิตชอบลงสู่โทสะอยู่บ่อยครั้ง พยายามฝืนบางครั้งก็ได้ แต่ส่วนมากจะเผลอมากกว่ากำหนดได้ ขอคำแนะนำด้วยครับ |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
07 เม.ย.2005, 10:10 am |
  |
ไม่ว่าจะเป็นความกลัวหรือความแค้นหรือความกำหนัดยินดีในกามก็ตาม มันก็มาจากความปรุงแต่งทั้งนั้นแหละ อย่างเช่นเราเกิดความโกรธ ความอาฆาตมาดร้าย มันก็เกิดจากปรุงแต่งในจิตนี่ มันจะปรุงว่าเขาว่าอย่างนั้นเขาไม่ดีอย่างนั้นเขาเป็นอย่างนั้น เขาทำไม่ดีต่อเราอย่างนั้น เขาพูดไม่ดี เขาอะไร มันก็ต้องมีสิ่งปรุงในจิตแล้วมันก็เกิดความโกรธความแค้น ความทุกข์ ความทุกข์ ความทุกข์ทั้งหลายก็เกิดขึ้นมาในจิตใจมาจากปรุงแต่งในจิตทั้งหมด ที่นี้ถ้าเรารู้ คำว่าเราก็คือสติ สติสัมปชัญญะเข้าไประลึกไปรู้ในจิตที่กำลังปรุงอยู่ ปรุงอยู่หรือว่ามันปรุง มันมีทุกข์เสียแล้ว มันผลิตยู่ แล้วมันก็ทุกข์อยู่วนเวียนอยู่ในจิตนั่นแน่ะ ก็รู้ไปทั้งการตรึกนึก รู้ไปทั้งความทุกข์ที่มันเกิดขึ้น รู้ทั้งความไม่สบายใจความโกรธความแค้นก็ดีที่มันเกิดขึ้น ก็รู้ไปหมด แล้วมันก็ยังปรุงอยู่นี่ เราก็รู้อีก มันจะพบว่า เมื่อขณะที่สติสัมปชัญญะเข้าไปหยั่งรู้ ไปหยั่งรู้ หยั่งรู้ อาการความทุกข์ความไม่สบายใจความโกรธความแค้นจะคลายตัวลง จะมีอาการจางลงคลายลง ก็รู้ สติสัมปชัญญาะก็ไปรู้อาการที่มันคลายมันจางหรือมันวู้บ......ไป มันหายมันว่างไป ก็รู้อาการนั้นอีก
นี่เรียกว่าเห็นธรรมะ เห็นสัจธรรมของธรรมชาติ มันเกิดมันดับมันแปรมันเปลี่ยน ความปรุงแต่งต่าง ๆ ความไม่ชอบใจความโกรธความแค้นความทุกข์ใจเป็นสภาวธรรมทั้งหมด ศึกษาธรรมะคือศึกษาสิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้นี่คือธรรมะ ธรรมะฝ่ายอกุศลก็เป็นธรรมะ คือธรรมชาติที่มันเกิดมันดับ มันก็ไม่ใช่ตัวตน เราก็เห็นสิ่งเหล่านี้เกิด หมดไปสิ้นไป หาใช่ตัวตนเราเขาไม่ บังคับบัญชาอะไรไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่าได้ปฏิบัติธรรม ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกินวิสัย เป็นเรื่องอยู่กับตัวกับจิตใจ ทำได้ทุกคน ก็มีจิตมีใจมีกิเลส กิเลสก็ยังเกิดขึ้นได้ สติปัญญาทำไมจะเกิดขึ้นไม่ได้ เราต้องนึกให้กำลังใจกับตัวเราเองอย่างนั้น เมื่อมันมีทุกข์ ทุกข์มันยังมีได้ ความดับทุกข์ทำไมมันจะมีไม่ได้ มันมีหลงมันก็ต้องมีปัญญา หลงยังมีได้ปัญญาทำไมจะมีไม่ได้ ความสบายใจมันมีได้ ความสิ้นความไม่สบายใจมันก็มีได้ เพียงแต่ว่าต้องคลำไป ปฏิบัติธรรมก็คือต้องค่อย ๆ ศึกษาพิจารณาไปให้เข้าถึงให้แยบคายขึ้นตามลำดับ
ความที่จิตมีราคะ จิตที่มีราคะคือความต้องการยินดีในกามคุณอารมณ์ เกิดความกำหนัดยินดีขึ้นในจิตใจหรือว่าเป็นไปในทางกาย เป็นเหตุเป็นปัจจัย ความรู้สึกทางกายมันก็มาจากจิตนั่นแน่ะ จิตมันเกิดขึ้นก่อน จิตที่มีราคะเกิดขึ้นก่อนกายก็เป็นไป เป็นเหตุเป็นปัจจัย ตานี้จิตที่มีราคะก็มาจากสิ่งใด ก็มาจากการปรุงแต่งนั่นแหละ เกิดจากการคิดนึกเกิดจากการปรุงแต่งสร้างสรรค์ประดิษฐ์เรื่องในความรู้สึกให้เกิดความพึงพอใจ มันสร้างมันผลิตมันประดิษฐ์เรียกว่าเกิดความดำริ มันก็ให้เกิดเป็นความหมายเกิดเป็นมโนภาพเป็นเรื่องเป็นเหตุการณ์เป็นอะไรต่าง ๆ ในมโนภาพของจิต จิตก็เกิดราคะขึ้น ความกำหนัดยินดี แล้วก็เป็นทุกข์เอง จิตใจก็จะไม่สบายเอง เดือดร้อนเองวุ่นวายเองทั้งกายทั้งจิตใจ นี่นะจิตที่จริงมันหาเรื่องให้ตัวมันเองแท้ ๆ จิตมันคอยจะหาเรื่องเอาทุกข์ใส่ใจตัวเองด้วยการปรุงแต่งอยู่ ปรุงแต่งไปให้เกิดความกล้ว ความกลัวก็เกิด ปรุงแต่งไปให้เกิดความวิตกกังวลห่วงใย กลัวอย่างนั้นกลัวอย่างนี้ มันก็เกิดจากในจิตคิดปรุงแต่งทั้งหมด
ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมนี่มีสติสัมปชัญญะเข้าไปรู้เข้าไปจับมันทัน เห็นตัวผลิตเหมือนกับเห็นโรงงานผลิตเครื่องใช้ไม้สอยอาหารเครื่องอุปโภคบริโภค มีโรงงานผลิตนี่เราเข้าไปทำลายรังของโรงงานได้ทัน แบบเขาผลิตยาเสพติด ถ้าเข้าไปทำลายที่ผลิตเสียแล้วมันก็ไม่มียาออกมาขายมันมีมาไม่ได้ก็เพราะมันไม่มีที่ผลิต ฉะนั้นถ้าไปจับได้ทันตรงที่มันผลิต มันก็ผลิตไม่ได้ตำรวจไปทำลายรังที่ผลิตเสียแล้ว ทำลายเครื่องไม้เครื่องมือ ทำลายคนผลิต ยามันก็ไม่มีออกมา แต่ทุกวันนี้ทำลายไม่ถึงรังไม่ถึงที่ผลิต ได้บ้างเล็กๆน้อยๆ บางแห่งไม่ได้ทั้งหมด จิตใจนี้ก็เหมือนกันที่มันผลิตที่มันสร้างปัญหาเป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยขึ้นมานี่ มันมาจากความปรุงแต่งในจิตใจด้วยความหลงความโง่ ด้วยความยึดมั่นถือมั่น กิเลสนั่นแหละมันก็สร้างให้ผลิตความหลง ความโลภ ความโกรธ ความไม่รู้ความยึดมั่นถือมั่นทำให้เกิดการปรุงแต่ง ปรุงแต่งก็คือมันตรึกนึกมันผลิต จะเรียกว่ามันผลิต ถ้าเป็นการสร้างวัตถุสิ่งของเขาเรียกผลิต แต่ว่าในจิตใจท่านใช้คำว่าปรุงแต่ง ปรุงแต่งเหมือนกับเราทำอาหารเราก็ต้องปรุงแต่ง ปรุงแต่งรสชาด เราปรุงแต่งยังไง ก็ต้องเอาสิ่งโน้นใส่สิ่งนี้ใส่ กวนไปกวนมา ปรุงแต่งทั้งหมด มันจึงได้รสชาดอาหารไปต่าง ๆ เป็นแกงส้ม แกงเขียวหวาน เป็นแกงอะไรต่ออะไร แล้วแต่ว่าจะเอาอะไรมาปรุง มันจึงเกิดเป็นอาหารต่าง ๆ
จิตนี้ก็เหมือนกันมันเกิดทุกข์เกิดโทษเกิดภัยเกิดความเดือดร้อนราคะโทสะโมหะ อะไรขึ้นมา มันก็เกิดจากความปรุงแต่งขึ้นในจิตใจ มันตรึกมันนึกมันสร้างสรรค์มันผลิต ถ้าหากไปดูทันไปรู้ตรงเข้าไปถึงจุดของจิตใจที่กำลังปรุงแต่งอยู่ สลายได้ ความปรุงแต่งก็จะสลายตัว พอจะผลิตพอจะปรุงขึ้นมารู้ทัน รู้ทัน สลายไป เมื่อสลายไปมันก็ไม่เกิดอะไรขึ้น หรือว่าที่มันเกิดอยู่แล้ว เหตุปัจจัยที่จะทำให้มันเกิดสืบสายต่อเนื่องยืดยาวมันก็ตัดขาดลง อาการที่มันเป็นอยู่ก็จึงคลายตัวลงไป หรือว่าแสดงอาการดับวูบลงไปให้เห็น ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะที่คมกล้าจริง ๆ มันก็สามารถจะแสดงความดับทันทีให้เห็นก็ได้ มันจะรู้สึกว่ามัน วู้บ....ลงไป สลายลงไปหรือเบาลงมาก็เห็นมันจางลง ความโกรธก็ดีความกลัวก็ดีราคะก็ดีมันจางลง ๆ ก็ยังรู้อยู่ รู้อยู่จนกระทั่งมันหายไป สลายไป ใจก็ว่างเปล่า แต่มันก็ไม่หยุดยั้งนะ จิตนี้มันก็คอยจะปรุงอีก
http://www.mahaeyong.org/Dharma/pungtang.htm |
|
|
|
   |
 |
ผู้มาเยือน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
08 เม.ย.2005, 10:51 pm |
  |
ได้อ่านบทธรรมมะในเวปไซต์ที่คุยปุ๋ยแนบมา ชอบมากครับ ขอบคุณครับที่ได้นำแนวปฏิบัติธรรมที่น่าสนใจมาเปิดเผย คงจะไม่ผิดอะไรใช่ไหม่ครับ หากว่าผมจะนำไปเผยแพร่ผู้อื่นหรือในเวปไซต์บางเวปที่มีการถกเรื่องศาสนา โดยเฉพาะเกี่ยวกับความเข้าใจแก่นแท้ของพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่รู้ทั้งที่นับถือศาสนาพุทธและไม่ได้นับถือบางคนอาจจะได้เข้าถึงธรรมด้วยบารมีเก่าของเขาได้บ้าง
ขอบคุณครับ  |
|
|
|
|
 |
|