Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กิเลสนี่ ละยากจริง ๆ นะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 8:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ทรงประทับหน้าใบเสมาพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร



การละกิเลสยากมาก เพราะเหตุใด

แม้พิจารณาให้ดีย่อมได้รับความเข้าใจพอสมควรว่าการละกิเลสยากมาก เพราะพากันไปมุ่งละกิเลสผู้อื่น ไม่มุ่งละกิเลสตนเอง กิเลสจึงท่วมบ้านท่วมเมืองอยู่ทุกวันนี้ จนบดบังแสงแห่งพระพุทธศาสนา แสงแห่งพระธรรมคำทรงสอนในสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามากขึ้นทุกเวลานาที

อย่าไปมุ่งเพ่งเล็งแก้กิเลสของผู้อื่น แม้ปรารถนาเป็นผู้พ้นทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากกิเลสเพราะการเพ่งเล็งแก้กิเลสผู้อื่นนั้น นอกจากจะไม่ทำให้กิเลสของตนเบาบางห่างไกลออกไปยังจะเพิ่มกิเลสของตนให้มากขึ้น

กิเลสของใครคนใด
ใครคนนั้นต้องแก้
ไม่ใช่คนอื่นจะไปแก้ให้ได้
สมเด็จพระบรมครูยังทรงมีพระพุทธดำรัสไว้ว่าทรงเป็นผู้ชี้ทางให้
ผู้ปรารถนาแห่งจุดหมายปลายทางต้องปฏิบัติดำเนินไปด้วยตัวเอง


มิได้มีพระพุทธดำรัสไว้ว่า ต้องพากันช่วยพระพุทธองค์ชี้คนอื่นให้เดิน โดยตนเองยังไม่ได้เดินทางสายนั้นจนบรรลุจุดหมายปลายทางแล้ว ผลสำเร็จจะเกิดไม่ได้

ดังนั้นแม้คิดจะไปเพ่งโทษคนอื่น
คือคิดไปแก้กิเลสของคนอื่นนั้นเอง
ก็พึงมีสติรู้ให้เร็วที่สุดว่า กำลังทำไม่ถูก
ที่ถูกคือต้องแก้กิเลสของตนเอง
กิเลสของตนเองของทุกคนที่ทุกคนควรแก้ของตนเอง
ไม่ใช่ไปมุ่งแก้ของคนอื่น
คนนั้นก็ไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้
ผิดอย่างนั้น ผิดอย่างนี้
เช่นนี้ไม่มีทางที่ตนจะถึงความสุขได้


โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

มีประโยชน์หรือเปล่านะ...
แพ้เป็นพระ คืออย่างไรหนอ ใครอยากเป็นพระบ้าง ท่านใดพอที่จะอธิบายให้เข้าใจได้บ้างไหมจ้ะ

สาธุ เจ๋ง ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 9:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับดีจริงๆ สาธุ

ชนะตนนั่นแหละเป็นดี
(ขุ.ธ. ๒๕/๒๙)

ชัยชนะเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ใฝ่หา
ปรารถนาชนะ ชนะ ชนะ
ชนะทุกคน ชนะทุกเรื่อง ชนะทุกครั้ง
ชนะทุกที ชนะทุกที่ ชนะตลอดไป
ชัยชนะที่มีต่อบุคคลอื่น


ที่ว่ายากแสนยาก ลำบากแสนสาหัสเพียงใด
ก็ยังเป็นเพียงเรื่องธรรมดา
เพราะการชนะคนอื่นล้านคน
ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นชัยชนะสูงสุด
การชนะตนเพียงผู้เดียวยังประเสริฐกว่า
ชัยชนะอันน่าภาคภูมิใจคือ
ชนะใจตัวเอง

บังคับใจไม่ให้อยาก
ควบคุมใจไม่ให้ดื้อ
ปกป้องใจไม่ให้ขุ่นมัว
ฉุดรั้งใจไม่ให้ตกต่ำ
หมั่นประคองใจให้หยุดนิ่ง
จนกระทั่งใจสะอาด สงบ สว่าง
พบความบริสุทธิ์ภายใน


พบตนในตน แล้วชนะตนในตนตามลำดับ
จึงเป็นชัยชนะแห่งตนอันงดงาม
เป็นชัยชนะที่แท้จริง
และเป็นเหตุให้ประสพชัยชนะตลอดกาลนาน


สู้ สู้ สู้ สู้
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 1:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ

หลวงปู่ดุลย์สอนว่า
กิเลสอันใดเกิด (ขึ้นในใจ) ก่อน ให้ละอันนั้น

แต่ทำได้เท่าที่ทำอะนะคับ
ทำไปเรื่อยๆ เหมือนรถขายโอ่ง

ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 4:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การละ กิเลส ที่ว่ายาก เพราะว่า กิเลสนี้ คือ ตัณหา อันมีต้นเหตุจากเวทนา
ที่ละกันไม่ได้ เพราะว่า เมื่อเกิดเวทนาแล้วไม่ปล่อยให้มันดับ แต่กลับปล่อยให้มันทวีคูณ เมื่อเวทนาทวีคุณ คือ สิ่งนี้ดีหรือไม่ดี คอยแต่จะวิพากษ์ มันก็กลายเป็นตัณหา ที่อยากจะให้มันดี หรือ ไม่อยาก ตามใจตน

พระพุทธองค์ จึงสอนให้ทันต่อเวทนา และ จิต แต่เราไม่เคยปฏิบัติ ปล่อยให้ เวทนาลุกลาม สังเกตุได้ ใครก็ตามที่เรื่องมาก เมื่อประสบพบเจออะไร ก็คอยแต่จะวิพากษ์ ไปทั้งหมดจะติดเป็นนิสัย เช่น เจออาหารนี้อร่อย อาหารนั้นไม่อร่อย กลิ่นแบบนี้ดี กลิ่นแบบนี้ไม่ดี สิ่งนั้นสวยสิ่งนี้ไม่สวย คอยแต่จะวิพากษ์แบบนี้ นี่แหละ ต้นเหตุหลัก แห่ง ตัณหา

ทีนี้ใครที่ เมื่อประสบพบเจออะไรแล้วก็ ลิ้มชิมรส แต่ไม่ค่อยเอาใจไปวิพากษ์ ก็จะทุเลาตัณหาลงได้มาก อันทำให้ละที่ต้นเหตุ
การจะดับอะไรก็ตามให้ดับที่ต้นเหตุ ถ้าดับที่ตัวกิเลสเองมันดับไม่ได้ ได้แต่ฝืน บังคับ ทีนี้หากปล่อยให้มันมีกำลังมากมันก็จะกลายเป็น สมุนของมันเช่น ราคะ โทสะ ตามมามากมาย อันเป็นเชื้อให้ ผูกให้ฟันกันยุ่งไปอีก

คนไม่เคยปฏิบัติ ก็รู้แต่ สัญญา และตามสัญญาอารมณ์ แต่ไม่สามารถมีสติ สาวไปถึงต้นตอได้
นี่คือ เหตุที่ทำไมเราต้องมาปฏิบัติให้มาก อย่าเอาแต่พูดธรรม โดยใจไม่มีธรรม
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 7:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ละที่อุปปาทานก่อนจะง่ายกว่ารึป่าวนะ สงสัย ...เพราะหากไม่มีอุปปาทาน(การยึดถือตัวตน)ตัณหาก็ไม่มีที่เกาะ

กระผมคิดว่าเวทนานั้นไม่น่าจะละได้ หากเรายังมีอุปปาทาน ขันธ์ 5 ก็ยังเป็นขันธ์ 5 เมื่อขันธ์ยังอย่ครบและยังอุปปาทานอยู่ ผัสสะก็มีตลอดเวลา เวทนาจะไปไหนได้ก็ต้องมีเป็นแน่....แต่การมีเวทนานั้นไม่เสมอไปที่จะเกิดตัณหาเพราะหากละอุปปาทานได้ ขันธ์ 5 (นาม - รูป หรือ สมมุติ)ก็จะกลายเป็นเพียงวัตถุ ผัสสะก็เป็นเพียง ธาตุกระทบธาตุ เวทนานั้นก็เป็นธรรมดาๆ เพราะมันไม่เที่ยง..... ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 8:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ natdanai ต้องเข้าใจว่า การละ เวทนานั้นทำได้ แต่ไม่ใช่การประหารเวทนาทิ้ง

การละเวทนา นั้นสามารถทำได้ด้วยอุเบกขา เช่นว่า เมื่อมองสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้ววางเฉยไป จนเป็นนิสัย นั่นแหละ คือ การละในเบื้องต้น
ยกตัวอย่างเช่น ลิ้นสัมผัสรส หวานก็หวานเดี๋ยวเดียวกลืนลงคอก็หมดความหวาน แต่สิ่งที่เรานำมาติดคือ การเสวยอารมณ์นั้นอยู่

ส่วนข้อที่ว่า ต้องละอุปาทานนั้นถูกแล้ว ซึ่งก็คือ การเข้าไปยึดในเวทนานั่นเอง
เรียกว่า หมายเวทนาให้เป็นตัวเป็นตน ตัวนี้ละยากกว่าการละเวทนา เนื่องจากว่า หากละอุปาทานในขันธ์ ได้ก็เท่ากับ ละสังโยชน์ตัวสักกายทิฎฐิได้

ดังนั้น การละเวทนา เบื้องต้น จึงง่ายกว่า พระพุทธองค์จึงสอนไว้ใน บรรพที่ 2 แห่งมหาสติปัฎฐาน คือ การมองเวทนาให้เห็น แล้วละอารมณ์เสวยนั้นเสีย
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 8:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อืมม์ อืมม์ ...จะเก็บไว้พิจารณาครับท่านขันธ์... ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 8:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต้องเข้าใจ ว่า เวทนา เป็นฝ่ายนาม คือ เสวยอารมณ์ ผัสสะที่ทำให้เราเป็นทุกข์ นั้น อย่าไปมองว่า มีแต่ความเจ็บปวดในร่างกาย นั่นเป็นผัสสะในปฏิจสมุบาท วงใหญ่สุด อย่าเพิ่งไปคิดว่าจะละตรงนั้น

แต่ให้ละ ผัสสะที่เกิดจากการกระทบ ในชีวิตประจำวันเช่น มองเห็น กลิ่น รส สัมผัส แล้วเราเกิดความสุข ความทุกข์ เมื่อได้รับผัสสะเหล่านั้น ให้แยกตรงนี้ให้ได้

ยกตัวอย่างเช่น ผมอ่านข้อความของผมเอง ผมหัวเราะ แต่หลายๆ คนอ่านแล้วหมั่นไส้ ไปจนถึงเกลียดขี้หน้า แสดงว่า เวทนาที่เกิดในใจคนเรานั้นเราสร้างขึ้นเอง ดังนั้น ก่อนจะอ่านข้อความของผม ก็ควร ตั้งสติไว้เลยว่า เมื่ออ่านแล้ว วางเฉยให้ได้ ให้ทันต่ออารมณ์ในขณะที่อ่านทุกระยะ นั้นแหละ คือ การดูจิตตน เป็น เวทนานุปัสสนา แล้วหาเหตุให้เจอว่า เพราะอะไรเราจึงเกิดความไม่ชอบใจ

ทีนี้ เมื่อรู้แบบนี้ก็ไม่หลงกับมันจนกลายเป็นตัณหาอุปาทาน กลายเป็นเรื่องเป็นราว ที่ไม่ดับ ติดอยู่กับใจ

พิจารณาตรงนี้ให้ดี
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 11:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติ สัมปชัญญะ เท่านั้นเอง เมื่อมีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น การปรุงแต่งมันก็น้อยลง เมื่อสติทันจิต ทุกอย่างมันก็จบ มันก็สักแต่ว่ารู้ แต่เพราะอัตตา มานะ คนมันเยอะมากเท่าไร กิเลสมันก็เพิ่มตามอัตตา มานะ ตัวเองมากเท่านั้น

ครูบาฯท่านก็กล่าวไว้แล้วว่า

ดังนั้นแม้คิดจะไปเพ่งโทษคนอื่น
คือคิดไปแก้กิเลสของคนอื่นนั้นเอง
ก็พึงมีสติรู้ให้เร็วที่สุดว่า กำลังทำไม่ถูก
ที่ถูกคือต้องแก้กิเลสของตนเอง
กิเลสของตนเองของทุกคนที่ทุกคนควรแก้ของตนเอง
ไม่ใช่ไปมุ่งแก้ของคนอื่น
คนนั้นก็ไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้
ผิดอย่างนั้น ผิดอย่างนี้
เช่นนี้ไม่มีทางที่ตนจะถึงความสุขได้
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 6:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขันธ์ พิมพ์ว่า:
การละเวทนา เบื้องต้น จึงง่ายกว่า พระพุทธองค์จึงสอนไว้ใน บรรพที่ 2 แห่งมหาสติปัฎฐาน คือ การมองเวทนาให้เห็น แล้วละอารมณ์เสวยนั้นเสีย


แล้วบรรพที่ 1 ใช่ ดูกายในกาย หรือป่าวครับ สงสัย สงสัย ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 6:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้มเห็นฟัน กิเลสนี่ ละยากจริง ๆ นะ สาธุ

แม่นแล้ว ถูกต้องคร้าบบบบบ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 7:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 11:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าถูได้เหมือนขี้ไคล ก็จะดีน้อ (ให้มันน้อยลง) สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ย. 2008, 1:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก็ที่ว่า ละยาก นี้ เพราะไม่รู้จัก ต้นเหตุของมัน
และ ไม่รู้จักทวน ให้ดี
ไม่รู้จักขุด
ไม่รู้จักศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีว่า หน้าตา อาการของมันผุดขึ้นเมื่อไร แสดงอาการอย่างไร
และดับลงเมื่อไร

ไม่เข้าใจกระบวนการของจิต ก็ไม่อาจจะเข้าใจกิเลสได้

จึงต้องหมั่นเจริญมหาสติปัฎฐานให้มาก แล้วทวนละเอียดไปจนถึง เวทนา และ จิตตา และสุดท้ายลงที่ธรรม จึงจะสามารถดับกิเลสได้
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2008, 1:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขันธ์ พิมพ์ว่า:

ไม่เข้าใจกระบวนการของจิต ก็ไม่อาจจะเข้าใจกิเลสได้

จึงต้องหมั่นเจริญมหาสติปัฎฐานให้มาก แล้วทวนละเอียดไปจนถึง เวทนา และ จิตตา และสุดท้ายลงที่ธรรม จึงจะสามารถดับกิเลสได้


การเจริญสติปัฏฐานนั้น จำเป็นหรือต้องทำโดยลำดับ?
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 8:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
การเจริญสติปัฏฐานนั้น จำเป็นหรือต้องทำโดยลำดับ?


เมื่อแรกฝึกนั้น สังเกตุตัวไหนได้ก็ให้หมั่นดูตัวนั้น
แต่เมื่อ ฝึกจนชำนาญแล้ว ต้องวางเป็นฐาน คือ กายก่อน แล้วค่อยเวทนา จิต แล้วค่อยธรรม

ทีนี้ หากว่าจะเอาให้ดี ก็ควรต้องฝึกตามฐาน คือ เอาจิตมาสถิตที่กายก่อน อย่าไปอยุ่ที่ความคิด คือ กายไหว เคลื่อนไหว จับให้ทัน

จิตก็จะเป็นเอกคตาที่กาย พอชำนาญแล้วให้เขยิบมาที่ ฐานของเวทนา

แต่ทำอะไร อย่าเร่งรัด เพราะเมื่อ ฐานล่างละเอียดจะค่อยๆเห็นฐานบนขึ้นไปเอง

ตัวที่เห็นยากที่สุด และอย่าทึกทักไปเอง คือ ตัวธรรม

ธรรมอยู่ในใจเมื่อไร ก็ตอบว่า เมื่อ เดินไป เมื่อนั่งลง แล้วปรากฎธรรม แบบไม่เคยรุ้สึกมาก่อน กับเรื่องธรรมดาแต่กลายเป็น ธรรม ชัดให้ประจักษ์ จึงเรียกว่า ธรรมเกิด

เอาเรื่องของกายให้ชำนาญ กินเดิน ยืน นั่งนอน กระพริบตา เอาให้ละเอียด พอกายละเอียดแล้วให้ลงกายในกาย คือ ละเอียดไปอีก เช่น ดุที่ลมหายใจ ดูที่ความรู้สึกในอวัยวะภายใน แบบนี้ เรียกว่า กายในกาย จะละเอียดลงไปเรื่อยๆ ได้
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง